-
Category: ประวัติพระสงฆ์คณะมิสซังต่างประเทศแห่งกรุงปารีส (มรณะ)
-
Published on Thursday, 07 April 2016 08:38
-
Written by หอจดหมายเหตุ
-
Hits: 3006
คุณพ่อ ปิแอร์ ยัง หลุยส์ โรมิเออ
Pierre ROMIEU
คุณพ่อ ปิแอร์ ยัง หลุยส์ โรมิเออ เกิดวันที่ 10 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1863 ที่โกลิญัก เมืองโรเดช แขวงอาเวย์รง คุณพ่อจบมัธยมศึกษาที่โรงเรียนเมืองเอสปาลิออง และเข้าบ้านเณรใหญ่ที่เมืองโรเดช
การเอาใจใส่ฝึกอบรมทางด้านวิชาความรู้และทางด้านจิตใจ มิได้ขัดขวางคุณพ่อเลย ในการ ที่จะมาขลุกอยู่กับสิ่งต่างๆ ทางด้านวัตถุ ตามแต่เวลาและสถานที่จะอำนวยให้ เนื่องจากคุณพ่อเก่งกาจผิดธรรมดาทางด้านเมกานิค คุณพ่อจึงแสดงตัวเป็นผู้เชี่ยวชาญในทุกอาชีพ จนกระทั่งคุณพ่อไม่กลัวที่จะแสดงเป็นช่างปูน ช่างไม้ ช่างหล่อ และช่างเย็บรองเท้าเมื่อจำเป็น โดยไม่ต้องไปฝึกอาชีพก่อน คุณพ่อทำได้ดีเสมอๆ ในทุกแขนง
การฝึกเตรียมตัวเป็นพระสงฆ์ของเณรหนุ่มใกล้จะสิ้นสุดลงแล้ว คุณพ่อเป็นอนุสงฆ์ แล้วเมื่อวันที่เราได้ข่าวว่าคุณพ่อเข้าบ้านเณรคณะมิสซังต่างประเทศ วันที่ 8 กันยายน ค.ศ. 1886
หลังจากนั้นหนึ่งปี คุณพ่อโรมิเออกลับไปบ้านเกิด โดยได้รับศีลบวชเป็นพระสงฆ์ วันที่ 4 มิถุนายน ค.ศ. 1887 แล้วคุณพ่อก็ลาจากครอบครัว
คุณพ่อออกเดินทาง 14 ธันวาคม ค.ศ. 1887 ตั้งแต่ที่คุณพ่อได้รับมอบหมายให้มามิสซังสยาม พระสังฆราชเวย์ พระสังฆราชของคุณพ่อ ซึ่งเวลานั้นอยู่ที่บ้านเณรกรุงปารีส ได้ขอให้คุณพ่อมีส่วนแสดงความสามารถ หลายปีก่อนหน้านั้น บริษัทมารีโอนีได้จัดส่งแท่นพิมพ์มาให้โรงพิมพ์ของมิสซัง อนิจจา ! ไม่มีมิสชันนารีสักองค์เดียวที่สามารถประกอบชิ้นส่วนต่างๆ ที่ถูกถอดส่งมาได้ คุณพ่อโรมิเออศึกษาข้อมูลต่างๆ ที่จำเป็นได้อย่างรวดเร็วที่บริษัทมารีโอนี และมาถึงกรุงเทพฯ เดือนมกราคม ค.ศ. 1887 คุณพ่อก็ลงมือทำงานทันที คุณพ่อประกอบชิ้นส่วนต่างๆ เข้าด้วยกันและก็เดินเครื่อง
ตั้งแต่นั้นมา วงงานของคุณพ่อก็ได้รับการชี้ระบุไว้หมดแล้ว คุณพ่อได้รับแต่งตั้งเป็นเหรัญญิกของมิสซัง และรับผิดชอบดูแลโรงพิมพ์ คุณพ่อได้คิดค้นรูปแบบขนาดตัวอักษรภาษาสยามแบบใหม่ที่อ่านได้ง่าย ทางรัฐบาลไทยเองก็ได้แนวความคิด หรือที่จริงก็ได้ลอกแบบไปใช้ในโรงพิมพ์ของรัฐ
ปี ค.ศ. 1895 พระสังฆราชเวย์ขอให้คุณพ่อหาซื้อที่ดินสำหรับสร้างโรงพยาบาล คุณพ่อโรมิเออได้ซื้อที่ดินทั้งหมด ซึ่งเวลานี้เป็นที่ตั้งโรงพยาบาลเซนต์หลุยส์ วัดเซนต์หลุยส์ สถานทูตวาติกัน โรงเรียนอัสสัมชัญแผนกประถม ฯลฯ ตั้งอยู่ริมตามยาวสามซอย คือ เซนต์หลุยส์ซอย 1 ซอย 2 และ 3 ในปัจจุบัน
มิสชันนารีหลายองค์เป็นหนี้บุญคุณคุณพ่อในเรื่องแปลนวัด แปลนบ้านพักพระสงฆ์ แปลนโรงเรียน หรือแปลนอาราม และคำแนะนำด้านปฏิบัติงานก่อสร้างวัดต่างๆ เหล่านั้น โรงพยาบาลเซนต์หลุยส์และโรงเรียนอัสสัมชัญคอนแวนต์ ทำให้คุณพ่อต้องอดหลับอดนอนและหนักใจเป็นอย่างมาก คุณพ่อจัดดำเนินงานก่อสร้างอาสนวิหารอัสสัมชัญ เรามีจดหมายที่คุณพ่อติดต่อกับคุณพ่อ ยังต์เซน จากร่างกุ้ง ในสมัยก่อน คุณพ่อขอคำแนะนำ ความเห็น และการตัดสินใจต่างๆ จากคุณพ่อองค์นั้น ถ้าอาคารจำเป็นต้องทำการซ่อมแซมแล้วเวลานี้ คงจะเป็นเพราะว่ามิได้ทำตามแปลนหลังคาโค้ง และแปลนหอระฆังตามที่คุณพ่อโรมิเออได้เขียนไว้
ส่วนงานอภิบาลแพร่ธรรม คุณพ่อทำงานแต่ในช่วงเวลาที่คุณพ่อกอลเบต์ไม่อยู่ เนื่องจากกลับไปฝรั่งเศส คุณพ่อรักษาการแทนอยู่ที่วัดอัสสัมชัญเกือบหนึ่งปี
หลังจากเดินทางไปผักผ่อนที่ฮ่องกง ในปี ค.ศ. 1912 แล้ว คุณพ่อถูกเรียกตัวไปเป็นผู้ช่วยอธิการที่บ้านเณรนาซาแร็ธ ในปี ค.ศ. 1914 คุณพ่อจากกรุงสยามไปโดยมิใช่ไม่ตรอมใจ เพราะคุณพ่ออยู่มาตั้งแต่ยังหนุ่มจนถึงอายุมากแล้ว และก็ทิ้งเพื่อนๆ ซึ่งเสียดายการจากไปของคุณพ่อ มันเป็นการเสียสละ คุณพ่อน้อมรับโดยทำใจ เหนือธรรมชาติ และโดยมิได้หวนกลับมากรุงสยามอีกหลังจาก 3 ปี คุณพ่อกลับมาทำหน้าที่เหรัญญิก แต่ก็ทำอะไรเพียงระยะหนึ่ง กำลังแรงของคุณพ่ออ่อนลงไปอย่างเห็นได้ชัด คุณพ่อรู้สึกว่าเวลาปลดเกษียณกำลังจะมาถึง คุณพ่อขอไปพักผ่อนอยู่ที่แปดริ้วกับเพื่อนสนิท คือ คุณพ่อแปร์เปต์ ซึ่งเสนอให้พักอยู่ที่บ้านพักพระสงฆ์ด้วยใจกว้างขวาง ณ ที่นั้น คุณพ่อปลดจากความกังวลภายนอกทั้งหมด และเริ่มใช้ชีวิตภายในแบบที่ใช้ในบ้านเณร แล้วก็เตรียมตัวอย่างสงบ การมรณะของคุณพ่อแปร์เบต์ ทำให้คุณพ่อเองคิดถึงวาระสุดท้ายได้อย่างนุ่มนวลและคุ้นเคยยิ่งขึ้น คุณพ่อการิเอซึ่งเป็นเพื่อนร่วมเมืองของคุณพ่อ มารับสืบตำแหน่งต่อจากคุณพ่อแปร์เบต์ และด้วยความเอาใจใส่สม่ำเสมอกับการเอาใจรักใคร่ชอบพอจากคุณพ่อการิเอ ทำให้ โรคแก่ก่อนกำหนดมีความหวานชื่น ความทุกข์ทรมานอันหวานชื่นมิได้หมดไปจากตัวผู้ป่วยในช่วงเดือนท้ายๆ แห่งชีวิตของคุณพ่อโรมิเออ ปี ค.ศ. 1924 เนื่องจากร่างกายไม่มีเรี่ยวแรง คุณพ่อจึงจำต้องหยุดทำงานเกือบหมดทุกอย่าง และแล้ววันที่ 29 พฤษภาคม ค.ศ. 1926 คุณพ่อรับศีลทาสุดท้ายโดยรู้ตัวดี วันรุ่งขึ้น คุณพ่อก็สิ้นใจอย่างราบเรียบ ตรงกับวันอาทิตย์ฉลองพระตรีเอกภาพ
คุณพ่อมรณภาพ วันที่ 30 พฤษภาคม ค.ศ. 1926 ที่วัดเซนต์แอนโทนี แปดริ้ว พิธีปลงศพ วันที่ 1 มิถุนายน ค.ศ. 1926