-
Category: องค์ที่ 181-266
-
Published on Monday, 02 November 2015 09:07
-
Written by หอจดหมายเหตุ
-
Hits: 2418
สมเด็จพระสันตะปาปาเลโอ ที่ 13
(Pope Leo XIII ค.ศ.1878-1903)
พระองค์มีพระนามเดิมว่าโจอากีโน วินเซนโซ เปตซี เกิดจากครอบครัวขุนนางแห่งหมู่บ้านคาร์ปิเนโต ใกล้ๆ โรม ในวันที่ 2 มีนาคม ค.ศ. 1810 ท่านได้รับการศึกษาที่วิแตร์โบและที่มหาวิทยาลัยโรม ที่อบรมนักศึกษาให้เป็นนักการทูต ได้รับศีลบวชในปี ค.ศ. 1837 ท่านมีชื่อเสียงว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญภาษาละตินอย่างยิ่ง ในปี ค.ศ.1838 ท่านได้รับแต่งตั้งให้เป็นนายกเทศมนตรีของเมืองเปรูยา และในปีค.ศ. 1841 เป็นนายกเทศมนตรีของเมืองเบเนเวนโต ในปี ค.ศ. 1843 พระสันตะปาปาเกรโกรี ที่ 16 ได้แต่งตั้งท่านเป็นทูตวาติกันประจำประเทศเบลเยี่ยมและได้เป็นอัครสังฆราชด้วย ในปี ค.ศ. 1846 ได้ย้ายมาเป็นพระสังฆราชประจำเมืองเปรูยา และจากนั้นในปี ค.ศ. 1853 ได้รับแต่งตั้งให้เป็นพระคาร์ดินัล โดย สมเด็จพระสันตะปาปาปีโอ ที่ 9 เมื่อพระองค์สิ้นพระชนม์แล้ว คณะพระคาร์ดินัล ก็ได้เลือกท่านให้ดำรงตำแหน่งพระสันตะปาปา สืบตำแหน่งต่อมาในวันที่ 20 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1878 การเลือกพระองค์ครั้งนี้เป็นการรอมชอมกันระหว่างสองกระแส เมื่อได้รับเลือกนั้นพระองค์มีสุขภาพไม่ค่อยดีนัก หลายคนจึงไม่คิดว่าพระองค์จะครองตำแหน่งได้นาน แต่ที่จริงทรงดำรงตำแหน่งถึง 25 ปี ทรงใช้พระนามว่า พระสันตะปาปาปาเลโอ ที่ 13
พระสันตะปาปาเลโอ ที่ 13 ทรงเป็นนักการศึกษา และนักภาษาศาสตร์ เชี่ยวชาญในผลงานของดันเต เมื่อเริ่มงานพระองค์ก็ได้ตั้งนโยบายว่าจะพยายามประสานรอยร้าว และสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างประเทศในยุโรป เห็นได้จากจำนวนประเทศต่างๆ ที่มีความสัมพันธ์กับรัฐพระสันตะปาปาเพิ่มมากขึ้น รวมทั้งประเทศที่มิได้นับถือคาทอลิก เป็นการช่วยให้ให้ภาพลักษณ์พระสันตะปาปาต่อชาวโลกดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด นอกนั้นพระองค์ยังใส่ใจเรื่องของปัญหาสังคมและการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ในสังคมยุคใหม่ พระองค์ทรงยืนกรานที่จะไม่เจรจาใดๆ กับรัฐบาลอิตาลี แต่ก็ได้ทำสัญญากับรัฐบาลเยอรมันเกี่ยวกับปัญหากฎหมายต่อต้านคาทอลิก ที่ประเทศเยอรมัน ประกาศใช้ในสมัยของบิสมาร์ค ดังได้กล่าวแล้ว พระองค์ใส่ใจเรื่องปัญหาสังคมมาก พระสมณสาสน์ของพระองค์นั้นส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับเรื่องนี้โดยตรง เช่น สมณสาสน์เรรุม โนวารุม (Rerum Novarum) ที่ออกในปี ค.ศ.1891 สมณสาสน์ฉบับนี้ได้เป็นรากฐานของนโยบายด้านสังคมของพระสันตะปาปา และพระศาสนจักรในเวลาต่อมา จนถึงปัจจุบัน พระองค์ได้เรียกกร้องให้ประชาชนระวังปัญหาและอันตรายอันเกิดจากระบบสังคมนิยม รวมทั้งคำทำนายถึงวาระสุดท้ายของระบบนี้ด้วย นอกจากประณามระบบคอมมิวนิสต์ และสังคมนิยมแล้ว พระองค์ยังสอนให้ระวังผลร้ายของระบบเสรีประชาธิปไตยด้วย แม้ว่าพระองค์จะส่งเสริมระบบประชาธิปไตยก็ตาม ทรงส่งเสริมให้ศึกษาผลงานเขียนของนักบุญโธมัส อไควนัสให้มากขึ้น นอกนั้นก็ส่งเสริมการแพร่ธรรมต่างแดน จัดตั้งสังฆมณฑลใหม่ๆ ขึ้นในดินแดนธรรมทูต เช่น ที่อินเดีย ญี่ปุ่น ประเทศในแอฟริกา และที่สหรัฐอเมริกาเองก็ตั้งสังฆมณฑลใหม่ถึง 28 แห่งในด้านการศึกษานั้น พระสันตะปาปาเลโอที่ 13 ทรงส่งเสริมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และการศึกษาที่เป็นระบบให้มากขึ้น ในปี ค.ศ.1883 พระองค์ได้ประกาศเปิดหอสมุดวาติกัน ให้นักการศึกษาทั้งหลายได้ค้นคว้า และเพื่อเป็นการลบคำเล่าลือว่าวาติกันเต็มไปด้วยความลับต่างๆ มากมาย พระสันตะปาปาเลโอ ที่ 13 ได้กอบกู้ศักดิ์ศรีและภาพลักษณ์ของพระสันตะปาปากลับคืนมาในระหว่างประเทศยุโรปทั้งหลาย
พระองค์สิ้นพระชนม์อย่างปัจจุบันทันด่วน ขณะมีอายุได้ 93 ชันษาในวันที่ 20 กรกฎาคม ค.ศ. 1903 ทรงกอปรด้วยพรสวรรค์ด้านสติปัญญาที่ปราดเรื่อง ทรงกระตือรือร้น ทรงตระหนักถึงภาระหน้าที่ของพระองค์ แม้นระหว่างสมัยปกครองของพระองค์ พระศาสนจักรคาทอลิกไม่สามารถนำการเปลี่ยนแปลงสู่สังคมในทันที แต่ทรงเริ่มต้นสร้างทัศนคติใหม่ เป็นรากฐานการพัฒนาสังคมให้ดีขึ้นในเวลาต่อมาซึ่งได้ผลดียิ่ง
เรรุม โนวารุม (Rerum Novarum) พระสมณสาสน์ของพระสันตะปาปาเลโอ ที่ 13 ออกใน ปี ค.ศ. 1891 ซึ่งคริสตชนคาทอลิกเชิงอนุกรักษ์เห็นว่าแนวความคิดของพระสมณสาสน์สนับสนุนการเปลี่ยนแปลง และความเจริญก้าวหน้าอย่างมาก เนื้อหาระบุชัดเจนถึงบทบาทด้านความยุติธรรมทางสังคมของปลายศตวรรษ ที่ 19 โดยเฉพาะปัญหาของผลกระทบจากการปฏิวัตทางอุตสาหกรรม และเป็นบทบาทของพระศาสนจักรต่อการนำข้อคำสอนด้านศีลธรรมมาใช้แก้ปัญหาทางสังคม
ความสัมพันธ์ทางการทูตในสมัย
พระบาทสมเ็ด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5
และสมเด็จพระสันตะปาปาเลโอ ที่ 13
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ฯ
พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์
พระบรมราชสมภพเมื่อ วันอังคาร 20 กันยายน ค.ศ.1853
เสวยราชสมบัติ เมื่อวันพฤหัสบดี ค.ศ.1868
รวมสิริดำรงราชสมบัติ 42 ปี
เสด็จสวรรคต เมื่อวันเสาร์ 23 ตุลาคม ค.ศ. 1910
ด้วยโรคพระวักกะ รวมพระชนมพรรษา 57 พรรษา
สมเด็จพระสันตะปาปาเลโอ ที่ 13
พระนามเดิม “โจอากีโน วินเซนโซ เปตชี
เกิดในครอบครัวขุนนาง วันที่ 2 มีนาคม ค.ศ.1810
ได้รับเลือกวันที่ 3 มีนาคม ค.ศ.1878
สวรรคตวันที่ 20 กรกฎาคม ค.ศ.1903
สำเนารายการเครื่องราชอิสริยาภรณ์
พร้อมทั้งภาพชุดเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ซึ่งพระบาทสมเด็จ
พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชทานแก่เจ้าหน้าที่
ของนครรัฐวาติกัน เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน ค.ศ.1897
ณ พระราชวังวาติกัน
A Photocopy of the list and photos of Decorations which King Rama V
bestowed to the Vatican Officers on 5 June 1897 at Vatican City
สมเด็จพระสันตะปาปาเลโอ ที่ 13
พร้อมลายพระหัตถ์บรรณาการถวายพระบาทสมเด็จ
พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ปีค.ศ.1897
ปัจจุบันแสดงที่พระที่นั่งวิมานเมฆ ปี ค.ศ.1897
ปัจจุบันแสดงอยู่ที่ พระที่นั่งวิมานเมฆ
The Portrait of the Pope Leo XIII with
His own signature sent to King Rama V. in 1897
(Exhibited in Vimanmek palace,Bangkok)
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
และผู้ตามเสด็จในโอกาสเสด็จเยือนกรุงโรม ระหว่าง
วันที่ 4-7 มิถุนายน ค.ศ.1897 ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์
“La Tribuna Illustrata della Domenica”
ของวันที่ 13 มิูถุนายน ค.ศ.1897
The portrait of the King Rama V. and His Party in Rome 1897
printed in the newspaper “La Tribuna Illustrata della Domenica” of 13 June 1897.
พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ ชุมสาย
ผู้แทนพิเศษของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
เข้าเฝ้าสมเด็จพระสันตะปาปาเลโอที่ 13
เป็นการส่วนพระองค์ ที่สำนักวาติกัน
เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม ค.ศ.1884
H.R.H. Prisdang Xumsai, the extra ordinary envoy of
King Rama V, who personally visited Pope Loe XIII
at Vatican Palace on the 4th July 1884
ประถมาภรณ์มงกุฎไทย
Officer of the Crown of Siam ตริตาภรณ์มงกุฎไทย
Commander of the Crown of Siam
ตริตาภตณ์ช้างเผือก
Commander of the White Elephant
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
1. Great Cordon of the Pian Order
2. Commander of the Pian Order
ซึ่งพระสันตะปาปาเลโอ ที่ 13 ทรงประทานแก่คณะผู้ตามเสด็จ
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวในโอกาสเข้าเฝ้า
เมื่อครั้งเสด็จประพาสยุโรป เครื่องอิสริยาภรณ์ถูกส่งมาพร้อมกับจดหมายลงวันที่ 8 มิถุนายน 1897
Pictures of Papal Decorations
1. Great Cordon of the Pian Order
2. Commander of the Pian Order
which Pope Leo XIII bestowed to the Party of King Rama V. in the Papal Audience.
The Decoration were sent with a letter of 8 June 1897.