-
Category: ประวัติวัดในอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ เขต 1
-
Published on Tuesday, 08 December 2015 04:09
-
Written by หอจดหมายเหตุ
-
Hits: 5880
ตั้งอยู่เลขที่ 122/10 ซอยนาคสุวรรณ ถนนนนทรี
แขวงช่องนนทรี เขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร 10120
โทร. 02-681-3834, 02-681-3836
โทรสาร. 02-681-3835
Website: www.saintthomas.in.th
วัดนักบุญโธมัสอัครสาวกก่อตั้งขึ้นเมื่อประมาณปี ค.ศ. 1995 โดยมีที่ตั้งอยู่ที่ชั้น 1 อาคารเซนต์โธมัส ของโครงการพี เอส ที คอนโด ซอยนาคสุวรรณ ถนนนนทรี แขวงช่องนนทรี เขตยานนาวา กรุงเทพฯ
มีวัตถุประสงค์เพื่อให้บริการด้านศาสนกิจแก่สัตบุรุษที่อาศัยอยู่ในกลุ่มอาคารพี เอส ที คอนโด, หมู่บ้าน บากอง และบริเวณใกล้เคียง โดยมี คุณพ่ออดุลย์ คูรัตน์ เป็นพระสงฆ์ผู้ดูแลคนแรก
ต่อมาในปี ค.ศ. 2006 คุณพ่อบุญเสริม เนื่องพลี ได้เข้ามาเป็นผู้ดูแลแทน โดยได้มีการปรับปรุงสถานที่ทั้งด้านนอกและในวัดอย่างสวยงาม จัดทำทางลาดสำหรับรถเข็นผู้สูงอายุให้สามารถเข้าวัดได้อย่างสะดวกสบายมากขึ้น ทั้งยังได้เริ่มจัดงานฉลองคริสตมาสขึ้นเป็นครั้งแรกด้วยซึ่งสัตบุรุษที่อยู่ใกล้เคียงก็ได้ให้ความสนใจพาบุตรหลานมาร่วมพิธีในคืนฉลองคริสตมาสเป็นจำนวนมาก
คุณพ่อทนุ เจษฎาพงศ์ภักดี เป็นเจ้าอาสาววัดนักบุญโธมัสอัครสาวก (2009-2014) และได้จัดงานฉลองวัดนักบุญโธมัสอัครสาวกขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2009 โดยได้เชิญพระคาร์ดินัลไมเกิ้ลมีชัย กิจบุญชู มาเป็นประธานในพิธีมิสซาบูชาขอบพระคุณและได้เสกรูปปั้นนักบุญโธมัสด้วย
ปี ค.ศ. 2012 ได้มีการเลือกตั้งสภาอภิบาลของวัดเป็นครั้งแรก และได้รับการประกาศแต่งตั้งเมื่อวันที่ 1 กันยายน ค.ศ.2012 โดยมี เทเรซาสุดาพร อภิชนรัตนกร เป็นผู้อำนวยการ
สัตบุรุษวัดนักบุญโธมัสได้ร่วมใจกันบริจาคเงินสร้างวัดนักบุญเปาโล มิกิ บ้านแม่สะเปา ท่าสองยาง จ.ตาก เป็นจำนวนเงินสี่แสนบาท มีพิธีเปิดและเสกวัดเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม ค.ศ. 2012 โดยพระสังฆราชพิบูลย์
ปี ค.ศ. 2013 ได้มีการปรับปรุงวัดให้ขนาดใหญ่ขึ้นจากเดิม 120 ที่นั่ง เป็น 180 ที่นั่ง สัตบุรุษได้ร่วมกันสมทบทุนปรับปรุงจำนวน 5 แสนบาท ทางสังฆมณฑลได้สนับสนุนอีก 1.5 ล้านบาท
ปี ค.ศ. 2014 มีการจัดกิจกรรมเพื่อสุขภาพ และบูชาขอบพระคุณสำหรับผู้สูงอายุ 2 เดือนครั้ง จัดเข้าเงียบประจำปีสำหรับสภาภิบาลวัด อภิบาลผู้ที่แสวงหาที่พักพิงทุกวันอาทิตย์ ออกเยี่ยมเยียนผู้สูงอายุ และผู้ป่วยกับสภาภิบาลและพลมารีย์
วันที่ 5 กรกฎาคม ค.ศ. 2015 ฉลองวัด ครบ 20 ปี โดยคุณพ่ออดุลย์ คูรัตน์
กิจกรรมผู้สูงอายุ 2 เดือน ครั้ง เสาร์สัปดาห์ ที่ 1 , BEC 2 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 เสาร์ปลายเดือน , กลุ่มที่ 2 ศุกร์ ต้นเดือน
ปี ค.ศ. 2016 จัดตั้งศีลมหาสนิท และอวยพรทุกวันศุกร์ต้นเดือน เข้าเงียบสภาภิบาลปีละ 1 ครั้ง (ช่วงต้นปี) พบปะเด็กช่วยมิสซาเทอมละ 1 ครั้ง มิสซาผู้สูงอายุทุกวันเสาร์ที่ 2 ของเดือน
วันที่ 6 มีนาคม ค.ศ. 2016 มีล้างบาปผู้ใหญ่ 3 คน
วันที่ 10 กรกฎาคม ค.ศ. 2016 ฉลองวัดประจำปี
วันที่ 13- 21 ตุลาคม ค.ศ. 2016 มิสซาถวายความอาลัย พระเจ้าบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9
วันที่ 1 ธันวาคม ค.ศ. 2018 ได้รับประกาศเกียรติคุณยกย่องวัดนักบุญโธมัสอัครสาวก เป็น “สถานที่อารยสถาปัตย์แห่งปี 2561” ประเภท “ศาสนสถาน Friendity Design” จาก นายกฤษนะ ละไล ประธานมูลนิธิอารยสถาปัตย์เพื่อคนทั้งมวล
จัดมอบถุงยังชีพให้ผู้ยากไร้ในชุมชนรอบบริเวณวัดปีละ 1 ครั้ง
ปี ค.ศ. 2019 ล้างบาปเด็กผู้ใหญ่ 2 คน , ตั้งศีลมหาสนิท และอวยพรศีล ทุกวันศุกร์ต้นเดือน , เข้าเงียบสภาภิบาลปีละ 1 ครั้ง , มิสซาผู้สูงอายุทุกวันเสาร์ที่ 2 ของเดือน , จัดมอบถุงยังชีพให้ผู้ยากไร้ในชุมชนรอบบริเวณวัดปีละ 1 ครั้ง
ปี ค.ศ. 2020 วันอาทิตย์ที่ 12 กรกฎาคม ฉลองวัด
- ตั้งศีลมหาสนิทและอวยพรศีล ทุกวันศุกร์ต้นดือน, เข้าเงียบสภาภิบาล ปีละ 1 ครั้ง, พบปะเด็กช่วยมิสซาเทอมละ 1 ครั้ง, มิสซา ผู้สูงอายุ ทุกวันเสาร์ ที่ 2 ของเดือน
ปี ค.ศ. 2021 อยู่ในสถานการณ์โควิด-19 ระลอก 3 และ 4 งดร่วมมิสซาที่วัด แต่ให้มีมิสซาออนไลน์ ช่วงปิดวัด
- สามารถจัดสัปดาห์ศักดิ์สิทธิ์ และฉลองคริสต์มาสได้
- ฉลองวัดแบบออนไลน์
- ทำการปรับปรุงพื้นที่ในวัดให้เป็นระเบียบใหม่ เพิ่มที่คุกเข่ากับพนักโต๊ะ 80 ที่
ปี ค.ศ. 2022
- สถานการณ์โควิดเริ่มคลี่คลาย ผ่อนปรน งดมิสซาออนไลน์ กลับมามีมิสซาตามปกติ มีการฉลองวัด จัดงานคริสต์มาสและปัสกาตามปกติ
- ทำการปรับปรุงพื้นที่หน้าวัดและรอบๆวัด เอาต้นไม้ออก ทำการกำจัดปลวกในวัด
ปี ค.ศ. 2023
- มีการปรับปรุงประตูทางเข้าวัด แอร์ และอิเลคโทนของวัดที่ใช้มาเป็นเวลานาน
- มีการรณรงค์เรื่องความศรัทธาต่อคุณพ่อนิโคลาส บุญเกิด กฤษบำรุง เพื่อการเป็นนักบุญ
รายชื่อเจ้าอาวาส
คุณพ่ออดุลย์ คูรัตน์ ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาส ปี ค.ศ.1998 - 2006
คุณพ่อบุญเสริม เนื่องพลี ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาส ปี ค.ศ.2006 - 2009
คุณพ่อทนุ เจษฎาพงศ์ภักดี ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาส ปี ค.ศ.2009 - 2014
คุณพ่อยอดชาย เล็กประเสริฐ ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาส ปี ค.ศ.2014 - 2021
คุณพ่อชาญชัย ทิวไผ่งาม ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาส ปี ค.ศ. 2021 - 2022
คุณพ่อสหพล ตั้งถาวร ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาส ปี ค.ศ. 2022 - 2023
คุณพ่อเอกรัตน์ หอมประทุม ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาส ปี ค.ศ.2023 - 2024
คุณพ่อนัฏฐวี กังก๋ง ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาส ปี ค.ศ. 2024 - ปัจจุบัน
พระคาร์ดินัล ไมเกิ้ล มีชัย กิจบุญชู เสกรูปปั้นนักบุญโธมัส
ประวัตินักบุญโธมัส อัครสาวก
โทมัส ในภาษาอารามัยหมายความว่า “คู่แฝด” และด้วยเหตุนี้เองที่นักบุญ ยอห์น อัครธรรมทูต เรียกท่านเป็นภาษากรีกว่า “ดิดิม” ( ยน 11:16 ; 20:24 )
ผู้นิพนธ์พระวรสาร 3 ท่านแรกคือ นักบุญมัทธิว, นักบุญมาระโก, และนักบุญลูกา พอใจที่จะนับนักบุญโทมัสให้อยู่ในจำนวนอัครธรรมทูตสิบ สององค์ (มธ 10: 3 ; กจ 1:13) ตรงข้ามกับนักบุญยอห์นซึ่งพระวรสารของท่านจะออกมาในรูปแบบที่แตกต่างกันออกไป คือ การที่มนุษย์จะยอมรับรู้หรือว่าจะไม่ยอมรับข่าวสารของพระคริสตเจ้า ดังนั้นดูเหมือนว่านักบุญยอห์นจะให้ความสำคัญมากในพระวรสารของท่านที่จะแสดงให้เห็นถึงปฏิกิริยาที่บรรดาอัครธรรมทูตได้แสดงออกในชีวิตประจำวัน โดยนัยนี้นักบุญยอห์นจึงถือว่านักบุญโทมัสเป็นเหมือนสัญลักษณ์ของการเป็นคนเชื่อยากของบรรดาอัครธรรมทูต คือ นักบุญโทมัสสามารถเล็งเห็นความยากลำบากและภัยอันตรายที่จะเดินทางมุ่งหน้าไปสู่กรุงเยรูซาเลม โดยที่ท่านไม่เข้าใจถึงความหมายอันลึกซึ้งของการเดินทางนี้ (ยน 11:16) และอาจจะเป็นเพราะความจริงใจของท่านที่ท่านเองไม่รู้สึกจะมีความกระตือรือร้นในทรรศนะต่างๆ ที่พระเยซูเจ้าได้ทรงแสดงให้เห็นในสุนทรพจน์ระหว่างการรับประทานอาหารค่ำครั้งสุดท้าย (ยน 14:1-6)
ดังนั้นหลังจากที่พระเยซูเจ้าได้เสด็จกลับคืนชีพแล้ว ท่านก็อยากจะทดลองดูว่า พระองค์ทรงเป็น พระคริสตเจ้าจริงๆ หรือเปล่าโดยอาศัยการสัมผัสพระองค์ ทั้งๆ ที่เวลานั้นต้องอาศัยความเชื่อในการรู้จักพระเยซูคริสตเจ้าผู้เสด็จกลับคืนชีพแล้ว ( ยน 20:24-29 ) แต่ว่าไม่กี่วันให้หลังขณะที่ท่านได้อยู่พร้อมๆ กับบรรดาอัครธรรมทูตองค์อื่นๆ ท่านเหล่านี้ได้รู้จักพระ คริสตเจ้าผู้ได้กลับคืนชีพแล้ว ส่วนท่านเองเพิ่งจะสามารถรู้จักพระองค์ แต่ท่านก็ได้ยืนยันความเชื่อที่น่าทึ่งมาก
“ องค์พระเจ้าของข้าพเจ้า และพระผู้เป็นเจ้าของข้าพเจ้า ( ยน 20:28 )
ในชีวิตของนักบุญโทมัสเปรียบเสมือนการเดินทางที่ยาวนานที่ผ่านจากความจริงใจตามประสามนุษย์ ไปสู่ความรู้ในพระจิตเจ้า
เราไม่รู้ถึงสภาพแวดล้อมของงานธรรมทูตของท่านหลังจากที่ บรรดาอัครธรรมทูตได้ทรงรับพระจิตแล้ว น่าจะเป็นไปได้ที่ท่านได้เดินทางข้ามพรมแดนของอาณาจักรโรมันมุ่งหน้าไปสู่เปอร์เซียและอินเดีย แต่ว่าธรรมประเพณีในสมัยกลางมักจะยกพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ส่วนใดส่วนหนึ่งให้กับอัครธรรมทูตองค์ใดองค์หนึ่ง อันเป็นการเสี่ยงต่อการที่จะบิดเบือนไปจากความเป็นจริง อย่างไรก็ตามบรรดาอัครธรรมทูตมีหน้าที่รับผิดชอบต่อการแพร่ธรรมไปทั่วทุกมุมโลก เพราะว่าได้รับคำสั่งจากพระเยซูเจ้า
คำภาวนาทูลขอและข้อปฏิบัติ
1. ให้เราได้แสดงออกซึ่งความเชื่อของเราในองค์พระคริสตเจ้าโดยกล่าวว่า ข้าแต่องค์พระผู้เป็นเจ้าของข้าพเจ้า และพระเจ้าของข้าพเจ้า”
2. ในท่ามกลางความชื่นชมยินดี และ ในการทดลองก็ขอให้เราได้กล่าว เช่นเดียวกันว่า “ข้าแต่องค์พระผู้เป็นเจ้าของข้าพเจ้า และพระเจ้าของข้าพเจ้า”
3. ให้เรากล่าวสำหรับคนที่ไม่เชื่อเช่นเดียวกันว่า “ข้าแต่องค์พระผู้เป็นเจ้า ของข้าพเจ้า และพระเจ้าของข้าพเจ้า”
4. ให้เราประกาศพระวรสารด้วยคำกล่าวอันเดียวกันนี้ว่า “ข้าแต่องค์พระผู้เป็นเจ้า ของข้าพเจ้า และพระเจ้าของข้าพเจ้า”
แผนที่การเดินทาง