-
Category: องค์ที่ 181-266
-
Published on Monday, 02 November 2015 09:08
-
Written by หอจดหมายเหตุ
-
Hits: 1536
สมเด็จพระสันตะปาปาเลโอ ที่ 12
(Pope Leo XII ค.ศ. 1823-1829)
พระองค์มีพระนามเดิมว่า อนิบาลเล แซร์มาเตอี เดลลา เกนดา เกิดในครอบครัวขุนนางใกล้เมืองสโปเลโต ได้รับการศึกษาที่โรม จากนั้นก็รับศีลบวชเป็นพระสงฆ์ในปี ค.ศ.1783 ไม่นานก็ได้รับแต่งตั้งให้เป็นเลขานุการของพระสันตะปาปาปีโอ ที่ 6 จากนั้นก็รับหน้าที่นักการทูตของสันตะสำนักอยู่นาน ท่านเป็นที่ชื่นชอบของข้าราชการในเขตยุโรป คือ เมืองโคโลญน์ ลูเซิร์น เมื่อพระเจ้านโปเลียนสั่งให้จับกุมพระสันตะปาปาปีโอ ที่ 7 คุมขังนั้น ท่านเกนดาก็ถูกกักตัวที่อารามมอนติเชลลี เมื่อพระสันตะปาปาได้รับการปล่อยตัว ในปี ค.ศ. 1814 แล้ว ท่านเกนดาก็ได้รับหน้าที่เป็นทูตประจำปารีส ท่านถูกพระคาร์ดินัลคอนซัลลีตำหนิรุนแรงว่าไม่ได้พยายามปกป้องและเรียกร้องทรัพย์สินของพระสันตะปาปาที่อาวีญอง ซึ่งฝรั่งเศสยึดไปนั้นคืนมา อย่างไรก็ตามพระสันตะปาปาปีโอ ที่ 7 ได้แต่งตั้งท่านเกนดาให้เป็นพระคาร์ดินัล ในปี ค.ศ.1816 และในปี ค.ศ.1820 ก็ได้แต่งตั้งท่านให้ดำรงตำแหน่งสูงรองจากพระสันตะปาปาดูแลโรมในปี ค.ศ.1823 ได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งพระสันตะปาปา ต่อจากพระสันตะปาปาปีโอที่ 7 ซึ่งแน่นอนท่านเกนดาเองไม่เคยนึกว่าตัวเองจะเป็นผู้ที่เหมาะสมกับตำแหน่ง แต่เมื่อเวลาผ่านไป เราก็เห็นว่าพระองค์เป็นผู้ที่เหมาะสมกับกาลเวลา ยิ่งการเลือกตั้งนี้ไม่ง่ายนัก เพราะใช้เวลานานยี่สิบกว่าวัน ซึ่งเสียงส่วนใหญ่ก็มองไปที่พระคาร์ดินัลเซเวโรลี แต่ก็ถูกฝ่ายออสเตรียขัดขวาง เห็นว่าท่านเป็นคนหัวแข็งเกินไป เมื่อเป็นเช่นนี้พระคาร์ดินัลเซเวโรลีจึงนำเสียงของตนมาเทให้ท่านเกนดา ซึ่งพวกเขาเห็นว่าเป็นผู้ที่มีท่าทีและจุดยืนคล้ายๆ กันท่านเกนดายอมรับตำแหน่งเมื่อวันที่ 28 กันยายน ค.ศ.1823 และใช้พระนามว่าพระสันตะปาปาเลโอที่ 12 พระองค์เป็นคนศรัทธาและอ่อนหวาน แต่ก็ค่อนข้างจะเอาจริงเอาจังคนทั่วไปบอกว่าพระองค์ไม่เคยมีอารมณ์ขันเอาเสียเลย พระองค์ไม่ได้ทำให้คณะพระคาร์ดินัลที่คัดเลือกพระองค์ต้องผิดหวัง เพราะทรงได้ทุ่มเทความพยายามโน้มนำพระศาสนจักร ที่มีนโยบายเปิดกว้างให้กลับทางสายอนุรักษ์ของศาสนานิยมอีกครั้ง ในปี ค.ศ.1825 ทรงจัดฉลองปีศักดิ์สิทธิ์ เชิญชวนคริสตชนผู้มีความเชื่อศรัทธา ให้สวดภาวนา พลีกรรม และร่วมงานเมตตากิจเพื่อไถ่บาปของตนเองและของชาวโลก พระคาร์ดินัลคอนซัลวีถูกถอดออกจากตำแหน่งเพราะเห็นว่านำนโยบายเปิดกว้างมาใช้ในพระศาสนจักรมากเกินไป
พระสันตะปาปาเลโอ ได้ออกสมณสาสน์และกฤษฎีกาต่อต้านพวกเสรีนิยม พวกฟรีเมสัน และพวกที่ทำตัวเป็นทองไม่รู้ร้อน ไม่ว่าพระศาสนจักรจะไปทางใด นโยบายนี้มีผลกระทบต่อรัฐของพระสันตะปาปาในเขตต่างๆ ของยุโรป พวกยิวถูกสั่งให้กลับเข้าที่หลบภัยในโรม ไม่ให้ออกมาทำอะไรอิสระตามใจ ห้ามขายเหล้าในโรงเหล้า ทำให้ภาพของความรื่นเริงสนุนสนานตามท้องถนนนั้นหายไป พระองค์สั่งให้ตีกรอบพวกศิลปะสายรีลลิสซึ่ม (มองสิ่งต่างๆ ตามความเป็นจริง) โดยสั่งให้เอาผ้าหรืออะไรปกปิดรูปภาพและรูปปั้นที่เปลือยทั้งหลายเสีย หรือไม่ก็เอาไปเก็บในที่มิดชิด (แต่หลายชิ้นก็ทำไม่ได้ เพราะหนักและเคลื่อนย้ายไม่ได้ ก็ต้องหาอะไรมาปิดความอุจาดตานั้นเสีย)
สิ่งที่เป็นการเดินนโยบายค่อนข้างจะผิดพลาด คือเรื่องการเงินและการคลังที่ท่านคอนซัลวี เคยทำไว้ดีแล้วนั้น พระองค์สั่งให้รื้อใหม่ และแต่งตั้งคนเข้ามาบริหารแทน ทำให้ระบบการเงินของรัฐ พระสันตะปาปาแยกเป็นสองฝ่าย คือ เยสุอิต และโดมินิกัน ร่วมกับคณะกรรมการที่เป็นพระคาร์ดินัลทั้งหลายในกระทรวง เมื่อการโต้ตอบมาถึงวาระที่ 68 ปัญหาที่โต้เถียงก็ไม่สามารถจะลงมติเป็นเอกฉันท์ได้ หนึ่งในพระคาร์ดินัลที่ร่วมฟังคือ นักบุญโรเบิร์ต เบลลามิน (เยสุอิต) ได้เข้าพบพระสันตะปาปาเคลเมนต์ และทูลว่า แม้พระสันตะปาปาจะเป็นผู้ที่ปราดเปรื่องเรื่องกฎหมาย แต่ท่านก็ไม่ใช่นักเทววิทยา ดังนั้น จึงสมควรให้ยุติเรื่องนี้ไว้ก่อน คำพูดเช่นนี้ทำให้ท่านเคลเมนต์เคืองพระทัยยิ่ง เลยสั่งให้ท่านเบลลามินออกจากห้องประชุมไป
ภายหลังเวลาก็พิสูจน์ว่าท่านเบลลามินผิด และขาดสภาพคล่องทางการเงิน หลายคนเริ่มต่อต้าน และทำให้กลายเป็นปัญหาสำหรับพระสันตะปาปาองค์ต่อไปในเรื่องการต่างประเทศ พระสันตะปาปาเลโอ ที่ 12 ทรงเรียนรู้ว่าการสร้างสัมพันธไมตรีที่ดีกับเหล่าผู้มีอำนาจทางยุโรปนั้น เป็นเรื่องสำคัญ พระองค์ทำได้ดีในเรื่องนี้ และได้มีการเจรจาทำสัญญากันหลายฉบับ เพื่อผลประโยชน์ของพระสันตะปาปา น่าเสียดายที่ช่วงระยะหลังของการปกครองของพระองค์นั้นชาวเมืองไม่ค่อยชอบพระองค์เท่าไร พระองค์ได้สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1829 เนื่องจากการติดเชื้อจากบาดแผลผ่าตัดที่ไม่ดีของนายแพทย์เวลานั้น.
จากหนังสือ บนศิลานี้ สมเด็จพระสันตะปาปา