-
Category: มิสซังสยามในอดีต อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ในปัจจุบัน
-
Published on Friday, 16 October 2015 07:00
-
Written by หอจดหมายเหตุ
-
Hits: 2154
เนื่องจากพระสังฆราช เดอ โลลิแอร์ ป่วยเป็นเวลานานท่างสามเณราลัยที่กรุงปารีส จึงเสนอกรุงโรมให้แต่งตั้งคุณพ่อบรีโกต์ เป็นพระสังฆ ราซแห่งตาบรากา เป็นผูช่วยดูแลมิสซังไทยตั้งแต่ 22 มกราคม 1755 ในสมัยที่ท่านปกครองนี้ พระเจ้าแผ่นดินทรงพระนามว่าพระบรมรา ชาธิราชที่ 4 พระองค์ท่านปกครองได้ปีเดียว ก็ทรงสละราชสมบัติไปผนวชอยู่ที่วัดแห่งหนึ่ง โดยให้ขุนหลวงสุริยาศน์อัมรินทร์ขึ้นครองราชย์ แทน
พม่าบุกไทยครั้งแรก
ต้น ค.ศ. 1760 พม่าได้ยกทัพเข้ามาตีมอญ ซึ่งเป็นเมืองขึ้นของไทย พม่าได้ยึดเมืองทะวาย แล้วเข้าตีและยึดเมืองมะริด คุณพ่ออังดรีและคุณพ่อเลอแฟเวรอะ จึงหนีขึ้นเรือฝรั่งเศสกับคริสตังส่วนใหญ่ไปปอนดีเชอรี กองทัพพม่าได้มุ่งหน้าเข้ากรุงศรีอยุธยาทำให้เกิดความสับสนใน พระนคร คุณพ่อซีรูถือโอกาสนี้ทำลายหินแห่งความอัปยศทิ้งเสียในตอนกลางคืนบรรดาเสเสนาอำมาตย์ได้พากันไปกราบทูลพระเจ้าแผ่นดิ นที่กำลังทรงผนวชให้ลาผนวชออกมาบงการสู้ศึก พระองค์จึงจัดกองทัพ 15,000 คน ไปสู้กับพม่า แต่ก็แพ้ยับเยินกลับมา จึงให้มีการจัดให ม่อีก 2 กองสร้างป้อมรอบเมือง นอกจากนี้ยังขอร้องพระสังฆราชบรีโกต์ใช้อิทธิพลชักชวนให้คริสตังเข้าร่วมรบด้วย พวกคริสตังก็พากันไป สมัครเป็นทหาร แต่เพราะไม่มีความชัดเจนจึงจัดตั้งเป็นกองพิเศษ มีหน้าที่เฝ้าป้อม ในวันที่ 8 เมษายน พม่าได้ประชิดเมือง อยู่ห่างเพียง 2 ไมล์เท่านั้น วันที่ 11 เมษายน ข้าศึกได้เผาบ้านเรือนโดยรอบ ยกเว้นแต่ค่ายเข้ารีตที่ไม่ถูกเผา คุณพ่อแคแฮเว กับคุณพ่อมาแตง ได้พาพวก นักเรียนหนีไป โดยล่องไปทางแม่น้ำจนถึงท่าจอดเรือ วันที่ 13 เมษายน พวกพม่าได้เผาค่ายพวกฮอลันดา และยึดเรือหลวงได้ 14 ลำ พวก พม่าได้ทำร้ายหัวหน้าฮอลันดาบางเจ็บสาหัส และได้จับพวกเข้ารีตไปเป็นเชลย แต่บางคนก็หนีได้ ส่วนพวกเข้ารีตที่อยู่ที่ในค่ายคาทอลิกไ ม่ได้รับความเสียหายประการใด พวกพม่าได้ระดมยิงปืนใหญ่เข้ามาในกรุงตั้งแต่วันที่ 14 -16 เมษายน แต่โดยไม่คาดคิด พวกพม่าก็เลิกลา ยกกองทัพกลับพม่า ทั้งนี้ก็เพราะพระเจ้าแผ่นดินของพม่าเพิ่งสิ้นพระชนม์ แต่ขณะที่ถอยทัพไปนั้นพวกพม่าก็ได้เผาสามเณราลัยที่มหาพราหมณ์
เมื่อข้าศึกยกทัพกลับไปแล้ว พระเจ้าอุทุมพรก็กลับไปผนวชอีก ความไม่สงบจึงเกิดขึ้นในพระนครอีก พระเจ้าเอกทัตขึ้นครองราชย์ใหม่ แต่ก็ไม่ทรงสามารถควบคุมสถานการณ์ได้ พวกข้าราชการต่างใช้อำนาจในการแสวงหาผลประโยชน์ส่วนตัว ก่อให้เกิดความเดือนร้อนไปทั่ว สำหรับทางมิสซังก็ฟื้นขึ้นได้บ้าง คุณพ่อมาร์แต็งถูกส่งไปมะริด คุณพ่ออังดรีเออกลับมาจาก ปอนกดีเชอรี พยายามรวบรวมคริสตังราว 80 คนที่กลับมาอีก ทางมิสซังได้ส่งธรรมทูตมาใหม่ใน ค.ศ.1763 คือคุณพ่อเดอนิสบัวเรต์ ใน ค.ศ.1764 คุณพ่ออาร์โตด์ เดินทางมาถึงกรุงศรี อยุธยา ซึ่งขณะนั้นท่านเป็นเพียงผู้ช่วยพิธี และท่านได้รับศีลบวชที่กรุงศรีอยุธยา แต่เนื่องจากท่านป่วยเดินไม่ได้ ท่านจึงคัดลอกหนังสือ ภาษาไทยของพระสังฆราชลาโน และจัดส่งไปที่สามเณราลัยแห่งกรุงปารีส คุณพ่อกอร์ ได้รับมอบหมายให้ดูแลวัดอยุธยาใน ค.ศ.1761 ท่านได้เรียนภาษาไทย เทศน์เป็นภาษาไทย การทำเช่นนี้มีบางคนไม่เห็นด้วย แต่ปรากฏว่าคริสตังไทยมารับศีลศักดิ์สิทธิ์ได้ง่ายและบ่อยขึ้น ในช่วงระยะนี้ทางการก็คลายความเคร่งครัดลงไปมาก คุณพ่อเกแรร์เวได้ไปเยี่ยมเด็กที่ป่วยทั้งในเมืองและรอบชนบท บางวันโปรดศีลล้างเด็กถึง 60 คน แต่ตามธรรมดาก็ประมาณ 30 คน ในปีเดียวมีเด็กล้างบาปมากว่า 1,200 คน สามเณราลัยที่ถูกเผา ก็ได้รับการซ่อมแซม แต่ ด้วยความแห้งแล้ง คุณพ่อเกแรร์เวและคุณพ่อมาร์แต็ง จึงจำใจย้ายสามเณรจำนวน 30 คน ไปอยู่ที่กรุงศรีอยุธยา พระสังฆราชได้ขอพระ ราชทานที่ดินแปลงหนึ่ง เพื่อสร้างอาคารใหม่ คุณพ่อเกแรร์เวได้รวบรวมพระวินัยใหม่และคุณพ่ออาร์โตด์เป็นอธิการสามเณราลัย ซึ่งท่านได้ปกครองด้วยความพากเพียรอ่อนโยน
พม่าบุกไทยครั้งที่สอง
ในวันที่ 6 พฤษาคม ค.ศ. 1765 กองทัพพม่าได้เข้าประชิดกรุง และเผาบ้านเรือนโดยรอบ สามเณราลัยก็ถูกเผาด้วยเช่นกัน ยกเว้นหมู่บ้าน คริสตัง จึงมีคนต่างศาสนาหลายคนลี้ภัยเข้ามาในหมู่บ้านคริสตัง พระสังฆราชจึงถือโอกาสนี้สอนคำสอน และระหว่างนั้นก็ได้โปรดศีลล้าง บาปแก้เด็กใกล้ตายเป็นจำนวนมาก หลังจากที่พม่าตีกรุงศรีอยุธยาได้แล้ว ในที่สุดกองทัพพม่าก็ได้ถอยกลับไปเมื่อวันที่ 15 เมษายน โดย คุมตัวพระเจ้าแผ่นดิน บรรดาข้าราชการอีกหลายคนไปเป็นเชลย พวกพม่าได้นำตัวพระสังฆราชบรีโกร์กับนักบวชชาวโปรตุเกสหลายคนไป ที่บางช้าง ระหว่างการเดินทางพวกเชลยศึกได้ล้มตายเป็นจำวนวนมาก เพราะความหิวโหยและโรคภัยต่างๆ พระสังฆราชถูกนำตัวไปที่เมือง ทวาย และสุดท้ายท่านได้ออกเดินทางจากเมืองย่างกุ้งเมื่อวันที่ 17 มีนาคม ค.ศ.1768 และเดินทางไปปอนดีเชอรีในเดือนเมษายน หลังจาก นั้นท่านได้กลับไปอยู่ที่สามเณราลัยแห่งกรุงปารีส และในวันที่ 30 กันยายน ท่านได้รับแต่งตั้งเป็นอธิการมิสซังมาลาบาร์ ซึ่งพระสันตะปา ปาปีโอ ที่ 6 เพิ่งมอบให้มิสซังต่างประเทศดูแลแทนคณะเยซูอิต ซึ่งถูกยกเลิกไปตั้งแต่ค.ศ.1773 พระสังฆราชบรีโกต์ จึงเดินทางไปมาปอน ดีเชอรีเพื่อไปปกครองเขตของท่านที่ได้รับหมอบหมาย ดังนั้นตามนิตินัย ท่านจึงยังคงเป็นประมุขมิสซังไทยอยู่จนถึงปีนั้น แม้ว่าพระสังฆราชเลอบ็องได้เดินทางกลับมาประเทศไทยตั้งแต่ ค.ศ. 1771 แล้วก็ตาม