-
Category: ประวัติวัดในอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ เขต 5
-
Published on Tuesday, 08 December 2015 03:18
-
Written by หอจดหมายเหตุ
-
Hits: 4723
วัดนักบุญมัทธิว ทุ่งลูกนก
100 ม.21 ตำบลทุ่งลูกนก
อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม 73140
ในเดือนกุมภาพันธ์ ปี ค.ศ.1931 คุณพ่อเฟลิเช บอสโซ (Felice Bosso) ได้ไปอยู่ประจำที่ท่าหว้า เป็นพระสงฆ์ซาเลเซียนองค์แรกที่ได้มาอยู่ที่วัดนี้ ในขณะนั้นคุณพ่อเฟลิเช บอสโซ มีอายุ 42 ปี คุณพ่อได้ออกไปเยี่ยมครอบครัวคริสตชนท่าหว้า ท่าเรือ ไร่ขนุน เกาะจิก ท่ามะกา ท่าใหม่ และดอนแจง และหลังจากหนึ่งปีแห่งการเสียสละและอดทนในงานอภิบาล คุณพ่อก็สามารถทำให้หลายครอบครัวกลับมาเป็นคริสตชนที่ศรัทธามากขึ้น ได้โปรดศีลล้างบาปและศีลสมรสอย่างถูกต้องให้กับหลายๆ ครอบครัว
ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ.1934 มีสามเณรฝึกงานสองคนและภราดาอีกสองคน สามเณรเดลฟิโน เครสปิ (Delfino Crespi) ช่วยงานในโรงเรียนเกษตร สามเณรหลุยห์จีโฟลิอาตี (Luigi Foliati) ช่วยงานที่วัดและดูแลนักเรียนประจำ
เดือนมิถุนายน ค.ศ.1936 คุณพ่อการ์โล เดลลา โตร์เร (Carlo Della Torre) ได้มาอยู่เป็นพ่อปลัดและรับผิดชอบโรงเรียนด้วยซึ่งในตอนนั้นยังเป็นโรงเรียนเล็กๆ และในเดือนกันยายน ค.ศ. 1937 คุณพ่อการ์โล เดลลา โตร์เร ได้ย้ายไปอยู่ที่ท่าม่วง
ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1937 ก็มีธรรมทูตใหม่ คุณพ่อฟาวิตตามาช่วยคุณพ่อบอสโซอีกคนหนึ่ง คุณพ่อซัลวาโตเร ฟาวิตตา เกิดที่เกาะซีซีลี ประเทศอิตาลี ได้เข้าเป็นซาเลเซียน และบวชเป็นพระสงฆ์ที่นั่น ท่านได้มาถึงประเทศไทย ในวันที่ 5 ตุลาคม ค.ศ. 1935 ท่านได้เรียนภาษาไทย และวัฒนธรรมไทย ที่บางนกแขวก เป็นเวลา 1 ปีครึ่ง หลังจากนั้นได้รับมอบหมายให้มาช่วย คุณพ่อบอสโซ ที่ท่าหว้า
คุณพ่อฟาวิตตา (Salvatore Favitta) ได้เอาใจใส่เป็นพิเศษต่อคริสตชนที่อยู่ตามชนบททางตะวันออกของท่ามะกาไปทางกำแพงแสน บริเวณลูกแก สนามแย้ ห้วยกระบอก ดอนขมิ้น หนองไร่ ท่าเรือ ทุ่งลูกนก ในเดือนมิถุนายน และกรกฎาคม ปี ค.ศ. 1938 คุณพ่อก็ได้อุทิศตนเพื่องานอภิบาลในที่เหล่านี้เป็นพิเศษโดยหยุดพักแรมในแต่ละแห่งเป็นเวลาหลายวัน
ระหว่างวันที่ 9-12 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1938 คุณพ่อฟาวิตตาได้เขียนในบันทึกรายวันเกี่ยวกับเรื่องการเดินทางไปเยี่ยมกลุ่มคริสตชน ที่ทุ่งลูกนกว่า หลังจากได้เยี่ยมคริสตชนที่ดอนขมิ้น และท่าเรือ ท่านได้ไปถึงที่ทุ่งลูกนก ได้ถวายมิสซาบูชาขอบพระคุณ โดยที่คริสตชนมาร่วมกันหลายคน ท่านได้สอนคำสอนด้วย และได้เชิญสัตบุรุษให้เดินทางไปที่ท่าหว้าวันที่ 17 กุมภาพันธ์ เนื่องในโอกาสที่มีพระสมณทูต อันโตนีโอ ดราปีเอ มาเยี่ยมที่วัดท่าหว้า
ระหว่างวันที่ 16-22 พฤษภาคม ค.ศ.1938 คุณพ่อฟาวิตตา ได้ไปเยี่ยมกลุ่มคริสตชนเล็กๆ เหล่านี้อีกครั้งหนึ่ง เพื่อเชิญพวกเขาให้มาร่วมฉลองวัดที่ท่าหว้า ในวันที่ 24 พฤษภาคม เพราะว่าพระคุณเจ้าปาซ๊อตตีจะมาเป็นประธาน ในโอกาสนี้ ที่ทุ่งลูกนก มีคริสตชนประมาณ 30 คน มาร่วมพิธีมิสซาบูชาขอบพระคุณ และรับศีลมหาสนิท ท่านยังได้ช่วยเตรียมคู่สมรสอีก 2-3 คู่ เพื่อโปรดศีลสมรสในครั้งต่อไป
ในวันที่ 20 มิถุนายน ค.ศ.1938 คุณพ่อฟาวิตตาได้เขียนในบันทึกประจำวันว่า เวลาประมาณ 10.00 ข้าพเจ้าพร้อมกับผู้ช่วยอีก 5 คน ได้ออกจากท่าเรือ และมาถึงที่ทุ่งลูกนกเวลา 18.30 น. อย่างลำบากเนื่องจากฝนตกหนักซึ่งทำให้ถนนที่เป็นดินกลายเป็นดินโคลน ในตอนเย็นมีการฉายสไลด์เกี่ยวกับพระมหาทรมานของพระเยซูเจ้าและคุณพ่อบอสโก ต่อจากนั้นจบด้วยการภาวนาร่วมกัน ในวันที่ 21 มิถุนายน มีการถวายมิสซาบูชาขอบพระคุณที่บ้านผู้ใหญ่คู้ ซึ่งมีผู้มาร่วมมากพอสมควร และมีผู้รับศีลมหาสนิทถึง 16 คน ที่นี่คุณพ่อได้จัดให้มีการชุมนุมและอบรม เกี่ยวกับศีลสมรสและศีลล้างบาปด้วย และได้อบรมจนถึงเวลา 18.00 น. ในวันที่ 22 มิถุนายน มีการโปรดศีลสมรสให้แก่ลูกชายของผู้ใหญ่คู้ มีการถวายมิสซาบูชาขอบพระคุณ และมีการอบรมคำสอนเกือบตลอดวัน
ในวันที่ 23 มิถุนายน ได้มีการถวายมิสซาบูชาขอบพระคุณอีกครั้งหนึ่ง ต่อจากนั้น คุณพ่อฟาวิตตาได้เดินทางประมาณ 1 ชั่วโมง ไปถึงบ้านของนายเส้ง เหลียง และที่นี่คุณพ่อได้เสกกางเขนขนาดใหญ่ ซึ่งอยู่ใกล้บ้านของนายเส้ง เหลียง (เรื่องเล่าในบันทึกของท่าหว้า เดือนมิถุนายน ค.ศ.1938 ในเอกสารซาเลเซียน) และคุณพ่อยังได้ไปเยี่ยมครอบครัวซึ่งอยู่บริเวณนั้นด้วย
ในวันที่ 24-25 มิถุนายน คุณพ่อฟาวิตตาได้ใช้เวลาเยี่ยมเยียน และอบรมคำสอน คุณพ่อกลับมาที่วัดท่าหว้า ในวันที่ 26 มิถุนายน ปีเดียวกันนั้นเอง เมื่อคุณพ่อฟาวิตตาได้ย้ายไปอยู่ที่ท่าม่วง คุณพ่อเจ้าอาวาสองค์ใหม่ คือ คุณพ่อกาวัลลา (ปี ค.ศ.1940-1943) ได้เดินทางมาเยี่ยมเยียนกลุ่มคริสตชนเหล่านี้เป็นประจำทุกเดือน ต่อมาคุณพ่อหลุยส์จิ ฟอลิอาตี ซึ่งในตอนแรกท่านเป็นคุณพ่อปลัดที่ท่าหว้า (ปี ค.ศ.1941-1948) และต่อมาได้เป็นเจ้าอาวาสที่ท่าหว้า ท่านได้รับหน้าที่ให้เดินทางไปเยี่ยมเยียนกลุ่มคริสตชนที่วัดเล็กๆ แทนคุณพ่อหลุยส์ ฟอลิอาตี
ในปี ค.ศ.1954 มีการเปิดโรงเรียนเทพพิทยาที่ห้วยกระบอก จึงมีคุณพ่อเซี่ยงเก่ง มุ่ยเส็ง มาอยู่ประจำที่ห้วยกระบอก และท่านก็ได้เดินทางไปเยี่ยมกลุ่มคริสตชนเล็กในบริเวณนั้น แทนคุณพ่อเจ้าอาวาสวัดท่าหว้าต่อไป ตั้งแต่นี้ไปทุ่งลูกนกก็อยู่ในความรับผิดชอบของคุณพ่อเจ้าอาวาสที่ห้วยกระบอก แต่เนื่องจากไม้กางเขนที่คุณพ่อฟาวิตตาได้เสกและบ้านของนายเส้ง เหลียง อยู่ในเขตสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ทางอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ได้เปิดวัดนักบุญมัทธิว ที่ทุ่งลูกนก
กางเขนที่คุณพ่อฟาวิตตาได้เสกวันที่ 23 มิถุนายน ค.ศ. 1938 นั้น ปัจจุบันยังอยู่ในบริเวณวัดนักบุญมัทธิว ซึ่งเป็นบ้านเก่าของนายเส้ง เหลียง ที่ได้รับการปรับปรุง ต่อเติม และตกแต่งอย่างสวยงาม ทุกอาทิตย์มีคุณพ่อเจ้าอาวาส จากบางเลนเดินทางมาถวายมิสซาบูชาขอบพระคุณที่นี่
ประวัติความเป็นมา ของไม้กางเขนเก่าแก่
ที่วัดนักบุญมัทธิว ทุ่งลูกนก
ในวันที่ 23 มิถุนายน ได้มีการถวายมิสซาบูชาขอบพระคุณอีกครั้งหนึ่ง ต่อจากนั้น คุณพ่อฟาวิตตาได้เดินทางประมาณ 1 ชั่วโมง ไปถึงบ้านของนายเส้ง เหลียง และที่นี่คุณพ่อได้เสกกางเขนขนาดใหญ่ ซึ่งอยู่ใกล้บ้านของนายเส้ง เหลียง (เรื่องเล่าในบันทึกของท่าหว้า เดือนมิถุนายน ค.ศ. 1938 ในเอกสารซาเลเซียน) และคุณพ่อยังได้ไปเยี่ยมครอบครัวซึ่งอยู่บริเวณนั้นด้วย
ในวันที่ 24-25 มิถุนายน คุณพ่อฟาวิตตาได้ใช้เวลาเยี่ยมเยียน และอบรมคำสอน คุณพ่อกลับมาที่วัดท่าหว้า ในวันที่ 26 มิถุนายน ปีเดียวกันนั้นเอง
เมื่อคุณพ่อฟาวิตตาได้ย้ายไปอยู่ที่ท่าม่วง คุณพ่อเจ้าอาวาสองค์ใหม่ คือคุณพ่อกาวัลลา (ปี ค.ศ.1940-1943) ได้เดินทางมาเยี่ยมเยียนกลุ่มคริสตชนเหล่านี้เป็นประจำทุกเดือน ต่อมาคุณพ่อหลุยส์จิ ฟอลิอาตี ซึ่งในตอนแรกท่านเป็นคุณพ่อปลัดที่ท่าหว้า (ปี ค.ศ. 1941-1948) และต่อมาได้เป็นเจ้าอาวาสที่ท่าหว้า ท่านได้รับหน้าที่ให้เดินทางไปเยี่ยมเยียนกลุ่มคริสตชนที่วัดเล็กๆ แทนคุณพ่อหลุยส์ ฟอลิอาตี
ในปี ค.ศ. 1954 มีการเปิดโรงเรียนเทพพิทยาที่ห้วยกระบอก จึงมีคุณพ่อเซี่ยงเก่ง มุ่ยเส็ง มาอยู่ประจำที่ห้วยกระบอก และท่านก็ได้เดินทางไปเยี่ยมกลุ่มคริสตชนเล็กในบริเวณนั้น แทนคุณพ่อเจ้าอาวาสวัดท่าหว้าต่อไป ตั้งแต่นี้ไปทุ่งลูกนกก็อยู่ในความรับผิดชอบของคุณพ่อเจ้าอาวาสที่ห้วยกระบอก แต่เนื่องจากไม้กางเขนที่คุณพ่อฟาวิตตาได้เสกและบ้านของนายเส้ง เหลียง อยู่ในเขตสังฆมรฑลกรุงเทพฯ ทางอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ได้เปิดวัดนักบุญมัทธิว ที่ทุ่งลูกนก
กางเขนที่คุณพ่อฟาวิตตาได้เสกวันที่ 23 มิถุนายน ค.ศ. 1938 นั้น ปัจจุบันยังอยู่ในบริเวณวัดนักบุญมัทธิว ซึ่งเป็นบ้านเก่าของนายเส้ง เหลียงที่ได้รับการปรับปรุง ต่อเติม และตกแต่งอย่างสวยงาม ทุกอาทิตย์มีคุณพ่อเจ้าอาวาส จากบางเลนเดินทางมาถวายมิสซาบูชาขอบพระคุณที่นี่
คริสตังวัดแม่พระที่พึ่ง ท่าหว้า กาญจนบุรี ได้ย้ายมาอยู่ที่กำแพงแสนเมื่อประมาณปี ค.ศ.1870 โดยมีพระสงฆ์ชาวฝรั่งเศส ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสวัดท่าหว้าขี่ม้ามาเยี่ยมเยือนและทำมิสซาให้โดยใช้บ้านของสัตบุรุษเป็นวัดชั่วคราว ต่อมาคุณพ่อหลุยส์ ฟอเลียร์ พระสงฆ์คณะซาเลเซียน ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสวัดท่าหว้า ได้มาเยี่ยมเยือน สอนคำสอน และใช้บ้านของสัตบุรุษเป็นที่ทำมิสซา และได้จัดทำไม้กางเขนขึ้นอันหนึ่งปักไว้บริเวณวัดชั่วคราว
คุณพ่อเซี่ยงเก่ง หมุยเส็ง เป็นผู้มาดูแลคริสตังที่นี่ต่อจากคุณพ่อหลุยส์โดยมีครูคำสอนชื่อนายสงคราม ช้อยเครือ จากวัดนักบุญเทเรซา ห้วยกระบอก มาช่วยสอนคำสอนให้ เนื่องจาก คุณพ่อที่มาดูแลมีงานประจำที่ต้องรับผิดชอบ ดังนั้นในบางครั้งท่านจึงไม่สามารถมาทำมิสซาให้แก่คริสตังที่นี่ได้ พวกเขาจึงต้องเข้าวัดฟังมิสซาที่วัดห้วยกระบอก ในระหว่างปี ค.ศ. 1981-1986 คุณพ่อบุญส่ง หงส์ทอง ได้มาดูแล คุณพ่อมาทำมิสซาให้เดือนละครั้ง สอนคำสอน และโปรดศีลศักดิ์สิทธิ์ให้ ในเวลานั้นคริสตังที่นี่มี 7 ครอบครัว ประมาณ 50 คน และยังคงใช้บ้านสัตบุรุษเป็นที่ทำมิสซา
ประมาณปี ค.ศ.1990 พระคาร์ดินัลไมเกิ้ล มีชัย กิจบุญชู ได้ซื้อที่ดินและบ้านหลังหนึ่งเนื้อที่ประมาณ 21 ไร่ ในราคา 4 ล้านบาทเศษ บ้านหลังนี้เป็นบ้านเรือนไทยใต้ถุนสูง และได้ปรับปรุงใช้เป็นวัด พร้อมกับย้ายกางเขนจากสถานที่ที่เคยใช้เป็นวัดเดิมมาปักไว้บริเวณด้านหน้า ตรงปากทางเข้าวัด ส่วนพระแท่นหินอ่อนภายในวัดได้รับบริจาคจากสัตบุรุษวัดนักบุญเปโตร สามพราน ในวันที่ 22 กันยายน ค.ศ.1990 ได้มีพิธีเปิดวัดใหม่และจัดฉลองเป็นครั้งแรก โดยมีพระคาร์ดินัลไม่กิ้ล มีชัย กิจบุญชู เป็นประธานในพิธี และในโอกาสนี้พระคาร์ดินัลได้ตั้งชื่อวัดนี้ว่า วัดนักบุญมัทธิว และมอบหมายให้คุณพ่อยอแซฟ อติญาณ พงษ์หว่าน เจ้าอาวาส
วัดนักบุญอันเดร บางภาษี เป็นผู้ดูแลวัดนี้ ต่อมาในปี ค.ศ.1991-1999 พระคาร์ดินัลได้แต่งตั้งคุณพ่ออติญาณ เป็นเจ้าอาวาสวัดบางภาษี และให้เป็นเจ้าอาวาสวัดนักบุญมัทธิวด้วย
คุณพ่อ ยอห์น ไพริน เกิดสมุทร ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้ดูแลในปี ค.ศ. 1999-2004
คุณพ่อ หลุยส์ ธนันชัย กิจสมัคร ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้ดูแลในปี ค.ศ. 2004-2009
คุณพ่อ ยอแซฟ กิตติศักดิ์ กาญจนธานินทร์ ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาส ค.ศ. 2009-2013
ปี ค.ศ. 2012 จัดพิธีมิสซาแต่งงานแบบต่างฝ่ายต่างถือ ใช้วัดเป็นที่ประกอบพิธีเป็นคู่แรก
คุณพ่อวรยุทธ กิจบำรุง ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาส ค.ศ. 2013-2015
เมื่อปลายปี ค.ศ. 2013 วัดนักบุญมัทธิว ได้รับการประกาศให้เป็นวัดนำร่องเรื่องงานประกาศข่าวดีสู่ปวงชน (Ad Gentes) โดยมอบให้คุณพ่อวุฒิไกร เป็นผู้รับผิดชอบ
เริ่มเตรียมปรับปรุงวัดวัดให้พร้อมสำหรับงานประกาศขาวดีมีการเปลี่ยนเวลามิสซา เป็น 10.00 น.
โครงการสอนความรู้ปันน้ำใจสู่น้อง หลังมิสซา เวลาประมาณ 11.00 น. -12.00 น. รวมเด็กๆประมาณ 7 คน มาร่วมกิจกรรม เช่น เรียนภาษาอังกฤษ ฝึกทักษะ และกิจกรรม เช่น การทำเทียนถ้วย ฯลฯ โดยมีกลุ่มชมรมนักศึกษาคาทอลิก ม.เกษตรกำแพงแสนเป็นผู้ร่วมงาน
คุณพ่อสมพร เส็งเจริญ ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาส ค.ศ. 2015-2016
ฉลอง 25 ปี ชุมชนแห่งความเชื่อวัดนักบุญมัทธิว ทุ่งลูกนก ได้จัดฉลองร่วมกับงานฉลองวัด โดยพระสงฆ์ใหม่ อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ เป็นประธาน
คุณพ่อธนันต์ธง สุขสุทิพย์ ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาส ค.ศ. 2016- 2024
ปี ค.ศ. 2016 มีการฟื้นฟูความเชื่อ อาศัยกิจศรัทธา ให้สัตบุรุษได้มีส่วนร่วมในกิจกรรม ในพิธี ฯลฯ
งานแพร่ธรรมกับคนต่างศาสนา ผ่านทางการเยี่ยมเยียนผู้สูงอายุ คนด้อยโอกาส (เด็ก/คนถูกทอดทิ้ง) การให้ความช่วยเหลือผู้ยากไร้ (ทั้งฟากหนองศาลาและหนองจิก) การสำรวจพื้นที่ที่ไม่ได้ลงมือกับคนเท่านั้น แต่รวมไปถึงบรรดาสัตว์เลี้ยง (โครงการวัคซีนป้องกันโรคในสัตว์) โดยมี สพ.ญ.วุฒิพร ลิ้มประสูตร และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ศูนย์ทดลอง/สัตวแพทย์) มาให้ความช่วยเหลือ กิจกรรมกับเด็กๆ ได้แก่ ดนตรีไทย การให้ความรู้ด้านต่างๆ เพื่อให้การพัฒนาคุณภาพชีวิตพร้อมกันไปกับความรู้และคุณธรรม
ตั้งแต่ ปี ค.ศ. 2016 สามเณรจากคณะธรรมทูตไทย (TMS) มาฝึกงานอภิบาลที่วัด โดยคุณพ่อคมทวน สุขสุทิพย์ อธิการสามเณรได้ส่งสามเณรมาฝึกงาน ปี ค.ศ. 2017 ยังคงมีสารเณรมาฝึกงานเช่นเดิม
อาคารสถานที่โดยรอบวัด ค่อยๆ เป็นระเบียบมากขึ้น จากต้นไม้และความกลมกลืนต่างๆ สำหรับวัดในตอนกลางวัน เปิดไว้เพื่อให้บริการแก่สัตบุรุษ ผู้แวะเวียนมาเยี่ยมวัด ชาวพุทธที่มาขอพรท่านนักบุญ
ปี ค.ศ. 2018 คุณพ่อบัญชา วงษ์วุฒิพงศ์ อธิการสามเณรแสงธรรม คณะธรรมทูตไทย (TMS) ได้ส่งบราเดอร์มาทำงานอภิบาลที่วัด งานแพร่ธรรมได้ขยายวงกว้างออกไปมากขึ้น เลยไปจนถึงโรงเรียนอ้อกระทุง
การเยี่ยมเยียนในรายสัปดาห์อย่างเข้มข้นและต่อเนื่องมากยิ่งขึ้น โดยมีอุปกรณ์ช่วยเหลือในการเยี่ยมเยียน ทั้งอุปกรณ์วัดความดัน, เครื่องตรวจน้ำตาล ฯลฯ ในทุกๆ วันพุธ ซิสเตอร์คณะกางเขนแดงจากราชบุรี มาร่วมสมทบและเป็นกำลังหลัก ทำให้งานแพร่ธรรมดำเนินไปเป็นรูปเป็นร่าง มีความก้าวหน้ามาก
มีกลุ่มกิจการคาทอลิก มีการประชุม สวดภาวนาเป็นประจำทุกๆ เดือน และได้รับกำลังใจจากการเยี่ยมเยียนเป็นประจำสม่ำเสมอ
กลุ่มพระเมตตาจากวัดแม่พระสกลสงเคราะห์ (บางบัวทอง) มาเยี่ยมเยียนบ่อยๆ และเริ่มให้ความสนใจในการทำกิจเมตตา ในการร่วมมือในงานแพร่ธรรมของวัด มีความปรารถนาจะออกเยี่ยมและทำงานของวัดร่วมกันกับพระสงฆ์เช่นกัน
อาคารและสถานที่โดยรอบ มีความเป็นระเบียบเรียบร้อย แม้จะเริ่มทรุดโทรมและถูกรุกรานจากปลวกยังคงต้องการการดูแล บำรุงรักษาอย่างเข้มงวด จริงจัง มีชาวพุทธมาเข้าวัดในวันอาทิตย์หนาตาขึ้น
ปี ค.ศ. 2019 คุณพ่อเปาโลไตรรงค์ มุลตรี อธิการสามเณรธรรมทูตใหญ่คณะธรรมทูตไทย (TMS) ได้ส่งบราเดอร์ยอห์นศุภมัสต์ นาวีพัฒนา และบราเดอร์เปโตร มอแล คะหล่า มาทำงานอภิบาลที่วัด งานแพร่ธรรมยังคงดำเนินต่อไป มีการเชิญผู้เจ็บป่วย ไปรับและมาแบ่งปันประสบการณ์ชีวิตให้เด็กๆ ได้ฟังในบางอาทิตย์ ทั้งนี้ เพื่อให้เด็กๆ ได้ฟังประสบการณ์และความยากลำบากผ่านทางประสบการณ์และความเจ็บไข้ได้ป่วยของพวกเขา
วันที่ 18 เมษายน วันพฤหัสศักดิ์สิทธิ์ พระคาร์ดินัลฟรังซิสเซเวียร์ เกรียงศักดิ์ โกวิทวาณิช มาเป็นประธานในพิธีระลึกถึงอาหารค่ำและล้างเท้า มีผู้มาร่วมพิธีเต็มวัดทั้งชาวคริสต์และชาวพุทธ
มีเด็กๆ กลุ่มใหม่มาเพิ่มอีกทั้งนี้ เนื่องจากพ่อแม่จากที่ต่างๆ เห็นตัวอย่าง เรื่องมารยาท การพูดจา การปฏิบัติตัวของเด็กๆ ที่มาร่วมกิจกรรมที่วัดเป็นประจำ เด็กเหล่านี้เป็นกระบอกเสียง ได้อย่างดี เด็กๆที่ขาดและเกินมีพัฒนาการดีขึ้น โดยอาศัยกิจกรรมการวาดรูป การเล่านิทาน และกิจกรรมในเชิงสร้างสรรค์
การเยี่ยมเยียนในรายสัปดาห์ดำเนินอย่างเข้มข้นและต่อเนื่องมากยิ่งขึ้น ต่อไป โดยมีอุปกรณ์ช่วยเหลือในการเยี่ยมเยียน ทั้งอุปกรณ์วัดความดัน, เครื่องตรวจน้ำตาล ฯลฯ ในทุกๆวันพุธ ซิสเตอร์คณะกางเขนแดงจากราชบุรีมาร่วมสมทบและเป็นกำลังหลัก ทำให้งานแพร่ธรรมดำเนินไปเป็นรูปเป็นร่าง มีความก้าวหน้ามาก
เดือนพฤศจิกายนในช่วงที่สมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิสเสด็จเยือนไทยที่วัดจัดรถและได้มีโอกาสพาสัตบุรุษไปร่วมพิธีมิสซาสำหรับเยาวชนที่อาสนวิหารอัสสัมชัญ เด็กๆ และเยาวชนของวัด ได้เข้าร่วมพิธีมิสซาในอาสนวิหารด้วยต่างมีความประทับใจ
นักศึกษาแพทย์จาก ม.เกษตรกำแพงแสนที่เป็นคาทอลิกได้เชิญชวนเพื่อนนักศึกษาแพทย์ (พุทธ) มาร่วมกิจกรรมที่วัด โดยเฉพาะในวันคริสต์มาสและโอกาสสำคัญๆ ต่างๆ
มีชาวเยอรมันหลายคนที่มาแต่งงานกับชาวไทยมาเข้าวัดในวันอาทิตย์ คนกลุ่มนี้เริ่มมีจำนวนหลายท่านมากขึ้น ซึ่งต้องการการอภิบาลเช่นกัน
ปี ค.ศ. 2020 ในช่วงสถานการณ์โควิดระบาดและอยู่ในการเฝ้าระวังเข้มงวด วัดเป็นดังสถานเลี้ยงเด็กและให้ความบรรเทา เด็กๆ ที่ด้อยโอกาสทั้งหลาย บางบ้านไม่มีเครื่องมือสื่่อสาร พ่อแม่ผู้ปกครองจึงพามาที่วัด ให้พวกเขาได้เรียนรู้ โดยที่วัดได้ให้พวกเขาเรียนผ่านจอ TV ในระบบ Online ต่างๆเท่าที่สามารถ
ปี ค.ศ. 2021
- วัดเป็นศูนย์กลางในการกระจายสิ่งของและการให้ความช่วยเหลือชาวบ้านและผู้ตกทุกข์ได้ยาก ในสถานการณ์โควิดแพร่ระบาดตลอดปี
- มาตราการที่ภาครัฐกำหนด มีความเข้มข้น แม้วัดจะเป็นศูนย์กลางในการให้ความช่วยเหลือ การให้ความช่วยเหลือและการปฏิบัติตาม กลับเป็นประโยชน์ เนื่องจากการปฏิบัติตามส่งผลให้เป็นแบบอย่างและตัวอย่างที่ดีให้กับผู้ที่ได้แวะเวียนเข้ามายังวัด
- ในช่วงสถานการณ์โควิดระบาดและอยู่ในการเฝ้าระวังเข้มงวด วัดเป็นดังสถานเลี้ยงเด็กและให้ความบรรเทา เด็กๆ ที่ด้อยโอกาสทั้งหลาย โดยการได้รับการอนุโลมจากหน่วยงานภาครัฐ ให้สามารถดำเนินการ ซึ่งมีเจ้าหน้าที่มาให้ความช่วยเหลือและดูแล เด็กๆ หลายบ้านไม่มีเครื่องมือสื่อสาร พ่อแม่ผู้ปกครองจึงพามาที่วัด ให้พวกเขาได้เรียนรู้ โดยที่วัดได้ให้พวกเขาเรียนผ่านจอ TV ในระบบ Online ต่างๆ เท่าที่สามารถ
ปี ค.ศ. 2022
- กิจกรรมต่างๆ ของวัดเริ่มต้นปีด้วยความคึกคัก และเริ่มเป็นรูปเป็นร่างมากขึ้น โดยเฉพาะกิจการเกี่ยวกับงานแพร่ธรรมกับคนต่างศาสนา ตามที่ได้รับเป็นนโยบายจากพระสังฆราช ซึ่งแม้จะมีความจำกัดในหลายประการโดยเฉพาะในเรื่องงบประมาณ ก็ยังคงพยายามทำอย่างเต็มที่เต็มกำลัง
- คงสืบโครงการปีที่ผ่านมา นั่นคือโครงการเยี่ยมเยียนผู้สูงอายุ คนด้อยโอกาส เด็ก ผู้ถูกทอดทิ้ง แต่ไม่สามารถทำได้อย่างเต็มที่ เนื่องจากความจำกัดของงบประมาณที่ได้รับอนุมัติ
- งานโครงการเกี่ยวกับคนชรา คนติดเตียง ผู้ป่วยที่ต้องการการดูแลเอาใจใส่เป็นพิเศษ ลดน้อยลงตามกำลัง
- โครงการฉีดวัคซีนสำหรับสัตว์โดย สพญ.ดร วุฒิพร ลิ้มประสูติและคณะ ดำเนินการต่อตามจำนวนวัคซีนที่ได้รับบริจาค
- กิจกรรมกับเด็กๆ(ดนตรีสากล ดนตรีไทย) เลี้ยงอาหารเด็กๆ ลดปริมาณลงเหลือไม่ถึง 10%
- งานศาสนสัมพันธ์ (กับวัดต่างๆ โดยรอบ) คงเหลือไว้เพียงการเยี่ยมเยียนเท่านั้น
- งานด้านสังคมและการพัฒนาคุณภาพชีวิต (ทำร่วมกันกับ อบต. และชุมชน) -แจ้งแก่กลุ่มตามที่จดหมายได้ระบุไว้
- การฟื้นฟูความเชื่อคริสตชน (ที่ล้างบาปแล้ว) เหลือเพียงการเยี่ยมเยียน
- งานเมตตาสงเคราะห์เพื่อการประกาศข่าวดีของพระกับคนต่างศาสนาในระดับต่างๆ (เด็ก/เยาวชน/ผู้ใหญ่) เกี่ยวกับงานด้านเมตตาสงเคราะห์กับเด็กๆ งดทั้งหมด เนื่องจากไม่มีปัจจัยในการให้การช่วยเหลือจากความจำกัดของงบประมาณที่ได้รับ
- เกี่ยวกับอาคารสถานที่ อาคารต้องการดูแลเพื่อให้เสื่อมสภาพอย่างช้าที่สุด เนื่องจากความทรุดโทรมทั้งตามกาลเวลา และการถูกรุกรานจากสัตว์ (ปลวก/แมลงกินเนื้อไม้) ได้เพียรพยายามอย่างเต็มที่ (ตามปัจจัยที่มีและได้รับการสนับสนุน) แต่ก็ไม่อาจหยุดยั้งได้ทั้งหมด โดยเฉพาะจากสัตว์และแมลงกินเนื้อไม้ ปัจจัยจากการสั่นสะเทือน ที่เนื่องจากอาคารอยู่ใกล้ถนน การที่รถใหญ่ รถบรรทุกดิน ซึ่งบรรทุกน้ำหนักที่อาจมากเกินกำหนด ทำให้เกิดการทรุดตัวของอาคาร และแนวไม้ที่เข้ายึดไว้ มีการเผยออกเป็นอันตรายต่อการพัฒนาอาศัยและการใช้อาคาร โดยเฉพาะอาคารหลัก (วัด)
- เกี่ยวกับสัตบุรุษ ยังคงต้องมีการฟื้นฟูคำสอน ความเชื่อ ติดตาม และกระตุ้นต่อไป เพื่อให้เกิดการปฏิบัติศาสนกิจอย่างต่อเนื่อง และมีความศรัทธาร้อนรน มั่นคง เข้มแข็ง เป็นตัวอย่างที่ดีในภาคปฏิบัติ ซึ่งก็เห็นพัฒนาการและการตอบรับเป็นไปในทิศทางที่ดีขึ้น สำหรับผู้ที่ทิ้งความความเชื่อไปแล้ว ต้องอาศัยเวลา พบปะ รับฟัง ฯลฯ ในสภาพแวดลอมของเขาโดยมีเป้าหมายให้กลับเข้ามาปฏิบัติชีวิตความเชื่ออีกครั้ง ซึ่งเอาเข้าจริงๆ พบว่า มีผู้ที่ได้ล้างบาป (ทั้งจากที่วัดและไม่ได้มีการบันทึกไว้ รวมถึงผู้ที่ย้ายถิ่นฐานที่พำนัก เข้ามาอยู่ในเขตการปกครองของวัด จากการออกไปเยี่ยมเยียน และชาวพุทธที่อยู่ในละแวกบ้านที่เข้ามาอยู่อาศัย มีรูปพรรณและแจ้งให้ทางวัดทราบ) โดยได้มีการปฏิบัติความเชื่อแบบพุทธไปแล้วเสียทั้งหมด บางส่วนขอเอารูปพระมาคืน/หรือเมื่อไปเยี่ยมเยียนที่บ้าน
- กิจกรรมต่างๆ ในด้านการแพร่ธรรม งานด้านสังคมสงเคราะห์ ด้านศักดิ์ศรีและคุณค่าความเป็นมนุษย์ ชะลอตัวลงอย่างช้าๆ เนื่องจากความจำกัดด้านงบประมาณ (ซึ่งถือเป็นปัจจัยหลักในการทำงาน) สิ่งที่ยังคงอยู่และดำเนินไป มีเพียงการเยี่ยมเยียน พบปะ พูดคุยและให้กำลังใจเท่านั้น ส่วนการให้ความช่วยเหลือ พาไปโรงพยาบาลให้การรักษา อาหาร เครื่องนุ่งห่ม และปัจจัยอื่นๆ สิ้นสุดลงอย่างสิ้นเชิงในเดือนมิถุนายน สืบเนื่องจากความจำกัดด้านงบประมาณที่วัดได้รับ และน่าจะเป็นการยากที่จะเริ่มต้น เนื่องจากความไว้วางใจที่กว่าจะเริ่มต้นขึ้นได้ ซึ่งใช้เวลาไม่น้อย โดยเหตุการณ์ดังกล่าวนี้เกิดขึ้นเป็นระยะๆ ก่อนหน้าแล้ว และการเริ่มต้นใหม่อีกครั้ง ยิ่งมีความยากลำบากยิ่งขึ้น
- แนวโน้มเรื่องความเชื่อและการกลับใจ มีความเป็นไปได้มากขึ้น มีผู้ให้ความสนใจที่จะศึกษา แสวงหาความรู้ ความเข้าใจและการอยู่ร่วมกัน (แม้จะมีความแตกต่างกันในการปฏิบัติความเชื่อก็ตาม)
ปี ค.ศ. 2023
- วันที่ 17 พฤษภาคม พายุฤดูร้อนพัดใส่บ้านทำให้เกิดความเสียหายแก่หลังคา ในส่วนที่เป็นห้องครัว ทำให้ทราบว่าส่วนต่อเติมดังกล่าวไม่มีความแข็งแรง บางส่วนไม่ได้ล็อคตะปูไว้ ทำให้หลังคาเปิด และเกิดความเสียหาย เนื่องจากลมพัดกระพือแรงมาก
- วันที่ 20 พฤษภาคม เกิดสัญญาณไฟฟ้ารั่ว และลัดวงจร จากภายนอก และเกิดผลกระทบกับเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในวัด เจ้าหน้าที่จากการไฟฟ้า มาดำเนินการวัดค่าไฟฟ้า และแจ้งให้ทราบว่า ต้องรีบดำเนินการเปลี่ยนและ switch ระบบกับระบบสายส่งภายนอก
- วันที่ 23 - 25 พฤษภาคม เจ้าหน้าที่การไฟฟ้ามาเปลี่ยนระบบและสายสัญญาณไฟที่เข้ามาที่วัด ให้สัมพันธ์กับสายส่งสัญญาณที่เปลี่ยนแปลงกับภายนอก
- ช่วงก่อนหน้าวันที่ 19 กันยายน มีฝนและลมแรงตลอดสัปดาห์ ในที่สุด วันที่ 19 กันยายน ในช่วงเย็นลมแรงพร้อมด้วยฝนกระหน่ำอย่างหนัก จนกระทั่งหลังคาที่อยู่ห้องครัวปลิวไป ขณะเดียวกันทำให้เห็นถึงความสะเพร่าที่เกิดจากช่าง ที่ไม่ได้ตอกตะปูที่คาน และแปวางหลังคา ทำให้แปและคานพลิก หลังคาจึงเกิดการทรุดตัว ทำให้น้ำไหลลงมาเจิ่งทั่วห้องอาหาร ก่อความเสียหายทั้งหลังคา และทรัพย์สินต่างๆ ขณะเดียวกัน มีไฟฟ้าช็อต เช้าวันรุ่งขึ้นจึงให้ช่างในหมู่บ้านหนองจิก ช่วยรื้อถอนส่วนที่เสียหายและเร่งดำเนินการรื้อหลังคา และเปลี่ยนใหม่โดยเร็ว เพื่อไม่เกิดความเสียหายมากขึ้น โดยเริ่มทำงานกันตั้งแต่เช้ามืด จนถึงราว 4 ทุ่ม ซึ่งในที่สุด จากการให้ความช่วยเหลือของชาวบ้านจะว่าไปแล้ว
- เดือนตุลาคม มีการสวดสายประคำตามบ้าน ทั้งบ้านชาวคริสต์และชาวพุทธ
- เดือนธันวาคม หลังเข้าเงียบประจำเดือน ได้รับเอกสารการรับรองวัดจากกรมศาสนา
- กิจกรรมส่งความสุขโอกาสคริสต์มาสและปีใหม่ในวันที่ 25 ธันวาคม และ 26 ธันวาคม ทั้งวันเด็กๆ ไปร่วมร้องเพลงและขอพรพระกุมารสำหรับเขาเหล่านั้น
- โครงการเยี่ยมเยียนผู้สูงอายุ คนด้อยโอกาส เด็ก ผู้ถูกทอดทิ้ง
- งานเกี่ยวกับคนชรา คนติดเตียง ผู้ป่วยที่ต้องการการดูแลเอาใจใส่เป็นพิเศษ
- โครงการฉีดวัคซีนสำหรับสัตว์โดย สพญ.ดร.วุฒิพร ลิ้มประสูติและคณะ
- กิจกรรมกับเด็กๆ เลี้ยงอาหารเด็กๆ
- งานศาสนสัมพันธ์ เยี่ยมเยียนในโอกาสวันสำคัญ
- งานด้านสังคมและการพัฒนาคุณภาพชีวิต
- การฟื้นฟูความเชื่อคริสตชน
- งานเมตตาสงเคราะห์เพื่อประกาศข่าวดีของพระกับคนต่างศาสนาในระดับต่างๆ
คุณพ่อศุภศิลป์ สุขสุศิลป์ ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาส ปี ค.ศ. 2024 - ปัจจุบัน
คุณพ่อสุทธิ ปุคะละนันท์ เป็นผู้รับผิดชอบและพักที่วัดนักบุญมัทธิว ทุ่งลูกนก ปี ค.ศ. 2024 - ปัจจุบัน
แผนที่การเดินทาง