ปฏิทินไทยสมัยกรุงสยาม

ทุกๆต้นปีหลังบรรยากาศช่วงเทศกาลปีใหม่เพิ่งพ้นไป เชื่อว่าหลายท่านคงได้รับของขวัญของกำนัลจากบุคคลอันเป็นที่รักกันถ้วนหน้า
 
ช่วงเทศกาลส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่เช่นนี้ หน่วยงานหรือองค์กรต่างๆ มักนิยมพิมพ์ปฏิทินประจำศักราชใหม่ออกมาแจกจ่ายให้กันออกไป โดยเน้นความสวยงามและประโยชน์ใช้สอยเป็นหลัก
 
แต่เชื่อเถอะว่าคงไม่มีปฏิทินฉบับไหนแปลกแหวกแนวเท่าปฏิทินของกองบัญชาการตำรวจภูธรภาค ๗ ที่สร้างความฮือฮาไปทั่วสำหรับไอเดียเก๋ที่คิดทำ “ปฏิทินจับโจร”  โดยการเอารูปคนร้ายคดีอาชญากรรม มาติดไว้ในหน้าปฏิทินปีใหม่ ๒๕๕๑ ออกแจกจ่ายให้ประชาชนได้ช่วยกันเป็นหูเป็นตาตามล่าคนร้าย  แทนที่จะทำปฏิทินแบบสวยงามที่นิยมทำกัน
 
 
ปฏิทินจับโจร
 
งานนี้ตำรวจมาแนวใหม่ ทำปฏิทินจับโจรมอบเป็นของขวัญปีใหม่ให้กับครอบครัวข้าราชการตำรวจและประชาชนทั่วไป  เพื่อให้ช่วยกันสอดส่องดูแลแจ้งเบาะแสคนร้ายตามหมายจับ ที่ทางการกำลังต้องการตัว เรียกได้ว่าเกิดประโยชน์ทั้งผู้ให้และผู้รับ...
 
ปฏิทินจับโจร หรือปฏิทินหมายจับโฉมใหม่ เปิดตัวครั้งแรกในวันที่ ๒๘ ธ.ค. ๒๕๕๐ โดย พล.ต.ท.วรพงษ์ ชิวปรีชา  ผบช.ภ.๗ พล.ต.ต.โสภณ พิสุทธิวงษ์ รอง ผบช.ภ.๗ เป็นผู้นำออกมาแจกจ่ายให้ครอบครัวข้าราชการตำรวจและประชาชนทั่วไป ท่ามกลางเสียงฮือฮาเพราะควา มแหวกแนวไม่ซ้ำใคร  นับเป็นผลงานที่ตำรวจภาค ๗ สุดภาคภูมิใจเป็นอย่างยิ่ง
 
ทั้งนี้ ประโยชน์ของปฏิทินจับโจรที่ทำออกมา นอกจากจะใช้เป็นประโยชน์ในการดูวัน เดือน ปีแล้ว ยังใช้ดูโฉมหน้าคนร้ายคดีอุกฉกรรจ์ที่ตำรวจกำลังต้องการตัวได้ ซึ่งคนร้ายเหล่านี้ล้วนมีประวัติอาชญากรรมติดตัวทั้งนั้น
 
และที่สำคัญ ทุกคนจะมีเงินรางวัลนำจับ ซึ่งใครแจ้งเบาะแสจนสามารถตามจับกุมคนร้ายได้ ก็จะได้รับเงินรางวัลเหล่านั้นเป็นสิ่งตอบแทน
 
 ส่วนที่ไปที่มาของปฏิทินโจรชุดนี้ เริ่มจากก่อนหน้านี้ตำรวจภูธรภาค ๗ คิดทำโครงการ “ชีวิตปลอดภัยใช้ตำรวจคุ้มกัน” โดยมีการจัดอบรมเจ้าหน้าที่ตำรวจหลักสูตรการรักษาความปลอดภัยบุคคลสำคัญ จำนวน ๑๘๐ นาย เพื่อคุ้มครองความปลอดภัยให้กับผู้สมัครรับเลือกตั้ง และบุคคลที่เกี่ยวข้อง
 
โดยในครั้งนั้นมีการเก็บรวบรวมภาพถ่ายคนร้ายทั้งหมดไว้แจกจ่ายให้กับชุดปฏิบัติการทั้งทำงานในเขตพื้นที่รับผิดชอบ คือ จังหวัดนครปฐม สุพรรณบุรี ราชบุรี กาญจนบุรี เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์  สมุทรสงคราม และสมุทรสาคร  เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยในการเลือกตั้ง ส.ส. ครั้งที่ผ่านมา ซึ่งผลการปฏิบัติงานปรากฏว่าทุกอย่างผ่านพ้นไปด้วยดี โดยสมุดภาพคนร้ายเหล่านั้น ก็ยังเก็บรักษาไว้เป็นอย่างดีและยังมีปริมาณมาก
 

 
สมเด็จฯ กรมพระยาเทววงศ์วโรปการ
 
พอใกล้ช่วงเทศกาลปีใหม่ จึงได้มีการมาหารือกันถึงเรื่องของขวัญวันปีใหม่ที่จะจัดทำแจกครอบครัว ตำรวจและชาวบ้าน พล.ต.ต.เรวัช กลิ่นเกสร ผบช.ภ.จว.กาญจนบุรี  จึงเสนอความเห็นที่ได้หารือกับนายตำรวจระดับรอง ผบช. และ ผบก. ในภาค ๗ มาก่อนหน้านี้ที่ว่า ควรเอาโปสเตอร์ภาพผู้ต้องหาเหล่านั้นมาทำเป็นปฏิทินปีใหม่เสียเลย
 
อีกทั้งยังน่าจะลงรายละเอียดเกี่ยวกับคนร้ายและหมายจับไว้ในปฏิทินอย่างครบถ้วน พร้อมทั้งตั้งรางวัลนำจับคนร้ายเหล่านี้ไว้ที่หัวละ ๑ แสนบาท
 
ปฏิทินจับโจรที่ตำรวจภูธรภาค ๗ ทำขึ้น มีด้วยกัน ๒ แบบ ซึ่งทั้ง ๒ แบบจะมีภาพใบหน้าของผู้ต้อง หาพร้อมเลขคดี หมายเลขจับ ข้อหา และวันสิ้นสุดอายุความ โดยแบบแรกเป็นผู้ต้องหาคดีฆ่าผู้อื่น จำนวน ๒๔ ราย
 
ส่วนแบบที่ ๒ เป็นผู้ต้องหาค้ายาเสพติดรายสำคัญ จำนวน ๑๑ ราย ซึ่งในจำนวนนี้จับได้แล้ว ๑ รายก่อนที่จะมีการตั้งรางวัลให้ ซึ่งยอดรวมของรางวัลในการแจ้งเบาะแสจับผู้ต้องหาทั้ง ๓๓ รายนี้ มูลค่าสูงถึง ๓ แสน ๔ แสนบาท
 
สำหรับรูปแบบของปฏิทินจับโจรดังกล่าว มีรูปแบบเหมือนโปสเตอร์ทั่วๆไป ซึ่งดัดแปลงมาทำเป็นปฏิทินที่มีขนาดสูง ๒๑ นิ้ว กว้าง ๑๕ นิ้ว เป็นปฏิทินแบบแผ่นละเดือน บอกวันที่ ปี พ.ศ. ข้างขึ้น ข้างแรมไว้เสร็จสรรพ
 
เมื่อกล่าวถึงคำว่า “ปฏิทิน” เชื่อว่าหลายท่านไม่เคยทราบถึงประวัติความเป็นมา หรือการเริ่มแรกของการใช้ปฏิทินในเมืองไทยว่าเป็นมาอย่างไร?
 
จุดกำเนิดของปฏิทินแห่งกรุงสยามนั้น สืบเนื่องมาจากพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ซึ่งพระองค์ท่านทรงเป็นนักดาราศาสตร์ที่เก่งกาจมาก และกรมพระยาเทววงศ์วโรปการ ทรงได้รับอิทธิพลมาจากพระชนกเกี่ยวกับโหราศาสตร์มากมาย
 
พระองค์ท่านจึงทรงคิดวิธีทำปฏิทินไทยขึ้นใช้ตามสุริยคติกาล ชื่อ “เทวะประติทิน” นำทูลเกล้าถวายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ และได้รับพระบรมราชานุญาตให้ใช้เป็นประเพณีของบ้านเมืองมาตั้งแต่ ปี พ.ศ. ๒๔๓๒ สืบมาจนปัจจุบันนี้ นับเป็นเวลานานกว่า ๑๒๐ ปีแล้ว
 
นอกจากนี้ สมเด็จฯ กรมพระยาเทววงศ์วโรปการ พระองค์ท่านยังเป็นผู้ให้คำปรึกษาด้านโหราศาสตร์ วันเดือนปี เพื่อเทียบเคียงด้านการศึกษาโบราณคดีให้สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพอยู่เสมอ.