รัชกาลที่ 8 พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล

 
 
พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล
รัชกาลที่ 8
(พ.ศ. 2477-2489)
 
 
 
ระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันอาทิตย์ที่ ๒๐ กันยายน พุทธศักราช ๒๔๖๘ ณ เมืองไฮเดลเบอร์ก ประเทศเยอรมนี เป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระมหิตลาธิเบศรอดุลยเดชวิกรมพระบรมราชชนก ซึ่งขณะนั้นทรงดำรงพระอิสริยยศ สมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอ เจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช กรมขุนสงขลานครินทร์ กับสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ขณะเป็นหม่อมสังวาลย์ มหิดล ณ อยุธยา 
 
 
เมื่อพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสละราชสมบัติ ในวันที่  ๒ มีนาคม  พุทธศักราช ๒๔๗๗ ทรงได้รับการอัญเชิญเสด็จเถลิง ถวัลยราชสมบัติ เป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่  ๘ แห่งพระบรมราชวงศ์จักรี แต่ด้วยทรงเจริญพระชนมพรรษาเพียง ๙ พรรษา จึงมีคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ปฏิบัติพระราชกรณียกิจในพระปรมาภิไธย ขณะเสด็จฯไปประทับศึกษา ณ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์
 
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล เสด็จนิวัตพระนคร เพื่อทรงเยี่ยมประชาชนชาวไทย ครั้งแรกใน พ.ศ. ๒๔๘๙
 
พระราชจริยวัตรและพระราชกรณียกิจเมื่อเสด็จนิวัตประเทศไทยครั้งแรก ใน พ.ศ. ๒๔๘๑ 
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล เสด็จนิวัตประเทศไทยเป็นครั้งแรก พร้อมด้วยสมเด็จพระราชชนนีศรีสังวาลย์ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา และสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช(พระอิสสริยยศขณะนั้น) เรือพระที่นั่งถึงท่าราชวรดิษฐ์ เมื่อวันที่ ๑๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ประทับ ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระเจ้าอยู่หัวทรงพระเยาว ทรงประกอบพระราชกรณียกิจนานัปการ
เสด็จออกทรงรับการทูลเกล้าฯถวายเครื่องแบบ ยุวชนนายทหาร วันที่ ๑๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑
 
เสด็จพระราชดำเนินไปยังวัดพระศรีรัตนศาสดาราม มีพระราชดำรัสแสดงพระองค์เป็นพุทธม ามกะ วันที่ ๑๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑
 
เสด็จพระราชดำเนินไปพระราชทานธงประจำกองลูกเสือ ณ สนามกีฬา วันที่ ๒๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๑๔๘๑
 
เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปิดโรงพยาบาลอานันทมหิดล จังหวัดลพบุรี วันที่ ๖ มกราคม พ. ศ. ๒๔๘๑
 
เสด็จพระราชดำเนินกลับไปทรงศึกษาต่อที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ วันที่ ๑๓ มกราคม พ.ศ.๒๔๘๑ วันขึ้นปีใหม่เปลี่ยนเป็นวันที่ ๑ มกราคมเมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๔ ก่อนหน้านั้นถือเอาวันที่ ๑ เมษายน เป็นวันขึ้นปีใหม่
 
การเสด็จนิวัตประเทศไทยครั้งที่สองระหว่าง พ.ศ. ๒๔๘๘-๒๔๘๙
เมื่อสงครามโลกครั้งที่ ๒ สิ้นสุดลง พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พร้อมด้วยสมเด็จพระราชชนนีศรีสังวาลย์ และสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช เสด็จนิวัตประเทศไทยเพื่อทรงเยี่ยมเยียนพสกนิกรชาวไทยและปฏิบัติพระราชกรณียกิจต่างๆ เครื่องบินพระที่นั่งถึงสนามบินดอนเมืองวันที่ ๕ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๔๘๘
 
แม้ทรงมีเวลาที่ประทับในประเทศไทยเพียงช่วงสั้นแต่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ได้ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจทั้งงานพระราชพิธี งานรัฐพิธี และเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมราษฎรโดยใกล้ชิดรวมทั้งทอดพระเนตรกิจการของหน่วยงานต่างๆ
 
เสด็จประพาสเยี่ยมราษฎรตามท้องที่ต่างๆ ได้แก่ อำเภอเมืองสมุทรปราการ พระประแดง ปทุมธานี นนทบุรี ปากเกร็ด สมุทรสาคร สมุทรสงครามและบางเขน ไม่ว่าจะเสด็จที่ใดราษฎรพากันมาเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทรับเสด็จอย่างเนืองแน่น ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานดำรัสและทรงร่วมกิจกรรมของแต่ละท้องถิ่นโดยมิถือพระองค์
 
เสด็จประพาสเยี่ยมราษฎรที่สมุทรปราการ ทรงปล่อยปลาในเทศกาลสงกรานต์ เมื่อวันที่ ๑๗ พฤษภาคม พ.ศ.๒๔๘๙
 
เสด็จพระราชดำเนินไปเยี่ยมเกษตรกรบางเขน เมื่อวันที่ ๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๙ ทรงรับของที่ราษฎรทูลเกล้าฯถวาย ทรงรับไว้ทุกสิ่งด้วยทรงถือว่ามีค่าสูงทางใจ
 
 
เสด็จพระราชดำเินินในการพระราชทานเลี้ยงน้ำชาแก่พระบรมวงศานุวงศ์  ณ สวนศิวาลัย  ในพระบรมมหาราชวัง วันที่ ๑๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๘
 
เสด็จพระราชดำเนินในพระราชพิธีขึ้นปีใหม่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๙
 
เสด็จพระราชดำเินินไปทรงตรวจพลสวนสนามของกองทัพพันธมิตรพร้อมกับเรือลอร์ดหลุยส์เมาต์แบตแตน ผู้บัญชาการทหารสูงสุดสัมพันธมิตรภาคตะวันออกไกล
 
เสด็จพระราชดำเินินเยี่ยมโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้าวัน ที่ ๑๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๙
 
เสด็จพระราชดำเนินไปทอดพระเนตรเรือดำน้ำและเรือปืนศรีอยุธยา วันที่ ๑๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๙
 
 
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯพระราชทานปริญญาบัตรแก่นิสิตจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย วันที่ ๑๓ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๙ มีพระราชดำรัสพระราชทานตอนหนึ่งว่า
     “...สำหรับนิสิตที่สำเร็จหลักสูตรซึ่งได้รับปริญญาในวันนี้อย่าพึ่งเข้าใจว่าท่านเรียนจบสิ้นการศึกษาแล้ว การศึกษาย่อมไม่มีที่สิ้น สุดท่านต้องหมั่นแสวงหา วิชาความรู้เพิ่มเติมให้ทันสมัยเสมอ...”
 
เสด็จพระราชดำเนินวัดราชาธิราชวันที่ ๑๓ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๙
 
เสด็จพระราชดำเินินเยี่ยมชุมชนมุสลิมที่มัสยิดต้นสน วันที่ ๒๙ เมษายน ค.ศ. ๒๔๘๙
 
เสด็จออกมหาสมาคมทรงลงพระปรมาภิไธยพระราชทานรัฐธรรมนูญ  และทรงเปิดสภาผู้แทนราษฎร ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม พระราชวังดุสิต เมื่อวันที่ ๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๙
 
เสด็จประพาสสำเพ็ง
วันที่ ๓ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๔๘๙ บริเวณสำเพ็ง สรา้งซุ้มประตูรับเสด็จ ประดับประดาเป็นรูปมังกร อย่างใหญ่โต ร้านค้าทอง ตลาดผ้าและร้านค้าปลีกย่อย ตกแต่งด้วยธงทิวอย่างหรูหราด้วยผ้ าและแพรสีต่างๆที่ขายอยู่เป็นประจำ ห้างร้า้นใดใหญ่โตก็ขนเอาโต๊ะมุกเครื่องบูชาเก่าแก่และเครื่องแก้วเจียระไนอย่างดีิิออกมาตั้งรับเสด็จนับตั้งแต่ปากตรอกสะพานหันสองฟากถนนสำเพ็งมีพรมปูลาดอย่างดี นอกจากนี้ก็ยังมีสิ่งของที่พวกพ่อค้าชาวจีน ชาวอินเดีย จัดเตรียมไว้เพื่อทูลเกล้าฯ ถวายตามร้านต่างๆ
 
เวลา ๙.๐๕ น.  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล  พร้อมด้วยสมเด็จพระอนุชาธิราช (พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช)ได้เสด็จพระราชดำเนินด้วยพระบาทอย่างช้าๆลอดซุ้มประตูตกแต่งด้วยดอกไม้ผ่านบรรดาแม่ค้าพ่อค้าที่หมอบเฝ้า...สมเด็จพระอนุชาทรงเป็นช่างภาพกิตติมศักดิ์ทรงถ่ายรูปไว้ทุกพระอิริยาบถ...ทรงให้เวลาตั้งแต่เช้าจนเกือบเที่ยงวัน ตอนหนึ่งทรงเล่าว่า
     
“...ฉันกำลังเดินเพลินๆอยู่ พอก้าวขาออกไปมีจีนคนหนึ่งวิ่งเข้ามาตรงเท้าฉันตกใจเหลียวมาดู เห็นเขากอบเอาขี้ฝุ่นตรงที่ฉันเหยียบ ใหม่ๆใส่มือแล้วเอาห่อใส่ผ้าเช็ดหน้าไว้ ถามดูได้ความว่าจะเอาไปบูชา...”
 
 
พระบรมฉายาลักษณ์สุดท้าย
พระบาทสมเด็จพระเจ้า้อยู่หัวอานันทมหิดล เสด็จพระราชดำเนินทรงหว่านเมล็ดพันธฺพืชที่สถานีเกษตรบางเขน เมื่อวันที่ ๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๙
 
วันที่ ๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๙ ใกล้เวลา ๙ นาฬิกา พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล เสด็จสวรรคตโดยกะทันหัน   ณ พระที่นั่งบรมพิมานในพระบรมมหาราชวัง พระชนมพรรษาได้ ๒๑ พรรษา  รัฐสภาได้แถลงให้ทราบถึงลำดับการสืบราชสันตติวงศ์ โดยกฎมณเทียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ พุทธศักราช ๒๔๖๗ ว่าในลำดับแรก ได้แก่ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช สมเด็จพระอนุชาธิราชร่วมพระชนกพระชนนี
 
 
สมเด็จเจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติเป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ ๙  แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์  เฉลิมพระปรมาภิไธยว่า สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช
 
ต่อมาวันที่ ๙ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๓๙ มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศเฉลิมพระปรมาภิไธยเฉลิมพระเกียรติสมเด็จ พระบรมเชษฐาธิราชว่า พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล และในศุภมงคลทรงครองสิริราชสมบัติครบ ๕๐ ปี   ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เฉลิมพระปรมาภิไธย พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล ว่า พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดลส กลไพศาลมหารัษฎาธิบดี พระอัฐมรามาธิบดินทร สยามินทรธิราช บรมนาถบพิตร ออกพระนามโดยสังเขปว่า พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดลพระอัฐมรามาธิบดินทร 
                                                                                                                     จากหนังสือเหนือเกล้าชาวไทย