ประวัติโรงพยาบาลเซนต์หลุยส์

กิจกรรมรักษาผู้ป่วยของพระศาสนจักรในคาทอลิกประเทศไทยมีมาตั้งแต่กรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ใน ค.ศ.1669 สมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช  ในสมัยนั้นมีเรือพักผู้ป่วยและมีโรงจ่ายยาที่กรุงศรีอยุธยาที่เมืองพิษณุโลกนอกเหนือจากการรักษาบริเวณเรือนพักผู้ป่วยชายและหญิงแล้ว ยังมีการรักษาพยาบาลแบบแพทย์เคลื่อนที่ทุกวัน การรักษาพยาบาลแบบเคลื่อนที่นี้ไป ไกลถึงเมืองพิบพลี คือเมืองเพรชบุรี  เรือนพักผู้ป่วยทั้งสองแห่งได้ถูกทำลายเมื่อมีการผลัดแผ่นดิน  แต่การรักษาพยาบาลเคลื่อนที่คงดำเนินต่อไปโดยไม่คิดค่ารักษาและค่ายา ตามกฎเมตตาจิตที่พระสังฆราชลาโนประมุขมิสซังได้กำหนดไว้ ในสมัยรัตนโกสินทร์ พระสังฆราช หลุยส์ เวย์ ประมุขมิสซังสยามได้สร้างโรงพยาบาลในที่ดินซึ่งพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 พระราชทานสิทธิ์ในที่ดินใน ค.ศ.1898 เมื่อสร้างอาคารเสร็จแล้ว พระสังฆราชหลุยส์ เวย์ มุขนายกมิสซังคาทอลิกแห่งกรุงสยามระหว่าง ค.ศ. 1765-1909ได้เป็นผู้ริเริ่มก่อสร้างโรงพยาบาลเซนต์หลุยส์ แม้จะมีอุปสรรคและความยากลำบากนานักประการ แต่ด้วยความตั้งใจแน่วในการแพร่ธรรมและการช่วยเหลือบรรเทาทุกข์ประชาชนชาวไทยพระสังฆราชหลุยส์ เวย์ ได้ดำเนินการก่อสร้างโรงพยาบาลโดยได้รับพระกรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชทานสิทธิ์ในที่ดินความช่วยเหลือจากบริษัทห้างร้านของชาวยุโรปที่มาค้าขายในกรุงสยามและผู้มีจิตศรัทธา  การก่อสร้างเสร็จใน ค.ศ.1898 พระสังฆราช หลุยส์ เวย์ได้ติดต่อคุณแม่อธิการริณีกังดิ๊ด เจ้าคณะแขวงไซง่อน ส่งภคินีคณะเซนต์ปอลเดอชาร์ตร มาช่วยดำเนินกิจกรรมในโรงพยาบาลแห่งนี้ ภคินีแรก 7 ท่าน เดินทางมาถึงกรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 24 เมษายน ค.ศ.1898 ภคินี 7 ท่านคือ
                     1. เซอร์อินาส เดอ เยซู
                     2. เซอร์แซงต์โดนาเซียง
                     3. เซอร์คามิล เดอ เยซู
                     4. เซอร์เซราฟิน เดอ มารี
                     5. เซอร์เอ็ดมอนด์
                     6. เซอร์เออชินี ดู ซาเครเคอร์
                     7. เซอร์ยีน เบ็ดมันส์
 
คณะผู้บุกเบิกรุ่นแรกได้ตระเตรียมเครื่องมือเครื่องใช้สำหรับโรงพยาบาล และเรียนภาษาไทยอย่างรวดเร็ว จนสามารถดำเนินเปิดกิจกรรมเป็นทางการ เมื่อวันที่ 15 กันยายน ค.ศ.1898 ในระยะแรกมี Dr. Poise เป็นแพทย์ประจำ นับว่าได้นำการแพทย์แผนปัจจุบันสู่ประเทศสยามได้ ทำงานกันอย่างเสียสละโดยไม่เห็นแก่เหน็ดเหนื่อย ให้การรักษาพยาบาลโดยไม่เลือกชาติ ศาสนา นายแพทย์  ผู้ได้รับเกียรติเป็นแพทย์ประจำราชสำนักด้วย เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม ค.ศ.1899 Mr.Paul Doumer  ข้าหลวงใหญ่ประจำอินโดจีนมาเยี่ยม โรงพยาบาลเซนต์หลุยส์ ท่านรู้ สึกประทับใจในความเป็นระเบียบ และการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ จึงได้มอบเหรียญทองให้แก่ เซอร์อิกนาส เดอ เยซู อธิการริณีคนแรกของ โรงพยาบาลพระสังฆราชหลุยส์ เวย์ ถึงแก่มรณภาพใน ค.ศ.1909 พระสังฆราช เรอเน แปร์รอส ดำรงตำแหน่งมุขนายกมิสซังสยาม  ระหว่าง ค.ศ.1909-1947 ได้รับช่วงดำเนินงานของ พระสังฆราช หลุยส์ เวย์ ต่อมาพระสังฆราช แปร์รอส มีความสนใจกิจกรรมทางด้านรักษาพยาบาลมาก พระสังฆราชหลุยส์ โชแรง มุขนายกมิสซังคาทอลิกกรุงเทพฯ ระหว่าง ค.ศ.1909-1965 พระสังฆราชเป็นผู้สร้างเซนต์หลุยส์เสร็จในค.ศ.1957 ติดกับโรงพยาบาลเซนต์หลุยส์ พระสังฆราชจึงมีความใกล้ชิดกับกิจกรรมของโรงพยาบาลและเจ้าหน้าที่มากขึ้น กิจกรรมของโรงพยาบาลเซนต์หลุยส์ เจริญด้วยดีตลอด 75 ปี จนถึง ค.ศ.1973 อาคารผู้ป่วยทรุดโทรมมากและผู้ป่วยมากขึ้นจำต้องทำการก่อสร้างโรงพยาบาลเซนต์หลุยส์ใหม่พระสังฆราชยวง นิตโย มุขนายกสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ระหว่าง ค.ศ.1965-1973 เป็นผู้วางศิลาฤกษ์ เมื่อวันที่ 10 มีนาคม ค. ศ.1973 การก่อสร้างอาคารผู้ป่วยหลังใหม่เสร็จใน เวลา 2 ปีเศษ เปิดใช้อาคารใหม่เดือนมิถุนายน ค.ศ.1975 งานสงเคราะห์ที่โรงพยาบาลเซนต์หลุยส์ทำมาแต่เริ่มแรกคืองานสงเคราะห์เด็กกำพร้าหรือเด็กที่ถูกทอดทิ้งงานนี้ได้รับการสนับสนุนจากหน่วยทหารอเมริกันแห่งกองบัญชาการยุทธศาสตร์ในประเทศไทยจัดหาเงินสร้างสนามเด็กเล่นให้เดือนธันวาคม ค.ศ.1965 ปีต่อมาสำนักงานใหญ่หน่วยกองสัญญาของทหารอเมริกัน ที่  29 จัดหาทุนก่อนสร้างอาคารสงเคราะห์เด็กในวงเงินหกแสนบาท ฯพณฯ ยวง นิตโย เป็นผู้เสกและเปิดอาคาร เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม ค.ศ.1967 งานสงเคราะห์ผู้สูงอายุที่ยากจน ดำเนินงานโดยสมาคมวินเซนต์เดอปอล ได้รับการสนับสนุนจาก พลเอกกฤษณ์  สีวะรา รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทยในสมัยนั้นสร้างเรือนสิวะราขึ้นภายในโรงพยาบาลเซนต์หลุยส์ เปิดกิจกรรมเมื่อเดือนตุลาคม ค.ศ.1960 กิจการด้านสงเคราะห์ผู้สูงอายุ  และสงเคราะห์เด็กได้รับความสนใจอย่างมากจากพระคารดินัลมีชัย กิจบุญชู มุขนายกสังฆมณฑลกรุงเทพฯ  ได้อนุมัติให้สร้างอาคารสงเคราะห์คนชราและสถานสงเคราะห์เด็กขึ้นใหม่เนื่องจากอาคารเก่าทรุดโทรมและคับแคบ ฯพลฯ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการศาสตราจารย์ นายแพทย์บุญส่ง มาร์ติน ทำพิธีเปิดอาคารทั้งสองเมื่อวันที่ 15 มกราคม ค.ศ. 1978
 
ใน ปี ค.ศ. 1975 ที่เริ่มเปิดอาคารผู้ป่วยหลังใหม่ “อาคารศรีสวัสดิ์” ตามนามพระราชทาน นายแพทย์ประมวล เจริญจิตต์ ผู้อำนวยการขณะนั้น ร่วมกับซิสเตอร์ แพทย์ พยาบาล ได้จัดการอบรมนักเรียนผู้ช่วยพยาบาลเป็นรุ่นแรก เพื่อผลิตบุคลากรฝ่ายพยาบาล ส่งเสริมวิชาชีพแก่นักเรียน จากสังฆมณฑลต่างๆ เพื่อให้กลับไปช่วยเหลือด้านการรักษาในถิ่นเดิม  โรงเรียนผู้ช่วยพยาบาลได้ดำเนินมาจนบัดนี้ เป็นรุ่นที่ 6 ด้วยความหวังว่าอาจจะเกิดเป็นวิทยาลัยพยาบาลวิทยาเขตเซนต์หลุยส์ขึ้นในอนาคต
 
การก่อสร้างอาคารโรงพยาบาลเซนต์หลุยส์ครบ 14 อาคารตามโครงการเสร็จเรียบร้อยใน ค.ศ.1982 มีวัดพระจิตเจ้า เป็นอาคารสุดท้าย แต่ก็มีความสำคัญเป็นอันดับแรก งานก่อสร้างสำเร็จมาจนได้เพราะ พระอัครสังฆราช มีชัย กิจบุญชู ได้เสียสละทุ่มเททั้งกำลังกายและกำลังใจควบคุม การก่อสร้างด้วยตนเอง มีนายทวีธวัส มั่นธนาการ เป็นสถาปนิก  และบริษัทชัยธนกิจ ของนายธวัชชัย ชัยมงคลตระกูล เป็นผู้รับเหมาก่อสร้าง จึงขอระลึกถึงคุณและบันทึกนามของท่านผู้มีส่วนเกี่ยวข้องไว้ในประวัติด้วย
 
กิจกรรมงานต่างๆที่จัดขึ้นโดยความคิดริเริ่มของ คุณหญิงมาลี พ.สนิทวงค์ ณอยุธยาประทานคณะกรรมการส่งเสริมกิจกรรมโรงพยาบาลเซนต์หลุยส์ และคณะกรรมการฯ ร่วมกับเจ้าหน้าที่ทุกระดับของโรงพยาบาลเซนต์หลุยส์ต่อไปนี้
 
ชื่อและวัตถุประสงค์ของโรงพยาบาลเซนต์หลุยส์ตามพระนามของพระเจ้าหลุยส์ที่ 9 กษัตริย์ฝรั่งเศส พระองค์ได้รับสถาปนาเป็นนักบุญในพระศาสนจักรคาทอลิก เพราะพระองค์ทรงมีพระเมตตากรุณาต่อพสกนิกรและผู้ยากไร้ขาดที่พึ่งทั้งหลาย ชื่อภาษาอังกฤษของโรงพยาบาลคือ St. Louis Hospital
 
วัตถุประสงค์วัตถุประสงค์ของโรงพยาบาลเซนต์หลุยส์ มีดังนี้คือ
 
1. ให้การรักษาพยาบาล บริการและช่วยเหลือผู้เจ็บไข้ทั่วไปโดยไม่คำนึงถึงฐานะ เพศ วัย เชื้อชาติ หรือศาสนา ด้วยความสามารถตามหลักวิชาการอันทันสมัย และด้วยความสำนึกอันเปี่ยมด้วยจริยธรรมตามหลักมนุษยธรรม
 
2. ส่งเสริมการศึกษาทั้งทางด้านวิชาการ และด้านจริยธรรมอันเป็นอุดมการณ์สูงสุดของผู้ให้บริการ และเป็นสถานที่ฝึกปฏิบัติด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ
 
3. ให้การสงเคราะห์ผู้ยากไร้และขัดสน โดยเฉพาะผู้ชราและผู้เยาว์วัย เพื่อให้ได้รับการดูแลและอานุเคราะห์ตามอัตภาพ
 
4. ส่งเสริมจิตารมณ์พระวรสารและคำสอนพระศาสนจักรคาทอลิก โดยจัดกิจกรรมให้เหมาะสม
 
 
ทางเข้าโรงพยาบาล อาคารซ้ายมือเป็นแผนกผู้ป่วย ห้องบัตร ห้องจ่ายยา
 
ตึกด้านหน้า มองจากถนนสาธร ชั้นล่างเป็นแผนกผุ้ป่วยนอก ห้องผ่าตัด
ชั้นบนเป็นหอพักผุ้ป่วย (ห้องพิเศษ)
 
 
ตึกคนไข้พิเศษ มองจากด้านหลังจะเห็นหอระฆังวัดเซนต์หลุยส์
 
หอพักผู้ป่วยอนาถา ถูกระเบิดทำลายเสียหายหมดระหว่างสงคราม
 
 
สถานพยาบาลสงเคราะห์
 
แผนกผู้ป่วยนอกและหอพักผู้ป่วยใหม่ที่ก่อสร้างเสร็จในปี 1975
 
คำแถลงภารกิจ โรงพยาบาลเซนต์หลุยส์
                                                       คำแถลงภารกิจโรงพยาบาลเซนต์หลุยส์
พระเยซูเจ้าได้ทรงแสดงให้ประจักษ์ถึงความรักของพระเจ้า ได้ทรงประกาศข่าวดีเรื่องความรอด ได้ทรงบำบัดความป่วยไข้ทุกชนิด (มธ.9:39) ได้ทรงพระเมตตากรุณาโปรดให้สานุศิษย์  ปฏิบัติเพ็ญเจริญรอยวิถีแห่งความรักเพื่อนมนุษย์ (ลก.9:1-2,6)
 
พระศาสนจักรโรมันคาทอลิกสืบทอดการบำเพ็ญกรณียกิจ ตามแบบฉบับที่พระเยซูเจ้าทรงแสดงโดยถือว่างานบำบัดความป่วยไข้งานบรรเทาความทุกข์ทรมานและงานบริบาลรักษาเป็นภารกิจผูกพันของพระศาสนจักรมิสซังโรมันคาทอลิกกรุงเทพฯปฏิบัติภารกิจที่ผูกพันพระศาสนจักร ในด้านการประกาศข่าวดีและงานเมตตาธรรมด้วยการสร้างโรงพยาบาลเซนต์หลุยส์ เมื่อพุทธศักราช 2441 คริสตศักราช 1898และได้มอบให้ภคินีคณะเซนต์ปอล เดอ ชาร์ตร เข้าบริหารกิจการแรกเริ่มตราบถึงปัจจุบัน ตามภารกิจหลักสี่ประการดังนี้
 
1. การรักษาพยาบาล โรงพยาบาลเซนต์หลุยส์ ดำเนินงานบำบัดพยาบาลผู้ป่วยด้วยความเจริญก้าวหน้าเรื่อยมา   โดยยึดมั่นในเมตตาธรรมให้ ความเอาใจใส่รักษาผู้ป่วยอย่างเต็มความสามารถเสมอเหมือนกันทุกคน    ไม่คำนึงถึงฐานะ เพศ วัย เชื้อชาติ หรือศาสนา  ด้วยจรรยาบาลของ แพทย์พยาบาล และพนักงาน ตามมาตรฐานวิชาชีพชั้นสูง และด้วยใจสำนึกในศักดิ์ศรีของผู้ป่วย ทั้งในขณะที่ยังมีชีวิตอยู่และเมื่อสิ้นชีวิตแล้ว
 
2. การศึกษาโรงพยาบาลเซนต์หลุยส์ สนับสนุนเพิ่มพูนความรู้ความสามารถทุกระดับ ให้ก้าวทันกับเทคโนโลยีและความรู้อันทันสมัยสร้างพอใจในงานที่ตนมีหน้าที่รับผิดชอบเพื่อประโยชน์บริการผู้ป่วย
 
วิทยาลัยพยาบาลเซนต์หลุยส์ ซึ่งก่อตั้งเมื่อปี คริสตศักราช 1984 จะเป็นสถาบันทางวิชาการเพื่อมนุษยธรรม ให้ความรู้ฝึกฝนอบรมและผลิตผู้มีคุณธรรม ประกอบวิชาชีพพยาบาล เพื่อที่จะได้นำความรู้ความสามารถและจริยธรรมอันดีงาม ปฏิบัติงานบริบาลผู้ป่วยด้วยประสิทธิภาพอ่อน โยนและอบอุ่น เปี่ยมด้วยความเมตตากรุณา
 
 
คณะซิสเตอร์ที่ปฏิบัติงาานในโรงพยาบาลสมัยแรกๆ
 
3. งานเมตตาสงเคราะห์ เพื่อเป็นพยานถึงความรักของพระเยซูเจ้า และสืบต่องานของพระองค์โรงพยาบาลได้เปิดสถานที่สงเคราะห์เด็ก และผู้ สูงอายุเพื่อให้ได้รับการดูแลอนุเคราะห์ทั้งทางกายและทางใจตามอัตภาพ
 
4. งานศาสนาและจิตใจ โรงพยาบาลเซนต์หลุยส์ดำเนินงานด้านการอภิบาลตามแบบฉบับของพระเยซูเจ้า ให้ความสำคัญแก่จิตใจควบคู่กับร่างกายโดยยึดจิตตารมณ์เมตตาธรรมเป็นแนวทางเพื่อให้ผู้ป่วยและผู้ที่มาใช้บริการได้สัมผัสกับการประทับอยู่ของพระเยซูเจ้าทางบุคลากรในโรงพยาบาลตามปรัชญาของโรงพยาบาลที่ว่า
 
                                                   เมตตากรุณาอยู่ที่ใด  พระเจ้าสถิตที่นั้น
                                 (UBI CARITS IBI DEUS EST)
การประกอบการของโรงพยาบาลเอกชนในระยะ 2-3 ปีที่ผ่านมาได้ทวีจำนวนมากขึ้นมีการลงทุนสูงขึ้นทั้งในด้านสถานที่เครื่องมือและอุปกรณ์ ทางการแพทย์ต่างๆ   โรงพยาบาลหลายแห่งได้มีการปรับปรุงทางด้านบริหารให้ดีขึ้นซึ่งก็นับว่าเป็นสิ่งที่ดีเพราะประชาชนที่เจ็บป่วยจะได้มีโอกาสเลือกใช้บริการทางด้านการรักษาพยาบาลได้มากยิ่งขึ้นเพื่อจะได้ฟื้นฟูสมรรถภาพทางร่างกายและจิตใจ ให้ดีขึ้นตามความต้องการโรงพยา บาลเซนต์หลุยส์ซึ่งเป็นโรงพยาบาลกึ่งสาธารณกุศลได้เปิดดำเนินการมานานแล้วจนถึงปีนี้นับเป็นเวลา 90 ปี พอดีแม้ว่าในช่วงระยะเวลาที่ผ่าน มาโรงพยาบาลได้มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงในทุกๆด้านอยู่เสมอแต่คณะกรรมการบริหารก็ได้นิ่งนอนใจที่จะพัฒนาโรงพยาบาล
 
ต่อไป  โดยตั้งเป้าหมายไว้ว่า โรงพยาบาลจะต้องมุ่งสู่ความเป็นเลิศให้ได้ในทศวรรษหน้าคือเมื่อเวลาฉลองครบรอบ100 ปี ทั้งนี้ภายใต้คำขวัญ ที่ว่า เมตตาเป็นฐาน บริการเป็นยอด ในบรรดาการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงหลายๆ อย่าง เพื่อมุ่งไปสู่ความเป็นเลิศในการดูแลรับใช้ผู้ป่วยนั้น แน่ นอนปัจจัยสำคัญที่สุดที่จะทำให้บรรลุเป้าหมายได้สำเร็จนั้นขึ้นอยู่กับพนักงาน และการที่พนักงานจะมีขวัญและกำลังใจที่ผนึกกำลังกันเพื่อผลิต งานที่ดีนั้นจำเป็นต้องมีโครงสร้างการบริหารงานที่เหมาะสมต่อสถานการณ์ปัจจุบันและสามรถรองรับความเจริญเติบโตของกิจกรรมภายในทศวรรษหน้าได้เป็นอย่างดีในการปรับปรุงโครงสร้างการบริหารครั้งนี้คณะกรรมการบริหารตระหนักถึงภารกิจหลัก ประการที่ 3 และ 4 ตามที่ปรากฏในคำแถลงภารกิจ (mission statement) ของโรงพยาบาลเซนต์หลุยส์จึงได้เพิ่มเติมฝ่ายการอภิบาลขึ้นนอกเหนือจากฝ่ายการแพทย์ ฝ่ายการพยาบาล  และฝ่ายการบริหารที่มีอยู่เดิมแล้ว เพื่อเป็นการสนองนโยบายการพัฒนาด้านสาธารณสุข    ตามแผนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 6 ที่มุ่งให้ประชาชนมีคุณภาพดีโดยถ้วนหน้ากันใน ค.ศ. 2000 งานฝ่ายบริบาลจึงเพิ่มแผนกเวชกรรมสังคมขึ้นโดยมีจุดมุ่งหมายในการที่จะให้บริการด้านสุขศึกษาแก่ผู้ป่วยญาติผู้ป่วยและประชาชนทั่วไป โดยไม่จำกัดเชื้อชาติหรือศาสนาทางด้านการส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันควบคุมโรค และการฟื้นฟูสมรรถภาพทั้งในและนอกโรงพยาบาลรวมไปถึงการออกเยี่ยมเยียนผู้ป่วยที่ต้องการดูแลอย่างต่อเนื่อง ส่วนฝ่ายการอภิบาลด้านจิตใจและวิญญาณนั้นจะเน้นหนักไปในด้านการเยี่ยมเยียนผู้ป่วยในและนอกโรงพยาบาล เพื่อให้ความบรรเทาใจและช่วยให้ยอมรับสภาพความเจ็บป่วยอย่างมีความหมาย และความสงบความเชื่อของแต่ละบุคคล งานอภิบาลด้านจิตใจนี้ยังให้การบริการด้านส่ง เสริมคุณธรรมและจริยธรรมแก่ญาติผู้ป่วย และพนักงานของโรงพยาบาลอีกด้วยและที่สุดเพื่อให้การบริการผู้ป่วยและญาติไปด้วยความรวดเร็วและถูกต้องคณะกรรมการบริหารจึงอนุมัติให้ติดตั้งระบบคอมพิวเตอร์เพื่อประมวลข้อมูลต่างๆ สำหรับคณะกรรมการบริหารและคณะแพทย์จะได้ตัดสินใจดำเนินการอย่างมีประสิทธิภาพ และบังเกิดประสิทธิผลมากที่สุด
 
พระสังฆราชยวง นิตโย ทำพิธีเสกและวางศิลาฤกษ์อาคารใหม่ วันที่ 10 มีนาคม ค.ศ. 1973         
       
 
                                                                       เปิดโรงพยาบาลเซนต์หลุยส์
โรงพยาบาลเซนต์หลุยส์เปิดอย่างเป็นทางการ15 กันยายน ค.ศ.1895 มีพิธีเสกโรงพยาบาลอย่างสง่า ชื่อโรงพยาบาลเซนต์หลุยส์ภายใต้อำนวยการของซิสเตอร์เซนต์ปอล เดอชาร์ตร อาคารโรงพยาบาลได้รับการตกแต่งประดับประดาอย่างเต็มที่ ตามระเบียงและทางเดิน  ตกแต่งด้วยต้นปาล์ม และต้นไม้ต่างๆ ตัวอาคารประดับประดาด้วยธงทิวของชาติต่างๆ  ซึ่งมีผู้แทนอยู่ที่กรุงเทพฯ   บรรดาทูตต่างๆพร้อมใจกันมาร่วมพิธีและเมื่อทูตของประเทศใดมาถึงก็จะมีการบรรเลงเพลงชาติของเขาต้อนรับโดยวงดนตรีของโรงเรียนอัสสัมชัญ บางรัก
 
ใน ปี ค.ศ.1950 ได้เกิดโรคระบาด ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ มีนาคม และเมษายน ชาวยุโรปประมาณ 20 คน และคนไทยอีกมาก เป็น โรคนี้ และมารักษาตัวที่โรงพยาบาลเซนต์หลุยส์ แต่เนื่องจากโรคระบาดนี้เป็นโรคต่อกันได้ จำเป็นต้องแยกคนไข้เหล่านี้จากคนไข้อื่นๆไปอยู่ต่างหาก แต่ทางโรงพยาบาลยังไม่มีอาคารรับรักษาโรคติดต่อได้ เหลือแต่อาคารไม้ใหญ่ๆ หลังหนึ่ง มุมด้วยหลังจากเท่านั้น จึงรีบดัดแปลงเป็นอาคารรักษาพยาบาล เป็นการชั่วคราวก่อนได้มีคนตายสี่คน ซึ่งวิทยาการและความพยามสุดยอด ของนายแพทย์ปัวซ์ กับความอดทนเสียสละ เฝ้ารักษาของมาเซอร์ ไม่สามารถแยกสี่ชีวิตนี้จากความตายได้ ในบรรดาผู้เสียชีวิตสี่คนนี้ มีบราเดอร์ อาดัลแบรต์ ของโรงเรียนอัสสัมชัญ รวมอยู่ด้วย
 
ในโอกาสนี้ มาเซอร์คณะเซนต์ปอลเดอชาร์ตรได้รับการชมเชยความประพฤติจากชาวโปรเตสแตนท์ และคนต่างศาสนาที่ได้เป็นพยานถึงความอดทน ความเสียสละความสุขส่วนตัวของคณะซิสเตอร์ เพื่อเฝ้าดูแล ให้กำลังใจแก่คนป่วยเหล่านี้ ซึ่งชาวโลกกลัวไม่ยอมเข้าใกล้ หลังจากโรคระ บาดผ่านพ้นไป บรรดาพ่อค้าบริษัท ห้างร้านใหญ่ๆ ลงความเห็นว่าจะเป็นการรอบคอบสำหรับอนาคต ที่จะสร้างอาคาร โรคติดต่อ จึงได้เข้าปรึก ษามาเซอร์ผู้อำนวยการโรงพยาบาล  เสนอว่า พวกเขายินดีพร้อมใจกัน  บริจาคทรัพย์เท่าที่จำเป็นช่วยกันสร้าง อาคารใหม่อีกหนึ่งหลัง เอาไว้ รักษาคนป่วยโรคติดต่อตอไป คุณพ่อโรมิเออจึงจัดการสร้างอาคารโรคติดต่อทันที สร้างอาคารสงเคราะห์ เ์ด็กๆ ลูกคนต่างศาสนา พระสังฆราช แปร์รอส รายงานว่า ที่โรงพยาบาลเซนต์หลุยส์  เราได้เปิดอาคารสงเคราะห์เด็กน้อยๆ ลูกของคนต่างศาสนา หวังจะได้ช่วยวิญญาณของเด็กๆ  ซึ่งมีตายเป็นจำนวนมากในกรุงเทพฯ ให้เอาตัวรอด นี่จะเป็นภาระหนักอีกภาระหนึ่งที่ มาเซอร์รับไว้ ด้วยจิตใจเต็มไปด้วยความศรัทธาอันแรงกล้า และเสียสละอันล้นพ้น
 
“วจนพิธีกรรม” เสก-เปิดวัดพระจิตเจ้า
โดยพระคาร์ดินัลไมเกิ้ล มีชัย กิจบุญช
 วันที่ 31 ตุลาคม 1982
 
ปี ค.ศ. 1971สร้างอาคาร สงเคราะห์เด็ก อีกหลังหนึ่ง
เนื่องจากคนต่างศาสนา มาฝากเด็กน้อย ให้เรารับไว้รักษาเลี้ยงดูเป็นจำนวนทวีขึ้นทุกวัน เราจำเป็นต้องสร้างอาคารอีกอาคารหนึ่งให้เราสามารถ รับเด็กเหล่านี้ไว้รักษา
 
ปี ค.ศ. 1918 สร้างอาคารพิเศษ รับเด็กซึ่งกำลังจะตาย
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระกรุณาบริจาคทรัพย์ ช่วยสร้างอาคารพิเศษหลังหนึ่ง ข้างๆ โรงพยาบาล  เพื่อจะรับพวก  เด็กๆ ซึ่งกำลังจะตาย และมีส่งมาทุกๆวัน
 
 
ปี ค.ศ. 1926 อาคารนักบุญเทเรซา
อารคารหลังนี้ ได้สร้างไว้ เพื่อรับการรักษาเฉพาะคนป่วยที่เป็นคนจน และไม่สามารถที่จะออกค่าใช้จ่าย ในการรักษาพยาบาล
 
อาคารนักบุญเทเรซาหลังนี้โดนลูกระเบิดเพลิง เมื่อ ค.ศ.1942 ในสงครามโลกครั้งที่สองไหม้หมดทั้งอาคาร  พร้อมกับอุปกรณ์เครื่องมือ เครื่อง ยาหมดทุกอย่าง อาศัยความใจเย็นและใจกล้าของซิสเตอร์  และผู้ช่วยพยาบาล  คนป่วยทุกคนก็ถูกนำส่งไปให้พ้นจากไฟมีแต่คน เดียวเท่านั้นตายทันที เขาเพิ่งรับศีลล้างบาปสองวันก่อน อาคารนักบุญเทเรซานี้ ทางโรงพยาบาลสร้างขึ้นใหม่ทันที
 
ปี ค.ศ.1959 สร้างอาคารสงเคราะห์คนชรา
ในโอกาสฉลองพระคริสตกษัตริย์ได้เปิดอาคารสงเคราะห์คนชรา ซึ่งคุณพ่อลังเยร์ ได้สร้างขึ้น ใต้ความอุปการะของคณะเซนต์วินเซนต์เดอปอล
 
พระสังฆราช โชแรงได้เสนอเสกอาคารใหม่สงเคราะห์คนชรา ซึ่งคุณพ่อลังเยร์ได้สร้างขึ้น ในเขตที่ดินโรงพยาบาลเซนต์หลุยส์  อาศัยปัจจัยซึ่ง ชาวพระนครยินดีบริจาค และโดยเฉพาะพลเอก กฤษญ์ สีวะรา รองผู้บังคับการกองทัพภาคที่ 1 เป็นผู้มีพระคุณต่ออาคารใหม่นี้ เป็นคนสำคัญ ได้เปิดป้ายอาคาร สีวะรา
 
งานหลักฝ่ายอภิบาล
1. งานเมตตาสงเคราะห์ ความรู้สึกเวทนาสงสารเมื่อเห็นเพื่อนมนุษย์ เจ็บป่วยนั้นบางครั้งก็ดูจะเป็นการแสดงออกแบบเดียวถึงความเมตตาและ ความเห็นอกเห็นใจ โรงพยาบาลเซนต์หลุยส์มิได้พอใจอยู่เพียงความสะเทือนใจเหล่านี้  แต่ได้รับพลังกระตุ้นให้ปฏิบัติอย่างหนึ่งเพื่อความช่วย เหลือผู้เจ็บป่วย ผู้ขาดสน และผู้ประสบความทุกข์ร้อน จึงได้เปิดสถานสงเคราะห์เด็กและคนชราขึ้น และให้ความอนุเคราะห์ผู้ป่วยที่ขัดสนในด้านวัตถุด้วย ตามควรแก่อัตภาพ
 
2. ให้การศึกษาอบรม โรคภัยไข้เจ็บของมนุษย์ เรียกร้องเมตตาธรรมจากหัวใจมนุษย์ด้วยกัน ซึ่งแท้จริงแล้ว  ถึงขั้นอุทิศตนเพื่อประโยชน์สุข ของผู้ต้องประสบความทุกข์ทรมานนั้น เมตตากิจแบบชาวสะมาเรียผู้ใจดีเป็นสิ่งที่ได้มาจากความเจ็บปวดและความทุกข์ทรมานนั้นเอง งานเมตตาสงเคราะห์คงอยู่ต่อไปนานเท่านานได้  จำต้องอาศัยสถานบันที่จัดอย่างมีระบบเพื่อคอยเกื้อหนุนให้สามารถรับใช้และให้บริการอย่างผู้เชี่ยวชาญ อาชีพแพทย์และพยาบาล  ซึ่งถือได้ว่าเป็นกิจการของชาวสะมาเรียผู้ใจดีนั้น   ย่อมเอาใจใส่เพิ่มพูนความชำนาญอยู่เสมออาศัยวิทยาการ  และสมรรถภาพของตน ยอมสละทั้งเวลา และแรงกายแรงใจเพื่อชีวิตมนุษย์ โรงพยาบาลเซนต์หลุยส์ จึงได้ก่อตั้ง วิทยาลัยพยาบาลเซนต์หลุยส์ ขึ้นเพื่อสืบต่อจิตารมณ์ เมตตาธรรมแบบคริสต์และยังฝึกฝนให้นักศึกษาทำงานด้วยความซื่อสัตย์พากเพียรเพื่อให้ความประณีตละไมยิ่งขึ้นต่อ ความเจ็บไข้ของผู้ป่วย ถือว่าตนได้รับกระแสเรียก โดยเฉพาะให้มาเป็นสักขีพยานแห่งความรัก ในความเจ็บป่วยของเพื่อนมนุษย์
 
3. งานด้านศาสนาและจิตใจ การมีสถานบันที่มีระเบียบเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อฐานะที่มั่นคง แต่สถาบันโดยตัวเอง จะมีความสำคัญกว่ามนุษย์ในยาม ที่ต้องเผชิญกับความเจ็บปวดมิได้ ซึ่งไม่เพียงความเจ็บป่วยทางกาย แต่ยิ่งกว่านั้นในความเจ็บป่วยทางจิตใจหลายรูปแบบ และเหนืออื่นใดเมื่อเป็นการทรมานทางวิญญาณ โรงพยาบาลเซนต์หลุยส์จึงได้จัดการฝ่ายอภิบาลไว้ด้วย  ให้มีผู้เยี่ยมบรรเทาใจผู้ป่วยและมีพระสงฆ์โปรดศีลศักดิ์สิทธิ์สำหรับผู้ป่วยคาทอลิกผู้ป่วยที่ไม่อาจเยียวยาได้ก็จะได้รับการเตรียมใจเพื่อไปพบกับพระบิดาผู้พระทัยดี อันเป็นวาระที่สำคัญที่สุดในชีวิตของแต่ละบุคคล
 
งานปฏิบัติ
     ก.ผู้ป่วย
- เยี่ยมผู้ป่วยที่รับใหม่ ผู้ป่วยที่เจ็บหนัก เตรียมผู้ป่วยที่กำลังจะรับการผ่าตัด เพื่อบำรุงขวัญและกำลังใจ
 
- แนะนำให้คำปรึกษาแก่ผู้ป่วยและญาติ เมื่อเกิดความขัดข้องใจหรือหมดกำลังใจในเรื่องความเจ็บป่วยหรือเรื่องอื่นๆ ช่วยเหลือผู้ป่วยและญาติ ได้เกิดการยอมรับความหมายแห่งการทนทุกข์
 
- ดูแลฝ่ายวิญญาณผู้ป่วยคาทอลิก จัดให้มีการส่งศีลมหาสนิท และศีลเจิมผู้ป่วย ตลอดจนอวยพรแก่ผู้ป่วยที่ใกล้จะตาย
 
- ให้การช่วยเหลือทุกเวลาที่ผู้ป่วยต้องการบรรเทาใจหรือคำแนะนำ หรือการเตรียมตัวก่อนจะจากโลกนี้ไป
 
- ประสานงานหรือส่งต่อผู้ป่วยกับโบสถ์หรือศาสนจักรอื่นๆเมื่อผู้ป่วยจะกลับบ้านและจำเป็นต้องได้รับการดูแลฝ่ายจิตใจและวิญญาณ  และในกรณีที่ผู้ป่วยต้องการพบหรือขอคำแนะนำ
 
    ข. ผู้สูงอายุ
- จัดให้มีการประกอบศาสนพิธีให้แก่ผู้สูงอายุ เยี่ยมเยียนให้คำแนะนำและคำปรึกษา
 
- อบรมผู้สูงอายุเป็นครั้งคราว เพื่อเตรียมตัวในการยอมรับสภาพของตน อย่างมีความหมาย
 
-ประสานงานกับหัวหน้าหรือผู้ดูแลสถานสงเคราะห์คนชราเพื่อหาทางแก้ไขปัญหาหรือหาแนวทางปรับปรุงให้กิจการของสถานสถานสงเคราะห์ คนชราได้ดียิ่งขึ้น
 
     ค. เด็กในความอุปการระของโรงพยาบาล
- จัดให้มีการเยี่ยมเยียนและให้ความอบอุ่น ความรัก ความเมตตาต่อเด็กๆ
 
- จัดการสอนคำสอนและอบรมเป็นครั้งคราว
 
- ประสานงานกับหัวหน้าสถานสงเคราะห์ หรือหาแนวทางปรับปรุงให้กิจการของสถานสงเคราะห์เด็กให้ดียิ่งขึ้น
 
      ง. บุคลากรของโรงพยาบาล
- จัดให้มีการให้คำแนะนำและคำปรึกษาแก่บุคลากรของโรงพยาบาล
 
- ประสานงานกับผู้อำนวยการฝ่ายต่างๆ หรือหัวหน้าแผนกเพื่อช่วยลดความขัดแย้งของบุคลากร ผู้ป่วยและญาติ และเพื่อทำแผนกิจกรรมต่างๆ
 
- จัดให้มีการถวายบูชามิสซาให้บุคลากรของโรงพยาบาลทุกวัน เชิญศีลมหาสนิทไปให้ผู้ป่วยคาทอลิกทุกวัน วางแผนจัดศาสนพิธีหรือกิจกรรมอื่นๆ เพื่อเสริมสร้างความศรัทธา ความเชื่อ คุณธรรมและจริยธรรมให้แก่บุคลากรของโรงพยาบาล
 
- ให้คำแนะนำในกรณีที่เกิดปัญหาเกี่ยวกับการรักษาอันจะนำไปสู่การผิดต่อศีลธรรม
 
       จ. งานอื่นๆ
- เก็บบันทึกกิจกรรมต่างๆ ที่ได้กระทำในแต่ละเดือน นำเสนอผู้อำนวยการโรงพยาบาล
 
- ประสานงาน ร่วมประชุมกับผู้อำนวยการฝ่ายต่างๆ หรือหัวหน้าแผนก ในกรณีที่ผู้ป่วยหรือญาติเกิดความขัดข้องใจ
 
- เป็นผู้แทนโรงพยาบาล ในการร่วมในศาสนพิธีต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในพิธีปลงศพ หรือไปประชุมภายนอกโรงพยาบาลในงานที่รับมอบหมาย
 
- สร้างบรรยากาศโรงพยาบาล ให้เป็นบรรยากาศคาทอลิกที่เต็มไปด้วยความรักและความเมตตาของพระเป็นเจ้า
 
- ใช้โสดทัศนูปกรณ์ต่างๆ เพื่อเสริมสร้างความสงบแห่งจิตใจ และเสริมสร้างจริยธรรมและคุณธรรมของผู้ป่วย ญาติ บุคคลทั่วไป และพนักงาน ของโรงพยาบาล
 
- จัดพิมพ์บทภาวนา เอกสารอื่นๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อจิตใจ และวิญญาณของผู้ป่วย ญาติ และบุคลากรเพื่อเป็นเครื่องชี้ทางชีวิตให้มีความหมาย
 
- ตรวจตราหนังสือที่จะนำมาบริการผู้ป่วย ญาติ และบุคคลทั่วไป
 
- ดำเนินการใดๆ ที่เกี่ยวกับงานอภิบาลตามที่ผู้อำนวยการโรงพยาบาลมอบหมาย
  
ความเป็นมาระบบคุณภาพโรงพยาบาลเซนต์หลุยส์
ใน ปี ค.ศ.1995-1996 นับตั้งแต่วันที่ 15 กันยายน ค.ศ.1995 ที่โรงพยาบาลเซนต์หลุยส์ได้ประกาศนโยบายที่จะนำระบบการบริหารคุณภาพ ทั้งองค์การ  หรือ Total Quality Management - TQM มาปรับปรุงการให้บริการของโรงพยาบาล เพื่อให้ผู้รับบริการได้รับ ความพึงพอใจ สูงสุดนอกเหนือจากการปรับปรุงอาคารสถานที่ และการนำอุปกรณ์การแพทย์สมัยใหม่มาติดตั้ง TQM ก็ได้เริ่มต้นอย่างเป็นรูปร่างในปี ค. ศ.1996 เมื่อโรงพยาบาลได้รับความช่วยเหลือจาก CESO หรือ Canadain Executive Services Organization ส่งผู้เชี่ยวชาญด้าน TQM ในโรงพยาบาลจากแคนาดามาช่วยเริ่มโครงการนำร่อง ส่งผลให้เกิดการนำแนวคิดเรื่อง Quality Planning, Quality Control Quality Assurance และ Quality Improvement มาปฏิบัติ โดยให้หน่วยงานต่างๆ จัดทำแผนงาน  และดำเนินโครงการที่ได้รับมอบหมาย จาก คณะกรรมการส่งเสริมคุณภาพ (Quality Management Streeing Committee) กลาง ค.ศ. 1996 โรงพยาบาลเซนต์หลุยส์ได้ทำการ รื้อปรับระบบ (Re-Engineering)  โครงสร้างการบริหาร และกระบวนการให้การบริการรักษาพยาบาล ส่งผลให้เกิดฝ่าย แผนก และตำแหน่ง พนักงานใหม่ที่มุ่งเน้นการให้บริการ และเสริมพิเศษที่เพิ่มมูลค่า (พนักงานแผนกผู้ป่วยสัมพันธ์)นอกจากนี้ ยังทำให้เกิดแนวคิดที่จะมุ่งเน้นการ สร้างทีมแบบข้ามสายงาน หรือ Cross-Function Team เพื่อลดการผลักภาระ และเพิ่มการประสานงานระหว่างหน่วยงานในปี ค. ศ.1997-1998 กลาง ค.ศ.1997  โรงพยาบาลเซนต์หลุยส์ได้ขยายผลการทำ TQM  เข้าสู่การปรับปรุงคุณภาพอย่างต่อเนื่อง จึงได้มีการว่าจ้างที่ปรึกษาจากบริษัทTenessee Associates International หรือ TAI เพื่อนำตัวแบบของอเมริกามาประยุกต์กับงานของโรงพยาบาล จากโครงการนี้ทำให้พนักงานได้คุ้นเคยกับการปรับปรุงคุณภาพการให้บริการ โดยอาศัยการจัดการกระบวนการการทำงานเป็นทีมการใช้ข้อมูล และสถิติในการตัดสินใจ การให้สิทธิอำนาจและการฉลองความสำเร็จ และยังทำให้เกิดวิทยากรหลัก TQM ซึ่งเป็นผู้ถ่ายทอดแนวความคิดใน การจัดการกระบวนการด้วย TQM ให้กับบุคลากร ภายในองค์กร ซึ่งส่งผลให้สามารถจัดตั้งระบบคุณภาพตามมาตรฐาน ISO 9002 ได้อย่างรวดเร็วในเวลาต่อมาหลังจากที่โครงการของ TAI สิ้นสุดลง ช่วงปลาย ปี ค.ศ.1997 โรงพยาบาลเซนต์หลุยส์ได้ตัดสินใจที่จะดำเนินโครงการ TQM ต่อ โดยยึดหลักการทีจะยืนอยู่บนขาของตัวเอง โดยคณะกรรมการส่งเสริมคุณภาพมีมติให้ใช้ตัวแบบ TQM เซนต์หลุยส์ และใช้ TQM เป็นปัจจัยในการประเมินผลของพนักงานและหน่วยงานใน ปี ค.ศ.1998 ซึ่งต่อมาได้มีการปรับปรุงตัวแบบ TQM เซนต์หลุยส์ อีกครั้ง ใน ค. ศ.1999 เพื่อให้เกิดความเหมาะสมกับวัฒนธรรมองค์การมากขึ้น    ด้วยความมุ่งมั่นที่จะมีระบบคุณภาพที่เป็นรูปธรรมชัดเจน และนโยบายของโรงพยาบาลเซนต์หลุยส์ที่จะให้ความร่วมมือทางการแพทย์และการรักษาพยาบาลกับโรงพยาบาลในต่างประเทศ  คณะกรรมการบริหาร จึงตัดสินใจที่จะ เริ่มดำเนินโครงการขอรับรองระบบคุณภาพ  ตามมาตรฐาน ISO 9002  ในเดือนตุลาคม ค.ศ.1996 และได้รับการรับรองระบบคุณภาพตามมาตรฐาน IOS 9002 อย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 18 เมษายน ค.ศ.1997 โดยบริษัท BVQI (Bereau VeritasQuality International) ถือเป็น  "โรงพยาบาลแห่งแรกในประเทศไทยที่รับรองตามมาตรฐาน ISO 9002" เมื่อได้รับการรับรองระบบคุณภาพมาตรฐาน ISO 9002 แล้วคณะกรรมการบริหารจึงตัดสินใจที่จะดำเนินโครงการขอรับรองระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมตามมาตรฐาน ISO 14001 อย่างต่อเนื่อง ด้วยตระหนักถึงความสำคัญของสิ่งแวดล้อมและเพื่อประโยชน์ต่อสังคมโดยมีนโยบายที่มุ่งเน้นถึงการสร้างจิตสำนึกการรักษาคุณภาพของสิ่งแวดล้อมและการป้องกันผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอันเกิดจากกิจกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับการดำเนินกิจการของโรงพยาบาลและได้รับการรับรองอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ ค.ศ.1998 ถือเป็น "1 ใน 4 ของโรงพยาบาลแห่งแรกในโลกที่ได้รับการรับรองตามมาตรฐาน ISO 14001"
 
หลังจากที่โรงพยาบาลเซนต์หลุยส์  ได้รับการรับรองระบบคุณภาพตามมาตรฐาน ISO 9002 และระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม ISO 14001 แล้วบุคลากรของโรงพยาบาลทุกคนต่างตระหนักถึงความสำคัญ ในการดำเนินการตามระบบการบริหารคุณภาพที่เน้นการบริการด้านการรักษาพยาบาลที่ได้รับการรับรอง และถือเป็นหน้าที่หลักที่ต้องปฏิบัติตามระเบียบปฏิบัติและวิธีปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้อง  เพื่อธำรงรักษาระบบให้คงอยู่ตลอดไป และเป็นการสร้างความมั่นใจให้กับผู้รับริการว่าได้รับบริการที่มีคุณภาพตามที่ต้องการ โดยอาศัยกลไกจากการตรวจติดตามระบบคุณภาพภายในในการตรวจสอบและติดตามการปฏิบัติงานให้เป็นไปตามระเบียบปฏิบัติและวิธีปฏิบัติงาน และในอีกมุมมองหนึ่ง อาจถือเป็นการ หาโอกาสในการพัฒนาหรือปรับปรุงงานให้มีคุณภาพดีขึ้นอย่างต่อเนื่องก็ได้ ทั้งนี้   ในกรณีที่พบว่ามีการกระทำที่ไม่สอดคล้องหรือสิ่งที่ไม่เป็น  ไปตามข้อกำหนดจะต้องมีการปฏิบัติตามระเบียบปฏิบัติจริง นอกจากนี้ ยังต้องได้รับการตรวจติดตามหลังการรับรอง (Surveillance)  จากผู้ตรวจประเมินภายนอกอย่างต่อเนื่องทุก 6 เดือน ในระยะเวลา 3 ปี ทั้งในส่วนของ ISO 9002 และ ISO 14001.สำหรับระบบคุณภาพตามมาตรฐาน ISO 9002 เมื่อได้มีการตรวจประเมินครบ ตามกำหนด 3 ปีแล้ว โรงพยาบาลเซนต์หลุยส์ได้ตัดสินใจที่จะขอรับรองระบบคุณภาพตามมาตรฐาน ISO 9002 อีกครั้ง และได้รับการรับรองอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 26 เมษายน ค.ศ. 2000 โดยบริษัท URS (United Registrar of Systems) ในขอบเขตการขอรับรอง คือ Provision Acute Health Care Services หมายเลขทะเบียน 2352   ในส่วนของระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม ตามมาตรฐาน ISO 14001 ก็ยังคงธำรงรักษาไว้ ค.ศ. 2000  โรงพยาบาลได้ตระหนักถึงความสำคัญในกระบวนการผลิต อาหาร สำหรับผู้ป่วย จึงได้ดำเนิน โครงการขอรับรองระบบคุณภาพด้าน HACCP ตามมาตรฐาน มอก.7000 เพื่อทำให้มั่นใจว่าอาหารที่ประกอบจากครัวอาหารผู้ป่วยมีคุณภาพถูกสุขลักษณะ และปลอดภัย โดยเน้นการกำหนดจุดวิกฤตที่ต้องควบคุมและมาตรการควบคุมตั้งแต่รับวัตถุดิบ การจัดเก็บ การประกอบการและการจัดส่งถึงผู้ป่วย จนได้รับการรับรองอย่างเป็นทางการ  เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน ค.ศ. 2000 โดยสำนัก งานคณะกรรมการอาหารและยา(อ.ย.)และสำนักงานผลิตภัณฑ์มาตรฐานอุตสาหกรรม(สมอ.)ในขอบเขต "การบริการอาหาร ผู้ป่วยใน (Food for In-Patients)" และด้วยความตระหนักถึงความสำคัญในการพัฒนางานบริการด้านการรักษาพยาบาลโดยเน้นผู้ป่วยเป็นศูนย์การโรงพยาบาลจึงมีนโยบายที่จะพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาลตามมาตรฐาน HA โดยเริ่มดำเนินโครงการใน ค.ศ. 1998 มุ่งเน้นการทำกิจกรรม พัฒนาคุณภาพ ตามแนวคิด P-D-C-A ทั้งในส่วนของกระบวนการทำงานของหน่วยงาน ระหว่างหน่วยงานในลักษณะ ของทีมคร่อมสายงาน ทั้งในส่วนงานบริการดูแลรักษาผู้ป่วย งานสนับสนุนการบริการรักษาพยาบาล และงานบริการทั่วไป   ซึ่งผลจาการ ดำเนินโครงการก่อให้เกิดที มพัฒนาคุณภาพ ได้แก่  ทีมนำคลินิก (PCT-Patient Care team) ที่มุ่งเน้นการพัฒนาคุณภาพการดูแลรักษาผู้ป่วยในกลุ่มต่างๆ คือ PCT อายุรกรรม PCT ศัลยกรรม PCT สูตินรีเวชกรรม PCT กุมารเวชกรรม PCT ผู้ป่วยนอก และ PCT ผู้ป่วยฉุกเฉิน ทีมกระบวนการตามปกติ (Normal Process Team; NPT) ที่มุ่งเน้นการพัฒนาคุณภาพงานในหน่วยงานทีมปรับปรุงกระบวนการ (Process Improvement Team: PIT) และทีมเฉพาะกิจ (Special Project Team; SPT) ที่มุ่งเน้นการพัฒนาคุณภาพ งานที่เกี่ยวข้องกันระหว่างหน่วยงานในลักษ ณะของทีมคร่อมสายงาน และได้รับการ Pre Survey  โดยผู้เยี่ยมสำรวจจากสถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล (พรพ.) เมื่อวันที่ 25-27 กรกฎาคม ค.ศ. 2000 ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินการปรับระบบตามคำแนะนำของผู้เยี่ยมสำรวจ และการเชื่อมโยงแนวคิดในการ พัฒนาคุณภาพบนพื้นฐานของการพัฒนาคุณภาพงาน ตามระบบต่างๆ ที่ได้ดำเนินการมา เช่น กิจกรรม 7ส กิจกรรม  TQM กิจกรรม TPM ระบบคุณภาพ (ISO 9002) ระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม (ISO 14001) ระบบข้อเสนอแนะ (SS) เพื่อขอรับการตรวจประเมินอีกครั้งในปี ค.ศ. 2002
 
เอกลักษณ์โรงพยาบาลคาทอลิก
ในประวัติศาสตร์ของพระศาสนจักรตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน พระศาสนจักรตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันพระศาสนจักรให้ความสนใจต่อปัญหาด้านสุขภาพอนามัยมาโดยตลอด กล่าวว่าคือ พระศาสนจักรปฏิบัติกิจเมตตาต่อผู้ทนทุกข์ทรมานอย่างเป็นรูปธรรม อีกทั้งยังส่งเสริมสวัสดิภาพของ มนุษย์ทั้งในสภาพแวดล้อม สังคม เศรษฐกิจ และวัฒนธรรมที่แตกต่างกันอีกด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ได้ริเริ่มกิจเมตตามากมายตั้งแต่บรรดาอัครสาวกเป็นต้นมาจนกระทั่งปัจจุบันเพื่อให้สมัครสาวกเป็นต้นมา จนกระทั่งปัจจุบันเพื่อให้สมเป็นพระศาสนจักรที่ยอมรับและเป็นผู้เยี่ยวยารักษาผู้ป่วยตามคำสั่งสอนของพระเยซูเจ้า จึงถึงเป็นสิทธิหน้าที่ที่พระศาสนจักรต้องปฏิบัติด้วยความซื่อสัตย์ ในฐานะที่ได้รับมอบหมายจากพระเยซูคริสตเจ้าในโลกสุขภาพอนามัย ดังคำสั่งของพระองค์ที่ว่า “จงประกาศข่าวดีและรักษาคนเจ็บป่วย” (เทียบ ลก.9:1-6) เพราะคำสั่งของพระองค์นี่เอง  ที่ทำให้แก่นแท้ของการปฏิบัติงานของโรงพยาบาลคาทอลิกแตกต่างจากโรงพยาบาลอื่นๆ โรงพยาบาลทั่วไปโดยเฉพาะอย่างยิ่ง โรงพยาบาลของรัฐนั้นถือว่าเป็นสิทธิและหน้าที่ในการช่วยเหลือสวัสดิภาพและคุณภาพชีวิต  ให้การประกันสิทธิด้านสุขภาพอนามัยแก่ประชาชนอย่างแท้จริง  แต่โรงพยาบาลคาทอลิกจะต้องปฏิบัติการนอกเหนือไปจากนี้ และยิ่งกว่านี้ คือปฏิบัติหน้าที่ของพระเยซูคริสต์และเลียนแบบอย่างพ ระองค์ในฐานะที่ทรงเป็นนายแพทย์ผู้ประเสริฐที่รักษาทั้งกายและวิญญาณด้วยฉะนั้น ภารกิจพิเศษของสถาบันคาทอลิก ที่เกี่ยวข้องกับการพย าบาลทุกแห่งในพระศาสนจักรแสดงออกให้เห็นเป็นรูปธรรมในการปฏิบัติตามคำสั่งของพระเยซูเจ้าที่ว่า “จงรักผู้ป่วย” จึงไม่ใช่เป็นภารกิจที่จ ะเลือกทำหรือไม่ทำก็ได้ตามใจชอบ แต่ต้องกระทำและต้องมีอยู่ในพระศาสนจักร (เทียบ Dolemtium Hominum,1) เท่าที่ผ่านมา โดยพื้นฐานแล้วพระศาสนจักรปรากฏตัวเองในโลกสุขภาพอนามัยใน 2 รูปแบบพระศาสนจักรสร้างโรงพยาบาลเองรูปแบบที่สองพระศาสนจักรปฏิบัติภารกิจในโรงพยาบาลอื่นๆ โดยอาศัยบรรดานักบวช (เทียบcaffarra C,1985) โดยเฉพาะอย่างยิ่งรูปแบบแรกนั้น ปรากฏตามหลักฐานอย่างเป็นทางการให้สังคายนาที่นิเชอา ครั้งที่1 ใน ค.ศ. 325 ในสังคายนาครั้งนั้น มีข้อกำหนดให้พระสังฆราชจัดให้มีสถานที่ที่เรียกกันว่า “เซโนโดคีโอ” ในทุกเมืองเป็นสถานที่ที่พักพิงและให้การรักษาแก่บรรดาผู้เดินทางที่ยากจนและเจ็บป่วยทางซีกโลกตะวันออก นักบุญบาซีลีโอมหาราช (ค.ศ.330-379) ในช่วงปีแรกๆ แห่งการเป็นพระสังฆราชของท่าน ท่านได้สร้างปราการแห่งความรัก (เรียกว่า Basiliade ตั้งแต่ศตวรรษที่ 5 ) บริเวณนอกกำแพงของเมืองเซซารีอาแห่งแคว้นคัปปาโดเชีย เริ่มใน ค.ศ. 372 เปิดในวันที่ 3 กันยายน ค.ศ. 374 ทางซีกโลกตะวันตก บุตรสาวขุนนางชาวโรมันคนหนึ่งนามว่า ฟาบีโอล่า (Fabiola) ( ถึงแก่กรรมใน ค.ศ. 399 ) ในโรงพยาบาลซึ่งเป็นที่พักของนางที่ปอร์โต้ โ รมาโน่นั้นได้เปิดบริการรับใช้ผู้ป่วยเป็นการส่วนตัวบรรดาผู้ป่วยเหล่านี้นางรับมาจากบริเวณจัตุรัสและตามถนนของกรุงโรม (เทียบ corsato C…1997) นี่แหละคือตัวอย่างที่เด่นชัดในการปฏิบัติจริงเพื่อบริการรับใช้ผู้ป่วยในลักษณะของโรงพยาบาลซึ่งนอกจากเป็นสถานที่พักพิงแล้ว ยังเป็นสถานที่เยียวยารักษาผู้ป่วยด้วยอันเป็นรูปแบบเดียวกันกับการปฏิบัติตนของกลุ่มคริสตชนกลุ่มแรกๆ ที่ได้รับใช้ผู้ป่วยเหมือนกับรับใช้พระสวามีเจ้าเอง หากโลกของสุขภาพอนามัยเป็นดั่งกระจกเงาส่องสังคมไม่มากก็น้อยที่ พระศาสนจักรต้องเผชิญกับการท้าทายต่อสถานการณ์ใหม่ๆ ด้านปัญหาจริยธรรมและด้านการให้ความช่วยเหลือโรงพยาบาลกลาย เป็นแหล่งวิทยาการที่ก้าวหน้า ด้านเทคนิคและเทคโนโลยี เป็นสถานที่ซึ่งช่วงสำคัญของชีวิตมนุษย์เกิดขึ้นตั้งแต่เกิดจนกระทั่งตาย เป็นสถานที่ซึ่งหลายบุคคลเข้ามาใช้ชีวิตและมีประสบการณ์ร่วมกัน เป็นประสบการณ์ชีวิตทั้งทางร่างกายและฝ่ายวิญญาณ และบ่อยๆ  ก็มีอิทธิผลต่อท่าทีที่แสดงออกทางด้านจิตใจและวิญญาณของชีวิตแต่ละคนด้วย
 
ลักษณะการรับใช้
ประเด็นสำคัญอีกประการหนึ่งสำหรับยุคปัจจุบัน การถกเถียงกันเรื่องที่ว่า อะไรคือ รูปแบบและลักษณะการแสดงออกของการเป็นโรงพยาบาลคาทอลิกที่แท้จริง ที่ทุกคนเห็นแล้วจะต้องกล่าว เป็นเสียงเดียวกันว่า นี่เป็นโรงพยาบาลคาทอลิก ภาพพจน์ของโรงพยาบาลคาทอลิกควรปรากฏ ต่อสายตาของคนทั่วไปอย่างไร โดยแท้จริงแล้ว เพียงแค่พิจารณาความหมายของ คำว่า “คาทอลิก” ก็น่าจะอธิบายถึง เอกลักษณ์และลักษณะของการรับใช้ได้อย่างเพียงพอ ครั้งหนึ่งสมเด็จพระสันตะปาปายอห์นปอลที่ 2 ได้ตรัสสุนทรพจน์โอกาสประชุมสัมมนาโรงพยาบาลและการบริก ารสาธารณสุขคาทอลิกระดับโลกเมื่อวันที่ 31 ตุลาคม ค.ศ.1985 ว่าโรงพยาบาลคาทอลิกไม่ต้องปล่อยปละละเลยในฐานะผู้เป็น  “ฉายาลักษณ์ ของพระเป็นเจ้า (ปฐก.1:26) เพื่อผู้ป่วยจะได้รับความช่วยเหลือพร้อมกับความเคารพในศักดิ์ศรีของผู้ป่วยเอง นอกจากนี้ยังตรัสอีกว่า “โรงพยาบาลคาทอลิกในฐานะเป็นแหล่งที่เป็นประจักษ์พยานของพระศาสนจักรต้องมองดูตัวเองใหม่เกี่ยวกับรากฐานที่แท้จริงขององค์กรเพื่อจะได้ไตร่ตรองคำนึงถึงค่านิยมแห่งพระวรสารให้มากขึ้น อีกทั้งจะต้องสะท้อนให้เห็นถึงค่านิยมเหล่านี้ตามแนวทางคำสั่งสอนของพระศาสนจักรด้านศีลธรรมและสังคมระบบที่มุ่งแต่ผลประโยชน์ด้านเศรษฐกิจ การเงินและมุ่งเน้นแต่เรื่องวินิจฉัยทางการแพทย์เท่านั้น ขอให้รู้จักอยู่ใกล้ชิดเพื่อน มนุษย์และช่วยเหลือเขาในท่ามกลางความกังวลใจต่างๆที่เข้าครอบงำเขาพร้อมความเจ็บป่วยให้รู้จักจรรโลงวัฒนธรรมที่เสริมสร้าง “ศักดิ์ศรีมนุษย์” ให้เกิดขึ้นในระบบแพทย์และโครงสร้างของโรงพยาบาล กระนั้นก็ดีแม้คำสอนปรากฏเช่นนี้  จิตสำนึกของการเป็นพยานจะปรากฏออกม าเช่นนั้นแต่การปรากฏตัวเองของพระศาสนจักรในโลกของสุขภาพอนามัยใช่ว่าจะไม่ตกอยู่ในอันตราย ยังคงอยู่ใน “ภาวะของการเสี่ยง” นั้นจำเป็นที่จะต้องพิจารณาลักษณะของการปรากฏตัวในโลกสุขภาพอนามัยของพระศาสนจักรตามมาตรการดังต่อไปนี้
 
มาตรการที่เป็นพื้นฐานประการแรก คือความสนใจของพระศาสนจักรในแวดวงสุขภาพอนามัยต้องมุ่งไปยังผู้ถูกทอดทิ้งผู้ยากจนแน่นอนความยากจน แสดงออกในรูปแบบใหม่ๆ ด้วยแม้ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ในช่วงทศวรรษสุดท้ายนี้พัฒนาไปได้ไกลมากที่สามารถเอาชนะโรค ภัยไข้เจ็บได้มากมายแต่ในขณะเดียวกันอีกด้านหนึ่ง  ก็ก่อให้เกิดความจำเป็นที่จะต้องให้ความช่วยเหลือในรูปแบบ ใหม่ๆ อีกมากมายตัวอย่าง เช่นผู้ป่วยในวาระสุดท้ายของชีวิต ผู้สูงอายุที่ช่วยเหลือตนเองไม่ได้ และผู้ป่วยโรคจิต เหล่านี้ถือว่าผู้ป่วยอยู่ ในสถานการณ์ของความยากจนใน รูปแบบใหม่  ดังนั้นสถาบันด้านพยาบาลในพระศาสนจักรคาทอลิกจึงต้องพยายามเจริญเติบโตขึ้นในการเป็นสำนักแห่งเมตตารักให้ใหม่และสดเสมอ
 
กลุ่มบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติด บ้านพักเด็กหรือผู้ป่วยโรคจิต ศูนย์ดูแลผู้ป่วยโรคจิต ศูนย์ดูแลผู้ป่วยเอดส์ สมาคมสังคมสงเคราะห์ โดย เฉพาะสมาคมช่วยเหลือคนทุพพลภาพ ฯลฯ เป็นสถานที่ที่แสดงให้เห็นอย่างชัดเจน ความรักสามารถสร้างสรรค์ได้เพียงไร   เพื่อให้แต่ละคนมีเหตุผล ใหม่ของความหวัง และแนวทางปฏิบัติที่เป็นไปได้สำหรับชีวิต ( Evangelium Vitae,88 )
 
มาตรการประการที่สองความสนใจต่อบุคคลในฐานะองค์รวม ดังแบบอย่างของพระเยซูคริสตเจ้าซึ่งไม่ได้จำกัดอยู่ที่การเยียวยารักษาด้านร่างกายเท่านั้น แต่ยังคำนึงถึงด้านอื่นๆ คือด้านจิตใจ จิตวิญญาณและด้านศาสนาโดยพยายามช่วยเหลือผู้ป่วยให้ยอมรับและเข้าใจคุณค่าและความหมายของความทุกข์ทรมานที่ตนเองได้รับโรงพยาบาล และบ้านพักฟื้นของผู้ป่วย ถือเป็นสถานที่ที่เหมาะสมอย่างยิ่งในการแสดงถึงวัฒนธรรมแห่งชีวิต สถานบันดังกล่าวต้องไม่เป็นเพียงสถานที่ดูแลเอาใจใส่ผู้ป่วยและคนใกล้ตายเท่านั้น แต่ก่อนอื่นหมดจะต้องเป็นสถานที่ที่ยอมรับและเข้าใจความทุกข์ทรมาน ความเจ็บปวด และความตายแบบคริสตชน ลักษณะเช่นนี้ต้องปรากฏให้ เห็นอย่างชัดเจนและอย่างมีประสิทธิภาพในสถานบันที่มีนักบวชเป็นผู้บริหารหรือสถานบันที่เกี่ยวข้องกับพระศาสนจักรอย่างใดอย่างหนึ่ง (Eangelium vitae 88)
 
มาตรการประการที่สาม โรงพยาบาลคาทอลิกเป็นรูปแบบที่ปรากฏให้เห็นถึงการปฏิบัติหน้าที่ของความเป็นหมู่คณะของพระศาสนจักรซึ่งจะต้องมีหนึ่งเดียว ศักดิ์สิทธิ์สากล และสืบจากอัครสาวก อาจจะยากที่จะมองเห็นถึงความมีจิตตารมย์ในการเป็นหมู่คณะที่มีชีวิตชีวา ช่วยเหลือเจือจุน  เห็นใจกัน  เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันในสถานการณ์ปัจจุบัน แต่อย่างไรก็ตาม  หมู่คณะของพระศาสนจักรย่อมหมายถึงบรรดาสมาชิกที่เป็นพระสงฆ์ นักบวช ฆราวาส และทุกๆคนที่รวมกันเข้าเป็นประชากรหนึ่งเดียวของพระเป็นเจ้า
 
ความเป็นหนึ่งเดียว เรียกร้องให้ร่วมมือกัน ช่วยกันส่งเสริม  ป้องกัน รักษา ฟื้นฟูให้เกิดขึ้นในทุกระดับสังคม อีกทั้ง  เรียกร้องให้มีจิตสำนึกว่า ไม่มีใครแม้แต่คนเดียวที่ถูกทอดทิ้งให้อยู่โดดเดี่ยว อ้างว้าง หรืออยู่นอกกรอบสังคม พระศาสนจักรมีส่วนร่วมทุกข์ทรมานกับพวกท่าน ที่กำ ลังป่วย พระศาสนจักรนำความทุกข์ทรมานของพวกท่านไปทูลเสนอต่อพระเยซูเจ้า ผู้ซึ่งทรงทำให้พวกท่านเข้ามีส่วนร่วม ในมหาทรมานซึ่งไถ่บาปมนุษย์
 
ความศักดิ์สิทธิ์ เรียกร้องให้มีความซื่อสัตย์ในหน้าที่ของพระคริสต์และสิ่งสำคัญคือ โดยอาศัยความศักดิ์สิทธิ์โรงพยาบาลเป็นเครื่องหมายถึงพระเมตตาของพระเป็นเจ้า และพระพรของพระองค์
 
ความเป็นสากล เรียกร้องให้ออกจากตนเองสู่ส่วนรวม ผลประโยชน์เพื่อความดีส่วนรวมของพระศาสนจักร  ปฏิบัติภารกิจในนามของพระศาสนจักรอีกทั้งให้โรงพยาบาลเป็นสนามงานแพร่ธรรมด้วย
 
สืบจากอัครสาวก เรียกร้องให้โรงพยาบาลคาทอลิกปฏิบัติตามแนวทางคำสอนของพระศาสนจักรและสืบสานต่อภารกิจแห่งการไถ่กู้ของพระคริสต์อย่างต่อเนื่องในโลกของสุขภาพอนามัยที่ปรึกษาแห่งชาติเพื่อการบริบาลสุขภาพอนามัยในสภาพระสังฆราชคาทอลิกอิตาเลียน ได้ออกเอกสารที่กล่าวถึงเอกลักษ์และรูปแบบการบริการรสับใช้ของโรงพยาบาลคาทอลิกไว้ดังนี้
 
1. ช่วยเหลือผู้ป่วยแบบองค์รวม นั่นคือ  ดูแลเอาใจใส่ทุกมิติในชีวิตมนุษย์ทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สังคม จิตวิญญาณ   และคำนึงถึงคุณค่าอันสูงสุด คือมนุษย์ได้รับการสร้างจากพระเป็นเจ้าตามพระฉายาของพระองค์ได้รับการไถ่กู้โดยพระคริสต์ และได้รับการเรียกเข้าสู่ชีวิตนิรันดร
 
2. ปกป้องชีวิตและคุ้มครองแรกเกิด ภารกิจต่อการฟื้นฟูผู้พิการ ความช่วยเหลือต่อผู้ป่วยใกล้ตาย
 
3. อบรมบุคลากรทั้งในแง่ชีวิตมนุษย์ แง่จิตตารมณ์คริสตชน และด้านวิชาชีพ
 
4. เป็น “ประกาศก” ในสถานการณ์ที่ยากลำบากที่เกิดขึ้นในวงการแพทย์
 
5. ปฏิบัติศาสนบริการรับใช้ผู้ป่วยและครอบครัวด้านจิตวิญญาณและศาสนาอย่างมีประสิทธิภาพและบังเกิดผล
 
6.พิทักษ์รักษามนุษยชาติด้วยการดูแลรักษาพยาบาลและการรับใช้โดยการใช้เทคโนโลยี่ให้คำนึงถึงความเคารพในศักดิ์ศรีมนุษย์ อีกทั้งโดยรับประกันได้ว่า ผู้ป่วยได้รับการปกป้องสิทธิของตน
 
7. ส่งเสริมขบวนการรักษาพยาบาลให้อยู่ในบรรยากาศของค่านิยมที่ถูกต้องแท้จริงอย่างมนุษย์เยี่ยงคริสตชน
 
8. มีระบบการบริหารงานแบบโปร่งใส ในแง่ของการอภิบาลแล้ว โรงพยาบาลคาทอลิกถูกเรียกร้องให้ปฏิบัติภารกิจดังต่อไปนี้
 
    1. ส่งเสริมให้การอบรมเตรียมบุคลาภิบาลในโลกของสุขภาพอนามัย เพื่อภารกิจด้านการอภิบาลจะบังเกิดผลแท้จริง
 
   2. จัดให้มีการบริการงานด้านการอภิบาลได้อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยความร่วมมือของนักบวชและฆราวาส และจัดตั้งศูนย์หรือที่ปรึกษา การอภิบาล เพื่อตอบสนองความต้องการด้านจิตวิญญาณและศาสนาแก่ผู้เข้ามารับบริการในโรงพยาบาล
 
    3. จัดตั้งคณะกรรมการจริยธรรม
 
    4. เปิดตัวออกสู่สังคมภายนอก รับรู้และร่วมมีส่วนในการแก้ปัญหาด้านสุขภาพอนามัยและช่วยเหลือผู้ทุกข์ทรมานด้วยความรัก
 
    5. ส่งเสริมวิจัยเกี่ยวกับงานอภิบาลด้านสุขภาพอนามัย
 
แต่เหนืออื่นใดในการแสดงจุดเด่นของโรงพยาบาลคาทอลิกคือการแสดงออกของพระศาสนจักรซึ่งได้รับการเรียกให้มาเป็นผู้รับใช้สมาชิกของ พระศาสนจักรควรเป็นเฉกเช่นชาวสะมาเรียผู้ใจดี ก็คือ ผู้เห็น ผู้ทุกข์ทรมานแล้วนิ่งเฉยไม่ได้ต้องการเข้าไปรับใช้ ช่วยเหลือ  ด้วยใจเมตตาการ เยี่ยมอภิบาลผู้ป่วย ถือว่าเป็นพันธกิจที่สำคัญ เพราะเป็นพันธกิจที่ผู้อภิบาลไม่ได้กระทำในนามของตนเองแต่เป็นการกระทำ
 
1. ในนามของพระเยซูเจ้า
พันธกิจการดูแลเอาใจใส่ผู้ป่วย และผู้ทุกข์ทรมานถือเป็นพันธกิจที่พระเยซูเจ้าทรงมอบหมายให้บรรดาอัครสาวกและบรรดาอัครสาวก ได้ปฏิบัติพันธกิจนอกจากตามแบบฉบับขององค์พระคริสตเจ้าแล้ว ยังกระทำการดูแลรักษาผู้ป่วย ในพระนามของพระเยซูเจ้าด้วย (เทียบหนังสือกิจการอัครสาวก) ดังนั้นทุกกิจกรรมใดๆ ก็ตามที่ผู้อภิบาลกระทำต่อผู้ทุกข์ทรมาน เป็นกิจการที่กระทำในนามของพระเยซูคริสตเจ้า และพระเยซูคริสตเจ้าทรงรับรอง ทรงเห็นด้วยกับพันธกิจการเยี่ยมนี้ เพราะเป็นผู้มอบพันธกิจนี้ด้วยพระองค์เองแก่ทุกๆ คน
 
2. ในนามของพระศาสนจักร
ช่วงเวลาศาสนบริกรหรือผู้อภิบาล ได้พบปะกับผู้กำลังทนทุกข์ทรมานโดยตรงถือว่าเป็นการแสดงออกอย่างหนึ่งถึงความห่วงใยของพระศาสนจักร ที่มีต่อผู้ป่วยและผู้ทุกข์ทรมานตลอดมาในประวัติศาสตร์  ซึ่งการเยี่ยมเชิงอภิบาลแก่ผู้ทุกข์ทรมานนี้เท่ากับเป็นการยืนยันอย่างเป็นรูปธรรม ว่า พระศาสนจักรไม่เคยทอดทิ้งผู้ป่วย ยังคงปฏิบัติพันธกิจของการดูแลเอาใจใส่ผู้ป่วยจนกระทั่ง ณ วันนี้ ขณะนี้โดยผ่านทางผู้อภิบาลซึ่งเป็นสมาชิกของพระศาสนจักรเช่นกัน ดังนั้น การดูแลเอาใจใส่ที่เป็นรูปธรรมและมองเห็นได้ก็ คือ การออกจากสถานที่หนึ่งเพื่อออกไปเยี่ยมผู้ที่กำลัง ทุกข์ทรมานเพราะความเจ็บป่วย ไม่ว่าจะเป็นผู้ป่วยที่อยู่ในโรงพยาบาลหรืออยู่ที่บ้าน นับว่าเป็นช่วงเวลาที่ดีที่วิเศษสุดช่วงหนึ่งที่ผู้ป่วยจะได้รับกำลังใจ  และพละกำลังจากผู้อภิบาลหรือกลุ่มคริสตชนกลุ่มหนึ่งที่เป็นตัวแทนของพระศาสนจักรทั้งมวล ตัวแทนของวัด ของหมู่บ้านมารวมกัน อยู่เคียงข้างผู้อภิบาลจะต้องตระหนักอยู่เสมอถึงสองประการที่กล่าวถึงนี้เป็นสำคัญ (ในนามพระเยซูเจ้าและในนามพระศาสนจักร) เพื่อ...
 
       1. ไม่เป็นการแสวงหาผลประโยชน์ส่วนตน
 
       2. ไม่เสียเอกลักษณ์และลักษณะของการอภิบาล
 
       3.  ทำให้ผู้ป่วยเป็นจุดศูนย์กลางอย่างแท้จริง
 
       4.  เป็นงานของพระเยซูและพระศาสนจักรอย่างแท้จริง
 
       5.  ความดีทั้งต่อตนเองและผู้อื่นอย่างแท้จริง
 
       6.  บรรลุเป้าหมายที่แท้จริงของงานอภิบาลด้วยอาศัยความช่วยเหลือของพระเยซูเจ้า
 
สรุป
ในประวัติศาสต์ของพระศาสนจักรไทยตั้งแต่อดีตมาจนถึงปัจจุบันเราได้เห็นว่าพระศาสนจักรพยามที่จะมีส่วนร่วมในความทุกข์ทรมานกับบรรดาผู้ป่วยผู้ที่ไม่มีใครดูแลเอาใจใส่ซึ่งเราเห็นได้อย่างชัดเจนจากการที่บรรดามิสชันนารีสมัยแรกๆ ที่มาเผยแพร่ศาสนาในสังคมไทยเราได้เห็นว่าบรรดามิชชันนารีเหล่านี้ไม่ได้มาเพื่อเผยแพร่ศาสนาอย่าเดียวพวกเขาได้นำความรู้ความสามารถที่ตนมีในการที่จะช่วยเหลือผู้ตกทุกข์ได้ยากไม่ว่าจะเป็นโรคภัยไข้เจ็บ ปัญหาทางด้านเศรษฐกิจ  และอื่นๆ ทำให้เราได้เห็นว่าการที่บรรดามิสชันนารีได้ แสดงออกถึงความรักต่อเพื่อนมนุษย์นี้พวกเขาได้พลังมาจากที่ได้ อะไรเป็นแรงผลัดดันให้พวกเขามาอยู่ท่ามกลางในสังคมไทย ซึ่งการเข้ามาในสังคมไทยในสมัยก่อนไม่ใช่เป็นเรื่องง่ายๆ ซึ่งการเดินทางนั้นเราได้รู้ว่าต้องเสี่ยงกับชีวิตอยู่เสมอคือการเดินทางในสมัยนั้นมีความยากลำบากมาก และต้องใช้เวลาเป็นเดือน ในการเดินทาง ซึ่งทำให้ผมเข้าใจว่าการที่บรรดามิชชันนารีเหล่านี้ได้เข้ามานี้ ผมเชื่อว่าพวกเขาได้สัมผัสกับความรักขององค์พระเยซูคริสตเจ้า ทำให้พวกมีพลังในการที่จะทำงานให้กับพระองค์โดยการรับใช้พี่น้อง   ซึ่งการรับใช้ของบรรดามิชชันนารีเราได้เห็นว่าพวกเขา  ได้นำความคิดความรู้ที่เขามีมาแบ่งปันให้กับสังคมไทยหลายสิ่งหลายอย่าง   ไม่ว่าจะเป็นการสร้างโรงพยาบาล โรงเรียน และอื่นอีกมากมาย ซึ่งจุดประสงค์ของการสร้างสิ่งเหล่านี้อันดับแรก คือ ช่วยเหลือผู้ยากไร้ในสังคม  ผู้ที่ถูกทอดทิ้งออกจากสังคม ซึ่งในช่วงแรกๆนั้นเราได้ทราบว่าในสังคมไทย ยังเป็นสังคมที่เรียกว่าการพัฒนาทางการแพทย์นั้นยังไม่มีการพัฒนา ทำให้ผู้ป่วยผู้ที่ประสบปัญหากับโรคภัยไข้เจ็บมีจำนวนมากซึ่งเหตุการณ์เหล่า นี้ทำให้บรรดามิชชันนารีได้สร้างโรงพยาบาล ซึ่งมีชื่อว่า โรงพยาบาลเซนต์หลุยส์ ซึ่งเป็นโรงพยาบาลแห่งแรกของพระศาสนจักรเมืองไทยที่ได้ รับการรับรองมาตรฐานจากภาครัฐ ซึ่งวัตถุประสงค์ของโรงพยาบาลนี้ย่อมแตกต่างจากโรงพยาบาลของรัฐทั่วไป  แต่โรงพยาบาลคาทอลิกจะต้ องปฏิบัติตามนอกเหนือไปจากนี้และยิ่งกว่านี้ คือ การปฏิบัติหน้าที่ของพระเยซูคริสต์และเลียนแบบอย่างของพระองค์ในฐานะที่ทรงเป็นนายแพทย์ผู้ประเสริฐที่รักษาทั้งกายและวิญญาณด้วย ฉะนั้น ภารกิจพิเศษของสถานบันคาทอลิกที่เกี่ยวของกับการพยาบาลทุกแห่งในพระศาสนจักรต้องแสดงออก ให้เห็นเป็นรูปธรรมในการปฏิบัติตามคำสั่งของพระเยซูเจ้าที่ว่า “จงรักผู้ป่วย” ซึ่งเป็นตัวอย่างที่ชัดเจนในเรื่องของการรับใช้ ซึ่งพระเยซูเจ้าเองได้ทรงตักเตือนให้กับผู้ที่จะเลียนแบบพระองค์ ซึ่งคำกล่าวนี้เองคุณพ่อบรรดามิชชันนารีร่วมกับบรรดามาเซอร์รุ่นแรกๆ ที่เข้ามาเป็นผู้บุกเบิกโรงพยาบาลเซนต์หลุยส์ ได้ตระหนักและได้เน้นเป็นพิเศษ ในการอยู่ท่ามกลางคนจน คนเจ็บป่วย   ผู้ที่ต้องการความช่วย  เหลือในด้านต่างๆ อีกมากมายซึ่งทำให้คริสตชนในประเทศไทยต่างรู้สึกถึงบุญคุณที่บรรดามิชชันนารีได้มอบให้ไว้นี้คริสตชนคนไทยไม่อาจลืมได้อย่างแน่นอนซึ่งเราสามารถเห็นได้จากปัจจุบัน โรงพยาบาลเซนสต์หลุยส์ได้มีการพัฒนาเป็นอย่างมาก และเป็นโรงพยาบาลที่ดีที่ในระดับประเทศแห่งหนึ่งในประเทศไทย ซึ่งมีบรรดาคุณพ่อ มาเซอร์ และฆราวาส มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ
 
 
บรรณานุกรม
- คณะภคินีเซนต์ปอล เดอ ชาร์ตร. ( 1997)
- ร้อยปี ร้อยใจ คณะภคินีเซนต์ปอล เดอ ชาร์ตรในประเทศไทย.
- คณะภคินีเซนต์ปอล เดอ ชาร์ตร. ( 1988).
- ราชการุญ 90 ปี โรงพยาบาลเซนต์หลุยส์ กรุงเทพ:สารมวลชน
- คณะภคินีเซนต์ปอล เดอ ชาร์ตร. ( 1982).
- ราชการุญ 84 ปี โรงพยาบาลเซนต์หลุยส์  กรุงเทพฯ: กรุงเทพ
- จากเอกสารประวัติโรงพยาบาลเซนต์หลุยส์ ภาค 1 (1898-1970)
- วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ปีที่ 4 ฉบับที่ 1 มกราคม-เมษายน 2000/2543 : วิทยาลัยแสงธรรม