คณะภคินีศรีชุมพาบาล



ผู้สถาปนาคณะ 
นักบุญมารีอา ยูเฟรเซีย เพเลทิเอร์



ตราคณะ

 

 
นักบุญมารีอา ยูเฟรเซีย เพเลทิเอร์ และพันธกิจของท่าน การฉลองของเราในวันนี้ เป็นการแสดงถึงความกตัญญูรู้คุณต่อสตรีท่านหนึ่ง  สตรีผู้ซึ่งตร ะหนักถึงพันธกิจที่ท่านมีต่อโลก สตรีท่านนี้มีพระพรแห่งวิสัยทัศน์ที่กว้างไกล และมีจิตสำนึกในความเป็นหนึ่งเดียวกันของมวลมนุษย์ ท่านมีความรักลึกซึ้งต่อมนุษย์ชาติ และปฏิบัติการแห่งความรักแก่คนที่ต่ำต้อย คนที่สิ้นหวัง และคนที่อยู่ชายขอบของสังคม
 
นักบุญมารีอา ยูเฟรเซีย เกิดวันที่ 31 กรกฎาคม ค.ศ. 1796  ในครอบคัวเพเลทิเอร์   ซึ่งอาศัยอยู่บนเกาะนอร์มัวติเอร์ ในเขตเมืองเวนดี ทางฝั่งทะเลตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศฝรั่งเศส นายแพทย์จูเลีย เพเลทิเอร์และแอน ผู้เป็นภรรยาได้ถูกเนรเทศให้ไปอยู่ที่เกาะนั้น  ก่อนที่โรสจะเกิดมาได้ 3 ปี  พวกเขาไม่มีอนุญาตให้กลับไปยังบ้านเกิดเมืองนอนที่ซูลลังด์ได้อีก เพราะถูกตั้งข้อหาว่าให้ความช่วยเหลือและให้การดูแลรักษาแก่กลุ่มนักปฏิวัติ
 
โรสเป็นเด็กผิวคล้ำ มีดวงตาสุกใสเต็มไปด้วยชีวิตชีวา ชอบความสนุกสนาน มีความมุ่งมั่นแน่วแน่ เธอรู้ในสิ่งที่ชอบและไม่ชอบ เป็นเหมือนเด็กคน อื่นๆ ทั่วไป เธอได้รับพระพรตามธรรมชาติมากมาย เธอมีบุคลิกที่สง่างามและมีเสน่ห์ รู้จักไตร่ตรองและมีความรู้สึกละเอียดอ่อน มีความเป็นธรรมชาติและช่างคิด เธอมีหัวใจที่เปี่ยมไปด้วยความรัก เมื่อเป็นผู้นำ เธอไม่กลัวอะไร และมีความตั้งใจแน่วแน่เสมอ ด้านชีวิตฝ่ายจิต โรสได้เรียนรู้เรื่องนี้เป็นอย่างดี จากแบบอย่างการดำเนินชีวิตตามพระวรสารของบิดามารดาของเธอเอง เธอได้เรียนรู้ และได้รับการหล่อเลี้ยงชีวิตฝ่ายจิต โดยทางพระคัมภีร์ ตั้งแต่เธอยังยังนั่งตักของมารดา และเพราะเธอมีความจำที่ดีเป็นเลิศ เธอจึงรู้จักรู้พระวรสารชนิดขึ้นใจทีเดียว เธอได้เรียนรู้ว่าเราทุกคนเป็น “พี่น้องกัน” มีพระบิดาเดียวกันสวรรค์ ดังนั้น ความเมตตากรุณาจึงได้เป็นกุญแจสำคัญในชีวิตของโรส ในแบบเดียวกับบิดามารดาของเธอ เธอเติบโตในความเชื่อที่มั่นคง ความเชื่อของบิดามารดาและผู้ที่อาศัยอยู่บนเกาะ มีส่วนหล่อหลอมให้เธอเป็นคนมองโลกในแง่ดี และไม่ว่าสิ่งนั้นจะน่าพรั่นพรึงเพียงใดก็ไม่อาจสั่นคลอนความเชื่อของเธอได้เลย
 
ที่โรงเรียน มีโรงเรียนเปิดสอนบนเกาะนั้น  เมื่อโรสอายุได้ 12 ปี พวกครูของเธอต่างพิศวงในอุปนิสัยของเธอ ซึ่งมีทั้งความศรัทธาและความซุกชน มีความตั้งใจเด็ดเดี่ยว จนดูเหมือนว่าเป็นคนหัวแข็ง ดื้นรั้น ครูได้บอกกับโรสว่า ด้วยลักษณะเช่นนี้ของเธอ เธอจะเป็นได้ทั้งคนเลวที่สุดและคนดีที่สุด โรสตอบในทันทีว่า “หนูรู้ว่าหนูจะต้องถูก ปรับปรุงแก้ไข แต่หนูจะเป็นนักบวช”   แต่โรสก็เป็นคนรักการศึกษา ในไม่ช้าเธอก็เริ่มมีเพื่อน แ ละได้พบครูที่เข้าใจเธอมากคนหนึ่ง เธอค่อยๆ กลับมามีความร่าเริงสดใสอีกครั้ง เมื่อเธออายุได้ 17 ปี มารดาของเธอก็เสียชีวิต กว่าเธอจะทราบข่าว พิธีฝังศพก็เสร็จสิ้นไปแล้ว และเป็นครูท่านนี้เองที่ยืนอยู่เคียงข้างเธอตลอดช่วงเวลาแห่งการสูญเสียนี้
 
เมื่อโรสอายุได้ 18 ปี เธอก็สำเร็จการศึกษาและพร้อมที่จะออกไปเป็นครูได้ แต่เพื่อนสนิทคนหนึ่งที่โรงเรียนได้บอกเธอถึงความตั้งใจที่จะเข้าคณะ คาร์แมล โรสตอบเพื่อคนนั้นทันทีว่า  “สำหรับฉัน ฉันอยากช่วยวิญญาณให้รอด แต่จะเป็นอย่างไร ที่ไหน ก็ยังไม่รู้ได้”  คำพูดของเธอทำให้ทุกคนประหลาดใจ ดูเหมือนว่านี่จะเป็นกระแสเรียกแบบใหม่
 
เย็นวันหนึ่ง ขณะที่โรสกำลังฟังบรรยายเรื่อง “ความกระตือรือร้น เพื่อความรอดของวิญญาณ” เธอก็ได้รับประสบการณ์ลึกซึ้ง ซึ่งเธอไม่เคยลืมเลย ในขณะที่ผู้บรรยายได้เล่าถึงผู้หญิงกลุ่มหนึ่ง ซึ่งอาศัยอยู่ฝั่งตรงข้ามกับโรงเรียนของโรสว่า  พวกเธอเหล่านั้นตกอยู่ในอันตรายของกระแสสังคม โรสพลันรู้สึกถึงแรงกระตุ้นภายในที่จะตอบสนองต่อสิ่งที่ได้ยินนี้สามสิบปีให้หลังเธอปิดเผยว่า “นี้ป็นจุดเริ่มต้นของกระแสเรียกพิเศษของฉัน”
 
  
ในเย็นวันเดียวกันนั้นเอง โรสได้สมัครเข้าคณะพระมารดาแห่งเมตตาจิต ซึ่งก่อตั้งโดยนักบุญจอห์น ยูดส์ เมื่อปี ค.ศ. 1641  ระหว่างที่มีการปฏิวัติ บรรดาภคินีได้กระจัดกระจายออกไป และหนึ่งปีก่อนหน้านี้ คณะเพิ่งเปิดรับสมัครผู้สนใจเป็นภคินีอีกครั้งผู้สมัครต้องอายุเยาว์มีน้อย และเป็นเรื่องปกติที่ครอบครัวของโรสคัดค้านการตัดสินใจของเธอ เธอต้องใช้ความพยายามอย่างมากที่จะให้พวกเขาอนุญาตให้เธอสมัครเข้าคณะนี้ได้ อันที่จริง ครู  เพื่อนๆ และครอบครัว ต่างสนับสนุนให้เธอเข้าคณะอุร์สุลิน หรือไม่ก็คณะคาร์เมไลท์ แต่โรสยืนยันในกระแสเรียกพิเศษของเธอ และตลอดชีวิต เธอได้เปิดกว้างต่อสิ่งใหม่ๆ ในยุคสมัยของเธอ และทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้นในกระแสอลวนของการปฏิวัติ
 
ผู้ปกครองของโรสได้อนุญาตให้เธอเข้าอารามได้ โดยมีเงื่อนไขว่าเธอจะไม่ปฏิญาณตนอย่างเป็นทางการจนกว่าจะมีอายุครบ 21 ปีบริบูรณ์ ดังนั้นวันที่ 9 กันยายน ค.ศ. 1817 โรสได้เป็นสมาชิกของคณะพระมารดาแห่งเมตตาจิตอยางสมบูรณ์  เธอได้ทำการปฏิญาณตนถือศีลบนของชีวิตนักบวชอย่างสง่า รวมทั้งข้อปฏิญาณข้อที่สี่ของคณะข้อปฏิญาณนี้ ผูกมัดให้เธอมอบชีวิตเพื่อเยาวสตรีและสตรีที่มีความทุกข์กังวลฝ่ายจริยธรรมและจิตและอยากกลับใจ มีธรรมเนียมที่จะเริ่มต้นชีวิตใหม่โดยการรับชื่อใหม่โรสได้ขอใช้ชื่อนักบุญเทเรซาองค์อุปถัมภ์ของเธอ ผู้ซึ่งเธอยกย่องและปรารถนาที่จะเลียนแบบ แต่ได้รับการปฏิเสธ โรสจึงได้เลือกชื่อ มารีอา ยูเฟรเซีย เจ้าหญิงและพรหมจารีที่นักบุญเทเรซาเคารพนับถือ โรสได้รับการแต่งตั้งทันทีให้เป็นผู้ดูแลเยาวสตรี ซึ่งเธอเองได้อุทิศตนทั้งครบให้แก่พวกเขาในไม่ช้า พวกเขาก็พบว่า เธอเกิดมาเพื่อเป็นผู้ให้การอบรมและเป็นนักจิตวิทยาที่หาได้ยาก อย่างไรก็ตาม หัวใจของโรสก็ยังปวดร้าวเพราะมีหญิงสาวอีกเป็นจำนวนมากที่เธอไม่สามารถไปช่วยพวกเขาได้
 
แปดปีต่อมา เมื่อท่านอายุได้ 29 ปี สมาชิกของคณะได้เลือกท่านเป็นอธิการิณี ถึงแม้ว่าขณะนั้นจะมีข้อบังคับว่า อธิการของคณะจำเป็นต้องมีอายุ ตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป แต่ท่านก็ได้รับอนุญาตเป็นกรณีพิเศษ งานแรกที่ท่านลงมือกระทำคือการก่อตั้งภคินีคณะพิศภาวนา โดยมีความศรัทธาในการสวดภาวนาและทำพลีกรรมใช้โทษบาป เพื่อสนับสนุนงานแพร่ธรรมของคณะ
 
 
นักบุญมารีอา ยูเฟรเซีย ถึงแก่กรรมในวันที่ 24 เมษายน ค.ศ.1868 ขณะอายุได้ 72 ปี สุขภาพกายท่านทรุดโทรมมาก แต่ยังกระฉับกระเฉงในเรื่องความรักและความกระตือรือร้น ท่านทำทุกอย่างให้ผู้ด้อยโอกาส จนกระทั่งลมหายใจสุดท้ายของชีวิต พินัยกรรมสุดท้ายที่ท่านมอบให้บรรดาลูกๆ ของท่าน คือ ความกระตือร้อร้น เพื่อความรอดของวิญญาณ เมื่อท่านจากไปนั้น มีภคินีแพร่ธรรม 2,800 ท่าน และภคินีเพ่งพิศภาวนา 970 ท่าน มีสตรีและเยาวชนในความดูแลทั้งหมด 15,000 คน  และมีบ้านของคณะ 110 แห่งทั้วโลก
 
ท่านได้จัดตั้งศูนย์กลางการบริหารของคณะที่เมืองอังเจร์ และมีแขวงการปกครองทั้งหมด 16 แขวง แต่ละแขวงมีศูนย์ฝึกอบรมนักบวชของคณะและกิจกรรมต่างๆ เพื่อหาสมาชิกเพิ่ม
 
พระศาสนจักรได้สถาปนาภคินีมารีอา ยูเฟรเซีย เป็นนักบุญ เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม ค.ศ. 1940 วันฉลองของท่านคือ วันที่ 24 เมษายนของทุกปี  บรรดาภคินีของท่านยังคงดำเนินพันธกิจของท่าน ต่อมาจนทุกวันนี้ พระศาสนจักรกล่าวถึงท่านว่า “...เป็นผู้ร่วมงานแห่งพระเมตตาของพระเป็นเจ้า โดยทางบรรดาภคินีของท่านตลอดนิรันดร”  ในปี ค.ศ. 1985  มีภคินีแพร่ธรรมทั้งหมด 6,550 ท่าน และมีบ้านทั้งหมด 593 แห่ง  มีภคินีเพ่งพิศภาวนา 1,263 ท่าน และบ้าน 59 แห่ง มีฆราวาสที่ร่วมงานด้วยความเสียสละและอุทิศตนเป็นพันๆ คน เขาเหล่านี้มีส่วนร่วมในพันธกิจแห่งการไถ่กู้เช่นเดียวกับที่ท่านได้ทำในขณะที่มีชีวิตอยู่
 
ประวัติคณะ
คณะภคินีศีชุมพาบาล สถาปนา โดย นักบุญมารีอา ยูเฟรเซีย เพเลทิเอร์ (ค.ศ. 1796-1868) พระสันตะปาปาเกรโกรี่ ที่ 16 ได้ให้การรับรอง เมื่อวันที่ 16 มกราคม ค.ศ. 1835 คณะมีต้นกำเนิดจากคณะพระมารดาแห่งเมตตาจิต ซึ่งเป็นที่รู้จักในนามของ "สถานที่ลี้ภัย" ซึ่งได้สถาปนาขึ้นโดยนัก บุญจอห์น ยูดส์ (ค.ศ.1601-1680) คณะภคินีศรีชุมพาบาลเป็นคณะนักบวชหญิงแพร่ธรรมที่ได้รับการรับรองโดยพระสันตะปาปา ซึ่งรวมถึงภคินีศรีชุมพาบาล และภคินีเพ่งพิศภาวนา แห่งพระศรีชุมพาบาล ซึ่งตั้งขึ้นที่ประเทศฝรั่งเศส ในศตวรรษที่ 19
 
 
ประวัติการทำงานในประเทศไทย 
ซิสเตอร์ 4 ท่านได้เข้ามาทำงานในประเทศไทยเมื่อปี ค.ศ.1965 และได้เปิดบ้านหลังแรกที่ กรุงเทพฯ ในปี ค.ศ.1968 เพื่อทำงานกับสตรีและเยาวสตรี ผู้ยากจน ผู้ด้อยโอกาส และผู้ที่สังคมรังเกียจ และงานก็ค่อย ๆ ขยายต่อไปยังหนองคายในปี ค.ศ.1981 พัทยาในปี ค.ศ.1988 และเชียงราย ในปี ค.ศ.1996 งานของคณะโดยทั่วไปเกี่ยวข้องกับสตรี และเยาวสตรี ผู้อพยพ แรงงานหรือผู้ถูกหลอกให้มาทำงานในกรุงเทพฯ มารดาและทารกที่ถูกทอดทิ้ง เยาวสตรีที่ประสบปัญหาในชีวิต การให้การศึกษานอกโรงเรียน และการฝึกวิชาชีพต่างๆ กับผู้ถูกคุมขัง เด็กเร่ร่อน ผู้หญิงบริการเยาวสตรีชาวไทยภูเขา ผู้ติดเชื้อเอดส์
 
ตราคณะ
 
 
ดวงหทัยทั้ง 2 ดวง  ที่ปรากฏให้เห็นนั้นเป็นดวงหทัยของพระเยซูเจ้าและแม่พระซึ่งรวมเป็นหนึ่งเดียวกันบรรดาสมาชิกมีชีวิตภายในด้วย การเทิดทูน และศรัทธาต่อดวงหทัยทั้งสองนี้ ตั้งแต่ในอดีตเป็นต้นมา ซึ่งเป็นการสืบทอดมาจากนักบุญจอห์น ยูดส์ และนักบุญมารีอา ยูเฟรเซีย เพเลทิเอร์ 
 
ไม้เท้าเป็นสัญลักษณ์แทนพรพิเศษของนายชุมพาบาล ซึ่งแสวงหาลูกแกะ คือ ข้อปฏิญาณข้อที่ 4 ความกระตือรือร้นที่จะนำวิญญาณให้รอด 
 
กางเขนเป็นเครื่องหมายแห่งความรอด ให้แก่ผู้ที่ได้รับการอภัย และการรักษาจากพระชุมพาบาลผู้ใจดี นักบุญผู้ตั้ง คณะของเราเตือนสมาชิกของท่านเสมอว่า คณะของเรานั้นมีพื้นฐานอยู่ที่กางเขน และยังเป็นเครื่องหมาย ของข้อปฏิญาณ 3 ข้อ คือ ความนบนอบ ความยากจน และความบริสุทธิ์ ซึ่งองค์พระเยซูได้ทรงเป็นพระฉบับแบบ
 
 
พระพรพิเศษ 
เราแสวงหาที่จะดำเนินชีวิตตามพระวรสารในจิตตารมณ์ของนักบุญมารีอา ยูเฟรเซีย ผู้ตั้งคณะ คือ การดำเนินชีวิตเป็นหนึ่งเดียวกับพระเยซูองค์พ ระศรีชุมพาบาล ผู้ทรงเรียกเราให้มาชิดสนิทกับพระองค์ และดำเนินชีวิตแห่งการไถ่กู้ ต่อจากพระองค์ในพระศาสนจักรโดยถือคติพจน์ที่ว่า "บุคคลเดียวมีค่ามากกว่าโลกทั้งโลก"  
 
จิตตารมณ์ของคณะ
พระเยซูเจ้าเป็นจุดศูนย์กลาง ความศรัทธาต่อดวงหทัยของพระเยซูเจ้า และแม่พระ การแสวงหาน้ำพระทัยของพระเป็นเจ้า และความกระตือรือร้น ที่จะนำวิญญาณให้รอด มาจากคำสอนของท่านนักบุญจอห์น ยูดส์ ความปรารถนาอันยิ่งใหญ่ของนักบุญมารีอา ยูเฟรเซีย ในการร่วมงานไถ่กู้นี้ให้ได้ผลสำเร็จ เพราะท่านรักกางเขนและท่านมีความกระตือรือร้นที่จะนำวิญญาณให้รอด เพื่อพระเกียรติมงคลของพระเป็นเจ้า  
 
ภารกิจ 
พระศาสนจักร ได้มอบหมายให้เรามีส่วนในพันธกิจแห่งการกลับคืนดี หน้าที่นี้เรียกร้องให้เราตระหนักถึงตัวเราเองต้องทำการกลับใจอยู่เสมอ โดยการเป็นหนึ่งเดียวกับทุกๆ คน พยายามสู้กับบาปของเรา และความต้องการที่จะกลับคืนดีกับพระเป็นเจ้า เราเป็นพยานถึงพระเมตตารักของพระเป็นเจ้า พันธกิจของเรา คือ ประกาศข่าวแห่งการกลับคืนดีโดยตรง ต่อบุคคลที่ได้รับบาดแผล เพราะบาปและผลของมัน บุคคลเป้าหมาย คือ เด็กสาวและสตรีผู้ซึ่งอยู่ในสภาพแห่งการร้องขอการดูแลรักษา และความรอดซึ่งพระเยซูเจ้าพระองค์เดียวที่จะเป็นผู้ประทาน เราอุทิศตนเองต่อการดูแลรักษา ด้านชีวิตฝ่ายกาย และฝ่ายจิต ตลอดจนการพัฒนาคนทั้งครบ ให้มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดครอบครัว  และต่อสังคมที่เขาอยู่ เราตอบสนองต่อความต้องการในงานแพร่ธรรม อื่น ๆ ซึ่งเกี่ยวกับพันธกิจของเราโดยไม่เลือกชั้น วรรณะและศาสนา
 
ที่อยู่ในประเทศไทย
คณะภคินีศรีชุมพาบาล
4128/1 ซอยแม่พระฟาติมา ถนนดินแดง กรุงเทพฯ 10400
บ้านเจ้าคณะแขวง
โทรศัพท์ 0-2642-9971, 0-2642-9978
โทรสาร 0-2642-9977