-
Category: คอลัมน์ ... จากหนังสือศิลปวัฒนธรรม
-
Published on Monday, 12 February 2018 08:05
-
Written by หอจดหมายเหตุ
-
Hits: 3230
ผศ. ยุวดี ศิริ
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ต้องยอมรับว่าภายหลังการเสด็จพระราชดำเนินเยือนยุโรป ครั้งที่ ๑ (พ.ศ. ๒๔๔๐) ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวประเทศสยามได้เริ่มเข้าสู่ยุคของการปฎิรูปประเทศอย่างแท้จริง พระองค์ทรงว่าจ้างผู้ชำนาญการชาวตะวันตกเข้ามารับราชการเป็นจำนวนมาก ทั้งทางด้านการเงิน การคลัง กฏหมาย วิศวกร สถาปนิก ฯลฯ
ชุมชนชาวตะวันตกมีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว เช่น บริเวณแถบตรอกโอเรียนเต็ล สุรวงศ์ บางรัก สีลม สาทร บ้านทวายเมื่อมีชุมชนเกิดขึ้นความต้องการสาธารณูปโภคและสาธารณูปการที่ทันสมัยก็ตามมา ทั้งการก่อสร้างอาคารตึกรามบ้านช่อง ทั้งถนนหนทาง โดยเฉพาะความต้องการโรงพยาบาลสำหรับการรักษาดูแลชาวตะวันตกเหล่านี้
อาคารเรียนหลังแรกของโรงเรียนเซนต์โยเซฟคอนเวนต์
ออกแบบโดย นายอัลเฟรโด รีกาซซี สถาปนิกชาวอิตาลี
พระสังฆราชหลุยส์ เวย์ ซึ่งเป็นผู้แทนพระสันตะปาปาประจำราชอาณาจักรสยาม มีประสงค์ที่จะสร้า งโรงพยาบาลเซนต์หลุยส์ที่กรุงเทพฯ เพื่อให้เป็นโรงพยาบาลเฉพาะชาวตะวันตกซึ่ง แม้ว่าจะมีโรงพยาบาลอยู่ ๒ แห่ง แล้วในย่านชาวตะวันตกอยู่อาศัยคือ บางกอกเนิร์สซิ่งโฮม ที่หัวถนนสีลมแต่ก็เป็นสถานพยาบาลขนาดเล็ก และโรงพยาบาลบางรัก ในความดูแลของนายแพทย์เฮย์ แห่งกระทรวงทหารเรือบริเวณถนนบางรักแต่ก็ไม่เพียงพอพระสังฆราชหลุยส์ เวย์ จึงได้มีหนังสือขอความร่วมมือไปยังคุณแม่กังดิ๊ด (Mere Candide) ซึ่งเป็นเจ้าคณะภคินีเซนต์ปอล เดอ ชาร์ตร ของภาคตะวันออกไ กล มีที่ทำการอยู่ที่ไซ่ง่อนให้ช่วยส่งคณะภคินีมาช่วยงานโรงพยาบาลความว่า “ที่กรุงเทพฯ ซึ่งพลเมืองส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธทั้งหมด จำเป็นต้องตั้งโรงพยาบาลสำหรับชาวยุโรปขึ้น และบุคคลผู้มีอิทธิพลในเมืองนั้นได้เรียกร้องให้มีนักบวชหญิงมาปฎิบัติงานทางมิสซังเสนอให้ที่ดินและจะเป็นผู้ออกค่าก่อสร้าง”
ในปี พ.ศ. ๒๔๔๑ คุณแม่กังดิ๊ดตอบรับหนังสือดังกล่าว ด้วยการส่งภคินีคณะเซนต์ปอล เดอ ชาร์ตร จำนวน ๗ คน เดินทางจากไซ่ง่อนมาปฏิบัติงานในประเทศสยาม อันประกอบด้วย เซอร์อิกญาส เดอ เยซู, เซอร์ดอนาเซียน, เซอร์คามิล เดอ เยซู, เซอร์เซราฟิน เดอ มารี, เซอร์เอด มองค์, เซอร์เชนี ดู ซาเครเกอ, เซอร์ซอง แบร์ฆมันส์ พร้อมกันนี้ก็มีนายแพทย์อีก ๑ ท่านติดตามคณะภคินีเข้ามาด้วยได้แก่ นายแพทย์ปัวซ์ (ซึ่งต่อมาเป็นแพทย์ประจำราชสำนัก) มาเป็นแพทย์ประจำโรงพยาบาล ในปีเดียวกันนั้นเองโรงพยาบาลเซนต์หลุยส์ก็ถูกก่อสร้างขึ้นและเพียงโรงพยาบาลเปิดทำการได้ไม่นาน ก็มีหญิงชาวไทยจำนวนหนึ่งสมัครใจเข้าเป็นนักบวชหญิงและทำงานในโรงพยาบาลที่ตั้งขึ้นใหม่นี้
ความสำเร็จดังกล่าว จึงทำให้มิสซังคาทอลิกเห็นว่าน่าจะเป็นโอกาสอันดีที่จะเผยแผ่คริสต์ศาสนาผ่านนักบวชหญิงเหล่านี้ และน่าจะมีความเป็นไปได้ในการจัดตั้งโรงเรียนสำหรับเด็กหญิงขึ้นในประเทศสยาม เพื่ออบรมให้นักบวชหญิงเหล่านี้ให้มีความรู้ทั้งในด้านการศึกษาและการรักษาพยาบาล ทั้งนี้เพราะ ณ ขณะนั้นโรงเรียนสำหรับเด็กชายที่มิสซังคาทอลิกตั้งขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๒๘ คือโรงเรียนอัสสัมชัญได้เจริญรุดหน้า มีเด็กนักเรียนนิยมเ ข้าศึกษาเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมากบาทหลวงด’ฮอนดต์ (D’Hodt) รักษาการผู้แทนพระสันตะปาปาประจำกรุงสยาม ณ ขณะนั้นจึงได้ส่งหนังสือไปถึงคุณแม่กังดิ๊ด ความว่า “เรื่องเป็นอย่างนี้ ที่กรุงสยาม เรามีกลุ่มนักบวชหญิงพื้นเมืองอยู่จำนวนหนึ่ง ซึ่งอุทิศตนทำงานมิสซัง นักบวชหญิงเหล่านี้ติดตามธรรมทูตไปยังแหล่งที่ไกลที่สุด ใช้ชีวิตเหมือนคนในถิ่นนั้นและรับใช้เราในเรื่องสำคัญๆ เช่น ดูแลสถานเลี้ยงเด็กกำพร้า ทำโรงเรียน และสอนส ตรีซึ่งปรารถนาจะกลับใจ อาตมาปรารถนาจะสร้างนักบวชหญิงที่แท้จริงขึ้นมา จึงใคร่ขอเซอร์สองคนในคณะของท่าน เพื่อมาอำนวยการคอนแวนต์นักบวชหญิงพื้นเมืองด้วย วัตถุประสงค์ดังที่ได้ชี้แจงไว้แล้ว”
อาคาเรียนของโรงเรียนเซนต์โยเซฟคอนเวนต์ ภาพถ่ายเก่าในมุมที่แตกต่างกัน
ดังนั้นแนวคิดเริ่มต้นในการจัดตั้งโรงเรียนสำหรับเด็กหญิงของคริสต์ศาสนา นิกายโรมันคาทอลิก ก็เพื่อให้มีสถานที่ฝึกอบรมเด็กหญิงที่ต้องการเป็นนักบวชหญิงของฝ่ายคาทอลิก แต่ท้ายสุดแล้วแนวคิดนี้ก็ขยายไปสู่การจัดตั้งโรงเรียนสำหรับเด็กหญิง โดยไม่ได้จำกัดแต่เพียงเด็กหญิงที่ต้องการเป็นนักบวชเท่านั้น แต่ยังหมายรวมถึงเด็กหญิงทั่วไปอีกด้วย โดยเปิดเป็นโรงเรียนสำหรับฝึกสอนการเย็บปักถักร้อยงานฝีมือ การเรียนพูดภาษาต่างประเทศ อันได้แก่ อังกฤษ เยอรมัน โปรตุเกส และฝรั่งเศส เป็นต้น
ในขณะที่มีความพยายามที่จะขอให้ทางแขวงไซ่ง่อน จัดส่งเซอร์มาเพื่อร่วมในการจัดตั้งโรงเรียนสำหรับเด็กหญิง ประเทศฝรั่งเศสซึ่งเป็นต้นทางที่มิสซังคาทอลิกส่วนใหญ่ในประเทศสยามสังกัดอยู่ได้มีปัญหาภายในประเทศ ทางรัฐบาลประเทศฝรั่งเศสได้ออกกฎหมายให้คณะนักบวชจำเป็นต้องโอนทรัพย์สินให้ฆราวาส และมีผลบังคับครอบคลุมไปถึงอาณานิคมทุกแห่งของฝรั่งเศส คุณแม่กังดิ๊ดจึงกังวลสถานะของคณะภคินี ที่อาจถูกรัฐบา ลฝรั่งเศสยึดครองทรัพย์สินทั้งหลายและอาจกระทบกับการดำรงชีพในภายหน้า ดังนั้น การหาดินแดนที่มิได้ถูกฝรั่งเศส ยึดครองให้เป็นที่พำนักของคณะภคินีในระยะยาวจึงน่าจะเป็นทางออกที่ดีที่สุด และประเทศสยาม ก็คือดินแดนที่ปลอดภัยที่สุด ณ ขณะนั้นในภูมิภาคนี้
พระสังฆราชหลุยส์ เวย์ ได้เสนอสถานที่ให้คุณแม่กังดิ๊ด เชื่อมั่นถึงแนวทางในการจัดตั้งโรงเรียนเพื่อให้เป็นที่ทำการของคณะภคินีว่าจะเป็นที่มั่นคง และสามารถให้การดูแลคณะภคินีได้เป็นอย่างดี ความหมาย “นี่คือสิ่งที่เราจะสามารถทำได้ คือ เปิดสถานที่สอนเย็บปักถักร้อย ซึ่งเด็กสาวๆ จะได้มาทุกวัน เพื่อเรียนการฝีมือ ประดิษฐ์เสื้อผ้า ที่เย็บปักอย่างละเอียดงดงาม หรือมิฉะนั้นก็เรียนพูดภาษาอังกฤษ เยอรมัน โปรตุเกส ฝรั่งเศส สถานฝึกซึ่งจะเปิดขึ้นนี้ จะสร้างอยู่ใกล้วัดอัสสัมชัญ ตรงข้ามสำนักสังฆราช... นอกจากโครงการนี้แล้ว เราก็อาจจะรับเซอร์อีก ๕ หรือ ๖ คน ให้ไปอยู่ที่บ้านหนึ่งของเรา ใกล้ๆ กับวัดซางตาครู้สบนฝั่งขวาของแม่น้ำเกือบจะตรงข้ามกับพระบรมมหาราชวัง”
แนวความคิดดังกล่าวเริ่มเป็นรูปเป็นร่างขึ้น เมื่อพระสังฆราชหลุยส์เวย์ได้มอบให้ บาทหลวงเอมิลกอลมเบต์ เป็นผู้ดำเนินการจัดตั้งโรงเรียน โดยมี บาทหลวง เรอ มิเออ เหรัญญิกของมิสซังคาทอลิกเป็นผู้ดำเนินการก่อสร้างตึกเรียนขึ้นในที่ดินของอาสนวิหารอัสสัมชัญในเนื้อที่ ๓ ไร่ ๒ งานติดกั บแม่น้ำเจ้าพระยา อาคารเรียนก่อสร้างแล้วเสร็จสามารถเปิดดำเนินการสอนได้ในปี พ.ศ. ๒๔๔๗ นับเป็นโรงเรียนคาทอลิกหญิง แห่งแรกของประเทศโดยใช้ชื่อว่า “โรงเรียนอัสสัมชัญคอนแวนต์” มีเซอร์แซงต์ ซาเวียร์ เป็นอธิการคนแรก
นักบวชหญิงชาวไทยรุ่นแรกที่เข้าทำงานที่โรงพยาบาลเซนต์หลุย์
การปฏิบัติงานของนักบวชหญิงชาวไทยอันเป็นที่มาของแนวคิด
ในการจัดตั้งโรงเรียนคาทอลิกหญิงเพื่อใช้อบรมนักบวชหญิงเหล่านี้
ถัดมาอีก ๒ ปี ในปี พ.ศ. ๒๔๔๙ ภายใต้มิสซังคาทอลิก คณะภคินีได้เริ่มดำเนินการเปิดโรงเรียนขึ้น ๒ แห่ง ในเวลาใกล้เคียงกัน แห่งหนึ่ง คือโรงเรียนเซนต์โยเซฟคอนเวนต์ ที่ย่านถนนสีลม และอีกแห่งหนึ่ง คือ โรงเรียนซางตาครู้สคอนแวนท์ ที่ย่านกุฎีจีน ฝั่งธนบุรี
โดยโรงเรียนเซนต์โยเซฟคอนเวนต์มีภคินีคณะเซนต์มอร์ เป็นผู้ดำเนินการ ส่วนโรงเรียนซางตาครู้สคอนแวนท์ มีภคินีคณะเซนต์ปอล เดอ ชาร์ตร เป็นผู้ดำเนินการ แต่ภายหลังภคินีคณะเซนต์มอร์อยู่ดำเนินการโรงเรียนที่ย่านสีลมได้ไม่นานก็มีสาเหตุบางประการให้ต้องเดินทางออกประเทศไทย จึงได้ยกกิจการให้กับมิสซังคาทอลิกโดยคิดมูลค่าสิ่งก่อสร้างเป็นจำนวนเงิน ๑๑๕,๐๐๐ ฟรังก์ โดยจำนวนเงินดังกล่าวภคินีคณะเซนต์ปอล เดอ ชาร์ตร รับผิดชอบที่จะเป็นผู้จ่ายเอง มิสซังคาทอลิกจึงมอบกิจการโรงเรียนให้ภคินีเซนต์ปอล เดอ ชาร์ตร เข้าดำเนินการต่อและใช้ชื่อโรงเรียนว่า “เซนต์โยเซฟคอนเวนต์” ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน
เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี (เจิม แสง-ชูโต) ผู้
บริจาคที่ดินให้กับโรงเรียนเพื่อใช้เป็นสถาน
ศึกษาของโรงเรียนคาทอลิกหญิงในสยาม
บริเวณซอยคอนแวนต์ อันเป็นที่ตั้งของ
โรงเ้รียนเซนต์โยเซฟคอนเวนต์ในปัจจุบัน
ที่ตั้งของโรงเรียนเซนต์โยเซฟคอนเวนต์นั้น เดิมเป็นที่นาตราจองในตำบลทุ่งวัวลำพอง บนถนนสีลม ซึ่งเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี (เจิม แสง ชู โต) ได้รวบรวมและจัดซื้อไว้เป็นจำนวนมาก จนกระทั่งใน ปี พ.ศ. ๒๔๔๙ ท่านได้ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาติจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวบริจาคที่ดินด้านหลังบ้านจำนวน ๙ ไร่ ให้แก่ภคินีคณะเซนต์มอร์เพื่อนำไปก่อสร้างโรงเรียนสำหรับเด็กหญิง ได้มีการรังวัดปักเขตกำหนดเส้นรุ้ง-แวง โดยรุ้งต้นตะวันออกติดที่เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี ๓ เส้น โดยรุ้งต้นตะวันตกติดที่เจ้าพร ะยาสุรศักดิ์มนตรีตัดใหม่ ๓ เส้น เส้นแวงทิศเหนือติดที่เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี ๓ เส้น เส้นแวงทิศใต้ติดที่เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี ๓ เส้น ดังนั้นรูปแปลงที่ดินที่เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรีบริจาคให้จึงน่าจะเป็นแปลงสี่เหลี่ยมจัตุรัส กว้าง ๓ เส้น ยาว ๓ เส้น และมีที่ดินทั้ง ๓ ด้านติดที่ดินของเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี ส่วนอีกด้านหนึ่งที่เหลือติดถนนที่เจ้าพระยาสุรศักดิ์ตัดขึ้นใหม่แต่ปัจจุบันโรงเรียนมีที่ดินเพิ่มขึ้นเป็น ๑๖ ไร่ ๓ งาน ๖๘ ตารางวาจึงน่าจะมีการจัดซื้อเพิ่มเติมในภายหลัง
การก่อสร้างโรงเรียน เริ่มขึ้นโดยซิสเตอร์คณะเซนต์มอร์ ได้มอบหมายให้ นายอัลเฟรโด รีกาซซี (Alfred Rigazzi) สถาปนิกชาวอิตาลีออกแบบก่อสร้าง อาคารโรงเรียนเริ่มแรกเป็นอาคาร ๒ ชั้น ก่ออิฐถือปูนหลังคาทรงปั้นหยา มุงกระเบื้อว่าวใต้ถุนใช้เป็นที่เก็บน้ำ และฐานรากทำด้วยขอนไม้ขนาดใหญ่ ส่วนปีกขวาของโรงเ รียนก่อสร้างเป็นวัดน้อย (โบสถ์ขนาดเล็ก) เป็นอาคารก่ออิฐถือปูน สูง ๓ ชั้นผังรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า แนวสถาปัตยกรรมคลาสสิครีไววัล เพื่อเน้นความสงบและสง่างาม ใจกลางอาคารเป็นห้องประกอบพิธี (Nave) ขนาบด้วยทางเดิน (Gallery) ๒ ชั้นบริเวณแท่นบูชา (Apse) เป็นซุ้มโค้งรูปแบบปัลลาเดียน รอบอาคารเป็นหน้าต่างเกล็ดไม้ ทำให้อาคารมีความโปร่งระบายอากาศได้ดีปัจจุบันวัดน้อยเป็นสิ่งปลูกสร้างเพียงอย่างเดียวที่คงอยู่ตั้งแต่สมัยการก่อตั้งโรงเรียนเมื่อเริ่มแรก และได้รับรางวัลอาคารอนุรักษ์ศิลปะสปาปัตยกรรมดีเด่น ประเภทอาคารปูชนียสถานและวัดวาอารามจากสม าคมสถาปนิกสยาม เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๕๐
เมื่อภคินีคณะเซนต์ปอล เดอ ชาร์ตร ได้เข้ามาดำเนินการต่อจากภคินีคณะเซนต์มอร์แล้ว ก็สถาปนาให้โรงเรียนเซนต์โยเซฟคอนเวนต์ เป็นศูนย์กลางที่ตั้งแห่งสำนักภคินีเซนต์ปอล เดอ ชาร์ตร ในประเทศไทย ทั้งนี้น่าจะเพราะโรงเรียนเซนต์โยเซฟคอนเวนต์ มีพื้นที่ขนาดใหญ่กว่าโรงเรียนอีก ๒ แห่ง คือ โรงเรียนอัสสัมชัญคอนแวนต์ และโรงเรียนซางตาครู้สคอนแวนท์ ประกอบกับที่ตั้งโรงเรียนทั้ง ๒ แห่งนั้น เป็นส่วนหนึ่งในเขตอาสนวิหาร ดังนั้น การย้ายสำนักภคินีมาจัดตั้งที่โรงเรียนแห่งนี้นอกจากจะมีสถานที่กว้างขวางแล้ว ยังถือเป็นที่เฉพาะที่จะมีแต่นักบวชหญิง โดยไม่มีบาทหลวงของมิสซังคาทอลิกเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยในขณะเดียวกันคณะภคินีก็ได้มอบหมายให้ เซอร์แซงต์ ซาเวียร์ อธิการิณี จากโรงเรียนอัสสัมชัญคอนแวนต์ ย้ายมาดำรงตำแหน่งเป็นอธิการิณี ผู้จัดการและครูใหญ่คนแรกของโรงเรียนแห่งนี้
เด็กนักเรียนโรงเรียนเซนต์โยเซฟคอนเวนต์ในอดีตตั้งแต่
สมัยเริ่มแรกที่ยังไม่มีเครื่องแบบนักเรียน และเครื่องแบบ
นักเรียนที่เริ่มใช้มาจนถึงปัจจุบัน
เมื่อเริ่มแรกก่อตั้งโรงเรียนเซนต์โยเซฟคอนเวนต์ มีนักเรียนจำนวน ๕๕ คน แบ่งเป็นผู้เรียน ในแผนกฝรั่งเศส ๑๕ คน และแผนกอังกฤษ ๔๐ คน ในจำนวนนี้มีนักเรียน ๒๑ คน เป็นนักเรียนประจำ และ ๑๔ คน เป็นเด็กกำพร้านอกเหนือจากนั้นเป็นนักเรียนไป-กลับ เมื่อเข้าสู่ปีที่ ๒ จำนวนนักเรียนก็เพิ่มขึ้นเป็น ๗๘ คน และได้เพิ่มมากขึ้นทุกปีจนกระทั่งในปี พ.ศ. ๒๔๕๖ ทา งโรงเรียนจึงจัดสร้างอาคารเรียนขึ้นใหม่อีกจำนวน ๖ ห้องเรียนทางปีกซ้ายของอาคารเรียนเดิม
จวบจนถึงปัจจุบันโรงเรียนเซนต์โยเซฟคอนเวนต์ ได้เปิดดำเนินการอย่างต่อเนื่องมาได้ ๑๐๔ ปีแล้ว โดยอาคารที่หลงเหนืออยู่จากเมื่อเริ่มแรกก่อตั้งโรงเรียน มีเพียงวัดน้อยเพียงหลังเดียวเท่านั้น แต่แม้ว่าอาคารเรียนอื่นๆ จะถูกทุบทิ้ง และสร้างใหม่ขึ้นทดแทนในระยะ เวลาต่อๆ มา แต่สิ่งที่เจริญรุดหน้าเป็นอันมาก คือกิจการด้านการศึกษาในประเทศไทย ภายใต้การดำเนินกา รของภคินีเซนต์ปอล เดอ ชาร์ตร ที่ได้มีการจัดตั้งโรงเรียนขึ้นอีกหลายแห่งทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด
นับรวมถึงปัจจุบัน มีโรงเรียนที่อยู่ในความดูแลมากถึง ๓๓ แห่ง แบ่งเป็น โรงเรียนของสังฆมณฑล ๑๓ แห่ง อาทิ โรงเรียนเซนต์แอนโทนี จังหวัดฉะเชิงเทรา (พ.ศ.๒๔๙๐) โรงเรียนมารดานฤมล บางวัว จังหวัดฉะเชิงเทรา (พ.ศ. ๒๔๙๘) ฯลฯ และโรงเรียนของคณะภคินี ๒๐ แห่ง อาทิโรงเรียนเซนต์ฟรังซิสซาเวียร์ คอนแวนต์ (พ.ศ. ๒๔๖๘) โรงเรียนเซนต์โยเซฟ นครสวรรค์ (พ.ศ.๒๔๙๙) โรงเรียนเซนต์ปอลคอนแวนต์ ศรีราชา (พ.ศ. ๒๕๐๖) ฯลฯ.
จากหนังสือศิลปวัฒนธรรม ปีที่ ๓๒ ฉบับที่ ๑๒ ตุลาคม ๒๕๕๔ หน้า