แผนที่อุษาคเนย์ (แสดงราชอาณาจักรอยุธยา) เขียนโดย เฟอร์นาววาช ดูราโด (Fernao Vaz Dourado) นักเขียนแผนที่ชาวโปรตุเกส ในปี
ค.ศ. ๑๕๗๕ ตรงกับต้นรัชสมัยสมเด็จพระมหาธรรมราชา แผนที่ระบุชื่อ
ราชอาณาจักรอยุธยา ว่า “สยาม” (Siam) และระบุชื่อกรุงศรีอยุธยาว่า
“โอเดีย” (Odia)
|
ส่วนหนึ่งของแผนที่เอเชียแสดงกรุงศรีอยุธยา เขียนโดย โจเซ่ ดา กอสต้า มิรันดา (Jose’ da Costa Miranda) นักเขียนแผนที่ชาวโปรตุเกส
ในปี ค.ศ. ๑๖๘๑ ตรงกับรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
|
แผนที่ทวีปเอเชียตะวันออก และราชอาณาจักรสยาม เขียนโดยชาวเบลเยี่ยม ชื่อ ฮอนดีอุส ตีพิมพ์ในปี ค.ศ. ๑๖๑๓
|
แผนที่แสดงอินเดีย มะละกา และสยาม |
ราชอาณาจักรสยาม ในหนังสือ The Kingdom of Siam โดย Monsier De La
|
แผนที่ของโตเลมี ตีพิมพ์ที่เมือง Cologne ปี ค.ศ. ๑๕๗๘ Mercator’sEdition of Ptolemy’s world map,
published in Cologne, 1578
|
เซเรแน แผนที่แสดงราชอาณาจักรอยุธยา เขียนโดยเฟอร์นาว วาช ดูราโด นักเขียนแผนที่ชาวโปรตุเกส เขียนในปี ค.ศ. ๑๕๗๕ ตรงกับรัชสมัย
สมเด็จพระมหาธรรมราชา ซึ่งมักจะระบุชื่อ Siam ลงในแผนที่
|
|
อุษาคเนย์ โดย ลิน โชเต็น นักแผนที่โปรตุเกส ค.ศ. ๑๕๙๖ |
แผนที่โปรตุเกสโดย Andre Homem ค.ศ. ๑๕๕๙ แสดงความยิ่งใหญ่ของอาณาจักรสยาม
|
แผนที่อุษาคเนย์ของโปรตุเกสแสดงเครื่องเทศ พิมพ์ ค.ศ. ๑๕๙๖ |
แผนที่ ค.ศ. ๑๕๐๒ แสดงอยุธยา Cerener และนครศรีธรรมราช (Noggaingoy)
|
หนังสือรวมแผนที่อาณานิคมของโปรตุเกสในยุคของการค้นพบ |
แผนที่ที่ไม่มีคำว่า สยาม โดยนักทำแผนที่ชาวโปรตุเกส ตรงกับรัชสมัยพระมหาธรรมราชา
|
แผนที่โดยชาวยุโรปแผ่นแรกสุดที่เน้นอาณาบริเวณของราช อาณาจักรอยุธยาและดินแดนใกล้เคียงเขียนโดยฟรานซิสโก
โรดริ เกวซ (Francisco Rodrigues) นักเขียนแผนที่
และคนนำร่องชาวโปรตุเกส ในราวปี ค.ศ. ๑๕๑๓ ตรงกับ
กลางรัชสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒
|
ส่วนขยายของแผนที่โดยโดริเกวซ แสดงตำแหน่ง ของกรุงศรีอยุธยา “อัมเซียม” (Amsiam) ชื่อเรียก
กรุงศรีอยุธยาเก่าแก่ที่สุดที่ออกเสียงใกล้เคียงกับ “สยาม”
|
“เซเรแน” (Cerener) ชื่อเรีียกกรุงศรีอยุธยาเก่าแก่ที่สุดของชาวโปรตุเกส ปรากฏในแผนที่โลกโดย นักเขียนแผนที่นิรนามชาวโปรตุเกส เขียนใน ปี
ค.ศ. ๑๕๐๒ ตรงกับรัชสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ ในแผนที่ ฝั่ง
ทะเลอันดามันอยู่ทางด้านซ้ายส่วนอ่าวสยามอยู่ด้านขวา ชื่อ กรุงศรีอยุธยา
“เซเรแน” อยู่บริเวณใต้แม่น้ำเจ้าพระยาเหนือปากอ่าวสยาม
|
ส่วนหนึ่งของแผนที่โลกโดย ดิโอโก ริเบยโร (Diogo Riberiro) นักเขียนแผนที่ชาวโปรตุเกส เขียนในปี ค.ศ. ๑๕๒๙ ตรงกับปลาย
รัชสมัยสมเด็จพระรามาธิบดี ที่ ๒ เป็นครั้งแรกที่ชื่อใกล้เคียงกับ
“สยาม” (Ansiam) ปรากฏบนแผนที่โลกของชาวยุโรป
|
“กรุงศรีอยุธยาในจินตนาการของชาวยุโรป” ส่วนหนึ่งของ แผนที่อุษาคเนย์ โดยนักเขียนแผนที่นิรนามชาวโปรตุเกส เขียนใน
ราวปี ค.ศ. ๑๕๖๐ ตรงกับกลางรัชสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ
|
“กรุงศรีอยุธยาในจินตนาการของชาวยุโรป” ส่วนหนึ่งของ แผนที่อุษาคเนย์ โดยซือบาสติเยา โลปืช (Sebatiao Lopez)
นักเขียนแผนที่ชาวโปรตุเกส เขียนในราว ปี ค.ศ. ๑๕๖๕
ตรงกับปลายรัชสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ
|
แผนที่ตัวเขียนกรุงศรีอยุธยาโดยจิตรกรนิรนามชาวฝรั่งเศส เขียนในปลายรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช พระราชวัง
หลวงอยู่บริเวณมุมซ้ายบนภายในเกาะกรุงศรีอยุธยา ส่วนตำแหน่ง
F ด้านล่างของแผนที่ คือ บ้านฮอลันดา
|
แผนที่อุษาคเนย์ (Insulae Moluccae) โดยเพตรัส พลังคิเอส (Petrus Plancius) นักเขียนแผนที่ชาวฮอลันดา เขียนในราวปี
ค.ศ. ๑๔๙๔ ตรงกับต้นรัชสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราชอาศัย
ต้นแบบจากแผนที่ตัวเขียน(พ.ศ.๒๑๓๓)โดยบาร์โตโลแมว ลาสโซ
(Bartolomeu Lasso) นักเขียนแผนที่ชาวโปรตุเกส เป็นแผนที่
ของชาวยุโรปแผ่นแรกสุดที่ระบุอาณาเขตของราชอาณาจักรอยุธยา
อย่างไรก็ตาม ชาวสยาม ในสมัยโบราณยังไม่ยอมรับมโนคติเรื่อง
พรมแดน ตัวอย่างเช่น ในแผนที่โดยชาวสยามที่เขียนในสมัยต้น
รัตนโกสินทร์ไม่ปรากฏเส้นแบ่งเขตแดนระหว่างสยามประเทศ และ
อาณาจักรใกล้เคียง แผนที่แผ่นนี้เป็นแผนที่อุษาคเนย์ที่วิจิตรงดงาม
ทีุ่สุดแผ่นหนึ่ง อนึ่งขอให้สังเกตสินค้าเครื่องเทศชนิดต่างๆที่ปรากฏ
บริเวณด้านล่างของแผนที่ สินค้าเหล่านี้ คือ เหตุผลหลักที่ทำให้ชาว
ยุโรปสนใจเข้ามาสำรวจและเขียนแผนที่อุษาคเนย์รวมถึงแผนที่กรุงศรีอยุธยา
|
แผนที่ของชาวโปรตุเกสอีกฉบับ ระบุนาม Siam |
|
ลักษณะการสะกดคำว่าสยามที่พบมากที่สุด ในเอกสารโบราณของโปรตุเกส คือ Siao
|
Syam เป็นการสะกดนามสยามที่พบมาก ในเอกสารโปรตุเกส เป็นอันดับ ที่ 2
|
คำว่า Siam พบน้อยที่สุดในบรรดา เอกสารโบราณโปรตุเเกส ราวสมัยอยุธยาตอนปลาย
|