ด้านศาสนา

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นพุทธมามกะ ดังจะเห็นได้จากการที่พระองค์ทรงผนวชในพระพุทธศาสนา และประพฤติปฏิบัติธรรมตามคำสอนของพระพุทธศาสนา 
 
พระองค์ทรงเสด็จออกผนวชเป็นเวลา ๒ สัปดาห์  โดยเมื่อวันที่ ๒๒ ตุลาคม ๒๔๙๙ เวลาบ่ายโมง ทรงผนวชโดยมีสมเด็จพระวชิรญาณวงศ์   สมเด็จพระสังฆราชเป็นพระอุปัฌาย์   พระศาสนโสภณ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และสมเด็จพระวันรัตเป็นผู้ถวายอนุสาสน์   ทรงได้รับพระสมณนามจาก พระราชอุปัธยาจารย์ว่า “ภูมิพโล”  ทรงประทับที่พระตำหนักปั้นหยาในวัดบวรนิเวศวิหารและทรงลาสิกขาเมื่อวันที่ ๕ พฤศจิกายน ๒๔๙๙ 
 
ในระหว่างที่ทรงผนวชพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงปฏิบัติพระองค์ตามแนวทางแห่งพระภิกษุ สงฆ์โดยทั่วไปอย่างเคร่งครัด    ทรงลงพระอุโบสถทำวัตรและออกบิณฑบาตเป็นประจำทุกวันมิได้ขาด ซึ่งภาพที่พระองค์ทรงเป็นพระภิกษุและออกบิณฑบาตนั้นเป็นภาพที่ประทับใจ พสกนิกรชาวไทยอยู่มิรู้ลืม
 
พระราชกรณียกิจในด้านการศาสนาที่สำคัญประการหนึ่ง คือ การที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงโปรดเกล้าฯ ให้จัดทำพระพุทธรูปปางมารวิชัยขึ้น เรียกว่า “พระพุทธนวราชบพิตร” เป็นพระพุทธรูปประจำรัชกาล โดยที่ฐานบัวหงายของพระพุทธนวราชบพิตรได้บรรจุพระพุทธรูปพิมพ์ “กำลังแผ่นดิน” หรือ “หลวงพ่อจิตรลดา” ไว้ ๑ องค์   สำนักพระราชวังได้วางระเบียบเกี่ยวกับพระ พุทธนวราชบพิตรไว้ว่า เมื่อจังหวัดต่างๆ ได้รับ พระพุทธนวราชบพิตรไปแล้ว เมื่อใดที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินไป ยังจังหวัดใด ก็ให้อัญเชิญพระพุทธนวราชบพิตรมาประดิษฐานเพื่อให้พระองค์ทรงสักการะด้วยพระพุทธนวราชบพิตร จึงเปรียบเสมือนตัวแทนแห่งองค์พระเจ้าอยู่หัว เป็นศูนย์รวมแห่งความจงรักภักดีที่มีอยู่ทั่วประเทศไทย 
 
นอกจากนี้แล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวยังทรงให้การอุปถัมภ์แก่ คณะสงฆ์ไม่เคยขาดเช่น การพระราชทานสมณศักดิ์แก่คณะสงฆ์ ดังจะเห็น ปรากฎอยู่ในพระราชพิธีต่างๆ เช่น พระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา เป็นต้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวยังทรงให้การทำนุบำรุงและบูรณะวัดต่างๆ เรื่อยมา ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ  ยกวัดราษฎร์ให้เป็นพระอารามหลวง  ทรงพระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์จำนวนหนึ่งเพื่อนำไปสร้างวัดญาณสังวราราม มหาวิหาร จังหวัดชลบุรี และวัดพระราม ๙ กาญจนาภิเษก กรุงเทพมหานคร พร้อมกับทรงรับไว้ในพระบรมราชูปถัมภ์ นอกจากนี้ทรง พระราชทานพระราชทรัพย์เพื่อบูรณะปฏิสังขรณ์วัดวาอารามต่างๆ ที่ชำรุดทรุดโทรม และพระราชกรณียกิจที่สำคัญเกี่ยวกับการทำนุบำรุงพระศาสนาอีกประการ ในรัชกาลของพระองค์คือการสร้างพระพุทธมณฑล โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำริจะจัดสร้างขึ้น เพื่อฉลองมงคล กาลสมัยที่พระพุทธศาสนามีอายุครบ ๒๕๐๐ ปี ในวันวิสาขบูชา ๑๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๐๐ ทางรัฐบาลมีมติเห็นชอบกับข้อเสนอของคณะกรรมการจัดงานเฉลิมฉลอง  ๒๕  พุทธศตวรรษ  ว่าควรมีการสร้างปูชนีย สถานเป็นพุทธศูนย์กลางอุทยานทางพุทธศาสนา ดังนั้น จึงมีมติให้จัดสร้าง “พุทธมณฑล” ขึ้น ซึ่งมีอาณาเขตติดต่อกันระหว่าง อ.สามพราน และ อ.นครชัยศรี จังหวัดนครปฐม และได้ถวายบังคมทูลอัญเชิญพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จไปวางศิลาฤกษ์ ในวันที่ ๒๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๙๘ และได้มีงานเฉลิมฉลองเนื่องในโอกาสที่พระพุทธศาสนาดำรงมาครบ ๒๕ ศตวรรษ ในระหว่างวันที่ ๑๒ – ๑๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๐๐ 
 
การบำเพ็ญพระราชกุศล
สำหรับการบำเพ็ญพระราชกุศลในวันสำคัญทางศาสนานั้น  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ก็ทรงปฏิบัติอยู่เป็นนิจพระราชกรณียกิจที่ทรงบำ เพ็ญเป็นประจำทุกปี ในวันสำคัญทางศาสนา  คือ
 
๑.วันมาฆบูชา
พระราชพิธีเนื่องในวันมาฆบูชาของพระเจ้าแผ่นดินในราชวงศ์จักรี เริ่มมาตั้งแต่รัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๔ โดยจะประกอบพิธีในบริเวณวัดพระศรีรัตนศาสดาราม แต่หากเมื่อใดที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  ทรงเสด็จไปยังสถานที่สำคัญ ทางศาสนาในหัวเมือง เช่น พระปฐมเจดีย์ พระพุทธบาท พระพุทธฉายก็จะทรงบำเพ็ญพระราชกุศลเนื่องในมหาฤกษ์มาฆบูชาในสถานที่นั้นๆ
 
ครั้นในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าหน้าที่กองพระราชพิธี สำนักงานพระราชวังทำเทียนรุ่ง (เทียนที่จุดได้ตลอดคืน)  ไปตั้งถวาย ณ ที่ประทับเพื่อทรงเจิม  โดยพระราชทานให้แก่อารามหลวงใช้ในราชการบูชากพระรัตนตรัย เมื่อถึงวันมาฆบูชา ในช่วงบ่ายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ  พระบรมราชินีนาถจะเสด็จไปยังพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม หากไม่ได้เสด็จด้วยพระองค์เองก็จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระบรมวงศ์เธอ พระองค์ใดพระองค์หนึ่ง เสด็จเป็นผู้แทนพระองค์เป็นประจำเรื่อยมา
 
๒. พระราชพิธีเปลี่ยนเครื่องทรง พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรประจำฤดู
เมื่อคราวที่สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกขึ้นครองราชย์ ได้ทรงสร้างบ้านเมืองใหม่และย้ายพระนคร ได้ให้มีการสร้างวัดพระศรีรัตนศาสดารามไว้ในเขตพระราชวัง และทรงอัญเขิญพระแก้วมรกตมาประดิษฐานในพระอุโบสถแล้วทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯ ให้สร้าง เครื่องทรงสำหรับฤดูฝนและฤดูร้อนถวาย ครั้นต่อมาในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๓ ทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างเครื่องทรงสำหรับฤดูหนาวเพิ่มขึ้นอีกอย่างหนึ่ง  
 
พระราชพิธีเปลี่ยนเครื่องทรงพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร ถือเป็นพระราชพิธีที่สำคัญอีกพระราชพิธีหนึ่ง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะ ทรงเสด็จพระราชดำเนินไปเปลี่ยนเครื่องทรงเองเป็นประจำทุกปี   โดยเครื่องทรงแต่ละประเภทนั้นจะเปลี่ยนในวันที่เปลี่ยนฤดู หากในคราใด ที่ไม่ได้ทรงเสด็จไปด้วยพระองค์เอง ก็จะโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าพระบรมวงศ์เธอพระองค์ใดพระองค์หนึ่งเสด็จไปแทน
 
๓. วันวิสาขบูชา
วันวิสาขบูชาเป็นวันสำคัญอักวันหนึ่งของชาวพุทธเรายึดถือกันมาช้านานเพราะวันวิสาขบูชานั้นเป็น วันที่พระพุทธเจ้า ทรงประสูติ ตรัสรู้  และปรินิพพาน  พุทธศาสนิกชนจึงพร้อมใจกันทำพิธีสักการบูชาในวันนี้   พระมหากษัตริย์ไทยเองก็เช่นกัน ทรงบำเพ็ญพระราชกุศล  ในวันวิสาขบูชามาตั้งแต่ สมัยกรุงสุโขทัย และได้มีพระราชพิธีนืเรื่อยมาจากอยุธยา กรุงธนบุรี จนถึงสมัยรัตนโกสินทร์
 
พระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศล เนื่องในวันวิสาขบูชา   พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดเป็นพระราชพิธีสองวันติดต่อกัน คือ เป็นงานวันตั้งเปรียญวันหนึ่งและเป็น ส่งของงานพระราชพิธีวิสาขบูชาอีกวันหนึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  ทรงเริ่มเสด็จพระราชดำเนินในพระราชพิธีวิสาขบูชา ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดารามด้วยพระองค์เองเป็นครั้งแรก เมื่อพุทธศักราช ๒๔๙๓
 
ในบางปี ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเสด็จแปรพระราชฐานไปประทับแรมนอกพระนครก็จะทรงบำเพ็ญพระราชกุศลในวันวิสาขบูชา ณ วัดใกล้ที่ประทับแรมส่วนในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้พระราชวงศ์ทรงปฏิบัติราชภารกิจแทนพระองค์ ตั้งแต่พุทธศักราช ๒๕๐๕ เป็นต้นมา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ  พระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จพระราชดำเนินไปบำเพ็ญพระราชกุศลตามสถานที่ต่างๆ เช่น พระปฐมเจดีย์ จังหวัดนครปฐม วัดพระมหาธาตุ จังหวัดนครศรีธรรมราช วัดโสธรวรมหาวิหาร จังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นต้น นับแต่ พ.ศ. ๒๕๒๖ เป็นต้นมา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะทรงเสด็จพระราชดำเนินไปยังสถานที่สำคัญๆ ทางศาสนา เพื่อบำเพ็ญพระราชกุศลเนื่องในวันวิสาขบูชาเป็นส่ว นพระองค์เรื่อยมา  โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ เสด็จแทนพระองค์ เพื่อประกอบพระราชพิธีวิสาขบูชา ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม
 
 
๔. พระราชพิธีวันถวายพระเพลิงพระพุทธเจ้า
พระราชพิธีอัฎฐมีบูชา หรือ พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระพุทธเจ้า จะมีขึ้นในวันแรม  ๘ ค่ำ  เดือน ๖ หรือ  นับต่อเนื่องไปจากวันวิสาข บูชาอีก ๘ วัน  ซึ่งเป็นวันคล้ายวันถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระ  พระราชพิธีนี้เป็นพระราชศรัทธาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาล ปัจจุบันโดยเฉพาะ โดยทรงกำหนดให้เป็นพิธีหลวง และได้มีพระราชอุทิศเทียนรุ่งเพื่อบูชาพระรัตนตรัยให้แก่อาราม ๗ แห่ง
 
 
๕. พระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลเนื่องในวันอาสาฬหบูชาและพระราชพิธีเข้าพรรษา 
เป็นพระราชพิธีที่พัฒนามาจากพระราชพิธีหล่อเทียนพรรษา  และฉลองเทียนพรรษาซึ่งมีอยู่แต่เดิม ต่อมาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรง พระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กำหนดพระราชพิธีอาสาฬหบูชาเพิ่มขึ้น จนกลายเป็นงานพระราชพิธี ๒ พระราชพิธีต่อเนื่องกัน
 
การหล่อเทียนพรรษาเป็นพระราชพิธีที่พระมหากษัตริย์ไทย ทรงปฏิบัติต่อ เนื่องกันมาตั้งแต่ตอนต้นกรุงรัตนโกสินทร์ โดยการหล่อเทียนพรรษาจะมีขึ้ นในเดือน ๗ ก่อนวันเข้าพรรษา และเมื่อหล่อเสร็จแล้จะนำไปถวายยังวัดต่างๆ ไว้สำหรับจุดบูชาพระรัตนตรัยตลอดช่วงเข้าพรรษาในตอนต้นรัตนโกสินทร์นั้นจะหล่อเทียนด้วยสีผึ้ง จนกระทั่งถึงรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ยกเลิกการหล่อเทียนด้วยสีผึ้งเสีย  โดยมีพระกระแสรับสั่งให้ทำเป็นไม้ปั้นลายรักปิดทองแทน  แล้วให้ทำเป็นตะกั่ว สำหรับหยอดสีผึ้งลงไปสำหรับใช้จุดในวันแรก ส่วน วันอื่นๆ นั้นให้ใช้การเติมน้ำมันลงไปแทน สำหรับเทียนสีผึ้งอย่างเก่าให้คง ไว้เฉพาะที่วัพระศรีรัตนศาสดารามและวัดต่างๆ อีกเพียงไม่กี่แห่ง
 
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจเนื่องในพระราชพิธีเข้าพรรษามาตั้งแต่เสด็จขึ้นครองราชย์ จวบจนกระทั่งปัจจุบัน โดยจะพระราชทานเทียนพรรษาให้แก่วัดต่างๆ ทั่วประเทศ ทั้งในกรุงเทพฯ และ หัวเมือง รวมถึง ๖๔ วัด นอกจากนี้ยังทรงพระราชทานพุ่มเทียน ให้แก่พระสงฆ์   โดยพระสงฆ์ที่ได้รับพระราชทานพุ่มเทียน จะเป็นสมเด็จ พระสังฆราช   สมเด็จพระราชาคณะ องค์สมเด็จพระราชาคณะ พระราชาคณะ พระเปรียญธรรม ๙ ประโยค และพระครูสัญญาบัตรตั้งแต่เจ้าอาวาสอารามหลวงชั้นตรีขึ้นไปกับพระนาคหลวง
 
๖. พระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลถวายพระกฐิน
เป็นพระราชกรณียกิจที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงบำเพ็ญมาเป็นประจำทุกปี  เพื่อทรงพระอนุเคราะห์ให้หมู่สงฆ์ได้รับประโยชน์ในทางพระวินัย การถวายกฐินในปัจจุบันแบ่งออกเป็น ๓   ประเภท ตามฐานะของวัดที่ได้รับพระราชทาน
 
           ๑. พระกฐินหลวง ได้แก่ กฐินที่เสด็จไปถวายด้วยพระองค์เอง   หรือทรงพระกรุณาโปรด เกล้าฯ ให้พระราชวงศ์ หรือองคมนตรีนำไปถวายให้แก่อารามหลวง
 
           ๒. กฐินพระราชทาน ได้แก่กฐินที่พระราชทานให้แก่กระทรวง ทบวง กรม องค์กร สมาคม หรือ เอกชนนำไปทอดถวายพระสงฆ์ แก่พระอารามหลวงทั่วราชอาณาจักร นอกเหนือจากอาราม หลวงดังกล่าวในข้อ ๑.
 
            ๓. กฐินต้นหรือกฐินส่วนพระองค์ คือ พระกฐินที่เสด็จโดยพระองค์เองไปถวายแก่วัดราษ ฎร์เป็นส่วนพระองค์เอง
 
องค์อัครศาสนูปถัมภก     
นอกจากจะทรงเป็นพุทธมามกะแล้ว  ยังทรงเป็นองค์อัครศาสนูปถัมภกอีกด้วย  ทรงอุปถัมภ์ศาสนาทุกศาสนา  ภายใต้พระบรมโพธิสมภารของพระองค์ ดังจะเห็นได้จากการ ที่พระองค์เสด็จพระราชดำเนินทรงเป็นองค์ประธานในงานฉลองครบรอบ  ๕๐๐ ปี แห่งศาสนาซิกซ์ ตามคำอัญเชิญของสมาคมศรีคุรุสิงห์สภา และในงานเมาลิดกลางของอิสลามิกชน
 
 
ศาสนาอิสลาม
ทรงสนับสนุนให้มีการแปลพระคัมภีร์อัลกูรอานมาเป็นภาษาไทย เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๕ เอกอัครราชทูตซาอุดิอารเบียทูลเกล้าฯ ถวายพระคัมภีร์ อัลกูรอานฉบับภาษาอังกฤษให้แก่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำริแปลเป็นภาษไทย เพื่อพี่น้อง ชาวไทยมุสลิมจะได้เรียนรู้ และเข้าใจความหมายที่แท้จริงของคัมภีร์อัลกุรอาน พร้อมทั้งสามารถนำไปประพฤติปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชกระแสรับสั่งกับจุฬาราชมนตรีว่า   อัลกุรอานฉบับแปลจากภาษาอังกฤษมีเยอะแล้วทรงอยากให้จัดทำ ฉบับจากต้นฉบับเดิมขึ้น จุฬาราชมนตรี จึงสนองพระราชกระแสรับสั่งไปจัดทำจนแล้วเสร็จโดยได้คำนึงถึงพระราชกระแสรับสั่งของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวสองประการคือ 
           ๑. การแปลพระคัมภีร์อัลกรุอานเป็นภาษาไทย ขอให้แปลอย่างถูกต้อง
           ๒. ขอให้ใช้สำนวนเป็นภาษาไทยที่สามัญชนทั่วไปอ่านเข้าใจได้
 
เสด็จพระราชดำเนินงานเมาลิดกลาง งานเมาลิด คือ งานเฉลิมฉลองเนื่องในวโรกาสคล้ายวันพระราชสมภพ  ของพระบรมศาสดานบีมูฮัมหมัด ซึ่งชาวมุสลิมทั่วโลกจะจัดงานที่ระลึกขึ้น ในประเทศไทยก็จะมีการจัดขึ้นตามจังหวัดต่างๆ  ที่มีพี่น้องชาวมุสลิมอาศัยอยู่หนาแน่น ในส่วนกลางจัดขึ้นที่กรุงเทพมหานคร มีชาวมุสลิมเดินทางมาร่วมงานจำนวนมาก
 
พระราชทานรางวัลโล่เกียรติคุณ และเงินรางวัลแก่ผู้นำศาสนาอิสลาม  (อิหม่าน) ในงานนเมาลิดกลางเมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ เสด็จพระ ราชดำเนินไปร่วมในพิธี ก็จะมีการพระราชทานโล่เกียรติคุณและเงินรางวัลแก่ผู้นำศาสนาอิสลามประจำมัสยิดต่างๆ ด้วย
 
ทรงมีพระราชดำริให้มีการสนับสนุนการจัดสร้างมัสยิดกลางประจำจังหวัดขึ้น โดยให้รัฐบาลจัดสรรวบประมาณแผ่นดินสำหรับจัดสร้าง ขณะนี้ได้สร้างเสร็จเรียบร้อยแล้วใน  ๔ จังหวัดภาคใต้ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินไปเป็นองค์ประธานในพิธีด้วยพระองค์เอง
 
ศาสนาคริสต์
ทางฝ่ายคริสตศาสนานั้น ก็ได้รับพระราชทานพระบรมราชูปถัมภ์เช่นเดียวกับศาสนาอื่น โดยทรงอุดหนุนกิจการคริสตศาสนาตามวาระโอกาสต่างๆ อยู่เสมอ คริสตศาสนาสามารถสร้างโรงเรียน โรงพยาบาล โบสถ์และประกอบศาสนกิจได้ทั่วทุกภาคของประเทศ และได้เสด็จพระราชดำเนินไปในงานพิธีสำคัญๆ ของคริสตศาสนิกชนเป็นประจำ ที่สำคัญที่สุดคือ ได้เคยเสด็จพระราชดำเนินเยือนนครรัฐวาติกัน เมื่อครั้งเสด็จพระราชดำเนินเยือนทวีปยุโรปเมื่อ ๕๐ กว่าปีก่อน (๑ ตค. ๒๕๐๓) เพื่อกระชับทางพระราชไมตรีระหว่างประเทศไทยกับคริสตศาสนา ณ กรุงวาติกัน
 
เมื่อเอกอัครสมณทูตแห่งนครรัฐวาติกันเดินทางมาประเทศไทย ก็ได้รับพระบรมราชวโรกาสให้เข้าเฝ้าฯ ทูลเกล้าฯ ถวายพระราชสาสน์ตราตั้ง เมื่อวันที่ ๑๖ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๑๒ ณ พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท
 
 
และเมื่อพระสันตปาปา จอห์น ปอล ที่ ๒ ประมุขแห่งคริสตจักรโรมันคาทอลิก เสด็จเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการในฐานะพระราชอาคันตุกะ เมื่อวันที่ ๑๐ - ๑๑ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๒๗ ครั้งนั้นนับว่าเป็นกรณีพิเศษอย่างยิ่ง  เพราะไม่เคยปรากฏมาก่อนว่าประมุขคริสตจักรโรมันคาทอลิกจะเสด็จมาเยือนประเทศไทยเช่นนี้ ได้เสด็จออกทรงรับ ณ พระที่นั่งจักรีมหาปราสาทอย่างสมพระเกียรติ สร้างความปลาบปลื้มอิ่มเอมใจแก่ชาวไทยที่นับถือคริสตศาสนาเป็นอันมาก
 
นอกจากนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จฯ ทอดพระเนตรภาพยนตร์การกุศลที่โรงพยาบาลแมคคอร์มิก จ. เชียงใหม่ โรงพยาบาลแห่งนี้ พระบาทสมเด็จมหิตลาธิเบศรอดุลยเดชวิกรม พระบรมราชนก ทรงเคยปฏิบัติหน้าที่เป็นแพทย์ นอกจากนี้ยังเสด็จเยี่ยมโรงเรียน โรงพยาบาลต่างๆ ที่เป็นของศาสนาคริสต์อีกด้วย