องค์ที่ 251 สมเด็จพระสันตะปาปาปีโอ ที่ 7 (Pope Pius VII ค.ศ. 1800-1823)

 
สมเด็จพระสันตะปาปาปีโอ ที่ 7
(Pope Leo  XII ค.ศ.1800-1823)
 
สถานการณ์ทางการเมืองยังอยู่ในภาวะวุ่นวาย  เมื่อกองทัพฝรั่งเศสได้ยึดอิตาลี และขับพระสันตะปาปาในดินแดนเนรเทศและสิ้นพระชนม์ที่นั่น คณะที่ประชุมของพระคาร์ดินัลจึงได้ประชุมลับและเลือกพระสันตะปาปาองค์ใหม่ขึ้นมาดำรงตำแหน่ง คือ พระสันตะปาปาปีโอ ที่ 7  พระองค์มีพระนามเดิมว่า หลุยส์จี บาร์นาบา เคยรามอนติ เกิดที่เมืองเซเซนา อิตาลี เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม ค.ศ. 1742  จากครอบครัวขุนนาง เมื่ออายุได้ 14 ปี ท่านได้เข้าอารามเบเนดิกติน และใช้ชื่อว่าภราดาเกรโกรี ต่อมาได้ศึกษาที่ปาดัวโรม เมื่อจบแล้วก็เป็นอาจารย์สอนเทววิทยาที่เมืองปาร์มา ในปี ค.ศ.1775 ท่านได้รับเลือกให้เป็นอธิการอารามซานคาลิสโตที่กรุงโรม และขณะเดียวกัน ก็เป็นพระสังฆราชแห่งติโวลีและอีโมลาด้วย ในปี ค.ศ.1785  ท่านได้รับตำแหน่งพระคาร์ดินัล ท่าทีของท่านเกี่ยวกับการเมือง คือ  ค่อนข้างมีหัวก้าวหน้าและไม่ใช่จะปฏิเสธระบอบประชาธิปไตยซึ่งฝรั่งเศสเริ่มนำเข้ามาโดยสิ้นเชิง ท่านชอบนโยบายรอมชอบและไม่ต่อต้านฝรั่งเศสมากกว่า แต่เมื่อฝรั่งเศสสั่งจับและขับพระสันตะปาปาปีโอ ที่ 6 ออกไปยังแดนเนรเทศ ท่านก็รู้สึกว่าทำเกิดเหตุมาก เมื่อพระสันตะปาปาปีโอ ที่ 6 สิ้นพระชนม์แล้ว คณะพระคาร์ดินัลได้พยายามเลือกพระสันตะปาปาองค์ใหม่ขึ้นมา แต่ก็มีความเห็นแตกแยกกันมาก ซึ่งต้องใช้เวลานานถึงหนึ่งเดือน กว่าจะเลือกได้พระคาร์ดินัลเบลลิซอมมี และพระคาร์ดินัลแกร์ดิล แต่ทั้งสองก็ถูกคัดค้านโดยฝ่ายออสเตรีย ทำให้ไม่สามารถเลือกใครได้ เมื่อเป็นเช่นนี้จึงมีผู้เสนอชื่อท่านเคียรามอนติแบบลับๆขึ้นมา และที่สุดพระคาร์ดินัลก็ตัดสินใจเลือกท่านเคียรามอนติ เป็นพระสันตะปาปาองค์ต่อมา ในวันที่ 14 มีนาคม ค.ศ. 1800  เพราะเห็นว่าท่าคงจะสามารถรู้เท่าทันกับพระเจ้านโปเลียนโบนาปาร์ตได้
 
เมื่อได้รับเลือกแล้วทรงใช้พระนามว่า พระสันตะปาปาปีโอ ที่ 7  และพระองค์พิสูจน์ให้เห็นว่ามีความเข้มแข็งพอที่จะเผชิญหน้ากับอุปสรรคต่างๆ ในอนาคตอย่างมีศักดิ์ศรี พระองค์เป็นคนศรัทธาและมีใจอ่อนโยน ทำให้ภาพลักษณ์ของพระสันตะปาปาไม่เป็นที่น่ากลัวสำหรับศรัตรูนัก และไม่ก่อให้เกิดการคัดค้าน พระองค์เจรจาปัญหากับฝรั่งเศสและทำสัญญากัน แต่น้ำหมึกไม่แห้งดี พระเจ้านโปเลียบนก็ฉีกสัญญา และรุกรานพระศาสนจักร ประกาศให้กฎหมายบ้านเมืองมีอำนาจควบคุมพระศาสนจักรแห่งฝรั่งเศสได้ ปี ค.ศ. 1801-02 เพื่อเป็นการรอมชอมขัดขัดแย้ง และหวังสันติในพระศาสนจักร พระสันตะปาปาปีโอ ที่ 7  ได้เดินทางไปปารีสสวมมงกุฎให้พระเจ้านโปเลียน โบนาปาร์ต  เป็นจักรพรรดิแห่งอาณาจักรโรมอันศักดิ์สิทธิ์ในปี ค.ศ. 1804 เมื่อพระสันตะปาปายังไปไม่ถึง พระเจ้านโปเลียนก็ลบหลู่อำนาจของพระสันตะปาปา โดยประกาศสวมมงกุฎให้ตัวเองและสวมให้แก่พระราชินีโยเซฟิน ในวันที่ 1 ธันวาคม ค.ศ. 1804
 
ในปีต่อมาสงครามได้ลุกลามไปทั่วดินแดนยุโรป โดยกองทัพฝรั่งเศสเป็นผู้มีชัยชนะ   เป็นส่วนใหญ่  และได้ครอบครองยุโรปเกือบทั้งหมดในปี ค.ศ. 1809
 
สถานการณ์ของพระศาสนจักรเริ่มเสื่อมลงตลอดยุคของนโปเลียนที่คอยควบคุม และต่อต้านพระศาสนจักรไม่เสื่อมคลาย พระสันตะปาปาปีโอ ที่ 7  เองก็มีท่าทีไม่ยอมอ่อนข้ออีกต่อไป ยิ่งทำให้ความสัมพันธ์กับจักรพรรดินโปเลียนคลอนแคลนลงไปอีก จักรพรรดิยื่นคำขาดขอให้ปลดเลขาธิการส่วนพระองค์ คือ คอนซัลวี ออกจากตำแหน่ง แต่พระสันตะปาปาไม่ยอม ทำให้กองทัพฝรั่งเศสบุกยึดโรมในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1808 และในปีต่อมาฝรั่งเศสรวมรัฐพระสันตะปาปาเข้ากับอาณาจักรฝรั่งเศส พระสันตะปาปาได้ประกาศตัดพระเจ้านโปเลียนออกจากพระศาสนจักร ในวันที่ 5 กรกฎาคม ค.ศ.1809 กองทหารได้เข้าจับกุมพระสันตะปาปาปีโอ ที่ 7  และส่งไปเมืองเกรอโนบและเมืองซาโวนาในเวลาต่อมา เมื่อบารมีของพระเจ้านโปเลียนเริ่มตกต่ำ พระสันตะปาปาปีโอ ที่ 7 ได้รับการปลดปล่อยในเดือนมีนาคม ค.ศ.1814 และเดินทางกลับโรม ในวันที่ 24 มีนาคม ค.ศ. 1814  
 
ชาวยุโรมต่างยกย่องสรรเสริญในความกล้าหาญของพระสันตะปาปา และสภาคองเกรสของเวียนนา (ค.ศ. 1814-15) ได้ประกาศคืนสิทธิ์และทรัพย์สินของพระศาสนจักรทั้งหมดแด่พระสันตะปาปา พระสันตะปาปาปีโอได้ประกาศรื้อฟื้นคณะเยสุอิตใหม่ ในปี ค.ศ. 1814 นี้เอง มีการเจรจากับเจ้าครองนครในยุโรปหลายครั้งและพร้อมกับความช่วยเหลือของเลขาธิการคอนซัลวี ก็มีการปฏิรูปภายในพระศาสนจักรและรัฐของพระสันตะปาปาเอง ด้วยหัวใจของการเป็นบิดาพระองค์ขอไม่ให้กองทัพอังกฤษทำร้าย และทารุณพระเจ้านโปเลียน ขณะที่คุ้มขังที่เกาะเซ็นต์เฮเลนา นอกนั้นยังอนุญาตให้มารดา (ลูเคลเซีย) ลุง และน้องชายของพระเจ้านโปเลียนอยู่หลบภัยที่โรมได้อย่างสงบ
 
เนื่องจากสุขภาพไม่แข็งแรงนัก พระสันตะปาปาปีโอ ที่ 7  ได้ประชวรและสิ้นพระชนม์ ในวันที่ 20 สิงหาคม ค.ศ. 1823