องค์ที่ 265 สมเด็จพระสันตะปาปาเบเนดิกต์ที่ 16 (Pope Benedict XVI ค.ศ. 2005-2013)

 

สมเด็จพระสันตะปาปาเบเนดิกต์ที่ 16

(Pope Benedict XVI ค.ศ. 2005-2013)

 ประมวลภาพสมเด็จพระสันตะปาปาเบเนดิกต์ที่ 16 ชุดที่ 1
 ประมวลภาพสมเด็จพระสันตะปาปาเบเนดิกต์ที่ 16

สมเด็จพระสันตะปาปาพระองค์ใหม่นี้มีพระนามเดิมว่า โจเซฟ รัตซิงเกอร์ ประสูติเมื่อวันที่ 16 เมษายน ค.ศ. 1927 ที่เมือง Marktl am lnn ทางตอนใต้ของประเทศเยอรมัน ในครอบครัวคาทอลิกที่ศรัทธา ท่านได้รับศีลล้างบาปในวันเดียวกันนั้น บิดามารดาของท่านชื่อ โยเซฟและมารี ซึ่งเป็นชื่อที่ได้รับความนิยมในสมัยนั้น บิดาของท่านมีอาชีพเป็นตำรวจ ทำให้ครอบครัวต้องโยกย้ายบ้านบ่อยๆ

ชีวิตวัยเด็ก

ปี ค.ศ. 1941 (พ.ศ. 2484)  เมื่อสงครามโลกครั้งที่สองอุบัติขึ้น  พระองค์เข้าร่วมเป็นสมาชิกของหน่วยยุวชนฮิตเลอร์  (เด็กชายทุกคนในปี ค.ศ.1941 (พ.ศ. 2484) ต้องเข้าร่วม) เมื่อกองทัพเยอรมันต้องการกำลังทหาร พระองค์ก็ถูกเกณฑ์เข้าไปเป็นพลปืนต่อต้านอากาศยาน ซึ่งพระองค์มีหน้าที่ดูแลเครื่องบิน และต่อมาทรงย้ายไปประจำที่ศูนย์สื่อสารทางโทรศัพท์ 

ปี 1944 (พ.ศ. 2487) ทรงถูกเกณฑ์เข้าเป็นทหารอีกครั้งเพื่อประจำชายแดนที่ติดต่อกับฮังการี

พระองค์และเพื่อนร่วมชั้นก็ออกจากกองต่อต้านอากาศยาน แต่กลับถูกเกณฑ์อีกครั้งเพื่อไปประจำที่ชายแดนซึ่งติดต่อกับฮังการี  พระองค์มีหน้าที่ติดตั้งอุปกรณ์ไว้ป้องกันกองทัพรถถังโซเวียต ในเดือนพฤศจิกายนปีนั้น พระองค์ก็ออกจากกองทัพและมุ่งหน้ากลับบ้าน สามสัปดาห์ผ่านไปพระองค์ก็ได้รับหมายเรียกให้รับการฝึกเป็นทหารราบ แต่ทรงไม่เคยต้องออกไปยังแนวหน้า 

ในเดือนเมษายน 1945 (พ.ศ. 2488) พระองค์ถูกจับในฐานะเชลยเนื่องจากทัพฝ่ายพันธมิตร และถูกปล่อยตัว 

(ก่อนหน้านาซีจะยอมแพ้ไม่นาน) พระองค์ก็หนีทัพและกลับไปยังหมู่บ้านของพระองค์  แต่ภายหลังสงคราม พระองค์ถูกจับในฐานะเชลยเ นื่องจากทัพฝ่ายพันธมิตรสรุปว่าพระองค์เป็นทหาร พระองค์ต้องไปเข้าค่ายกักกันเชลยศึก พระองค์ออกจากค่ายเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2488 พระองค์ได้เริ่มเดินด้วยเท้าเป็นระยะทาง 120 กิโลเมตร เพื่อกลับหมู่บ้าน  แต่ได้รับการช่วยเหลือจากรถส่งนมที่พาพระองค์ไปส่งที่เ มืองเธราน์ชไตน์ (Traunstein) เมื่อพระองค์กลับถึงบ้าน ก็ได้พบกับพี่ชายซึ่งได้รับการปล่อยตัวมาจากค่ายเชลยศึกในอิตาลีเช่นเดียวกัน

การศึกษา / การบวช
ปี ค.ศ. 1939 (พ.ศ. 2482) พระองค์ได้เข้าไปศึกษาเพื่อเตรียมตัวเป็นบาทหลวงในบ้านเณร ในเมือง Traunstein 
 

ในปี 1945 (พ.ศ. 2488) หลังจากที่พระองค์กลับถึงบ้าน พระองค์ก็ได้เข้าศึกษาต่อที่บ้านเณร แห่งหนึ่งในเมืองไฟรซิงก์ (Freising) หลังจากนั้นก็ไปศึกษาที่มหาวิทย าลัยลุดวิก-แม็กซิมิเลียน (Ludwig-Maximilian) ในเมืองมิวนิก
 
ในที่สุด เมื่อปี 1951 (พ.ศ. 2494) ได้รับการบวชเป็นพระสงฆ์พระองค์ก็ได้บวชเป็นบาทหลวงโดยมีผู้บวชให้คือ พระคาร์ดินัลเฟาฮาเบอร์ (Faulhaber) แห่งเมืองมิวนิกระหว่ างนั้นพระองค์ยังทรงเขียนวิทยานิพนธ์ขึ้น 2 ฉบับ โดยมีเนื้อหาเกี่ยวกับนักบุญออกัสติน (เสร็จเมื่อ พ.ศ. 2496) และนักบุญโบนาเวงตูร์ (เสร็จเมื่อ พ.ศ. 2500) 
 
ในปี 1958 (พ.ศ. 2501)  พระองค์ก็ได้เป็นอาจารย์สอนที่วิทยาลัยไฟรซิงก์  
 
ตั้งแต่ พ.ศ. 2502 ถึง พ.ศ. 2506 เป็นอาจารย์สอนที่มหาวิทยาลัยบอนน์ 
 
ในปี 1966 (พ.ศ. 2509) เมื่อพระองค์ย้ายไปสอนที่มหาวิทยาลัยมุนสเตอร์พระองค์ได้เป็นอาจารย์สอนวิชาเทววิทยา ณ มหาวิทยาลัยตูบิงเกน (T?bingen) (ระหว่าง นี้เองที่พระองค์ได้เห็นขบวนการมากมายที่อาจทำให้คำสอนของคาทอลิกผิดเพื้ยนไป เช่นขบวนการเรียกร้องสิทธิของพวกรักร่วมเพศ)
 
ในปี 1969 (พ.ศ. 2512) พระองค์ก็กลับไปยังบาวาเรีย แคว้นเกิดของพระองค์เพื่อไปสอนที่มหาวิทยาลัยรีเกนสบูรก์ (Regensburg)
 
ในปี 1972 (พ.ศ. 2515) พระองค์ได้ร่วมกับฮันส์ เอิร์ส วอน บาลธาซาร์, อองริ เดอ ลูบัค และวอลเตอร์ แกสแปร์ ก่อตั้งวารสารทางศาสนาขึ้นมาชื่อว่าคอมมูนิโอ (Communio, ปัจจุบันวารสารนี้ตีพิมพ์ใน 17 ภาษา และเป็นหนึ่งวารสารคาธอลิกที่สำคัญที่สุด) พระองค์ยังเป็นผู้ที่เขียนบทความลงในวารสารนี้อีกด้วย
 
ท่านและพี่ชายของท่าน คือ จอร์จ รัตซิงเกอร์ ได้รับการบวชเป็นพระสงฆ์เมื่อปี ค.ศ. 1951 โดย  พระคาร์ดินัล Faulhaber ที่อาสนวิหาร Freising ในวันสมโภชนักบุญเปโตรและเปาโล หลังจากที่ได้ศึกษาปรัชญาและเทวศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยเมืองนิวนิค และในปี ค.ศ. 1953 ท่านได้รับปริญญาเอกด้านเทววิทยา จากนั้นเป็นอาจารย์สอนเรื่องข้อความเชื่อและเทววิทยา ที่มหาวิทยาลัยสี่แห่งในเยอรมัน
 
ท่านได้รับแต่งตั้งเป็นพระอัครสังฆราชแห่งมิวนิค เยอรมัน เมื่อเดือนมีนาคม ค.ศ. 1977  โดย สมเด็จพระสันตะปาปา เปาโล ที่ 6 และต่อมาในเดือนมิถุนายนปีเดียวกัน ท่านก็ได้รับแต่งตั้งเป็นพระคาร์ดินัล และได้ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาด้านเทววิทยาของสมเด็จพระสันตะปาปา ยอห์น ปอล ที่ 2  เป็นเวลา 20 ปี
 
 
เมื่อวันที่ 19 เมษายน ค.ศ. 2005  พระคาร์ดินัลรัตซิงเกอร์ ชาวเยอรมัน ได้รับเลือกเป็นสมเด็จพระสันตะปาปาพระองค์ใหม่ และทรงมีพระนามว่า สมเด็จพระสันตะปาปาเบเนดิกต์ ที่ 16 นับเป็นสมเด็จพระสันตะปาปาองค์ที่ 265 ของพระศาสนจักรโรมันคาทอลิก และพิธีสมณภิเษกสมเด็จพระสันตะปาปาเบเนดิกต์ ที่ 16   ณ มหาวิหารนักบุญเปโตร นครรัฐวาติกัน วันอาทิตย์ที่ 24 เมษายน ค.ศ. 2005    เวลา 10.00 น. 
 
สมเด็จพระสันตะปาปาเบเนดิกต์ ที่ 16 ทรงมีพระดำรัสแรก ที่มหาวิหารเซนต์ปีเตอร์ กรุงโรม ว่า
 
“พี่น้องที่รัก หลังจากพระสันตะปาปา ยอห์น ปอล ที่ 2  ผู้ยิ่งใหญ่ของเรา บรรดาพระคาร์ดินัลได้เลือกข้าพเจ้า ผู้เป็นเพียงคนงานที่ต่ำต้อยในสวนองุ่นของพระเจ้า ข้าพเจ้าได้รับความบรรเทาใจในความจริงที่ว่า   พระเจ้าทรงทราบว่าจะทรงทำงานอย่างไรและจะทรงกระทำอย่างไร    แม้แต่กับเครื่องมือที่ไร้ประสิทธิภาพ และข้าพเจ้าไว้ใจในคำภาวนาของพวกท่าน ในความชื่นชมยินดีของพระเจ้าผู้เสด็จกลับคืนชีพ และด้วยความไว้ใจในความช่วยเหลือของพระองค์อยู่เสมอ เราจะก้าวไปข้างหน้า ด้วยความมั่นใจว่าพระเจ้าจะทรงช่วยเหลือเรา และพระนางมารีย์ พระมารดาที่รักยิ่งของพระองค์ จะทรงอยู่เคียงข้างเรา”
 
เมื่อได้รับเลือกเป็นประมุขพระศาสนจักรโรมันคาทอลิก สมเด็จพระสันตะปาปา เบเนดิกต์ ที่ 16  ทรงแสดงเจตจำนงที่จะสานต่องานเสริมสร้างความเป็นหนึ่งเดียว ในระหว่างคริสตชนนิกายต่างๆ ให้ชัดเจนเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น และจะยังคงพยายามทำให้พระศาสนจักร มีความทันสมัย ตามแบบที่สังคายนาวาติกันที่ 2 ได้วางแนวทางไว้ให้ พระองค์ตรัสว่า  “พระศาสนจักรปรารถนาที่จะสานต่อการเสวนาที่เปิดเผยและจริงใจกับทุกศาสนาและทุกนิกาย เพื่อแสวงหาสังคมมนุษย์ที่สงบสันติอย่างแท้จริง”  พระองค์ตรัสแก่บรรดาพระคาร์ดินัลในมิสซาแรก เมื่อวันที่ 20 เมษายน ค.ศ. 2005 ณ วัดซิสทีน กรุงโรม ว่า  
“ข้าพเจ้ารู้สึกราวกับว่าได้เห็นสายตาเปี่ยมรอยยิ้มของพระสันตะปาปายอห์น ปอล ที่ 2 และได้ยินพระดำรัสของพระองค์ที่ตรัสกับข้าพเจ้าว่า  “อย่ากลัวเลย”...
 
ในตอนท้ายของสมณลิขิตฉบับแรก พระองค์ตรัสว่า  “ข้าพเจ้าคิดถึงเยาวชนเป็นพิเศษ ข้าพเจ้ารอคอยที่จะได้พบเขาในการชุมนุมเยาวชนโลกที่เมืองโคโลญจน์ ประเทศเยอรมัน... เยาวชนที่รัก พวกเธอเป็นอนาคตและความหวังของพระศาสนจักรและของมนุษยชาติ พ่อจะยังคงสนทนาและรับฟังความคาดหวังของพวกเธอต่อไปเสมอ ในความพยายามที่จะช่วยพวกเธอให้ได้พบกับพระคริสตเจ้าอย่างลึกซึ้งมากขึ้น พระองค์ผู้ทรงชีวิตและทรงเป็นหนุ่มสาวอยู่เสมอ
 
หัวข้อในสมณลิขิตเรื่อง ศีลมหาสนิทของสมเด็จพระสันตะปาปา ยอห์น ปอล ที่ 2  ที่ว่า  “โปรดพักกับเราเถิด”  เป็นคำกล่าวที่หลังไหลออกจากใจของข้าพเจ้า เมื่อข้าพเจ้าเตรียมที่จะเริ่มพระพันธกิจของพระคริสตเจ้า ผู้ทรงเรียกข้าพเจ้า เช่นเดียวกับนักบุญเปโตร ข้าพเจ้าขอรื้อฟื้นคำสัญญาแห่งความซื่อสัตย์อันปราศจากเงื่อนไขพระองค์เท่านั้น ที่ข้าพเจ้าตั้งใจรับใช้ โดยอุทิศตนทั้งหมดเพื่อรับใช้พระศาสนจักรของพระองค์”
 
 
 
สมเด็จพระสันตะปาปา เบเนดิกต์ ที่ 16 สละตำแหน่งประมุของค์ที่ 265 ของพระศาสนจักรคาทอลิก ในวันที่ 28 กุมภาพันธ์  ค.ศ. 2013 โดย พระสันตะปาปาเบเนดิกต์ จะใช้ชื่อเรียกนำหน้าว่า "สมเด็จพระสันตะปาปากิตติคุณ" (Pope Emeritus)
 
"สมเด็จพระสันตะปาปา เบเนดิกต์ ที่ 16 จะทรงยังคงพระนามว่า เบเนดิกต์ ที่ 16 พระองค์จะดำรงตำแหน่งพระสันตะปาปากิตติคุณ และจะยังคงสวมอาภรณ์สีขาวโดยไม่มีมอซเซ็ตต้า ( Mozetta - ผ้าคลุมไหล่และแขน) พระสันตะปาปาเบเนดิกต์ยังปฏิเสธที่สวมรองเท้าสีแดงซึ่งเป็นเครื่องหมายของพระสันตะปาปา โดยพระองค์ทรงเลือกจะสวมรองเท้าหนังสีน้ำตาล ซึ่งได้รับถวายจากการเสด็จเยือนเม็กซิโกเมื่อปีที่แล้ว"
 
"ในส่วนของแหวนชาวประมงที่พระสันตะปาปาเบเนดิกต์ทรงสวมอยู่นั้น ก็จะถูกทำลายลงหลังจากสิ้นสมณสมัยเช่นเดียวกับตราประทับประจำพระองค์ พระสันตะปาปาเบเนดิกต์จะสวมแหวนสมัยเป็นพระคาร์ดินัลแทน"
 
 
ในส่วนของการทหารสวิสซึ่งมีหน้าที่อารักขาพระสันตะปาปา ก็ได้รับการยืนยันว่า หลังจากสิ้นสุดสมณสมัยของสมเด็จพระสันตะปาปา เบเนดิกต์ ที่ 16 พระองค์ประสงค์จะไม่รับการอารักขาจากทหารสวิสอีกต่อไป เพราะต้องการให้ทหารสวิสมีหน้าที่ปกป้องพระสันตะปาปาองค์ใหม่ ผู้เป็นประมุขสูงสุดของพระศาสนจักรเท่านั้น
 
"หลังจากเวลา 20.00 น.ของวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2013 ทหารสวิสที่ประจำอยู่ ณ พระราชวังคาสเตล กันดอลโฟ ก็จะยุติการปฏิบัติหน้าที่อารักขาพระสันตะปาปาเบเนดิกต์ เนื่องจากเป็นช่วงเวลาที่ตำแหน่งพระสันตะปาปาว่างลง พระสันตะปาปาเบเนดิกต์ไม่ต้องการให้ทหารสวิสมาอารักขาและดูแลพระองค์ กระนั้น วาติกันจะจัดเจ้าหน้าที่ตำรวจของวาติกัน มาดูแลความปลอดภัยให้พระองค์แทน"
 
ตราประจำพระองค์ และความหมาย
 
ตราประจำพระองค์สมเด็จพระสันตะปาปาเบเนดิกต์ที่  16 ได้ออกแบบให้สอดคล้องกับตราประจำพระองค์สมัยที่ยังทรงดำรง ตำแหน่งเป็นพระอัครสังฆราชแห่งอัครสังฆมณฑลมิวนิกและไฟรซิงรวมทั้งขณะที่ดำรงตำแหนงเป็นเจ้าสมณกระทรวงพระสัจธรรมด้วย
 
หมวกพระสังฆราช : แทนสัญลักษณ์มงกฎพระสันตะปาปาซึ่งแต่เดิมจะปรากฏอยู่ในตราประจำพระองค์สมเด็จพระสันตะปาปาทุกพระองค์ ซึ่งเมื่อถึงสมณสมัยของสมเด็จพระสันตะปาปา ปอล ที่ 6  ได้ยกเลิกพิธีการใช้มงกฎดังกล่าว แต่ในสมณสมัยของพระองค์ สืบต่อมายัง สมเด็จพระสันตะปาปา ยอห์น ปอล ที่ 1 และ  สมเด็จพระสันตะปาปา ยอห์น ปอล ที่ 2  ยังมีสัญลักษณ์  มงกฎปรากฏอยู่ในตราประจำพระองค์เมื่อมาถึงสมณสมัยของสมเด็จพระสันตะปาปาเบเนดิกต์ที่ 16 พระองค์จึงเปลี่ยนสัญลักษณ์ เป็นหมวกพระสังฆราชแทนโดยให้มีแถบสีทอง 3 แถบวางขนานในแนวนอน หมายถึงอำนาจหน้าที่ของสมเด็จพระสันตะปาปา คือ “การจัดระเบียบให้ทุกอย่างถูกต้องและศักดิ์สิทธิ์”  “การปกครองด้วยความยุติธรรม” และ “การเทศน์สอน”   แถบสัญลักษณ์ทั้งสามนี้เป็นความหมายเดียวกับมงกฎสามชั้นในตราสมเด็จพระสันตะปาปาองค์ก่อนๆแถบสีทองทั้ง 3 แถบดังกล่าวถูกเชื่อมด้วยแถบสีทองที่คาดเชื่อมต่อลงมาในแนวตั้ง แสดงถึงหน้าที่ทั้งสามรวมกันเป็นหน้าที่สำคัญยิ่ง ในฐานะเป็นประมุขสุงสุดแห่งพระศาสนจักร 
 
ปัลลีอุม: การเพิ่มสัญลักษณ์ แถบผ้าปัลลีอุมสีขาวพร้อมด้วยกางเขนสีดำมาประกอบไว้ในส่วนล่างของโล่ ปรากฏเป็นครั้งแรก ในตราประจำพระองค์สมเด็จพระสันตะปาปาเบเนดิกต์ที่ 16 นี้  เพื่อแสดงถึงหน้าที่เฉพาะในฐานะผู้นำของบรรดาพระสังฆราช และพระศาสนจักรสากล  ลักษณะของปัลลีอุมที่แสดงอยู่บนตราประจำพระองค์นั้น เป็นสัญลักษณ์กางเขนสีดำ บนแถบผ้าขน สัตว์ ซึ่งสัญลักษณ์นี้เป็นที่รับรู้กันทั่วไปแล้วนับตั้งแต่เริ่มต้นสหสวรรษที่สอง แม้ว่าบางครั้งอาจจะเห็นว่ากางเขนที่ปรากฏจะ เป็นสีแดงหรือสีดำบ้าง  ดังในวันพิธีสมณภิเษกของสมเด็จพระสันตะปาปาเบเนดิกต์ที่ 16 พระองค์ทรงรับการสวมปัลลีอุม ตามแบบดั่งเดิม โดยมีกางเขนเป็นสีแดง และทิ้งชายแถบผ้าลงทางหัวไหล่ด้านซ้าย แทนที่จะทิ้งชายผ้าลงตรงกึ่งกลาง ซึ่งการ แต่งอาภรณ์ดังกล่าวนี้เป็นลักษณะการแต่งอาภรณ์เฉพาะ แสดงถึงอำนาจด้านการปกครองพระศาสนจักร 
 
 
กุญแจไขว้ : กุญแจไขว้ 2 ดอก เป็นสัญลักษณ์แสดงถึงอำนาจแห่งพระคริสตเจ้าซึ่งทรงมอบให้กับนักบุญเปโตรอัครสาวก และผู้ที่สืบตำแหน่งต่อจากท่าน “เราจะมอบกุญแจสวรรค์ไว้กับท่าน สิ่งใดที่ท่านผูกไว้ในโลกนี้ ก็จะผูกในสวรรค์ด้วย และสิ่งใดที่ท่านจะแก้ในโลกนี้ก็จะได้รับการแก้ในสวรรค์ด้วย”(มธ.16:19)กุญแจสีทอง หมายถึงอำนาจที่ผูกไว้กับสวรรค์และ กุญแจสีเงิน คืออำนาจทางชีวิตฝ่ายจิตบนโลกนกญแจทั้งสองดอก ถูกคาดรวมไว้ด้วยเชือก แสดงถึงความเป็นหนึ่งเดียวกัน ของนักบญเปโตรและผู้ที่สืบทอดตำแหน่งของท่าน 
 
ชาวเอธิโอเปียสวมมงกฎ : (อ้างถึงตามเว็บไซต์ของอัครสังฆมณฑลเดิมขององค์สมเด็จพระสันตะปาปา) โล่บนตราประจำพระองค์ แบ่งออกเป็น 3 ส่วน ส่วนแรกทางซ้ายแสดงภาพ “ Moor of Freising” ซึ่ง เป็นภาพศีรษะของชาวมัว ผินหน้าไปทางซ้าย และทรงมงกฎภาพนี้ปรากฏอยู่บนตราประจำตำแหน่ง พระสังฆราชแห่งสงฆมณฑลไฟรซิงมาตั้งแต่ตอนต้นประมาณปี ค.ศ. 1316  ในพระสมณสมัยของพระ สังฆราชแห่งไฟรซิง เจ้าชายคอนราดที่ 3 และสืบต่อเนื่องมาโดยไม่มีการเปลี่ยน  กระทั่งถึงช่วงที่พระศาสนจักรมีการแบ่งเขตปกครองในปี ค.ศ. 1802-1803 พระอัครสังฆราชผู้ปกครองอัครสังฆมณฑลมิวนิก และไฟรซิง จึงได้รวมเอาสัญลักษณ์ภาพศีรษะดังกล่าวไว้ในตราประจำตำแหน่งนับแต่นั้นมา 
 
หมีแห่งคอร์บีเนียน : ภาพหมีแบกกระเป๋าหนังบนหลัง มีชื่อเรียกว่า “หมีแห่งคอร์บีเนียน” ในคริสตศตวรรษที่ 8 มีเรื่องเล่ากัน ว่า พระสังฆราชคอร์บีเนียน แพร่ธรรมให้คริสตชนในแถบมณฑลบาวาเรีย ครั้งหนึ่งท่านต้องเดินทางไปยังกรุงโรม โดยมีหมีเป็นสัตว์ต่างเพื่อบรรทุกสัมภาระระหว่างเดินทาง เมื่อเดินทางไปถึงที่หมายแล้ว ท่านก็ปล่อยให้หมีเป็นอิสระ แต่มันเดินทางกลับไป ยังมณฑลบาวาเรีย ขณะเดียวกันหมีแห่งคอร์บีเนียนเป็นเหมือนสัตว์งานของพระเป็นเจ้า หมายถึงภาระหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบ
 
เปลือกหอย : เป็นเครื่องหมายแสดงถึงการทวีคูณ ดังที่นักบุญออกัสติน  (พระสังฆราชและนักปราชญ์ของพระศาสนจักร    มีชีวิตในช่วง ค.ศ. 354-430) ขณะเดินบนชายหาด ครุ่นคิดถึงข้อลึกลับเกี่ยวกับพระตรีเอกภาพ  พบเด็กคนหนึ่งใช้เปลือกหอยตัก น้ำทะเลมากรอกลงรูที่พื้นทราย   นักบุญออกัสตินจึงได้ถามเด็กคนนั้นว่ากำลังทำอะไรอยู่  เด็กน้อยตอบว่า “หนูกำลังตักน้ำ ทะเลมาเติมให้เต็มรูนี้”  ดังนี้แล้วท่านนักบุญจึงเข้าใจว่าลำพังมนุษย์ไม่สามารถที่จะล่วงรู้ถึงข้อลึกลับเกี่ยวกับพระเป็นเจ้าได้   คุณพ่อโยเซฟ รัตซิงเกอร์ ในปี ค.ศ.1953 ได้เขียนสารนิพนธ์ของท่านโดยใช้ชื่อเรื่องว่า  “ประชากรของพระเจ้าและพระนิเวศของพระองค์ในคำสอนเรื่องพระศาสนจักรของนักบุญออกัสติน” 
 
นอกจากนี้แล้วเปลือกหอยยังหมายถึงการจารึกแสวงบญ หมายถึง ไม้เท้าของยากอบ ซึ่งติดเปลือกหอยไว้บนยอดไม้
 
 
เท้าจารึกของท่านด้วย ศิลปะในพระศาสนจักรจะใช้สัญลักษณ์เปลือกหอยนี้แทนนักบุญยากอบอัครสาวก รูปสัญลักษณ์เปลือกหอยนี้จึงหมายถึง “ประชากรผู้จารึกของพระเป็นเจ้า” เป็นเรื่องสำคัญบทหนึ่งของพระศาสนจักรซึ่งคุณพ่อโยเซฟ รัตซิงเกอร์ ได้ มีส่วนร่วมอยู่ในสภาสังคายนาวาติกัน ครั้งที่ 2  ในฐานะเป็นที่ปรึกษาทางด้านเทวศาสตร์ให้กับพระคาร์ดินัลฟริงแห่งโคโลญจ์ ซึ่งต่อมาเมื่อท่านได้รับตำแหน่งเป็นพระอัครสังฆราช จึงใส่เปลือกหอยไว้ในตราประจำตำแหน่งท่านดวย 
 
นอกจากนี้แล้วสัญลักษณ์เปลือกหอยนี้ยังพบได้จากตราประจำเมือง Schottenkloster ในเขตเรเกนสเบิร์ก (Regensburg) ที่ซึ่งมีบ้านเณรใหญ่ของสังฆมณฑลสังกัดอยู่ และพระองค์ท่านเคยเป็นอาจารย์สอนเทวศาสตร์อยู่ที่เมืองนี้ 
 
เรายังไม่ทราบแน่ว่าสมเด็จพระสันตะปาปาเบเนดิกต์ทึ่ 16 จะทรงมีคติพจน์ว่าอย่างไร  แต่คติพจน์สมัยทีพระองค์เป็นพระอัครสังฆราชนั้นท่านใช้คติพจน์ว่า “cooperatores veritatis” (collaborators of the truth)
 
 
สมเด็จพระสันตะปาปากิตติคุณ เบเนดิกต์ที่ 16 ทรงสิ้นพระชนม์วันเสาร์ที่ 31 ธันวาคม ค.ศ. 2022 เวลา 09.34 (เวลากรุงโรม)  ที่อารามพระมารดาแห่งพระศาสนจักร (Master Ecclesiae Monastery) นครรัฐวาติกัน
 
 
เช้าตรู่วันจันทร์ที่ 2 มกราคม ค.ศ. 2023 เคลื่อนศพของพระสันตะปาปากิตติคุณเบเนดิกต์ ที่ 16 จากวัดน้อยในอารามมารดาแห่งพระศาสนจักร มายังมหาวิหารนักบุญเปโตร วาติกัน เพื่อให้ประชาชนได้เข้ามาเคารพ
 
 
 
เช้าวันพฤหัสบดีที่ 5 มกราคม ค.ศ. 2023 สมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิสทรงเป็นประธานในมิสซาปลงพระศพพระสันตะปาปาเบเนดิกต์ที่ 16 ณ ลานหน้าพระมหาวิหารนักบุญเปโตร 
 
 
วันพฤหัสบดีที่ 5 มกราคม ค.ศ. 2023 พระศพของสมเด็จพระสันตะปาปากิตติคุณเบเนดิกต์ที่ 16 ได้รับการอัญเชิญไปฝังไว้ในสุสานวาติกันด้านล่างพระมหาวิหารนักบุญเปโตร ในพระคูหาเดิมที่เคยฝังพระศพนักบุญ ยอห์น ปอล ที่ 2 พระสันตะปาปา