-
Category: มิสซังสยามในอดีต อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ในปัจจุบัน
-
Published on Friday, 16 October 2015 07:00
-
Written by หอจดหมายเหตุ
-
Hits: 2452
เมื่อทางมิสซังต่างประเทศได้ทราบข่าวมรณภาพของคุณพ่อแฟร์เรอ จึงได้แต่งตั้งให้ คุณพ่อ เดอ ซิเซ ดำรงตำแหน่งพระสังฆราชแห่งซาบุล ในวันที่ 19 มกราคม ค.ศ. 1700 ท่านได้เดินทางมาถึงกรุงศรีอยุธยา ในตอนปลายรัชกาลของพระเทพราชา ท่านเป็นคนใจดี ถ่อมตน และเพราะท่านพูดภาษาไทยไม่ได้จึงเกรงว่าท่านจะทำความเจริญแก่มิสซังสยามไม่ได้ ขณะนั้นมีพระสงฆ์เพียง 6 องค์เท่านั้น และงานส่วนใหญ่จำกัดอยู่ในบ้านเณร การดูแลคริสตังในกรุงศรีอยุธยา และการโปรดศีลล้างบาปแก่เด็กที่ใกล้จะตาย ตลอดสมัยของท่านซึ่งยาวนานเป็นเวลา 26 ปี ก็มีเหตุการณ์สำคัญเพียงเล็กน้อยเท่านั้น
รัชกาลสมเด็จพระเจ้าเสือ
ภายหลังจากการสวรรคตของพระเทพราชา สมเด็จพระเจ้าเสือก็ได้ขึ้นครองราชสมบัติโดยไม่มีผู้ใดขัดขวางพระองค์ท่านมีท่าทางเป็นมิตรต่อฝรั่งเศส และต้องการจะรื้นฟื้นความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับฝรั่งเศสพระองค์ท่านจึงขอร้องพระสังฆราชให้ช่วยเจรจาแต่พระสังฆราช ไม่แน่ใจในผลของการเจรจาจึงบอกปฏิเสธไป ในช่วงนั้นสภาพมิสซังมีความลำบากทางเศรษฐกิจ มิสซังไม่มีทรัพย์สิน เงินที่ได้รับจากฝรั่งเศสก็เพี ยงพอต่อความอยู่รอดของมิสซังเท่านั้น แต่พระสังฆราชก็ยังมีใจกว้างเสมอในการช่วยเหลือผู้ทุกข์ยาก ส่วนโรงพยาบาลเก่าทั้งสองนั้น ก็ไม่ได้สร้างขึ้นใหม่ เพราะมิสซังไม่มีกำลังทรัพย์ พวกมิชชันนารีทำได้เพียงไปเยี่ยมคนไข้ตามบ้าน โดยเฉพาะเมื่อเกิดโรคติดต่อ เกิดโรคฝีดาษร ะบาดหนักในกรุงศรีอยุธยาและรอบนอกกรุง พระสังฆราชเดอ ซีเซ,คุณพ่อโบรด์ และคุณพ่อเลน ออกไปเยี่ยมผู้ป่วยที่เป็นโรคฝีดาษตามหมู่ บ้านจำนวนคริสตังไทยขณะนั้นมี ประมาณ 90 คน และคริสตังญวนอีกประมาณ 500 คน พวกเขามีความกระตือรืนร้นในการมาวัด มีการสวดภาวนาเวลาค่ำ และมีหัวหน้า รองหัวหน้าคริสตัง แต่สภาพของวัดที่เมืองมะริด ตะนาวศรี และเกาะถลาง ซึ่งมีคริสตังไม่กี่คนนั้น มีสภาพน่าเศร้ากว่าสภาพของวัดที่อยุธยาเสียอีก เพราะมีปัญหาความประพฤติเสื่อมเสียของคริสตังการแต่งงานกับคนต่างศาสนาและการไม่รู้จักคำสอน ส่วนการตั้งกลุ่มคริสตชนญวนขึ้นที่เมืองจันทบูรณ์ ก็เป็นการปลอบใจพวกมิชชันนารีได้บ้างกลุ่มคริสตังกลุ่มนี้เกิดขึ้น เพราะมีคริสตังเก่าชาวโคชินจีนประมาณ 130 คน อพยพมาอยู่ในกรุงสยามเพื่อหนีการเบียดเบียนศาสนาในประเทศของเขาพวกเขาได้สร้างวัดน้อยขึ้นหลังหนึ่งแล้วสร้างบ้านอีกหลังหนึ่งเพื่อมิชชันนารี ใน ค.ศ. 1701 พระสังฆราชเดอ ซิเซ ได้มอบให้คุณพ่อเฮิต เป็นผู้ดูแลคริสตังญวนกลุ่มนี้ แต่สามเณร 2 คนที่เดินทางไปกับท่านถูกกล่าวหาว่าเดินทางออกนอกราชอาณาจักรโดยไม่ได้รับอนุญาตกว่าคุณพ่อเฮิตจะเดินทางไปประจำที่จันทบุรีได้ ก็ต้องรอจนถึง ค.ศ.1771 แต่อยู่ได้ปีเดียวก็ถกูเรียกตัวไปโคชินจีน
รัชกาลสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ
พระสังฆราชได้จัดส่งครูคำสอนไปที่พิษณุโลกและนครไทย เพื่อสำรวจสภาพท้องถิ่นที่นั้น รวมทั้งบรรดาคริสตังที่ยังเหลืออยู่การสำรวจนี้ ไปไกลจนถึงชายแดนประเทศลาว และกลับมารายงานพระสังฆราช พระสังฆราชเองก็มีความคิดที่อยากจะแพร่ธรรมที่นั้น และยังคิดที่จะส่งคนไปแพร่ธรรมที่ทางภาคใต้และทางเขมรด้วย แต่ไม่สามารถทำได้เพราะจำนวนพระสงฆ์มีไม่เพียงพอ ใน ค.ศ. 1714 มิชชันนารีองค์หนึ่ง ซึ่งมีความสามารถอย่างน่าสรรเสริญในการปกครองสำนักอบรม ท่านมาถึงกรุงสยาม ชื่อ คุณพ่ออังเดร รุสต์ ท่านได้ปริญญาโทจากมหาวิทยาลัยซอร์บอน เคยเป็นผู้ปกครองวิทยาลัยแห่งหนึ่งที่กรุงปารีส เมื่อคุณพ่อรุสต์ได้มาทำงานวิทยาลัยกลาง ไม่ถึง 2 ปีสามเณราลัยก็มีความเจริญก้าวหน้าอย่างมาก พระสังฆราชเดอ ซีเซ เองก็ยังกล่าวด้วยความชื่นชมคุณพ่อคุณพ่อรุสต์ได้คุณพ่อโลเลียรฺ ปุยก็องตาต์เป็นผู้ร่วมงานไม่ถึงปีห นึ่งผู้ที่ช่วยท่านต่อไปก็คือคุณพ่อเลอแมรฺ แต่ก็ยังมีปัญหาสามเณรที่ขาดอาจารย์ เป็นเพราะมิชชันนารีที่ส่งมากรุงสยามมีจำนวนน้อย กล่าวคือตลอดเวลาที่พระสังฆราชเดอซีเซ ดำรงตำแหน่งเป็นพระสังฆราชอยู่ในมิสซังกรุงสยามได้รับมิชชันนารีทั้งหมด เพียง 7 องค์เท่านั้น และในจำนวน 7 องค์นั้น 2 องค์คือ คุณพ่อก๊อดฟรัว กับคุณพ่อเอิ๊ต นั้น ย้ายไปทำงานที่ประเทศโคชินจีน องค์ที่สามคือ คุณพ่อเลอ เบรอต็อง มาจากประเทศตังเกี๋ย แต่พอมาถึงท่านก็ถึงแก่มรณภาพส่วนองค์ที่สี่ คือ คุณพ่อเดอ โลเลียร ได้รับแต่งตั้งเป็นรองเหรัญญิกที่เมืองปอนดิเชรี ดังนั้นพระสังฆราช เดอ ซีเซ จึงอาสาช่วยสอนภาษาลาติน ใน ค.ศ. 1717 มีสามเณรจีนมาอีก 7 คน ทำให้จำนวนเณรเพิ่มขึ้นอีก ใน ค. ศ.1718 วิทยาลัยกลางมีเณร 50 คน ซึ่งในจำนวนนี้ 14 คนมาจากกรุงสยาม 24 คน มาจากประเทศตังเกี๋ย 5 คนมาจากประเทศโคชินจีน และ 7 คนมาจากประเทศจีนเณรทั้งหมดแบ่งเป็น 6 ชั้น ชั้นที่หนึ่งสอนเทวศาสตร์และปรัชญาชั้นที่สองสอนวรรณคดีลาติน ชั้นอื่นๆนอกนั้นสอนภาษาลาติน กับภาษาทางภาคตะวันออกไกล
ระหว่างนั้น พระสังฆราช เดอ ซีเซ เองก็รู้สึกเหน็ดเหนื่อยมากจากการทำงานธรรมทูต และท่านก็เริ่มชรามากแล้ว ใน ค.ศ.1715 ท่านจึงขอสังฆราชผู้ช่วยองค์หนึ่งทางคณะมิสซังต่างประเทศจึงจัดเลือกเอาคุณพ่อแตสซีเอร์ เดอ เกราเล เหรัญญิกที่เมืองปอนดิเชแต่งตั้งท่านเป็นพระสังฆราชเกียรตินามแห่งโรซาลี และเป็นสังฆราชผู้ช่วยประมุขมิสซังกรุงสยาม ใน ค.ศ. 1717 ท่านได้รับการอภิเษกที่กรุงศรีอยุธยาเมื่อวันที่ 1 พฤษาคม ค.ศ. 1723 ท่านเคยเป็นทหาร ท่านเป็นคนรักการเรียน หนักแน่น และเฉลียวฉลาด ท่านลังเลใจอยู่เป็นเวลานานพอสมควร ก่อนที่จะรับตำแหน่งผู้ช่วยสังฆราช ซึ่งท่านยังมิได้เตรียมตัวมาก่อนเลยที่สุดในค.ศ.1720 ท่านก็ตกลงรับเดินทางมายังเมืองมะริด และอยู่ที่นั้นราว 2 ปี เพื่อให้คุ้นกับงานแพร่ธรรม เพราะท่านยังไม่เคยทำมาก่อนเลย ท่านเป็นสังฆราชผู้ช่วยอยู่ 4 ปี ค่อยๆ เรียนรู้ขนบประเพณีของชาวสยาม พักอยู่ที่วิทยาลัยกลางที่มหาพราหมณ์ พระสังฆราช เดอ ซีเซ ถึงแก่มรณภาพเมื่อวันที่ 1 เมษายน ค.ศ.1727 ร่างของท่าน สวมเสื้ออาภรณ์ของพระสังฆราช ตั้งไว้ในห้องหนึ่งของสามเณราลัยให้คนมาเคารพศพเป็นเวลา 24 ชั่วโมงได้มีชนทุกชาติพากันหลั่งไหลมาเคารพศพของท่าน
การย้ายสามเณราลัยกลับมาที่กรุงศรีอยุธยา
งานแรกที่พระสังฆราช เดอ เกราเล ทำคือ การย้ายสามเณราลัยจากมหาพราหมณ์กลับไปที่อยุธยา ซึ่งเป็นการกระทำที่น่าเสียดาย เพราะทำให้ธรรมทูตในสมัยต่อมามีความยากลำบากที่จะต้องมาทำการแก้ไข ความจริงสามเณราลัยที่มหาพราหมณ์ ก็มีความเจริญก้าวหน้าดีในสมัยของ คุณพ่อรุสต์ แต่พระสังฆราช ต้องการให้สามเณรอยู่ใกล้ท่าน จึงให้สามเณรย้ายมาอยู่ที่อยุธยา โดยท่านเองเป็นคนอบรมฝ่ายวิญญาณ ซึ่งการย้ายครั้งนี้ คุณพ่อรุสต์และคุณพ่อเลอแมร์ก็ไม่เห็นด้วย คุณพ่อรุสต์มีความเสียใจเป็นอย่างมาก ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1729 ท่านถึงแก่ มรณภาพที่กรุงศรีอยุธยา ในช่วงต้นสมัยของพระสังฆราชเดอ เกราเล เกิดการเบียดเบียนศาสนาเกิดขึ้น เป็นการเบียด เบียนที่รุนแรง และยืดเยื้อกว่าการเบียดเบียนในสมัยของพระเทพราชาเสียอีก มีการสอบสวนพระสังฆราชถึงหนังสือที่ท่านเขียนเพื่อโต้ แย้งคำสอนของพุทธ มีการพยายาม ใส่ร้ายพวกธรรมทูตต่างๆ นานา ต่อมาเมื่อวันที่ 9 ตุลาคม ค.ศ. 1731 มีคนได้แบกหินจารึกข้อห้ามทั้งสี่ข้อไปตั้งที่มุมหน้าประตูวัด ที่ติดกับสามเณราลัย หินนี้เหล่าบรรดาธรรมทูตเรียกมันว่าหินแห่งความอัปยศ
รัชกาลของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ
พระเจ้าแผ่นดินองค์นี้ขึ้นครองราชย์ โดยได้ปราบพวกที่เกลียดชังคริสตังลงได้ แต่พระเจ้าแผ่นดินองค์นี้ก็ไม่ชอบคริสตัง ในโอกาสขึ้นครองราชย์ของพระองค์ท่าน พระสังฆราชได้ กราบทูลพระองค์ท่านให้เอาหินอัปยศออก แต่พระองค์ท่านกลับสั่งให้ตั้งหินนั้นให้เด่นกว่าเดิม ในตอนนั้นมิสซังอยู่ในสภาพเสื่อมโทรมมาก ถูกกลั่นแกล้งและควบคุมดูแลอย่างใกล้ชิด แต่พระสังฆราชเดอ เกราเล ยืนหยัดโดยความกล้าหาญ และไม่กลัวสิ่งใด ท่านได้ถึงแก่มรณภาพ เมื่อวันที่ 27 พฤษาคม ค.ศ. 1736 หลังจากป่วยอยู่เป็นเวลา 11 วันท่านได้ทิ้งข้อเขียนมากมายที่แสดงออกถึงความรอบรู้ของท่าน
หลังจากนั้นคุณพ่อเลอแมร์ได้เป็นอธิการดูแลมิสซัง ต่อจากท่านในช่วงนี้ทางสามเณราลัยที่กรุงปารีสได้ส่งพระสงฆ์ 3 องค์ คือลาเซเร เล อแฟเวรอะ และเลอบราส์ และหลังจากนั้นอีกหนึ่งปีก็ส่งคุณพ่อ เดอ กาบาน เดอ โกนา ตามมาสมทบ คุณพ่อเลอแฟเวรอะได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าวัดที่อยุธยา ท่านซ่อมแซมบ้านคริสตังที่อยู่ข้างบ้านสามเณราลัย คุณพ่อเลอบราส์ไปอยู่ที่มะริด ที่นั้นมีคริสตังประมาณ 400 คน ท่า นได้สร้างโรงเรียนเล็กๆ ที่นั้นเพื่อเตรียมนักเรียน เข้าบ้านเณรใหญ่ท่านยังมีโครงการที่จะรวบรวมคริสตังที่กระจัดกระจายเข้ามา เป็นกลุ่ม แต่โครงการนี้ท่านยังไม่ได้ดำเนินการ คริสตังที่ภูเก็ตมีพระสงฆ์พื้นเมืองคนหนึ่งดูแลอยู่แต่ด้วยสถาพที่ยากจนทำให้พวกเขาต้องย้ายไปที่อื่น โดยมีคุณพ่อกาปูชินตามไปดูแลคุณพ่อลาเชเรได้รับแต่งตั้งเป็นอธิการสามเณราลัย โดยมีคุณพ่อเดอกาบานเป็นผู้ช่วย สามเณราลัยได้กลับไ ปเปิดที่มหาพราหณ์อีก คุณพ่อเลอแมร์ปกครองมิสซังได้ 4 ปีก็ล้มป่วยไม่สามารถทำงานได้ ท่านถึงแก่มรณภาพเมื่อ ค.ศ. 1748 ระหว่างนั้น คุณพ่อแลอแฟเวลอะก็ได้ทำหน้าที่ปกครองมิสซังสยามต่อ พร้อมทั้งเป็นเจ้าวัดนักบุญยอแซฟไปด้วย แต่ก็ไม่ได้มี เหตุการณ์สำคัญอะไร
เมื่อทางสามเณราลัยที่กรุงปารีสได้ทราบว่าพระสังฆราช เดอ เกราเลได้ถึงแก่มรณภาพแล้ว จึงได้เลือกคุณพ่อเดอ โลลีแอร์เป็นพระสังฆราชแห่งยูลิโอโปลิสในเดือนกันยายน ค.ศ. 1738 พระสังฆราชใหม่นี้ได้ช่วยคุณพ่อดีดีม เจ้าวัดอยุธยาในการโปรดศีลศักดิ์ แปลคำสอนโดยใช้ล่าม เยี่ยมคนเจ็บป่วย การโปรดศีลล้างบาปให้คนไทยแทบจะไม่มีเลย และต้องทำเป็นการลับๆ ส่วนมากให้คนใกล้ตาย พระสังฆราชได้สร้างบ้านเล็กๆ ให้พวกญวนจากจันทบุรีที่อยู่ที่ค่ายชาวญี่ปุ่นใช้เป็นที่ชุมนุม สวดภาวนา โดยมีสังฆานุกรคนหนึ่งคอยดูแลอยู่ ใน ค.ศ.1743 คุณพ่อดีดี มได้ล้มป่วยและถึงแก่กรรม ใน ค.ศ. 1748 เพราะฉะนั้นไม่มีใครช่วยพระสังฆราชที่อยุธยา ท่านจึงเรียกตัวคุณพ่อเซมาเร แต่ท่านไม่สามารถทิ้งบรรดาเณรที่มหาพราหมณ์ได้ จึงพาสามเณรทั้งหมดมาอยู่ที่อยุธยา แต่ในไม่ช้าพระสังฆราชก็เห็นว่าการย้ายมาที่อยุธยานั้น มีผลเสียต่อสามเณร ท่านจึงตัดสินใจส่งสามเณรกลับไปอยู่ที่มหาพราหมณ์ต่อมมาใน ค.ศ. 1749 พระสังฆราชได้เรียกสามเณรกลับมาอยู่ที่อยุธยาอีกครั้งหนึ่ง แต่คุณพ่อเลอบ็อง อธิการขณะนั้นได้คัดค้านอย่างแข็งขัน ท่านจึงส่งสามเณรกลับไปมหาพราหมณ์อีก การเปลี่ยนสถานที่บ่อยเช่นนี้ ก็ทำให้เกิดผลเสียต่อสามเณร และการเปลี่ยนอธิการบ่อยๆ ยิ่งร้ายกว่าอีก
ในระหว่าง ค.ศ.1744-1747 ความสัมพันธ์ระหว่างพระสังฆราชกับราชสำนักดำเนินไปอย่างพอใช้ พระสังฆราชทูลขอสิ่งใด ก็ได้รับเสมอ แต่ในปี ค.ศ.1748-1749 พระเจ้าแผ่นดินทรงมีรับสั่งให้หล่อพระพุทธบาทข้างหนึ่งกับดอกบัวดอกหนึ่งเป็นทอง และให้ทำการแห่อย่างสง่า พระองค์ท่านจึงมีบัญชาให้คริสตังไปร่วมแห่ด้วย แต่รพระสังฆราชโลลิแอร์ไม่อนุญาตให้คริสตังไป ทางการก็เริ่มเบียดเบียนรังแกพวกคริสตัง ขัดขวางพวกเขาไม่ให้ไปร่วมมิสซาบังคับให้ทำงานหนัก และขู่จะจับเข้าคุก ครั้นเมื่อจะทำการแห่อีกรอบหนึ่ง ในเดือนมกราคม ค.ศ 1749 ทางการได้ไปรบเร้าพวกคริสตังให้ไปร่วมอีก แต่พวกเขาก็ไม่ไป ข้าราชการคนหนึ่งจึงสั่งให้จับกุมคริสตังเหล่านั้นแต่มกุฎราชกุมารคนหนึ่งได้กล่าวทักท้วงเอาไว้เขาจึงปล่อยพวกคริสตังแต่โดยดีในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ.1749 เจ้าเมืองตะนาวศรีทำแผ่นหินตามราชโองการของพระเจ้าแผ่นดิน มีข้อความเช่นเดียวกับหินที่อยุธยา และนำหินนั้นมาวางข้างประตูใหญ่ของวัด ซึ่งการกระทำดังนี้ได้แสดงออกว่าทางการต้องการจะห้ามคนไทยไม่ให้นับถือศาสนาคริสต์ ในช่วงหลังๆ พระสังฆราชเดอ โลลิแอร์ ก็ป่วยเป็นโรคประสาททำให้ท่านมีอารมณ์ฉุนเฉียว มีเรื่องขัดเคืองกับพระสงฆ์บางคนสุดท้ายท่านได้ถึงแก่มรณภาพเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม ค.ศ.1755 ที่กรุงศรีอยุธยาโดยท่าน ได้เป็นพระสังฆราชเป็นเวลา 17 ปี