ประวัติความเป็นมาหอจดหมายเหตุ

สืบค้นเอกสารหอจดหมายเหตุ

ห้องหนังสือ


พระสังฆราชเรอเน แปร์รอส คุณพ่อเอมิล กอลมเบต์ เยี่ยมสถานกงสุลโปรตุเกส ประจำประเทศไทย ที่กรุงเทพฯ วันที่ 5 ตุลาคม ค.ศ. 1912

 
 
พระสังฆราชเรอเน แปร์รอส
คุณพ่อเอมิล กอลมเบต์
ในโอกาสเยี่ยมสถานกงสุลโปรตุเกส
ประจำประเทศไทย ที่กรุงเทพฯ
เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม ค.ศ. 1912

วันนี้ในอดีต


27 กันยายน พ.ศ.2230 : คณะราชทูตฝรั่งเศส ชุดที่สอง มาถึงประเทศไทย
คณะราชทูตไทยโดย ออกพระวิสูตรสุนทร (ปาน) เป็นหัวหน้าพร้อมด้วยคณะราชทูตฝรั่งเศส ชุดที่สองมี ม. เดอลาลูแบร์ เป็นหัวหน้า มาถึงประเทศไทย

27 กันยายน พ.ศ.2133 : พระสันตะปาปา เออร์บัน ที่ 7 เสียชีวิต
พระสันตะปาปาเออร์บัน ที่ 7 (Pope Urban VII) เสียชีวิตหลังจากทรงได้รับการเลือกตั้งให้เป็นสันตะปาปาเพียง 13 วัน นับเป็นพระสันตปาปาที่อยู่ในตำแหน่งสั้นที่สุดในประวัติศาสตร์

27 กันยายน พ.ศ.2448 : อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ กับสมการก้องโลก E=mc2
อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ (Albert Einstein) นักวิทยาศาสตร์เอกของโลก เผยแพร่บทความเรื่อง "Does the Inertia of a Body Depend Upon Its Energy Content?” ("จริงหรือไม่ที่ความเฉื่อยขึ้นอยู่กับพลังงานภายในของวัตถุ”) ซึ่งได้นำเสนอสมการก้องโลก E=mc2 สมการนี้แสดงความสัมพัทธ์ระหว่างมวลและพลังงาน อธิบายได้ว่า เมื่อให้พลังงานกับมวลเพื่อให้มีความเร็วเพิ่มขึ้น มวลนั้นก็จะมีค่าเพิ่มขึ้นด้วย จากทฤษฎีนี้ทำให้นำสู่ผลที่ว่าไม่มีอะไรเคลื่อนที่ได้เร็วกว่าแสง หลักการนี้จึงเป็นหลักการเบื้องต้นของ "ทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไป" (theory of relativity) แม้ว่าไอน์สไตน์จะใช้เวลาเพียงแค่ 4 เดือน ในการสร้างผลงานปฏิวัติโลกด้วยผลงานเด่นๆ 3 ผลงานในปีนี้ คือ “ปรากฏการณ์โฟโตอิเลกตริก” (Photoelectric Effect) “การเคลื่อนที่แบบบราวเนียน” (Brownian Motion) และ “ทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษ” (special relativity) แต่โลกต้องใช้เวลาอีกหลายทศวรรษเพื่อทำความเข้าใจและเห็นคุณค่าในผลงานเหล่านี้ ต่อมาได้มีการประกาศให้ปี 2448 เป็นปีมหัศจรรย์ของไอน์สไตน์และในปี 2548 วงการวิทยาศาสตร์โลกได้ประกาศให้เป็น "ปีฟิสิกส์โลก” (World Year of Physics 2005) และมีการจัดงานฉลองครบรอบ 1 ศตวรรษปีมหัศจรรย์ไอน์สไตน์

หนังสือเก่า