-
Category: ผู้แทนสมเด็จพระสันตะปาปาประจำประเทศไทย
-
Published on Tuesday, 14 June 2016 02:37
-
Written by หอจดหมายเหตุ
-
Hits: 2706
พระสมณทูตลุยจี แบรสซาน
Archbishop Luigi Bressan
พระอัครสมณทูตวาติกันประจำประเทศไทย สิงคโปร์ และเป็นผู้แทนของสันตะสำนัก
สำหรับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว มาเลเซีย บรูโน และเมียนมาร์
ได้รับแต่งตั้งเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2536
Nominated Apostolic Nuncio July 26, 1993
พระอัครสังฆราช ลุยจี แบรสซาน เกิดวันที่9 กุมภาพันธ์ ค.ศ.1940 ที่เมืองซาร์เก ในอัครสังฆมณฑลเตรนโต รับศีลบวชเป็นพระสงฆ์วันที่ 28 มิถุนายน ค.ศ.1964 ได้รับอภิเษกเป็นพระสังฆราช วันที่ 18 มิถุนายน ค.ศ.1989 ก่อนที่ท่านจะได้รับตำแหน่งเป็นพระสมณทูตประจำประเทศไทย ท่านเป็นสมณทูตประจำประเทศปากีสถาน
พระอัครสังฆราช ลุยจี แบรสซาน พระอัครสมณทูตวาติกันประจำประเทศไทย สิงคโปร์ และเป็นผู้แทนของสันตะสำนัก สำหรับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว มาเลเซีย บรูโน และเมียนมาร์ จะเดินทางมารับตำแหน่งในวันที่ 27 สิงหาคม ค.ศ. 1993
พิธีมิสซาต้อนรับพระสมณทูตวาติกันประจำประเทศไทยองค์ใหม่ จัดขึ้นที่อาสนวิหารอัสสัมชัญ เมื่อวันที่ 19 กันยายน 1993
วันที่ 19 กันยายน ค.ศ. 1993 พระคาร์ดินัล ไมเกิ้ล มีชัย กิจบุญชู เป็นประธานในพิธีมิสซาโมทนาคุณพระเป็นเจ้า โอกาสต้อนรับ พระอัครสังฆราช ลุยจี แบรสซาน เข้ารับตำแหน่งเอกอัครสมณทูตวาติกันประจำประเทศไทย ท่ามกลางบรรดาพระสงฆ์ นักบวชชาย-หญิง และสัตบุรุษจำนวนมาก ณ อาสนวิหารอัสสัมชัญ กรุงเทพฯ
พระคาร์ดินัล ไมเกิ้ล มีชัย กิจบุญชู ได้กล่าวต้อนรับเริ่มพิธีใจความว่า “วันนี้เราร่วมชุมนุมกันในอาสนวิหารนี้ เพื่อร่วมใจกันนมัสการพระเป็นเจ้าและขอบพระคุณพระองค์ และเป็นพิเศษที่ให้เรามีพระศาสนาจักรโดยมีองค์สมเด็จพระสันตะปาปาเป็นประมุข และพระองค์ท่านได้ส่งผู้แทนของพระองค์มาอยู่กับพวกเราในวันนี้ประเทศของเรา ดังนั้นให้เราวิงวอนขอพระพรจากพระเป็นเจ้าโปรดอำนวยพรให้กับพระศาสนจักรในประเทศไทย และขอให้พระสมณทูตองค์ใหม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ทุกสิ่งทุกอย่างให้ดำเนินไปด้วยดีและบังเกิดผล”
หลังจากรับศีลมหาสนิทแล้ว เป็นพิธีต้อนรับพระสมณทูตองค์ใหม่ โดย พระสังฆราช ยอร์ช ยอด พิมพิสาร ประธานสภาพระสังฆราชคาทอลิกฯ เป็นตัวแทนกล่าวต้อนรับในนามของสภาพระ สังฆราชคาทอลิกแห่งประเทศไทย ต่อจากนั้นพระคาร์ดินัล ไมเกิ้ล มีชัย กิจบุญชู ได้มอบพวงมาลัยเป็นการต้อนรับแบบไทยๆ ติดตามด้วยตัวแทนจากคณะนักบวชชาย-หญิง และสัตบุรุษ
ต่อจากนั้น พระอัครสังฆราชหลุยส์จี แบรสซาน เอกอัครสมณทูตวาติกันองค์ปัจจุบันได้มอบหนังสือจากสำนักเลขาธิการแห่งรัฐวาติกัน แก่พระสังฆราชยอร์ช ยอด พิมพิสาร ประธานสภาพระสังฆราชฯ และกล่าวตอบประธานในพิธี มีใจความว่า
“พวกท่านมีความประสงค์จะต้อนรับข้าพเจ้าอย่างสง่า ในโอกาสมารับหน้าที่เป็นพระสมณทูต มีผู้แทนหน่วยงานของพระศาสนจักรและคริสตชนมาร่วมไม่น้อย ข้าพเจ้าทราบว่าเป็นธรรมเนียมของคนไทย และท่านมีสิทธิจะภูมิใจในธรรมเนียมนี้ แต่ข้าพเจ้ามั่นใจว่าการต้อนรับจัดขึ้นในระหว่างพิธีกรรมแห่งศีลมหาสนิท ศีลแห่งความเป็นหนึ่งเดียว เป็นการประกาศความเชื่อของท่านในสหพันธ์ของพระศาสนจักร ซึ่งวางรากฐานอยู่บนพระวรสารและศีลศักดิ์สิทธิ์
พระสมณทูตยังได้กล่าวอีกว่า
“ข้าพเจ้าไม่ถือว่าท่านให้การต้อนรับนี้แก่ข้าพเจ้า แต่ท่านได้ให้สมเด็จพระสันตะปาปาต่างหาก เป็นพระองค์ที่เรียกข้าพเจ้าให้มาเป็นผู้แทนของพระองค์ ข้าพเจ้าเห็นว่าท่านรักพระองค์จริง สำหรับข้าพเจ้าแล้ว ข้าพเจ้ามีความตั้งใจที่จะรับใช้ท่าน เพื่อให้ทุกคนเจริญขึ้นอย่างสมบูรณ์ในองค์พระคริสตเจ้า และให้ความรักของพระเจ้า ได้รับการตอบสนองจากเราทุกคน
ท้ายสุดพระสมณทูต ได้กล่าวว่า
“ข้าพเจ้าไม่หวังจะได้รับรางวัลหรือของอะไรเพราะว่า ความรักของพระเจ้าให้มากกว่าที่เราหวังเสียอีก ข้าพเจ้ามีความสุขที่มาประจำที่ประเทศไทย ซึ่งเป็นประเทศที่ร่ำรวยด้วยคุณค่าวัฒนธรรม ประเทศที่มุ่งมั่นจะพัฒนาในทุกด้าน เปิดกว้างแก่สังคมโลกภายนอก และพร้อมที่จะแบ่งปันให้ประเทศอื่น แต่เหตุของความหวังเหนืออื่นใด คือข้าพเจ้าเห็นพระศาสนจักรอุทิศตนในการให้ศาสนบริการอย่างจริงจัง ได้รับพระพรจากพระเจ้า ให้มีฆราวาสที่เสียสละ มีกระแสเรียกเป็นนักบวชและพระสงฆ์ไม่น้อย เวลานี้ข้าพเจ้าขอร่วมเดินทางไปกับท่านและขอรับใช้ท่าน ในการขอบคุณพระเจ้าโดยคำภาวนา
ข้าพเจ้าได้เข้าถวายสารตราตั้งแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ พระองค์ทรงพระราชทานพระราชวโรกาสให้พระสมณทูตเข้าเฝ้าถวายสารตราตั้ง วันที่ 15 กันยายน ค.ศ.1993 และพระองค์ทรงแต่งตั้งข้าพเจ้าให้เป็นพระสมณทูตอย่างเป็นทางการแล้ว วันนี้ข้าพเจ้ามอบหนังสือเป็นทางการ (จากสำนักเลขาธิการของวาติกัน) แด่พระคุณเจ้าผู้เป็นประธานสภาพระสังฆราชฯ เพื่อแจ้งให้พระศาสนจักรแห่งประเทศไทยทราบถึงการแต่งตั้งข้าพเจ้า และเพื่อขอฝากฝังงานของข้าพเจ้าไว้ในความกรุณา และการแบ่งปันของท่าน นับว่าเป็นสัญลักษณ์ใหม่ของการเป็นหนึ่งเดียวของพระศาสนจักรในพิธีกรรมวันนี้ ท่านก็ได้ตอบรับองค์ผู้แทนพระสันตะปาปาแล้ว
เฝ้าถวายสารตราตั้ง วันที่ 15 กันยายน 1993 |
ในวันที่ 13 ตุลาคม ค.ศ. 1993 สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆ ปริณายก พระราชทานวโรกาสให้ พระอัครสังฆราช ลุยจี แบรสซาน เอกอัครสมณทูตวาติกันประจำประเทศไทยคนใหม่ เข้าเฝ้าที่วัดบวรนิเวศวิหาร โอกาสที่มารับตำแหน่งในประเทศไทยอย่างเป็นทางการ
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก เสด็จยังห้องรับรองในสำนักงานเลขานุการภายในบริเวณวัดบวรนิเวศวิหาร เวลา 14.30 น. และให้การต้อนรับพระสมณทูตและบรรดาคณะกรรมการศาสนสัมพันธ์ที่มาเข้าเฝ้า
เข้าเฝ้าสมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปริณายก ณ วัดบวรนิเวศวิหาร
โอกาสนี้พระสมณทูตได้ถวายของที่ระลึกแด่สมเด็จพระสังฆราชฯ จากนั้นได้มีการสนทนาในระหว่างพระสมณทูตกับสมเด็จพระสังฆราชฯ ประมุขทางศาสนาพุทธในประเทศไทย โดยมี ดร.ทิม พรรณศิริ เป็นผู้ถวายการแปลเป็นภาษาไทยแด่สมเด็จพระสังฆราชฯ
พระสมณทูตกราบทูลว่า สำนักวาติกันมีสมณทูตวาติกันประจำประเทศต่างๆ ทั่วโลกอยู่ 145 ประเทศ สำหรับประเทศไทยมีความสัมพันธ์กันมาตั้งแต่สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ที่ส่งทูตไปยังสำนักวาติกันเป็นต้นมา จากนั้นสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไทยหลายพระองค์ก็ได้เข้าเฝ้าสมเด็จพระสันตะปาปา และเมื่อสมเด็จพระสันตะปาปา ยอห์น ปอล ที่ 2 ได้เสด็จเยือนประเทศไทยระหว่างวันที่ 10-11 พฤษภา ค.ศ. 1984 ปรากฏว่าได้รับการต้อนรับอย่างอบอุ่นจากสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวองค์ปัจจุบันและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์อันดีที่มีต่อกันเป็นเวลาช้านาน
จากที่ได้รับมอบหมายจากสมเด็จพระสันตะปาปา ยอห์น ปอล ที่ 2 ให้มาทำงานในพระศาสนจักรประเทศไทย และภาระที่สมณทูตต้องทำนั้นก็คือ เป็นผู้นำสันติ ความเข้าใจอันดีระหว่างศาสนาไปสู่ประเทศที่ไปประจำอยู่แต่สำหรับประเทศไทยนี้ปรากฏว่าที่ผ่านมาได้รับความอบอุ่นทั้งจากพระประมุขของประเทศ และผู้นำศาสนาต่างๆ อย่างดีเสมอมา และโอกาสนี้พระสมณทูตได้ถวายพระพรในวโรกาสที่สมเด็จพระสังฆราชฯ ทรงมีพระชนมายุครบ 80 พรรษาด้วย สมเด็จพระสังฆราชฯ ตรัสตอบมีใจความว่า พระองค์ทรงยินดีต้อนรับและถือว่าพระสมณทูตเสมือนมิตรสหายที่ได้มาพบกันอีกครั้งหนึ่ง ทั้งนี้เนื่องจากศาสนาคริสต์มีความสัมพันธ์อันดีต่อประเทศไทยมาช้านาน โดยบรรดาผู้แพร่ธรรม (มิสชันนารี) ที่เข้ามาในประเทศไทย ได้เห็นถึงความสำคัญของการศึกษาและได้จัดการศึกษาให้กับเยาวชนไทยมานับร้อยปี ประเทศไทยเองได้ต้อนรับทุกศาสนาที่เข้ามาในประเทศไทย และให้เสรีภาพแก่ประชาชนในการนับถือศาสนาอย่างเท่าเทียมกันเหมือนพี่เหมือนน้อง ดังนั้นประเทศไทยจึงไม่มีการทะเลาะวิวาท แต่อยู่กันอย่างสันติและร่มเย็นดังที่เป็นอยู่ทุกวันนี้
งานเลี้ยง ณ สำนักเอกอัครสมณทูตวาติกัน ถ.สาทรใต้ |
พิธีฉลองแม่พระผู้ปฏิสนธินิรมลของสามเณราลัย |
จากนั้นสมเด็จพระสังฆราชฯ พระราชทานของที่ระลึกให้แก่พระสมณทูตฯ และผู้ติดตาม เป็นหนังสือหลักธรรมพุทธศาสนา
ในวันที่ 22 ตุลาคม ค.ศ.1993 พระอัครสังฆราช ลุยจี แบรสซาน เอกอัครสมณทูตวาติกันประจำประเทศไทย ได้จัดงานเลี้ยงขึ้นที่สำนักเอกอัครสมณทูตวาติกัน ถนนสาทรใต้ เนื่องในวโรกาสวันคล้ายวันสมณภิเษก ครบรอบปีที่ 15 ของสมเด็จพระสันตะปาปา ยอห์น ปอล ที่ 2 โดยมีบรรดาเอกอัครราชทูตประจำประเทศต่างๆ พระสังฆราช พระสงฆ์ นักบวชชาย-หญิง และแขกผู้มีเกียรติที่มาร่วมงานอย่างคับคั่ง
ในวันที่ 5 ธันวาคม ค.ศ.1993 พระอัครสังฆราช ลุยจี แบรสซาน เอกอัครสมณทูตวาติกัน ประจำประเทศไทย รับ “มาลัยน้ำใจ” จาก คุณวิจัย วัฒนาประสิทธิ์ ประธานสมาชิกสภาจังหวัดราชบุรี ในฐานะตัวแทนสัตบุรุษ ระหว่างพิธีฉลองแม่พระผู้ปฏิสนธินิรมลของสามเณราลัย ณ รองอาสนวิหารนักบุญยอห์น บอสโก ราชบุรี
ในวันที่ 13 ธันวาคม ค.ศ.1993 พระสมณทูตเยี่ยมลูกแกะอีสาน พระอัครสังฆราช ลุยจี แบรสซาน เอกอัครสมณทูตวาติกัน ประจำประเทศไทย ไปเยี่ยมอัครสังฆมณฑลท่าแร่-หนองแสง ตามคำเชิญของพระอัครสังฆราชคายน์ แสนพลอ่อน ในภาพท่านสมณทูตนั่งสามล้อ (สกาลแล็ป) ซึ่งสัตบุรุษชาวหนองดิ่น ดอนขาว และนาคำ จังหวัดสกลนคร จัดเตรียมไว้ต้อนรับ
ในวันที่ 21 มีนาคม ค.ศ.1994 พระอัครสังฆราช ลุยจี แบรสซาน เอกอัครสมณทูตวาติกัน ประจำประเทศไทย ได้มากล่าวคำปราศรัยต่อองค์ประชุมสภาพระสังฆราชฯ ในฐานะผู้แทนองค์สมเด็จพระสันตะปาปา
เยี่ยมอัครสังฆมณฑลท่าแร่-หนองแสง
และช่วงบ่ายจำเป็นการพิจารณาการทำงาน ปัญหา และข้อเสนอจากกรรมาธิการฝ่ายต่างๆ
ในวันที่ 24-26 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1994 พระอัครสังฆราช ลุยจี แบรสซาน เอกอัครสมณทูตวาติกัน ประจำประเทศไทย “เยี่ยมคริสตชนอีสาน” ในสังฆมณฑลอุดรธานี วันที่ 24 กุมภาพันธ์ เดินทางถึงท่าอากาศยานอุดรธานี โดยมี พระสังฆราชยอร์ช ยอด พิมพิสาร ประมุขสังฆมณฑล พร้อมด้วยคณะสงฆ์ นักบวชและสัตบุรุษให้การต้อนรับอย่างเป็นทางการ ซึ่งมีการรำอวยพร และการบายศรีสู่ขวัญ ที่หอประชุมเลารา โรงเรียนเซนต์เมรี่ อุดรธานีและในโอกาสนี้ท่านสมณทูตฯได้กล่าวขอบคุณที่ได้ให้การต้อนรับเป็นอย่างดี และยังได้กล่าวถึงตัวท่านเองว่า ท่านมาจากครอบ ครัวชาวนา และบุคลิกลักษณะของท่านบางโอกาสก็มีคนหัวเราะขบขัน แต่อย่างไรก็ตาม ท่านชื่อว่า ในสายพระเนตรของพระเจ้าเราทุกคนมีความสำคัญและความเป็นมนุษย์เท่ากัน และในวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พระสมณทูตฯได้ออกเดินทางไปยัง บ้านท่าบ่ม อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย เพื่อร่วมฉลองวัด และในวันที่ 26 กุมภาพันธ์ ได้เดินทางไปเยี่ยมชมกิจการของสถานีวิทยุกระจายเสียง เอฟ.เอ็ม.102.5 เมกะเอิรตซ์ จังหวัดหนองคาย และในโอกาสนี้พระสมณทูตได้กล่าวปราศัยออกอากาศทักทายพี่น้องชาวไทยและชาวลาวเป็นภาษาอังกฤษ มีพระสังฆราชยอร์ช ยอด พิมพิสาร เป็นผู้แปล ต่อจากนั้นได้ลงนามในสมุดเยี่ยมพร้อมมอบของที่ระลึกให้แก่ทางสถานีด้วย
พิธีมอบเครื่องราชอิสริยาภรณ์
ในวันที่ 26 สิงหาคม ค.ศ.1994 สันตะสำนักมอบเครื่องราชอิสริยาภรณ์ให้ รมต. ต่างประเทศ สมเด็จพระสันตะปาปายอหืน ปอล ที่ 2 ประทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ Papal Distinctoon Knight Grand Cross of the Pian Order แก่นาวาอากาศตรีประสงค์ อุ่นสิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ ในโอกาสรอบ 25 ปี การสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างประเทศไทยและสันตะสำนัก โดยพระอัครสังฆราชลุยจี แบรสซาน เอกอัครสมณทูตวาติกันประจำประเทศไทย และพระสังฆราชยอร์ช ยอด พิมพิสาร ประมุขสังฆมณฑลอุดร เป็นผู้มอบในนามสมเด็จพระสันตะปาปา ที่ห้องบัวแก้ว กระทรวงการต่างประเทศ ในโอกาสนี้ พระสมณทูต ลุยจี แบรสซาน ได้กล่าวสุนทรพจน์ มีใจความว่า
“ข้าพเจ้ารู้สึกยินดีที่ได้มอบเครื่องอิสริยาภรณ์ ซึ่งเป็นเครื่องหมายของความชื่นชมยินดีจากสมเด็จพระสันตะปาปา ยอห์น ปอล ที่ 2 ในความสัมพันธ์อันดีระหว่างประเทศไทยและสันตะสำนัก ในระยะเวลา 25 ปีที่ผ่านมา เพื่อประโยชน์สุขของคนไทยทั้งทางด้านจิตใจและวัตถุปัจจัย เรามีความสุขที่ได้ทำงานในอาณาจักรแห่งเสรีภาพ ความเข้าใจ และสันติสุข ในนามของสมเด็จพระสันตะปาปา ข้าพเจ้าขอมอบเครื่องอิสริยาภรณ์นี้แก่ท่าน สำหรับบทบาทอันสำคัญของการปฏิบัติภารกิจเพื่อส่วนรวม รวมถึงสนับสนุนในความร่วมมืออันดีต่อกัน.
นิทรรศการ 25 ปี ความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างไทย-สันตะสำนัก
ในวันที่ 22 ตุลาคม ค.ศ.1994 พระศาสนจักรไทยจัดงานใหญ่โอกาสฉลองครบรอบ 25 ปี ความสัมพันธ์ทางการทูต ไทย-สันตะสำนัก มอบเครื่องราชอิสริยาภรณ์ 7 ฆราวาสไทย ที่ช่วยงานพระศาสนจักร โดยมี นายชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรี ขณะชมนิทรรศการ 25 ปี ความสัมพันธ์ทางการทูต ไทย-สันตะสำนัก โดยมี พระสมณทูตหลุยจี แบรสซาน และพระคาร์ดินัล ไมเกิ้ล มีชัย กิจบุญชู ให้การต้อนรับ ณ หอประชุมโรงเรียนอัสสัมชัญ กรุงเทพฯ
พิธีมอบรางวัลที่ส่งผลงานเข้าประกวด |
พระอัครสังฆราช ลุยจี แบรสซาน เอกอัครสมณทูตวาติกันประจำประเทศไทย เดินทางไปรับหน้าที่ใหม่เป็นอัครสังฆราชแห่งมณฑลเตรนโต ประเทศอิตาลี เป็นบ้านเกิดของพระสมณทูต ในวันที่ 19 พฤษภาคม ค.ศ.1999 และได้เข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เพื่อกราบทูลลาไปรับหน้าที่ใหม่ และรับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ประถมาภรณ์ช้างเผือก
พระคาร์ดินัล ไมเกิ้ล มีชัย กิจบุญชู พระสมณทูตลุยจี แบรสซาน และดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ เลี้ยงอำลาพระสมณทูตลุยจี เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม ค.ศ.1999 สภาพระสังฆราชคาทอลิกแห่งประเทศไทย จัดงานเลี้ยงอำลาพระสมณทูตอย่างเป็นทางการ ท่ามกลางบรรดาพระสังฆราช นักบวชชาย-หญิง ที่มาร่วมอำลาท่านที่โรงเรียนเซนต์โยเซฟคอนเวนต์ และวันที่ 11 พฤษภาคม ค.ศ.1999 ที่ผ่านมาสภาองค์กรฆราวาสคาทอลิกฝ่ายงานอภิบาลและแพร่ธรรมจัดงานเลี้ยงอำลาที่โรงแรมอโนมา
พระคาร์ดินัล ไมเกิ้ล มีชัย กิจบุญชู ให้เกียรติมาร่วมงานด้วย พร้อมกันนี้ ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ บรรดาทูตานุทูต และแขกผู้ใหญ่มาร่วมงานจำนวนมา
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ทรงพระสุหร่ายแผ่นศิลาฤกษ์อาคารหลังใหม่ของโรงเรียนอัสสัมชัญ
“ครบรอบ 108 ปี อัสสัมชัญ” วันที่ 18 กรกฎาคม 1994
จากหนังสือพิมพ์อุดมสารรายสัปดาห์ ปี ค.ศ. 1993-1999
และข้อมูลจากหอจดหมายเหตุอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ