-
Category: ประวัติศาสตร์ชุมชนชาวเวียดนามคาทอลิกในประเทศไทย
-
Published on Monday, 19 October 2015 04:35
-
Written by หอจดหมายเหตุ
-
Hits: 2370
การอพยพครั้งแรกของกลุ่มคาทอลิกเวียดนามเกิดขึ้น จากแรงผลักดันของสงครามกลางเมืองที่ยืดเยื้อในประเทศเวียดนาม ควบคู่การเข้ามามีบทบาทของมหาอำนาจทางการค้าและการแพร่ธรรมคณะธรรมฑูตคาทอลิกชาวเวียดนามกลุ่มหนึ่งประมาณ 130 คนที่ถูกเบียดเบียนทางศาสนาจึงได้อพยพหนีจากประเทศเวียดนามเข้ามาตั้งบ้านเรือนอยู่ที่จันทบุรีตั้งแต่ พ.ศ. 2242 คาทอลิกเวียดนามเหล่านี้เดินทางมายังปสยามด้วยความสมัครใจแบบหนีร้อนมาพึ่งเย็น คือนอกจากปัจจัยผลักดัน (push factor) คือ ผู้อพยพ “หนีร้อน” จากนโยบายการเบียดเบียนศาสนาคาทอลิกของราชวงศ์ตรินท์แล้ว ส่วนในด้านปัจจัยดึงดูดผู้อพยพดังกล่าวเลือกตัดสินใจมาสยามประเทศ “มาพึ่งเย็น” เพราะนโยบายการให้เสรีภาพทางศาสนาของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
การอพยพย้ายถิ่นเข้ามาในจันทบุรีของชาวเวียดนามนั้น อยู่ในปลายสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชโดยสมเด็จพระนารายณ์ ทรงมีนโยบายส่งเสริมการค้าขายกับต่างประเทศ โดยทรงเจริญสัมพันธ์ไมตรีกับนานาประเทศ พระองค์ทรงอนุญาตให้ทุกคนมีเสรีภาพที่จะดำรงชีวิตอยู่ตามใจปรารถนาดังคำกล่าวของคุณพ่อเดอ ชัวซีย์ที่ว่า “ใครใคร่ค้าค้า ใครใคร่ขายขาย ใครใคร่นับถือพระเจ้าองค์ใดก็นับถือไป” พระองค์ทรงบำเพ็ญหน้าที่เป็นผู้ที่พิทักษ์สันติราษฎร์และประกันความปลอดภัยให้กับทุกคน และจากการที่ทรงให้เสรีภาพทางศาสนาทั้งต่อชาวสยามและชาวต่างชาติที่มาอาศัยอยู่นี้เอง จึงเป็นเหตุให้มีชาวต่างประเทศเข้ามาอาศัยอยู่ในประเทศสยามเป็นอันมาก ดังคำกล่าวที่ว่า “ชาวต่างประเทศมีจำนวนน้อย อพยพมาจากบ้านเมืองต่างๆ โผเข้าสู่กรุงสยาม เพราะข้อที่มีความชอบธรรม มีอิสระค้าขายได้ตามชอบใจ… มีผู้บอกเล่าว่ามหานครสบายมีมนุษย์ต่างชาติมาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร ตั้งทำมาหาเลี้ยงชีพอยู่ถึง 40 ภาษา ”
พระสังฆราชลังแบรต์ เดอ ลาม็อต
นอกจากนี้พระสังฆราชลังแบรต์ เดอ ลาม็อต ยังกล่าวด้วยความทึ่งที่คาดไม่ถึงในความใจกว้างของอาณาจักรสยาม เมื่อเดินทางมาถึงกรุงศรีอยุ ธยา ท่านเชื่อว่าการให้เสรีภาพทางศาสนาเช่นนี้เกิดได้ยากแม้ในทวีปยุโรปเอง ดังคำกล่าวที่ว่า (คุณพ่อเดอ ชัวซีย์, 2550, หน้า 29-30)
“ข้าพเจ้าเชื่อว่าในโลกนี้ จะหาเมืองไทยที่จะมีศาสนามาก และอนุญาตให้ปฏิบัติตามศาสนานั้นๆได้เท่ากับเมืองไทย เห็นจะหาไม่ได้แล้ว พวกที่ไ ม่ได้นับถือศาสนาคริสเตียนก็ดี พวกเข้ารีตก็ดี พวกมะหะหมัดก็ดี ซึ่งถูกขับมาจากที่ต่างๆในชมพูทวีปก็อพยพหลบภัยเข้ามาอยู่ในประเทศสยาม ซึ่งแยกกันออกเป็นคณะเป็นหมู่มีเสรีภาพในทางศาสนาในการประกอบศาสนพิธี เทศนาสั่งสอนก็ปฎิบัติการศาสนาตามลัทธิของตัวได้ทุกอย่างโดยไม่มีข้อห้ามปรามกีดขวางอย่างใดเลย ”
นโยบายการให้เสรีภาพในการนับถือศาสนาเพื่อผลประโยชน์ทางการค้าต่างประเทศของสมเด็จพระนารายณ์ จึงเป็นการเปิดพื้นที่ทางสังคมให้กับ กลุ่มคาทอลิกชาวเวียดนามที่อพยพเข้ามาอยู่ในจังหวัดจันทบุรี อย่างไรก็ดีเมื่อคาทอลิกเวียดนามเดินทางมาถึงสยามประเทศก็ต้องประสบกับการเ ปลี่ยนแผ่นดินเป็นสมัยสมเด็พระเพทราชา คือในขณะที่สมเด็จพระนารายณ์ ทรงประชวรนั้น พระเทพราชาได้ทำการรัฐประหารขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์แทนโดยอ้างความชอบธรรมคือ การขจัดอิทธิพลต่างชาติ คือ การที่คอนสแตนตินฟอลคอน ขุนนางไทยเชื้อสายกรีกเข้าแทรกแซงกา รเมืองในพระราชสำนักการตั้งกองกำลังทหารฝรั่งเศสที่บางกอกและมะริด การเสียเปรียบทางการค้าของไทยกับต่างชาติ รวมถึงอิทธิพลของบรรดาธรรมฑูตที่เข้ามาแพร่ธรรมในสยาม แต่ในขณะเดียวกันพระเพทราชาเริ่มสร้างสัมพันธไมตรีกับฮอลันดาอีก ซึ่งเป็นศัตรูกับฝรั่งเศสในอีกทางหนึ่ง เพื่อช่วนคานอำนาจกับฝรั่งเศส (เสรี พงศ์พิศ, 2527, หน้า 65-69)
เมื่อผู้อพยพคริสตชนเดินทางมาถึงสยามนั้นอยู่ในช่วงการผลัดแผ่นดินจากสมเด็จพระนารายณ์ไปสู่สมเด็จพระเพทราชา หลังจากทำการยึดอำนาจได้สำเร็จแล้วพระเพทราชาก็เริ่มเบียดเบียนศาสนาคริสต์ทันทีเช่น การจับกุมธรรมฑูตและคาทอลิก การริบทรัพย์สมบัติ การปล้นและทำลายวัด พระองค์ทรงชิงชังและข่มเหงรังแกอย่างรุนแรงต่อชาวตะวันตก โดยเฉพาะชาวฝรั่งเศสและพวกที่นับถือคริสต์ศาสนาอย่างรุนแรงจนถึงขั้นมีการทารุณกรรม เพราะระแวงว่าคนกลุ่มนี้จะนำผู้นำที่อันตรายมาคุกคามเอกราชของประเทศ (โสวัตรี ณ ถลาง, 2537, หน้า 31; เสรี พงศ์พิศ, 2527, หน้า 65-69; คุณพ่อวิกตอร์ ลาร์เก, 2533, หน้า 31-36)
แม้ว่าในปลายรัชกาลพระเพทราชาจะลดการเบียดเบียนศาสนาลง แต่ความสงบสุขในสยามที่คาทอลิกเวียดนามคาดหวังดังเช่นในสมัยของสมเด็จ พระนารายณ์ ก็ไม่มีอีกต่อไปแล้ว ที่เป็นเช่นนี้เนื่องจากชาวเวียดนามมีภาพพจน์กับคุณพ่อฝรั่งเศส ซึ่งเป็นชาติที่ชนชั้นปกครองไทยมีความระแว งถึงที่จะมีอันตรายต่อประเทศสยาม(ธัญญาทิพย์ ศรีพนา, 2548, หน้า 14; โสวัตรี ณ ถลาง, 2537, หน้า 31)
การที่อพยพชาวเวียดนามดังกล่าวเลือกมาตั้งถิ่นฐานในจังหวัดจันทบุรีอาจเกี่ยวโยงกับบริบทที่มีลักษณะเด่นของจันทบุรี คือ จันทบุรีเป็นเมืองที่มีความสำคัญของภาคตะวันออกในอดีต เราพบได้จากหลักฐานทางโบราณคดีที่มีร่องรอยของเนินดิน กำแพงเมือง คูเมือง โบราณสถาน และโบราณวัตถุซึ่งแสดงให้เห็นว่าจันทบุรีเป็นเมืองที่ตั้งมาอย่างถาวร ขณะเดียวกันก็เป็นเมืองที่มีอำนาจในการปกครองบรรดาหัวเมืองชายทะเล (ศรีศักร วัลลิโภดม, 2545, หน้า 90-91)
แต่ศูนย์กลางอำนาจที่อยุธยา กลับให้ฐานะเมืองจันทบุรีว่าเป็น “เมืองชายขอบ” เนื่องจากจันทบุรีมีลักษณะเป็นเขตที่ลุ่มดอนภายในกับเขตชายทะเล และเป็นเมืองท่าด่านที่มีผู้คนมาจากหลากหลายที่รวมทั้งเป็นช่องของโจรผู้ร้ายที่หนีอาญาบ้านเมือง ดังคำกล่าวที่ว่า “บริเวณชายทะเลภาคตะวันออกเป็นสังคมชายขอบที่ราชธานีกรุงศรีอยุธยาควบคุมไม่ได้ และไม่สนใจเข้าควบคุม ” (ศรีศักร วัลลิโภดม, 2545, หน้า 9,91-92)
ฐานะการเป็นชายเมืองชายขอบของจันทบุรี ทำให้ผู้คนเข้ามาตั้งหลักแหล่งมากมาย รวมทั้งมีการเคลื่อนย้ายโยกย้ายบ่อยครั้ง จันทบุรีจึงมีหลายพ่ อพันแม่ที่มาจากถิ่นต่างๆหรือเผ่าพันธุ์หลากหลาย และยังก่อให้เกิดความหลากหลายทางวัฒนธรรมขึ้น ภายใต้การบูรณาการทางการเมือง (ศรีศักร วัลลิโภดม, 2545, หน้า 91)
บริบททางกายภาพของตัวเมืองจันทบุรีนั้น พบว่าเมืองตั้งอยู่บนที่สูงทางฝั่งใต้ของแม่น้ำจันทบุรีเพราะเป็นที่สูงที่ลาดลงมาจากเขาพลอยแหวนที่ อยู่ใกล้ทะเลทางด้านตะวันตกของเมือง การที่จันทบุรีอยู่ในตำแหน่งที่ใกล้กับแม่น้ำ จึงเป็นเมืองที่มีเส้นทางคมนาคมทางน้ำ และเศรษฐกิจเจริญ ดังนั้น จันทบุรีจึงสะดวกต่อการลี้ภัยจากสยามไปสู่เขมร ดังที่ คุณพ่อชาวฝรั่งเศสได้บันทึกไว้ว่า “เมืองจันทบุรีและเมืองชายทะเล เป็นหนทางเหมาะสำหรับจะหนีต่อไปที่อื่นได้ง่าย ” (ศรีศักร วัลลิโภดม, 2545, หน้า 47; คณะรักกางเขนแห่งจันทบุรี, 2546, หน้า 96)