-
Category: ประวัติการพิมพ์ในประเทศไทย
-
Published on Monday, 18 September 2017 03:03
-
Written by หอจดหมายเหตุ
-
Hits: 2906
ในปี ค.ศ.1917 / พ.ศ.2460 พระสังฆราชเรอเน แปร์รอส ในฐานะที่เป็นประมุขมิสซังและปกครองดูแลคริสตังในประเทศไทย ได้ออกหนังสือ “สารสาสน์คฤศตัง” ซึ่งเป็นหนังสือพิมพ์เล่มแรกที่มีกำหนดออกแน่นอนเดือนละครั้งจำนวน 16 หน้า ราคา 2 บาท ถ้ารับทางไปรษณีย์เพิ่มค่าส่ง 30 สตางค์ ขนาดรูปเล่ม 16 หน้ายก
เนื้อหาเกี่ยวกับการอธิบายพระคัมภีร์ในเทศกาลต่างๆ ให้เป็นคำสอนคริสตังง่ายๆ และบทภาวนา มีบางส่วนเป็นภาษาไทยที่เขียนด้วยตัวอักษรโรมัน หรือที่เรียกว่า “ภาษาวัด” ได้แก่หัวข้อข่าวมิสซัง, ความรู้ทั่วไป
หลังจากสงครามสิ้นสุด พระสังฆราชเรอเน แปร์รอส ได้มอบหมายให้คุณพ่อวิกตอร์ วิวัฒน์ ธงชัย รับหน้าที่ดูแลรื้อฟื้นสารสาสน์อีกครั้งหนึ่ง
หลังสงครามสิ้นสุด พระสังฆราชเรอเน แปร์รอส
ได้มอบหมายให้คุณพ่อวิกเตอร์ ธงชัย รับหน้าที่และรื้อฟื้น
“สารสาสน์คฤสตัง” โดยใช้ชื่อว่า “สารสาสน์” นี่เป็นตัวอย่าง
หน้าแรกของหนังสือเมื่อปรับปรุงชื่อแล้ว
|
หน้าปก ฉบับ กันยายน 1932
|
คุณพ่ออัลฟองส์ ตรี ทรงสัตย์ ได้รับหน้าที่ระยะหนึ่ง ต่อมาสุขภาพไม่ดี พระสังฆราช แปร์รอส ได้มอบหมายให้ภราดามงฟอร์ต และภราดาลูโดวีโกแห่งคณะเซนต์คาเบรียลเป็นผู้ดูแล มีการปรับปรุงเนื้อหาและรูปเล่มให้ใหญ่กว่าเดิม เท่ากับขนาด 8 หน้ายก ภาพปกจากเดิมพิมพ์เป็ นรูปวัดอัสสัมชัญ ได้เปลี่ยนมาเป็นภาพเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในแต่ละเดือนและพิมพ์เป็นภาพสี
“สารบาน” เขียนแบบโบราณ ฉบับปี 1928
ในปี ค.ศ.1930 / พ.ศ.2473 พระสังฆราช กาเยตาโน ปาซอตตี ประมุขมิสซังราชบุรี ประจำอยู่ที่วัดแม่พระบังเกิด บางนกแขวก สมุทรสงคราม ได้จัดตั้งโรงพิมพ์ขึ้นมาโดยมี คุณพ่อยอห์น อุลลิอา นา ออกหนังสือ “อุดมพันธุ์” เป็นรายเดือน มีขนาด 8 หน้ายก ทั้งห มด 36 หน้า ทั้งปกและปกพิมพ์ 4 สี และต่อมาก็ได้แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ หนังสือพิมพ์อุดมพันธุ์ ประเภทข่าว ค่าบำรุง 20 บาท ประเภทบันเทิง 24 บาท ทั้ง 2 ประเภท 35 บาท เนื้อหาก็เป็นความรู้ ทั่วไป, เรื่องนิทานสอนใจ, ประวัตินักบุญบ้าง, การ์ตูนบ้าง มีคำประชาสัมพันธ์การรับเป็นสมาชิกว่า “รักวัวให้ผูก รักลูกหลาน โปรดช่วยให้เขาได้อ่าน “อุดมพันธุ์-บันเทิง”ซึ่งจะให้ประโยชน์ความเพลิดเพลินทั้งอบรมบ่มนิสัย” ส่วนคำขวัญของหนังสือคือ ความจริงจะทำให้ท่านเป็นไทย
ปี ค.ศ.1938 / พ.ศ.2481 สารสาสน์ได้เปลี่ยนรูปเล่มให้ใหญ่ขึ้น เป็นขนาด 8 หน้ายก จำนวน 64 หน้า และออกเป็นภาษาอังกฤษ ด้วย จำนวน 8 หน้า อัตราค่าสมาชิกต้องเพิ่มจากภาษาไทยปีละ 2.00 บาท เป็น 2.50 บาท ถ้ารับทางไปรษณีย์ก็เสียค่าแสตมป์อีก ในประเทศ 50 สตางค์ ต่างประเทศ 75 สตางค์ มีเนื้อหาหน้าโฆษณามากขึ้น และเป็นใบแทรกกระดาษสีบางๆ บางฉบับมีถึง 18 หน้า และมีภาพประกอบมากขึ้น
สารสาสน์ก่อนปี ค.ศ. 1938 บอกรับเป็นสมาชิก
ปีละ 2.00 บาท ค่าโฆษณาตลอดทั้งปี 1 หน้าเต็ม
ราคา 25.00 บาท
|
“สารสาสน์” กุมภาพันธ์ 1938 ยุคปรับปรุง
มีออกเป็นภาคภาษาอังกฤษด้วย
ค่าสมาชิกเพิ่มเป็น ปีละ 2.50 บาท
|
ฉบับเดือนมกราคม 1942/2485 หน้า 27 ในบทบรรณาธิการได้กล่าวว่า “สารสาสน์” ฉบับแรกแห่งปีที่ 26 พอโผล่โฉมหน้าออกมาก็ถูกกระหน่ำด้วยมรสุมแห่งสงคราม แต่ความเข้มแข็งของนาวา “สารสาสน์” ก็สามารถต่อต้านกลางมหาสมุทรได้โดยไม่อับปาง “ในช่วงนี้ผลของสงครามก ระทบกระเทือนไปทุกวงการ การพิมพ์หนังสือก็เช่นเดียวกัน อุปกรณ์ต่างๆ หายาก และขาดตลาด” ในบทบรรณาธิการยังแถลงต่อไปอีกว่า “แม้ นแต่หนังสือพิมพ์สารสาสน์ ก็ถูกมรสุมของสงครามเข้าด้วยเช่นเดียวกัน เช่นกระทบกระเทือนถึงกระดาษและอุปกรณ์ในการพิมพ์เป็นต้น แต่อ ย่างไรก็ตามสารสาสน์ก็พยายามตามความสามารถที่จะรักษามาตรฐานในรสชาติและจำนวนเรื่องที่ลงไว้ดังเดิม โดยใช้ตัวพิมพ์ชนิด “จิ๋ว”แทนส มัยพระสังฆราชหลุยส์ โชแรง ในปี 1948/2491 คุณพ่อโรเชอโรเป็นผู้พิมพ์และโฆษณา พิมพ์ที่โรงพิมพ์อัสสัมชัญ มีมาสเตอร์บรรณา ชโนดม เป็นเจ้าของ (ในนามศาสนาต่อหน้าบ้านเมือง) และบรรณาธิการ หลังจากที่ปิดลงเป็นเวลา 4 ปี ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 และในบทบรร ณาธิการของสารสาสน์เล่มที่ 28 ฉบับที่ 1-2 มกราคม-กุมภาพันธ์ 1948 หน้าที่ 31 กล่าวว่า
“ตำนานพระสมัยโดยสังเขป” หรือประวัติพระศาสนจักร
“สารสาสน์” ซึ่งได้สลบไปเป็นเวลา 4 ปีมาแล้ว บัดนี้ฟื้นคืนชีพมาเยือน ท่านใหม่ เราขอแถลงความจริงให้ท่านผู้อ่านทราบอย่างเปิดเผย การคืนชีพของเราอุบัติขึ้นมาได้โดยพระสังฆราชหลุยส์ โชแรง เป็นผู้ปลุกเสกสารสาสน์ ที่ท่านกำลังถืออยู่นี้พิมพ์ขึ้นเป็นจำนวน 3,000 ฉบับ โดยทุนรอนของท่าน”
รูปเล่มและเนื้อหาก็น่าอ่านมาก จำนวนหน้ากระดาษขนาด 8 หน้ายก จ ำนวน 32 หน้า ไม่รวมปกอีก 4หน้า แต่ส่วนใหญ่จะเป็นตัวจิ๋วที่ใช้พิมพ์ จนทำให้มีผู้อ่านเขียนจดหมายไปติ ที่สุดบรรณาธิการก็ต้องปรับเปลี่ยนให้ใช้พิมพ์ที่โตขึ้นมานิดหน่อยซึ่งเป็นแบบตัวชุด“ฝรั่งเศส”ซึ่งเป็นแบบที่โรงพิ มพ์อัสสัมชัญได้คิดประดิษฐ์ขึ้นเองโดยสมัยพระสังฆราชปัลเลอกัว ได้สั่งห ล่อขึ้นที่ฝรั่งเศส ขณะที่เดินทางกลับบ้าน ส่วนเนื้อเรื่องต่างๆยังมี “กลิ่นฝรั่งๆ” อยู่ก็เพราะนักคิดนักเขียนไทยเราเองยังมีน้อย เมื่อแปลบทความที่ดีๆจากต่างประเทศ ก็อาจจะติดสำนวนการใช้ภาษาแบบฝรั่งอยู่บ้าง
เป็นที่น่าสังเกตอย่างหนึ่งว่าบทบรรณาธิการไม่ค่อยมีเป็นจำนวนเหมือนหนังสืออื่นทั่งๆไป นานๆ ถึงจะมีออกมาที เพื่อชี้แจงอะไรบางอย่างเช่น สารสาสน์ปี ค.ศ.1950 / พ.ศ. 2493 ฉบับเดือนธันวาคม หน้า 364
“คงมีบางท่านแปลกใจว่าทำไมหนังสือพิมพ์สารสาสน์ จึงเพิกเฉยต่อหน้าบรรณาธิการ ซึ่งหนังสือพิมพ์อื่นโดยมากถือเป็นหน้าที่สำคัญยิ่งยวด เราจึงขอแจงให้ท่านทราบว่า ทั้งนี้เพราะเราถือภาษิต RES NON VERBA คือ ทำไม่ต้องเทศน์”และยังได้รายงานความเป็นไป ยอดพิมพ์ไว้ดังนี้
“สารสาสน์ ปลายปี ค.ศ.1948 / พ.ศ.2491 พิมพ์ออกจำหน่าย 1,650 ฉบับ ปี ค.ศ. 1949/พ.ศ. 2492 จำนวน 1,900 ฉบับ และปี ค.ศ.1950/2493 จำนวน 2,200 ฉบับ ตัวเลขแสดงว่า สารสาสน์เจริญก้าวหน้าขึ้นเป็นลำดับ แม้จะไม่โลดโผนนัก”
ในระหว่างนี้ได้ออกรายเดือน มีบางฉบับต้องรวมสองเดือนก็มี เช่น ปี ค.ศ. 1948 / พ.ศ.2491 รวมเดือนมกราคมและกุมภาพันธ์ เล่มที่ 25 ฉบับที่ 1-2 และปี ค.ศ.1950 / พ.ศ. 2493 รวมเดือนเมษายนและพฤษภาคม เป็นต้น และอีกอย่างหนึ่งคือ มีรูปภาพประกอบทั้งภาพข่าวและภาพประกอบมีมากขึ้น
“สารสาสน์” ปี 1952 ยุคปรับปรุงตัวอีกครั้งหนึ่ง
โดยเริ่มออกเป็นรายปักษ์ และราวปี 1953
คุณพ่อวิกเตอร์ ลาร์เก ก็มาเป็นผู้อำนวยการ
โดยมีคุณสวัสดิ์ ครุวรรณเป็นบรรณาธิการ
ในปี ค.ศ.1952 / พ.ศ.2495 สารสาสน์พยายามปรับตัวอีกครั้งหนึ่ง โดยกำหนดออก รายปักษ์ ทุกวันที่ 1 และ 15 ของเดือน
ในปลายปี ค.ศ. 1953 / พ.ศ. 2496 คุณพ่อวิกตอร์ ลาร์เก เข้ามารับผิดชอบการพิมพ์สารสาสน์ มีคุณสวัสดิ์ ครุวรรณ เป็นบรรณาธิการ และมีชื่อเป็นเจ้าของและผู้พิมพ์และโ ฆษณาด้วย ได้ออกเป็นรายปักษ์ ราคาค่าสมาชิกปีละ 20 บาท และค่าส่ง 1 บาทต่อปี
มีเรื่องราวที่น่าอ่านมากขึ้น ข่าว, เรื่องน่ารู้, สอนภาษาอังกฤษ และมีการ์ตูน “ปัดบุกอินเดี ยนแดง” ทำให้น่าอ่านสำหรับเด็กและผู้ใหญ่ และเป็นนิตยสารประจำครอบครัวคาทอลิก
เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม ค.ศ.1967 หลังสังคายนาวาติกันครั้งที่ 2 เมื่อ สภาพระสังฆราชไ ด้ปรับโครงสร้างบริหารงานของพระศาสนจักรใหม่ โดย มีพระสังฆราชอาแลง วังกาแวร์ เป็นประธานสภาพระสังฆราช ได้แบ่งงานด้านสื่อมวลชนออกเป็น 3 แผนก คือ
1.แผนกการพิมพ์ คุณพ่อบุญเลิศ ธาราฉัตร เป็นผู้อำนวยการ มีสำนักงานอยู่ที่สำนัก มิสซังกรุงเทพฯ
2.แผนกวิทยุ/โทรทัศน์ คุณพ่อเรย์มันต์ เบรนนันด์ เป็นผู้อำนวยการ สำนักงานอยู่ที่จั งหวัดนครราชสีมา
3.แผนกภาพยนตร์และโสตทัศนูปกรณ์ คุณพ่อวิโรจน์ อินทรสุขสันต์ เป็นผู้อำนวยกา ร สำนักงานอยู่ที่จังหวัดนครราชสีมา
ปี ค.ศ. 1977/ พ.ศ. 2520 ได้ย้ายสำนักงานมาอยู่ที่อาคารคาทอลิกแพร่ธรรม กรุงเท พฯในปี ค.ศ.1981/ พ.ศ. 2524 คุณพ่อยัง ฮาเบรนโต รับหน้าที่เลขาธิการและผู้อำนวยก ารแผนกวิทยุ/โทรทัศน์ และแผนกภาพยนตร์และโสตทัศนูปกรณ์
สภาพระสังฆราชคาทอลิกฯได้ออกแถลงการณ์เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม ค.ศ. 1968 มีมติให้รวมสารสาสน์และอุดมพันธุ์ ซึ่งเป็นสารคาทอลิกเข้าด้วยกัน ออกฉบับแรกวันที่ 1 มกราคม ค.ศ.1970 กำหนดออกทุกๆ15 วัน เป็นการประหยัดบุคลากร ทุนทรัพย์ และเพื่อจะได้พัฒนาคุณภาพให้ดียิ่งขึ้น โดยมี ครูละมูล พูลวิทยกิจ จากบรรณาธิการอุดมพันธุ์เป็นผู้จัดการ และ ครูสวัสดิ์ ครุวรรณ เป็นบรรณาธิการ นับเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของการพิมพ์คาทอลิกก็ว่าได้ อุดมสาร ฉบับแรกขนาด 8 หน้ายกพิเศษ 40 หน้า รวมทั้งปกพิมพ์ 4 สี่อย่างดี และตั้งแต่ปกหน้าเป็นต้นไป เป็นการเปลี่ยนโฉมหน้าใหม่ เนื้อหาภายในเป็นเรื่องเกี่ยวกับสังคม เหตุการณ์บ้านเมืองมากขึ้นบรรณาธิการได้ขึ้นต้นไว้ว่า สมัยพัฒนา หรือยุคการเปลี่ยนแปลง ราคาจำหน่ายปีละ 40 บาท ต่างประเทศ 80 บาท และจำหน่ายปลีกราคาเล่มละ 1.50 บาท เนื้อหาภายในมีเรื่องบ้านเมืองของเรา 5 หน้า และข่าวโลกที่สำคัญ 4 ห น้า ข่าวพระศาสนจักร 4 หน้า และบทความเรื่องแปลและเนื้อหาที่เป็นเอกสารหรือคำสอนของพระศาสนจักรพร้อมทั้งการ์ตูนสำหรับเด็ก ฯลฯ
“อุดมสาร” หลังจากรวม “อุดมพันธ์” และ
“สารสาสน์” เข้าด้วยกันแล้ว ช่วงปี 1968
ในภาพเป็นปกฉบับ 15 ตุลาคม 1971
ในปี ค.ศ. 1975 / พ.ศ. 2518 คุณละมูล พูลวิทยกิจ ได้ลาออกหลังจากที่ทำงานที่การ พิมพ์มานาน 30 กว่าปี ปีต่อมา คุณสวัสดิ์ ครุวรรณ ซึ่งทำงานมานาน 22 ปี ได้ลาออก โดยมีคุณสมนึก ตรีถาวร เข้ามารับหน้าที่แทนเมื่อมกราคม ค.ศ. 1976/ พ.ศ. 2519
ในปี ค.ศ. 1977 / พ.ศ. 2520 สมัยคุณสมนึก ตรีถาวร เข้ามาเป็นผู้จัดการและบรร ณาธิการ ได้ปรับปรุงและขยายหนังสือ ออกเป็นรายสัปดาห์ใช้ชื่อว่า อุดมสาร อย่างเดิมเน้นทางด้านข่าว ส่วนรายเดือนให้ชื่อใหม่ว่า “อุดมศานต์” เนื้อหาจะเป็นประเภทบทค วามและความรู้เชิงวิชาการมากขึ้น ฉบับแรกที่ใช้ชื่อนี้คือเดือนมิถุนายน-กรกฎาคม เป็นการรวมทั้งสองฉบับเข้าด้วยกัน 68 หน้า (ความจริงได้พยายามที่จะใช้ชื่อเดียวกัน ในหนังสือ 2 ประเภท เราจึงเปลี่ยนชื่อจาก อุดมสาร เป็น “อุดมศานต์” ซึ่งแปลว่า “เปี่ยมล้นสมบูรณ์ด้วยสันติสุข”
การนับหนังสืออุดมศานต์ (รายเดือน) นับอายุต่อปีที่ 57 ต่อไป ส่วนรายสัปดาห์ คือ “อุดมสาร” เริ่มนับเวลาปีที่ 1 ใหม่ ฉบับแรกออกเมื่อเดือนมกราคม ค.ศ. 1977 ซึ่งเป็นการรวบยอดทีเดียว 5 ฉบับ จำนวน 16 หน้า ซึ่งเกิดจากความไม่พร้อมหลายอย่าง ในบ ทบรรณาธิการเองก็กล่าวไว้ “หลังจากที่ออกนิตยสาร “อุดมสาร” รายปักษ์ที่ออกมาสู่สาย ตาผู้อ่านแล้วถึง 7 ปีเต็ม ก็จะเลื่อนไปออกเป็นรายเดือน ตั้งแต่มกราคมนี้”
โดยพิมพ์จำนวน 8 หน้า โดยที่ 4 หน้าหรือคู่ที่เป็นปกพิมพ์ด้วยกระดาษปอนด์ ส่วนเ นื้อในอีก 4 หน้าเป็นกระดาษปรู๊ฟ และบางช่วงก็ต้องรวมสองสามฉบับบ้าง เพราะออกไม่ทัน อย่างเช่นฉบับต้นปี ค.ศ.1978 รวมฉบับที่ 1, 2, 3 เป็นฉบับเดียวกัน และส่วนใหญ่ก็รวมกันทั้งปี เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม ค.ศ.1977 ได้ทำการเสกอาคารคาทอลิกแพร่ธรรมขึ้น สื่อมวลชนคาทอลิกก็ได้ย้ายเข้ามาทำงานอยู่ภายในอาคารนี้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป พร้อมกับหน่วยงานอื่นๆอีก ในปี ค.ศ.1977/พ.ศ. 2520 พระสังฆราช ยอด พิมพิสาร ได้รับหน้าที่ประธานสื่อมวลชนคาทอลิกแทนพระสังฆราชอาแลง วังกาแวร์ ซึ่งเกษียณ
แต่เดิมนิตยสารทั้ง 2 ฉบับนี้พิมพ์ที่โรงพิมพ์ธีระการพิมพ์ ต่อมาในปี ค.ศ. 1987/ พ.ศ. 2530 ได้ย้ายมาพิมพ์ที่โรงพิมพ์อัสสัมชัญ “อุดมสาร” เริ่มพิมพ์ในวันที่ 3 พฤษภาคม ค.ศ. 1987 และ “อุดมศานต์” ซึ่งออกรายเดือนเริ่มพิมพ์ในเดือนมิถุนายน พร้อมทั้งได้ปรับปรุงรูปเล่มใหม่โดยพิมพ์เพิ่มจำนวนหน้าเป็น 84 หน้า และมีบางส่วนพิมพ์เป็นกระดาษขาวบ้าง ซึ่งเป็นโอกาสฉลองปีแม่พระพอดี แต่เดิมก่อนที่จะมีการปรับปรุงอุดมศานต์มีหน้าอยู่ประมา ณ 40 กว่าหน้า นับว่าเป็นอีกก้าวหนึ่งที่การพิมพ์พยายามปรับปรุงรูปเล่มให้มีความทันสมัย เนื้อหาเหมาะสมกับผู้อ่านมากขึ้น
ปี ค.ศ. 1900 / พ.ศ. 2533 มีการปรับราคาค่าสมาชิกอุดมสารทั้งรายเดือนและรายสัปดาห์ จากปีละ 120 บาท มาเป็น 150 บาท
ในปี ค.ศ. 1992 / พ.ศ. 2535 การพิมพ์ได้ปรับปรุง “อุดมสาร” จาก 12 หน้า/3 คู่ เป็น 16 หน้า/4 คู่ และพยายามใส่ใบแทรกมากขึ้น ส่วน “อุดมศานต์” รายเดือนได้เปลี่ยนกระดาษให้ดีขึ้นเป็นกระดาษขาว (ปอนด์) และเพิ่มหน้าสี่สีขึ้นอีก 4 หน้า รวมจำนวนหน้าทั้งหมด 80 หน้า โดยที่ ค่าสมาชิกคงเดิม ทั้งนี้อาศัยน้ำใจจากพี่น้องที่สนับสนุนการพิมพ์จาก กองทุนสิ่งพิมพ์สร้างสรรค์ และการสนับสนุนทางด้านการโฆษณาบ้าง
เปลี่ยนชื่อจาก “สารสาสน์คฤศตัง” เป็น “สารสาสน์” ตั้งแต่ ค.ศ. 1925
ในด้านข่าว ได้มีการจัดการผู้สื่อข่าวอาสาสมัครจากสังฆมณฑลต่างๆ หลายครั้งเพื่อการรายงานข่าวจะได้กว้างออกไปทั่วทุกสังฆมณฑลและทุกระดับ (คัดมาจากหนังสือ 72 ปี บนเส้ นทางสารสาสน์ อุดมสาร อุดมศานต์ ค.ศ. 1917-1992)
ในปี ค.ศ. 1995 / พ.ศ. 2538 เดือนกันยายน อุดมศาน ต์รายเดือน ได้มีการปรับราคาขึ้น จาก 150 บาท เป็น 200 บาท เพราะราคากระดาษและค่าจัดส่งสูงขึ้น
ในปี ค.ศ. 1996/ พ.ศ. 2539 สภาพระสังฆราชคาทอลิกฯ มีนโยบายให้หน่วยงานของสภาที่ทำงานในระดับชาติได้รวมอยู่ ณ ศูนย์กลางเดียวกัน ที่อาคารของสภาฯ ซอยนาคสุวรรณ สื่อมวลชนคาทอลิกฯ จึงได้ย้ายจากอาคารคาทอลิกแพร่ธรรม บางรัก มาอยู่ที่ซอยนาคสุวรรณด้วยเช่นกัน
ปัจจุบัน ในปี ค.ศ. 1999/ พ.ศ. 2542 ได้ใช้เทคโนโลยีการสื่อสารมากขึ้นในการส่งข่าว บทความ และรูปภาพ เช่น ใช้โทรสาร คอมพิวเตอร์ จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (Email)
ใน “อุดมสาร” (รายสัปดาห์) นอกจากจะมีข่าวสารจากผู้สื่อข่าวสังฆมณฑลต่างๆ แล้ว ยังมี ข่าวต่างประเทศ, บทควา มส่งเสริมศรัทธา, ข่าวในแวดวงการศึกษา และสิ่งที่เน้นมากขึ้นคือ ข่าวเกี่ยวกับการแพร่ธรรมของฆราวาสทั่วไป
ส่วน “อุดมศานต์” (รายเดือน) มีการแยกหมวดหมู่ชัดเจนมากขึ้น มีทั้งบทความชวนศรัทธ าอย่าง ข้างธรรมมาสน์, ระหว่างเดือน และกว่าจะเป็นนักบุญ ในหมวดสาระ เช่น พูดจาภาษาลาติน, เปิดกรุหนังสือเก่า พจนมาลา หมวดบันเทิง ได้แก่ ชั้นวางเทป, ดูหนัง และดนตรีศาสนา หมวดนักเรียนและนักศึกษา ได้แก่การศึกษา และไต่ตามโค้งตะวัน และหมวดสำหรับเด็กได้แก่ สโมสรอุดมสาร ซึ่งมีอยู่เป็นประจำ อีกทั้งยังเปิดโอกาสให้ผู้อ่านได้ร่วมสนุกชิงรางวัลในบางคอลัมน์ เช่น ส่งภาพถ่ายมาประกวดในคว้ากล้องส่องโลก ประกวดวาดภาพระบายสีใน มุมเด็กศิลป์ หรือ เล่มเกมส์ต่างๆ ในหลอดไฟเกม และยังเปิดเนื้อที่สำหรับโฆษณาอีกด้วย
จากวันนั้นจนถึงวันนี้ เราฝ่าคลื่นลมและมรสุมร้ายแรงโดยที่พวกท่านหนุนหลัง และในเส้นทางข้างหน้า เราก็จะฝ่าฟันไปพร้อมๆ กับกำลังใจที่ทุกท่านได้มีให้เราเสมอ
เราหวังให้ท่านได้จารึกชื่ออุดมสาร/อุดมศานต์ ไว้ในหัวใจ ดั่งพระดำรัสของพระสันตะปาปาปีโอที่ 10 ที่กล่าวว่า “เรารักการพิมพ์ ดุจแก้วตาของเรา”
จากหนังสือสารสาสน์คฤศตัง...สารสาสน์คฤศตัง...อุดมสาร 1917-2000