ตั้งอยู่เลขที่ 1110/9 ถนนลาดพร้าว ห้าแยกลาดพร้าว ซ. 2
แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900
โทร. 0-2938-7783 โทรสาร 0-2938-7784
เมื่อปีค.ศ.1961 อาจารย์สมัย ชินะผา ได้ลาออกจากการเป็นครูใหญ่โรงเรียนเซนต์คาเบรียล จึงมาก่อตั้งโรงเรียนเซนต์จอห์น ร่วมกับอาจารย์สุมน ชินะผา อาจารย์มีความตั้งใจที่จะให้มีมิสซาบูชาขอบพระคุณในวันอาทิตย์ในโรงเรียน เพื่อบุคลากรคาทอลิกและสัตบุรุษที่อาศัยอยู่ย่านลาดพร้าวมีโอกาสร่วมพิธีกรรม
ใน ปี ค.ศ. 1962 มีมิสซาวันอาทิตย์เป็นครั้งแรก โดยคุณพ่อโรเชอโร ใช้ห้องเรียนชั้นสองของอาคารเรือนไม้ 2 ชั้น (แผนกอนุบาล) เป็นที่ประกอบพิธีกรรม
ต่อมาเมื่อมีการสร้างตึก 11 ชั้น จึงย้ายสถานที่มาที่ห้องประชุมชั้น 7 ของอาคาร 11 ชั้น แต่ต้องย้ายสถานที่อีกครั้งหนึ่งเพราะไม่สะดวกในการขึ้นลง จึงได้ย้ายมาที่อาคารชั้นเดียวที่ดัดแปลงเป็นวัดน้อย (ติดบ้านพักของอาจารย์สมัย) ผู้ที่มาร่วมพิธีมิสซาส่วนใหญ่เป็นครูและผู้ทำงานเกี่ยวข้องกับโรงเรียนซึ่งเป็นญาติพี่น้องในตระกูลชินะผา ปรีชาวุฒิ สังขรัตน์ ศุภลักษณ์ ดีสุดจิตร ผิวเกลี้ยง ราชพลพิจารณ์ ชมไพศาล ณรงค์รักษ์ รุ่งเรืองผล สุภาพ หนึ่งน้ำใจ จิตต์อำไพ และดาวพิเศษเป็นต้น รวมจำนวนประมาณหนึ่งร้อยคน
ต่อมาคุณพ่อตาปี อดีตเจ้าอาวาสวัดนักบุญฟรังซิสเซเวียร์ สามเสน เมื่อเกษียณอายุได้มาพักที่โรงเรียนเซนต์จอห์น อาจารย์สมัยได้ซื้อบ้านหลังหนึ่ง (ติดมหาวิทยาลัยในปัจจุบัน) ดัดแปลงเป็นวัดน้อย คุณพ่อได้ถวายมิสซาและดูแลกลุ่มคริสตชนจนถึงพระยกไป
นอกจากนั้นยังมีคุณพ่อเจ้าอาวาสวัดแม่พระฟาติมาดินแดง มาถวายมิสซาที่นี่ด้วยในบางโอกาส เช่น คุณพ่อแวรนีเอร์ และคุณพ่อมอริส โยลี เป็นต้น นอกนั้น ยังมีพระสงฆ์อื่นมาถวายมิสซาในโอกาสต่างๆ เช่น คุณพ่อหลุยส์ เอโม (จากคณะ SAM) คุณพ่อวีระ ผังรักษ์ จากสังฆมณฑลจันทบุรี คุณพ่อเศียรโชติพงษ์ เจ้าอาวาสวัดแม่พระนิจจานุเคราะห์ ระยอง คุณพ่อมารแชล เปเรต์ คุณพ่อปอล ลังฟังต์ และพระสงฆ์จากคณะธรรมทูตแห่งมารีนิรมล (OMI) ผลัดเปลี่ยนกันมาช่วยถวายมิสซาในวันอาทิตย์และวันศุกร์ต้นเดือน
ในปี ค.ศ. 1978 คุณพ่อปรีชา ธรรมนิยม และคุณพ่อเชวูเลต์ ได้ผลัดเปลี่ยนกันมาถวายมิสซาวันอาทิตย์และวันศุกร์ต้นเดือน สำหรับเด็กที่เกิ ดในระหว่างนี้ เมื่อได้รับศีลล้างบาปหรือศีลกำลัง จะบันทึกไว้ในทะเบียนของวัดแม่พระฟาติมา ดินแดง
ในปี ค.ศ. 1980 คุณพ่อไพโรจน์ สมงาม พระสงฆ์คณะมหาไถ่ ที่มาถวายมิสซาที่วัดนี้ในวันอาทิตย์ ได้เริ่มการทำพิธีนพวารแม่พระนิจจานุเค ราะห์ และยังคงทำต่อมาจนถึงปัจจุบัน หลังจากที่มีพิธีนพวารแม่พระนิจจานุเคราะห์ ปรากฏว่ามีสัตบุรุษมาวัดเพิ่มมากขึ้น จนบางครั้งต้องยืนเ พราะไม่มีที่นั่ง สำหรับการเตรียมเด็กรับศีลมหาสนิทครั้งแรกและศีลกำลัง อาจารย์สมัยได้ขอซิสเตอร์จากเซนต์โยเซฟคอนเวนต์มาทำการอบรมเด็ก การรับศีลมหาสนิทครั้งแรกและศีลกำลัง จะนำเด็กไปรับที่วัดแม่พระฟาติมา ดินแดง และบันทึกชื่อในทะเบียนของวัดแม่พระฟาติมา ดินแดง
ปี ค.ศ. 1981 พระอัครสังฆราช มีชัย กิจบุญชู ได้มอบหมายให้คุณพ่อลออ สังขรัตน์ ดูแลวัดเซนต์จอห์น พร้อมกับวัดน้อยโรงเรียนมารีสวรรค์ ที่ดอนเมือง และวัดน้อยที่สะพานใหม่ แทนคุณพ่อลังฟังต์ซึ่งได้เดินทางไปพักผ่อนต่างประเทศ คุณพ่อลออ ได้จัดทะเบียนศีลศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ สำหรับวัดเซนต์จอห์นและวัดมารีสวรรค์
ปี ค.ศ. 1983 คุณพ่อบัญชา ศรีประมงค์ ได้รับมอบหมายให้มาดูแลวัดเซนต์จอห์น โดยมีคุณพ่อลออเป็นผู้ช่วย เนื่องจากมีสัตบุรุษมาร่วมพิธี มิสซากันมากขึ้น ทำให้วัดคับแคบ ไม่สะดวกต่อการประกอบศาสนกิจจึงได้มีการตกลงกันที่จะสร้างวัดใหม่อย่างถาวร
ในปี ค.ศ. 1984 เมื่อสมเด็จพระสันตะปาปา เสด็จเยือนประเทศไทยได้ทรงเสกแผ่นศิลากฤกษ์สำหรับวัดใหม่ที่จะสร้าง
เนื่องจากโรงเรียนจะก่อตั้งครบ 25 ปีอาจารย์สมัย จึงเริ่มดำเนินการเพื่อจัดสร้างวัดใหม่อย่างถาวรโดยแบ่งเนื้อที่ของโรงเรียนแผนกคอมเมิร์ส บริเวณลาดพร้าวซอย 2 ในเนื้อที่ประมาณ 200 ตารางวา มีผู้ช่วยศาสตราจารย์ทรงคุณ อัตถากร เป็นสถาปนิกและศาสตราจารย์ ดร.รชฏกาญ จนะวณิชย์ เป็นวิศวกรเพราะเนื่องจากเนื้อที่จำกัดจึงจำเป็นต้องออกแบบเป็นรูปหกเหลี่ยมเต็มพื้นที่เพดานสูง ใช้แบบสถาปัตยกรรมโกธิคแบ บใหม่ ที่นั่ง 200 คน และมีชั้นลอย นั่งได้ประมาณ 60 คน ภายในมีกระจกสีเป็นรูปเกี่ยวกับพระทรมานของพระเยซูคริสตเจ้า (รูป 14 ภาค) นอกจากนั้นยังมีรูปการบังเกิด การกลับคืนและการเสด็จขึ้นสวรรค์ และภายในวัดติดตั้งระบบอากาศ ข้างวัดได้สร้างหอระฆังทรงหกเหลี่ยม สูง 43 เมตร ใช้เสาเข็ม 148 ต้น
วันที่ 7 ธันวาคม ค.ศ. 1986 เวลา18.00 น. พระอัครสังฆราชคายน์ แสนพลอ่อน แห่งอัครสังฆมณฑลท่าแร่-หนองแสง ได้ให้เกียรติมาเสกบริเวณก่อสร้าง
ในวันที่ 27 ธันวาคม ค.ศ.1986 เวลา 10.00น. พระคาร์ดินัล ไมเกิ้ล มีชัย กิจบุญชู เป็นประธาน ได้ทำพิธีเสกและวางศิลาฤกษ์
คุณพ่อเสวียง ศุระศรางค์ ได้รับมอบหมายให้มาช่วยงานอภิบาลสัตบุรุษที่วัดนี้ในวันอาทิตย์ ใน ปี ค.ศ. 1987-1989
คุณพ่อชวลิต กิจเจริญ ได้รับแต่งตั้งให้มาเป็นเจ้าอาวาสในปี 1989-1990 คุณพ่อได้ทำหน้าที่อภิบาลสัตบุรุษด้วยดี เอาใจใส่ดูแลสัตบุรุษโดย ถ้วนหน้า เป็นต้น เอาใจใส่ต่อผู้สูงอายุ คนเจ็บป่วย และคนยากจน พัฒนางานด้านพลมารีให้มีประสิทธิภาพตามจิตตารมณ์ของคณะเป็นอย่างดี ปรับปรุงคณะเยาวชนให้เป็นคณะพลมารี ดูแลงานด้านการสอนคำสอนและกิจการกลุ่มเซอร์ร่า จัดหาพระสงฆ์ คณะฟรังซิสกันมาถวายมิสซาภาษาอังกฤษในวันอาทิตย์ งานของวัดจึงได้พัฒนาไปตามลำดับ มีสัตบุรุษมาร่วมพิธีมิสซาในวันอาทิตย์เพิ่มมากขึ้น
คุณพ่อวิวัฒน์ แพร่สิริ ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสในปี ค.ศ.1990-1993 โดยมี คุณพ่อสานิจ สถะวีระวงส์ เลขาธิการอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ มาช่วยงานอภิบาลเป็นประจำทุกวันอาทิตย์
คุณพ่อประสาร คูรัตนสุวรรณ ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาส ใน ปี ค.ศ. 1994-1998
มี คุณพ่อสานิจ สถะวีระวงส์ คุณพ่อประยุทธ ศรีเจริญ คุณพ่อยัง ฮาเบรสโตรส์และคุณพ่อปิยะชาติ มะกรครรภ์ มาช่วยงานอภิบาล
วันที่ 30 กันยายน ค.ศ. 1998 อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ดำเนินการซื้อวัดเซนต์จอห์น รวมทั้งอาคารและที่ดินทั้งหมด 1 ไร่ 60.1 วา ในราคา 45 ล้านบาท เป็นของอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ
คุณพ่อวรวุฒิ กิจสกุล ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาส ใน ปี ค.ศ. 1999-2003
มีคุณพ่อสุพจน์ ฤกษ์สุจริต คุณพ่อเอกพงษ์ พงษ์สูงเนิน และคุณพ่อยัง ฮาเบรสโตรส์ ช่วยงานอภิบาล
คุณพ่อชุมภา คูรัตน์ ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาส ใน ปี ค.ศ.2004-2006
มี คุณพ่อสุพจน์ ฤกษ์สุจริต และคุณพ่อยัง ฮาเบรสโตรส์ ช่วยงาน อภิบาล
คุณพ่อวิจิตต์ แสงหาญ ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาส ใน ปี ค.ศ. 2006-2011
มีคุณพ่อสุพจน์ ฤกษ์สุจริต คุณพ่อ Rodighiero Domenico และคุณพ่อวิรัช อมรพัฒนา ช่วยงานอภิบาล
คุณพ่อธีระ กิจบำรุง ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสในปี ค.ศ. 2011-2016
ปัจจุบันวัดเซนต์จอห์น มีสัตบุรุษมาร่วมพิธีกรรมในวันเสาร์และอาทิตย์ ประมาณ 1,300-1,700 คน มีกลุ่มกิจกรรมต่างๆ ได้แก่ สภาอภิบาลพลมารี (2 เปรสิเดียม) เซอร์ร่า กลุ่มพระเมตตา กลุ่มผู้อาวุโส ฯลฯ
ปี ค.ศ. 2013 ได้มีการปรับปรุงชั้น 4 ของตึกที่พักอาศัย จากห้องเรียนโล่งๆ ให้เป็นที่พักสำหรับพระสงฆ์และสามเณรมาช่วยงานอภิบาล
ปรับปรุงห้องใต้ดินใต้ถุนวัด ให้เป็นห้องประชุมที่ใช้งานได้ เนื่องจากมหาวิทยาลัยและห้องประชุมของโรงเรียนเซนต์จอห์นอยู่ระหว่างปรับปรุง ไม่สามารถเข้าไปใช้บริการได้
ปี ค.ศ. 2014 เปลี่ยนเบาะที่นั่งในวัดทั้งหมด (เฉพาะฟองน้ำ) ดำเนินการประมาณ 2 เดือน (ตุลาคม-พฤศจิกายน)
คุณพ่อชัยยะ กิจสวัสดิ์ ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสในปี ค.ศ.2016-2021
ปี ค.ศ. 2016 มีการบูรณะและซ่อมแซมวัดโอกาสครบรอบ 30 ปี
ปี ค.ศ. 2018 โครงการเปลี่ยนที่นั่งภายในวัด จากเดิมซึ่งเป็นเก้าอี้เบาะกำมะหยี่สีน้ำเงินและใช้คนงานมาเป็นเวลา 32 ปี ตั้งแต่สร้างวัด เปลี่ยนเป็นม้านั่งยาวทำด้วยไม้สักทอง นอกจากนี้ได้มีการปรับปรุงบริเวณพระแท่น จัดทำเก้าอี้สำหรับพระสงฆ์ ผู้อ่าน และผู้ช่วยพิธีกรรม พร้อมกับซ่อมแซมพื้นหินอ่อน และพื้นปาร์เก้ชั้นลอย โดยงบประมาณทั้งหมดที่ใช้ในการปรับปรุง ได้รับเงินสนับสนุนจากสัตบุรุษและผู้มีจิตศรัทธา
ปี ค.ศ. 2019 - ติดตั้งรูปพระเมตตา และรูปพระมารดานิจจานุเคราะห์ ติดผนังด้านข้างพระแท่นทั้งสองฝั่ง
- ปรับปรุงห้องพักชั้น 4 อาคารสำนักงานวัด จำนวน 3 ห้อง ห้องอาหารและห้องน้ำสำหรับใช้รับรองแขก
ปี ค.ศ. 2020 - ปรับปรุงรูปแม่พระ รอบหอระฆัง
- ปิดวัดใหม่โดยใช้ห้องประชุม และใต้อาคารสำนักงานเป็นที่ประกอบพิธีบูชาขอบพระคุณ
- เริ่มปรับปรุงดาดฟ้า ชั้น 5 ให้เป็นห้องประชุม
คุณพ่อสมเกียรติ ตรีนิกร ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสในปี ค.ศ. 2021 - ปัจจุบัน
คุณพ่อวิษณุ ธัญญอนันต์ ช่วยงานอภิบาลปี ค.ศ. 2022-2023
ปี ค.ศ. 2021
- เสริมประตูชั้นในทางเข้าหลักของวัด
- การปรับเปลี่ยนพระแท่นในวัดน้อยให้เหมาะสมสวยงาม
- ฟื้นฟูการใช้พระแท่นใหญ่ในวัดให้เป็นไปตามสถาปัตยกรรมเดิมทั่วพระแท่นที่เป็นทองเหลือง
- เปลี่ยนแอร์ในวัดใหญ่ 3 ตัว
- ติดตั้งลิฟท์ในอาคาร
- สร้างห้องประชุมบนชั้นดาดฟ้า เพื่อแก้ปัญหาน้ำรั่วและมีห้องประชุมที่เหมาะสมสวยงาม
- จัดบริเวณวัดให้สวยงาม สะอาด และเหมาะสม
- การเปิดโรงเรียนเทววิทยา มีนักเรียนจำนวน 300 กว่าคน (สอนทั้งสิ้น มากกว่า 100 ชม.)โดยเฉพาะอย่างยิ่งวิชาพระคัมภีร์และวิชาพระสัจธรรมเรื่องพระแม่มารีย์มีสัตบุรุษให้ความสนใจจากทุกๆ วัดจำนวนมาก (มีการมอบประกาศนียบัตร 500 ใบ)
- เข้าเงียบสภาภิบาลและประชุมสภาภิบาลอย่างต่อเนื่อง
ปี ค.ศ. 2022
- การโปรดศีลล้างบาป มีผู้รับศีลล้างบาปเป็นจำนวนมากในวันปัสกาและวันพระจิตเจ้า
- คุณพ่อพลาพล ลิ้มสุธาโภชน์ มาเป็นผู้ช่วยเจ้าอาวาส แทนคุณพ่อวรพจน์ วิสิฐนนทชัย
- คุณพ่อวิษณุ ธัญญอนันต์ มาช่วยงานอภิบาลแทนคุณพ่อณรงค์ รวมอร่าม
- จัดตั้งคณะทำงานเพื่อผู้ยากไร้และลำบาก
- การสนับสนุนช่วยเหลืองานสังคมสงเคราะห์ เช่น บ้านมาติน บ้านคามิลเลียน และชุมชนคลองเตย
ปี ค.ศ. 2023
- มีผู้รับเลือกสรรและผู้สนใจเรียนคำสอนเป็นจำนวนมาก
- เยาวชนของวัดได้มีส่วนร่วมในการดูแลวัด และมีผู้สนับสนุนในกิจกรรมต่างๆ
- การสอนพระคัมภีร์ออนไลน์เวลาค่ำ 4 วันต่อสัปดาห์
- เป็นชุมชนวัดที่มากด้วยความเชื่อ และเติบโตต่อเนื่องในทุกๆปี