-
Category: พระราชประวัติรัชกาลที่ ๑ -๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
-
Published on Monday, 04 April 2016 02:54
-
Written by หอจดหมายเหตุ
-
Hits: 9142
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
รัชกาลที่ 6
(พ.ศ. 2453-2468)
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชสมภพ เมื่อวันเสาร์ที่ ๑ มกราคม พุทธศักราช ๒๔๒๓ เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติแต่สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ
ทรงได้รับการสถาปนาเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชเจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร ขณะเสด็จฯ ไปทรงศึกษา ณ ประเทศอังกฤษ เมื่อพุทธศักราช ๒๔๓๗
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสำเร็จวิชาทหารจากโรงเรียนนายร้อยแซนต์เฮิร์สต์ (Royal Military Academy, Sandhurst) แล้วทรงศึกษาต่อด้านวิชาประวัิติศาสตร์กฎหมาย และการปกครอง ณ มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด (Oxford University)
ขณะทรงศึกษาที่ประเทศอังกฤษได้ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมพระประมุขประเทศในยุโรป เช่น สมเด็จพระจักรพรรดิฟรานซิสโจเซฟ แห่งออสเตรเลีย เสด็จฯไปทรงร่วมงานในพระราชพิธีราชาภิเษกพระเจ้าเอ็ดวาร์ดที่ ๗ แห่งอังกฤษ เมื่อทรงสำเร็จการศึกษาเสด็จฯกลับประเทศไทย ระหว่างทางได้เสด็จฯไปทรงเยี่ยมเยียนประธานาธิบดีเธโอดอร์ โรสเวลท์ เสด็จฯ ไปเฝ้าสมเด็จพระจักรพรรดิและสมเด็จพระจักรพรรดินีแห่งญี่ปุ่น เป็นต้น
เมื่อเสด็จฯ กลับถึงประเทศไทยทรงได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติพระราชกิจต่างพระเนตรพระกรรณ และได้เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติสืบต่อจากสมเด็จพระบรมชนกนาถ เมื่อวันที่ ๒๓ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๔๕๓
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงหมั้นและทรงอภิเษกสมรสกับพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวัลลภาเทวี พระเจ้าวรวงศ์เธอลักษมีลาวัณ สมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักดิศจี พระวรราชชายา และพระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี ทรงมีพระราชธิดาประสูติแต่พระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี คือ สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดาสิริโสภาพัณณวดี
พระราชดำริด้านการเมืองการปกครอง
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสืบทอดพระราชภารกิจ และพระบรมราโชบายต่อจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเ้กล้าเจ้าอยู่หัว ทั้งในส่วนที่ทรงดำเนินการค้างไว้ ทรงแก้ไขข้อขัดข้องและทรงพระราชดำริเริ่มใหม่หลายประการ เช่น
ความสนพระราชหฤทัยการปกครองแบบประชาธิปไตย “ดุสิตธานี”
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสนพระราชหฤทัยการปกครองแบบประชาธิปไตยแต่เมื่อยังทรงศึกษาในต่างประเทศขณะเสด็จฯไปประทับ ณ กรุงปารีส ทรงชักชวนพระส หายทดลองจัดตั้ง “สาธารณูรัฐใหม่” (The New Republic) เมื่อเสด็จฯกลับประเทศไทยทรงนำวิธีการประชาธิปไตยมาใช้ในกิจการสมาคมที่ทรงก่อตั้งขึ้น เพื่อมุ่งหมายให้คนไทยมีความเข้าใจการปกครองแบบใหม่นี้เรียกว่า “สมาคมครึ” (Gri Society) และทรงตั้งเมืองมัง เป็นเมืองทดลองขนาดเล็กทดลองให้ข้าราชสำนักรู้จักการเลือกตั้งและหนัาที่ในการปกครองกันเอง และทรงตั้งเมืองประชาธิปไตยทดลองการปกครองเป็นเมืองจำลองเล็กๆ ชื่อว่า ดุสิตธานี มีอาคารบ้านเรือน ถนนหนทางแม่น้ำลำคลองคล้ายของจริง ทรงสมมติพระองค์เป็นนาครแห่งดุสิตธานี เช่น ทรงเป็นทนายความบ้าง ทรงเป็นมรรคนาย กบ้าง ทรงเป็นเจ้าอาวาสบ้าง และทรงทดลองให้มีการเลือกตั้งในระบบพรรคการเมือง “ดุสิตธานี” เมืองจำลอง เพื่อการสอนประชาธิปไตยได้ล้มเลิกไป เมื่อมีพระราชภารกิจมากขึ้น
กิจการลูกเสือและเสือป่า
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสนพระราชหฤทัยในกิจการลูกเสือตั้งแต่ยังทรงศึกษาในประเทศอังกฤษทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้กองลูกเสือกองหนึ่งใช้นามว่า K.S.O. (King of Siam’s Own Troop Boys Scouts) ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานภาพวาดช้างเผือกเป็นเครื่องหมายประจำกองด้วย
ในประเทศไทยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาลูกเสือไทย เมื่อวันที่ ๑ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๔๕๔ พระราชทานคติพจน์แก่คณะลูกเสือ ว่า เสียชีพอย่าเสียสัตย์ กิจการลูกเสือไทยที่ทรงเริ่มต้นไว้ได้เจริญก้าวหน้ายั่งยืนมาจนปัจจุบัน
ส่วนกิจการเสือป่านั้นทรงมีจุดมุ่งหมายเกี่ยวกับการรักษาดินแดนของประเทศ เสือป่ามี ๒ ประเภท ได้แก่ กองเสือป่ารักษาดินแดน และกองเสือป่ากองเสนาหลวงรักษาพระองค์ เสือป่ามี ภารกิจสำคัญ คือ การรักษาดินแดน รักษาพระองค์ และเป็นกองหนุนให้แก่ทหารตำรวจในภาวะคับขัน มีผู้สมัครเข้าเป็นสมาชิกเป็นจำนวนมากทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีการประลองยุทธ์หรือการซ้อมรบ ได้เสด็จพระราชดำเนินไปทอดพระเนตรการซ้อมรบของเสือป่า ณ ค่ายหลวงบ้านโป่ง ราชบุรี และค่ายหลวงในพระราชวังสนามจันทร์ นครปฐม ทรงบรรยายวิธี การฝึกอบรมเกี่ยวกับหน้าที่เสือป่าทั้งวิชาการทหาร และหลักของศาสนาต่างๆ เรียกว่า เทศนาเสือป่า
ปัญหาสิทธิสภาพนอกอาณาเขตและความไม่เสมอภาคกัน
ปัญหาสิทธิสภาพนอกอาณาเขต ซึ่งได้มีการเจรจาขอแก้ไขสนธิสัญญากับประเทศมหาอำนาจในปลายรัชกาลที่ ๕ เมื่อรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงตัดสินพระราชหฤทัยโปรดเกล้าฯ ให้เข้าร่วมรบในสงครามโลกครั้งที่ ๑ ทำให้ประเทศไทยเข้าสู่สังคมนานาชาติ ได้รับยกย่องให้มีฐานะเท่าเทียม ประเทศฝ่ายสัมพันธมิตรซึ่งมีผลต่อการยกเลิกสนธิสัญญาที่ไม่เสมอภาคกับประเทศต่างๆ ที่ทำไว้แต่เดิม
พระราชจริยวัตรพระราชดำริด้านศิลปวัฒนธรรม
ทรงพระกรุณาให้คนไทยมีนามสกุลและให้ใช้คำนำหน้าชื่อ
แต่ก่อนคนไทยมีเพียงชื่อตัวที่บิดามารดาตั้งให้มิได้มีธรรมเนียมการใช้นามสกุล จึงมีพระราชดำริว่า “..ในเมืองอื่นๆเขาก็มีกันแบบทั่วไป แต่ในเมืองเรายังหามีไม่...”
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขนานนามสุกล พุทธศักราช ๒๔๕๖ ทำให้ประเพณีข นานนามสกุลแพร่หลายไปทั่วพระราชอาณาจักร มีผู้ขอพระราชทานนามสกุลเป็นสิริมงคลแก่ตนและผู้สืบสกุลเป็นจำนวนมาก
นอกจากนี้ยังมีพระราชดำริให้ใช้คำนำหน้าชื่อสำหรับ เด็ก บุรุษ สตรี ตามวัยและสถานภาพ เช่น เด็กชาย เด็กหญิง นาย นางสาว นาง คุณหญิง ฯลฯ
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้เปลี่ยนชื่อถนนที่เป็นภาษาต่างประเทศ
ชื่อถนนในพระนคร เช่น ถนนซางฮี้นอก ถนนซางฮี้ใน ถนนซางฮี้น่า เปลี่ยนเป็นถนนราชวิถี ถนนลก เปลี่ยนชื่อเป็น ถนนพระรามที่ ๕ ถนนประแจจีน เปลี่ยนชื่อเป็น ถน นเพชรบุรี ถนนซิ่ว เปลี่ยนชื่อเป็นถนนสวรรคโลก ถนนคอเสื้อ เปลี่ยนชื่อเป็น ถนนพิศณุโลก ฯลฯ
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนธงชาติเป็นแถบสีอย่างใหม่พระราชทานนามว่า ธงไตรรงค์
ธงชาติแต่เดิมใช้ธงพื้นสีแดงกลางเป็นรูปช้างเผือก ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อไทยเข้าร่วมรบกับฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่ ๑ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้แก้ไขเปลี่ยนแปลงธงชาติไทบสืบมาจนทุกวันนี้
พระมหากรุณาธิคุณด้านการศึกษา
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว มีความสนพระราชหฤทัยในการศึกษาของทวยราษฎร์ทุกระดับ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้สร้างสถานศึกษาแทนการสถาปนาวัดประจำรัชกาลตามโบราณราชประเพณี ด้วยมีพระราชดำริว่าวัดในประเทศไทยมีมากอยู่แล้ว จุดประสงค์ที่พระเจ้าแผ่นดินทรงสร้างวัดก็เพื่อให้เป็นสถานศึกษา จึงสมควรสร้างโรงเรียนเป็นสถานศึกษา โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้สร้างโรงเรียนในพระบรมราชูปถัมภ์ เช่น โรงเรียนราชวิทยาลัย โรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย โรงเรียนมหาดเล็กหลวงเชียงใหม่
ในส่วนการศึกษาของทวยราษฎร์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯจัดการศึกษาภาคบังคั บแก่ชาวไทยทั่วราชอาณาจักร โดยตราพระราชบัญญัติการประถมศึกษา พุทธศักราช ๒๔๖๔ ตามพระราชบัญญัติฉบับนี้มีผลบังคับให้ราษฎรส่งเด็กเข้าศึกษาเล่าเรียนตามกฎหมาย ทรงส่งเสริมให้ ภาคเอกชนมีส่วนร่วมจัดการศึกษาของชาติ ตามพระราชบัญญัติโรงเรียนราษฎร์ พุทธศักราช ๒๔๖๑ ทำให้ประชาชนมีโอกาสได้เข้าศึกษาอย่างทั่วถึง และมีทางเลือกทางการศึกษามากขึ้น
สมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระอัจฉริยภาพในการทรงพระราชนิพนธ์งานวรรณกรรม ทั้งร้อยแก้ว ร้อยกรอง สารคดี บันเทิงคดีประเภทบทละครและเบ็ดเตล็ดรวมกว่าพันเรื่อง อาจจำแนกเป็นหมวดต่างๆ เช่น
หมวดโขน-ละคร
หมวดพระราชดำรัส พระบรมราโชวาท พระบรมราชานุศาสนีย์
หมวดนิทานและบทชวนหัว
หมวดบทความลงหนังสือพิมพ์
หมวดบทร้อยกรอง
หมวดสารคดี
และหมวดอื่นๆ เช่น พระราชบันทึก พระราชหัตถเลขา ฯลฯ
บทพระราชนิพนธ์เหล่านี้ทรงใช้พระบรมนามาภิไธยบ้าง ทรงใช้พระนามแฝงบ้าง ดังนี้
พระนามแฝงเมื่อทรงศึกษาในประเทศอังกฤษ เช่น Carlton หรือ Brother Carlton สำหรับเรื่องประวัติศาสตร์และการท่องเที่ยว T.M.Vajohn สำหรับเรื่องสั้น Young Tommy สำหรับร้อยกรอง และ H.R.H. The Crown Prince of Siam สำหรับเรื่องพงศาวดาร
พระนามแฝงที่ทรงใช้หลังจากเสด็จทรงครองสิริราชสมบัติสำหรับบทพระราชนิพนธ์หลายประเภท เช่น พระขรรค์เพชร สุครีพ หนานแก้วเมือ งบูรณ์ ศรีธนญชัย และพระนามแฝงอื่นๆ อีกมาก
และสิ่งที่โปรดมาแต่ทรงพระเยาว์ คือ การแสดงละคร โดยทรงพระราชนิพนธ์บทละครสำหรับแสดง ทรงกำกับการแสดงและทรงร่วมแสดงกับคณะละครในบทของตัวละครต่างๆ เพื่อสำราญพระราชอิริยบถเป็นนิตย์
พระราชฐานที่ประทับในพระนครและหัวเมืองจึงมีโรงละครประจำทุกแห่ง เช่น โรงโขนหลวงมิสกวัน โรงละครสวนศิวาลัย โรงละครพระราชวังพญาไท ศาลาวรนาฏเวทีสถาน ที่พระราชวังบางปะอิน พระที่นั่งสามัคคีมุขมาตย์ที่พระราชวังสนามจันทร์ ท้องพระโรง ที่พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน จังหวัดเพชรบุรี เป็นต้น
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชประชวรเสด็จสวรรคต เมื่อวันที่ ๒๖ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๔๖๘ พระชนมพรรษา ๕๖ พรรษา เสด็จดำรงสิริราชสมบัติได้ ๑๕ พรรษา
จากหนังสือเหนือเกล้าชาวไทย