-
Category: ประวัติ 10 อาสนวิหารในประเทศไทย
-
Published on Monday, 23 November 2015 02:05
-
Written by หอจดหมายเหตุ
-
Hits: 5680
ซอย 95 ถนนสวรรค์วิถี ซอยเทวาวิถี
อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ 60000
โทร. 0-5622-2608 โทรสาร 0-5622-4437
ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีความอุดมสมบูรณ์ที่สุดประเทศหนึ่ง ซึ่งชาวตะวันตกที่มาอยู่ในสมัยแรก มีความชื่นชมนิยมชมชอบดินแดนจนบางที่เรียกว่าเป็นพาราไดส์ หรือสรวงสวรรค์บนแผ่นดิน ความอุดมสมบูรณ์ที่ว่านี้มีทั้งในน้ำและบนบกจนพูดกันติดปากว่า “ในน้ำมีปลาในนามีข้าว” ซึ่งความอุดมสมบูรณ์นี้ยังพอหาได้ในประเทศไทย แม้นในปัจจุบัน ถึงแม้ว่าจะมีการทำลายความอุดมสมบูรณ์ไปมากแล้วก็ตาม ที่ไหนมีความอุดมสมบูรณ์ มีที่ดินดี น้ำดีที่นั้นย่อมมีคนอาศัย อพยพกันมาตั้งหลักแหล่งทำมาหากิน ดังนั้นดินแดนที่มีความอุดมสมบูณ์ที่สุดแห่งหนึ่ง ที่มีผลมาจากการบรรจบของแม่น้ำสองสายคือแม่น้ำน่านกับแม่น้ำปิง ท้ายเกาะยม อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ ชาวบ้านเรียกว่า “ปากน้ำโพ” หรือ “ปากน้ำโผล่” ซึ่งเป็นแม่น้ำเจ้าพระยาไหลลงมาทางใต้ ดินแดนนี้จึงเป็นที่รวมผู้คนทุกสารทิศ เพื่อมาสร้างบ้านทำมาหากิน
ในจำนวนนี้ก็มีคริสตชนจากวัดเกาะใหญ่ บ้านแป้ง บางขาม รวมอยู่ด้วย ซึ่งในตอนแรกคงมีไม่มากนัก มาตั้งบ้านทำการประมงจับปลาน้ำจืดแถบบึงบรเพ็ด และแถบต้นแม่น้ำเจ้าพระยา ที่เรียกว่าปากน้ำโพหรือปากน้ำโผล่นี้เอง ซึ่งเป็นดินแดนที่มีประวัติของกลุ่มคริสตชนอยู่ที่นี่ด้วย สำหรับคริสตชนคนแรกที่ย้ายมาอยู่ที่ปากน้ำโพคนแรกนั้นไม่มีใครบันทึกไว้ และไม่มีบันทึกเช่นเดียวกันด้วยว่าคนวัดไหนเป็นคนมาก่อนคนวัดอื่น ที่ที่เรารู้เพียงแต่ว่าได้มีคริสตชนชาวญวนย้ายมาอยู่ที่ปากน้ำโพ กลุ่มหนึ่ง พอถึงปี ค.ศ.1888 ในสมัยพระพุทธเจ้าหลวง รัชกาลที่ 5 พระสังฆราชหลุยส์ เวย์ ก็มีคำสั่งให้คุณพ่อเจ้าวัดบ้านแป้ง คุณพ่ออีฟ มารี แก็นตริก ซึ่งเป็นพ่อเจ้าวัดที่ใกล้ที่สุด ได้มาเยี่ยมเยียนคริสตชนที่นี่เป็นครั้งแรก แต่ไม่ได้ตั้งบ้านพักหรือวัดอะไรทั้งสิ้น
พอถึงปี ค.ศ.1894 หกปีต่อมาการรวมกลุ่มของคริสตชนเข้มแข็งขึ้น คุณพ่อจึงได้ซื้อที่ดินที่ริมฝั่งต้นแม่น้ำเจ้าพระยาซึ่งเป็นที่แม่น้ำปิงและน่านบรรจบกัน และต่อมาเนื่องจากกระแสน้ำไหลเชี่ยวกราดมากในฤดูฝน ทำให้น้ำตัดขาดบริเวณที่ดินนี้ กลายเป็นเกาะกลางน้ำ ซึ่งเรียกกันมาติดปากชาวปากน้ำโพว่า “เกาะญวน” และเกาะญวนนี้เองถูกสายน้ำพัดหายไปในที่สุด แต่ได้มีที่ดินงอกมาอีกครั้งหนึ่งหลังจากได้สร้างเขื่อนภูมิพล จังหวัดตาก แต่น่าเสียดายที่ที่ดินผืนนี้ได้ยกให้เป็นสาธารณะประโยชน์ไปแล้ว ในสมัยพระสังฆราชหลุยส์ โชแรง
ในปีต่อมา ปี ค.ศ.1895 คุณพ่อแก็งตริก ผู้ที่มีความสามารถในการสร้างวัด(ในประวัติของคุณพ่อได้สร้างวัดบ้านแป้งหลังที่สองขึ้นด้วย) ก็ได้สร้างวัดน้อยที่บนเกาะญวนขึ้นพร้อมกับโรงเรียนขึ้นอีก 2 หลัง ทั้งหมดทำด้วยไม้ คุณพ่อได้เป็นเจ้าอาวาส 2 วัด คือ บ้านแป้งและปากน้ำโพ พร้อมกันจนถึงปี ค.ศ.1907 พระก็เรียก คุณพ่อกลับไปหาพระองค์ ร่างของคุณพ่อถูกฝังไว้ที่วัดอยุธยา นับเป็นผู้ที่คริสตชนปากน้ำโพควรคิดถึงคุณพ่อมากๆ ในฐานะผู้นำคนแรกของพระศาสนจักรปากน้ำโพ
ปี ค.ศ.1907 หลังจากคุณพ่อแก็งตริกได้จากไปแล้ว พระสังฆราช ได้ส่งคุณพ่อ มอริส การ์ตอง มาเป็นเจ้าวัดที่บ้านแป้งและดูแลวัดน้อยที่ปากน้ำโพด้วย ดังนั้นคงไม่มีพระสงฆ์อยู่ประจำ แต่คุณพ่อคงมาค้างและประจำเป็นช่วงๆ สลับกับที่วัดบ้านแป้ง ในสมัยของท่านได้เกิดโรคระบาดร้ายแรง (กาฬโรคและอหิวาต์ติดต่อกัน) ทำให้ครูใหญ่ที่ดีที่สุดในสมัยนั้น พร้อมกับซิสเตอร์พื้นเมือง ต้องเสียชีวิตเพราะโรคระบาดนั้นด้วย คุณพ่อและปลัด คุณพ่อกาสตัล จึงเข้าทำการสอนแทน ซึ่งมีบันทึกว่า คุณพ่อเสียดายการจากไปของครูใหญ่และซิสเตอร์พื้นเมือง ทำให้การแพร่ธรรมต้องหยุดชงักลง และในสมัย คุณพ่อมอริส การ์ตอง นี้เอง วัดนักบุญอันนาก็มีสมุดบันทึกศีลล้างบาปเล่มแรกของวัด โดยบันทึกการล้างบาปของคุณพ่อเรย์มอนด์ ลงวันที่ 13 เมษายน ค.ศ.1907 ชื่อคริสตังที่บันทึกมีนามนักบุญอันนา บุตรนายดองและนางใจ เป็นเลขที่หนึ่ง
ปี ค.ศ.1912 คุณพ่อมอริส การ์ตอง กลับกรุงเทพฯ ทำหน้าที่เหรัญญิกให้กับมิสซัง คุณพ่อเปรองโด (บางท่านเรียกว่า เปรูดอง) เข้ารับตำแหน่งเจ้าอาวาสแทน จนถึงปี ค.ศ.1914 คุณพ่อก็กลับประเทศฝรั่งเศส เพราะเกิดสงครามในทวีปยุโรป จึงทำให้ชายทุกคนถูกเรียกให้เข้ารับราชการทหาร ในช่วงที่พระสงฆ์ฝรั่งเศสกลับไปบ้านเกิดเมืองนอนนี้เอง ทำให้ขาดพระสงฆ์ในการทำงาน ดังนั้นวัดปากน้ำโพจึงขึ้นอยู่กับเจ้าวัดที่วัดบ้านแป้งอีกครั้งหนึ่งคุณพ่อไทย 2 ท่าน ที่มารับผิดชอบต่อกลุ่มคริสตชนที่ปากน้ำโพ เป็นช่วงสั้นๆ ปี ค.ศ.1914 ถึง ค.ศ.1916 คือ คุณพ่อยาโกเบ แจง เกิดสว่าง (ต่อมาได้เป็นพระสังฆราช) เจ้าอาวาสบ้านแป้ง คุณพ่อซีมอน เว้ ปลัด
ต้นปี ค.ศ.1916 คุณพ่อไทยอีกท่านหนึ่ง นามว่า คุณพ่ออันเดร โรจนเสน ก็เข้ามาเป็นเจ้าอาวาส จนถึงปี ค.ศ.1927 รวมเป็นเจ้าอาวาส 11 ปี ในสมัยของคุณพ่ออันเดรนี้เอง คุณพ่อมิได้ อยู่ที่นครสวรรค์เท่านั้น แต่ยังได้เดินทางขึ้นเหนือไปที่พิษณุโลกอีกด้วย ในสมัยของคุณพ่อได้ทำการจับจองที่ดินมากมายหลายแห่ง แต่เนื่องไม่มีใครดูแลทำให้เสียสิทธิ มีผู้อื่นเข้าไปอยู่และยึดครองไปในที่สุดเป็นจำนวนมาก เช่นบริเวณเขากบ
ปี ค.ศ.1928 คุณพ่อเฮนรี่ ได้มารับผิดชอบ 1 ปี ปี ค.ศ.1929 คุณพ่อเรมองโด ในยุคของคุณพ่อค่อนข้างมีปัญหามากในเรื่องที่ดิน เพราะต้องขึ้นโรงขึ้นศาลเรื่องที่ดินของวัดที่ชาวบ้านบุกรุก ปี ค.ศ.1934 คุณพ่อปลัด คุณพ่อกาสตอง มาทำงานช่วยคุณพ่อเรมองโด ปี ค.ศ.1941 คุณพ่อเรมองโด ได้พ้นจากหน้าที่ คุณพ่อวินเซนเต เข้ารับหน้าที่แทน มีนาคม ค.ศ.1945 คุณพ่อเทโอฟาน หลง มีเฟื่องศาสตร์ ได้เข้ารับหน้าที่เจ้าอาวาส ซึ่งในสมัยนั้นยังอยู่ที่เกาะญวนอยู่ แต่มีสภาพทรุดโทรมมากเพราะน้ำกัดเซาะตลิ่งพังทุกปี ดังนั้น คุณพ่อและคริสตังเห็นว่าอยู่ไม่ได้แล้ว จึงทำการ ย้ายวัดขึ้นมาบนฝั่งทางด้านตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา ที่ตำบลบางปล้อง ซึ่งปัจจุบันเป็นบริเวณบริษัทเสริมแสงเก่าถนนสวรรค์วิถี แต่ก็ไม่วายที่จะถูกน้ำเซาะทำลายอีก
ในที่สุดคริสตังและเจ้าวัด คุณพ่อเทโอฟานเห็นว่าจะอยู่ริมแม่น้ำอย่างนั้นไม่เหมาะ จึงได้ทำการย้ายวัดมาอยู่ในที่ดินปัจจุบัน ซึ่งได้ซื้อมาบ้างและมีชาวบ้านได้ถวายบ้างรวมเนื้อที่ประมาณ 40 ไร่เศษ โดยครั้งนั้นได้รื้อวัดเก่ามา ช่วยกันขนมาแบกมาใช้ลากใช้เลื่อนกันมา ตามแต่เครื่องมือยานพาหนะสมัยนั้นจะหาได้ และ ได้สร้างวัดหลังแรกในที่ดินใหม่ แต่เป็นวัดหลังที่สาม โดยสร้างอยู่บนถนนปัจจุบันบริเวณหน้าร้านค้าของนายสมาน ช้อยพลอย ด้านหน้าวัดหันไปยังถนนสวรรค์วิถี วัดสร้างด้วยไม้ที่ย้ายจากวัดเก่ามา มีระเบียงข้างหน้าสำหรับให้หญิงที่มีเด็กอ่อนนั่งเลี้ยงเด็กพร้อมร่วมมิสซาได้ ส่วนบรรดาสัตบุรุษนั้นมีไม่กี่ครอบครัวที่มาอยู่ด้วย ซึ่งปัจจุบันมีชีวิตอยู่พอที่จะเล่าเหตุการณ์ต่างๆ ได้ก็คือ ป่าเสงี่ยม กิจเจริญ ป้าเกษร ศรีรัตนะ ป้าสงวน เสงี่ยมแก้ว เป็นต้น
ในสมัยนั้นยังมีซิสเตอร์คลองเตยมาประจำวัดด้วย ซิสเตอร์ทำหน้าที่ช่วยคุณพ่อในเรื่องอาหาร รายได้เข้าวัด ด้วยการเลี้ยงหมู ทำขนม ซึ่งมีเด็กหญิงหลายคนได้ความรู้ทำขนมอร่อยๆ ในปัจจุบัน ป้าประเทือง พันธ์รัตน์ เป็นต้น คุณพ่อเทโอฟานได้สร้างบ้านพักพระสงฆ์ บนบริเวณโรงรถโรงเรียนวันทามารีย์ในปัจจุบัน เป็นบริเวณที่ใครเดินผ่านไปมาก็เห็นหมด ดังนั้น ในช่วงนั้นใครจะไปทำมาหากินหรือไปดูลิเก คุณพ่อก็จะเห็นหมดและคอยเรียก คอยถามไถ่เสมอว่าไปไหนมา จะไปไหน จับปลาได้มากไหม คุณพ่อได้ดูแลปกครองคริสตังจนคุณพ่อป่วยหนัก เป็นมะเร็งที่ท้อง คุณพ่อได้ไปรักษาตัวที่กรุงเทพฯที่โรงพยาบาลเซนต์หลุยส์ แต่ถูกนำตัวไปผ่าตัดที่โรงพยาบาล ศิริราช แต่ไม่สามารถเยียวยาได้จึงได้สิ้นใจที่กรุงเทพฯ วันที่ 22 พฤษภาคม ค.ศ.1958 ศพของคุณพ่อได้ฝังไว้ที่วัด อัสสัมชัญ
คุณพ่อได้เป็นเจ้าอาวาสถึงเดือน มีนาคม ค.ศ.1958 รวมเวลาการเป็นเจ้าอาวาส 13 ปี หลังจากคุณพ่อเทโอฟาน ได้รับการยกจากพระเป็นเจ้าไปแล้ว ในระหว่างที่คุณพ่อไม่อยู่ไปรักษาตัวที่กรุงเทพฯ ได้มีคุณพ่อยอแซฟ ราฟาแอล มารับหน้าที่แทนชั่วคราว 2 เดือน พอกลางเดือนพฤษภาคม ปี ค.ศ.1958 หลังจากที่ทราบแน่นอนแล้วว่า คุณพ่อเทโอฟานคงไม่หายจากการเป็นมะเร็ง พระสังฆราช หลุยส์ โชแรง จึงได้แต่งตั้งให้คุณพ่อกาเบรียล แวร์นิแอร์ เข้ารับตำแหน่งเจ้าอาวาสแทน
คุณพ่อแวร์นิแอร์ เป็นคนไม่พูดมากแต่ใจร้อนและค่อนข้างดุ ในช่วงที่คุณพ่อแวร์นิแอร์เข้ามารับตำแหน่งเจ้าอาวาส คุณพ่อก็มีโครงการที่จะสร้างวัดหลังใหม่ แต่ไม่สำเร็จ แต่คุณพ่อก็ได้ทำการวางท่อประปาจากถนนใหญ่มาในหมู่บ้าน ซึ่งก็ได้ใช้อยู่จนถึงปัจจุบัน และเพราะมาทำท่อน้ำให้ชาวบ้านนี้เองก็เกิดหกล้ม ขาจึงไม่แข็งแรงในเวลาต่อมา สำหรับซิสเตอร์คณะนักบวชของอารามคลองเตยก็ได้กลับคณะ เลิกการทำงานในสมัยคุณพ่อแวร์นิแอร์ ด้วยเหตุผลหลายประการ ในช่วงระยะเวลาที่คุณพ่อเป็นเจ้าอาวาส ที่วัดนักบุญอันนาก็กลายเป็นศูนย์กลางของมิสซัง ได้มีคุณพ่อหลายองค์ได้เข้ามาเพื่อฝึกงาน เรียนภาษาไทยจำนวนหลายองค์ เช่น คุณพ่อเสวียง ศุรศรางค์ คุณพ่อทัศนัย คมกฤษ คุณพ่อปีแอร์ ลาบอรี่ คุณพ่อโรแบร์ ฮาสอ์ คุณพ่อมิชแชล กุตตัง ซึ่งทำให้วัดดูครึกครื้นดี เพราะมีคุณพ่อมากมายเข้าๆ ออกๆ เหมือนอาราม นักบวช และคุณพ่อต่างๆ ที่มาอยู่ก็ได้ทำหน้าที่ช่วยคุณพ่อแวร์นิแอร์ในด้านการอภิบาลด้วย
ส่วนบ้านพักพระสงฆ์นั้นก็เป็นบ้านหลังปัจจุบันที่มีอยู่ เป็นบ้านที่พระสังฆราชหลุยส์ โชแรง ได้มีการตกลงในเรื่องการแลกเปลี่ยนระหว่างซิสเตอร์คณะเซนต์ปอลเดอชารต์ ทางซิสเตอร์ได้สร้างบ้านพักให้เพื่อแลกเปลี่ยนกับที่ดินโรงเรียนวันทามารีย์บางส่วน โดยรื้อไม้เก่าจากโรงเรียนแห่งหนึ่งที่กรุงเทพฯ มาสร้างให้ ส่วนที่ดินก่อสร้างโรงเรียนวันทามารีย์ปัจจุบันได้มีการซื้อขาย ระหว่างพระสังฆราชกับทางคณะในสมัยนั้น โดยตัดจากที่ดินประมาณ 40 ไร่ ที่คุณพ่อเทโอฟานได้จัดหาในสมัยของคุณพ่อ คุณพ่อแวร์ดิแอร์ได้อยู่เป็นเจ้าอาวาสจนถึงต้นปี ค.ศ.1963 คุณพ่อเสวียง ศุรศรางค์ จึงเข้ามารับตำแหน่งแทน คุณพ่อเพิ่งเรียนที่บ้านเณรปีนังจบ จึงเป็นพระสงฆ์หนุ่มที่ร่าเริง ชอบยิงนกตกปลาเป็นชีวิต และชอบไปเยี่ยมเยียนชาวบ้านกินข้าวกินปลากับชาวบ้าน จึงเป็นที่สนิทสนมกับชาวบ้านมากในสมัยนั้น
ในสมัยนั้นยังมีซิสเตอร์คลองเตยมาประจำวัดด้วย ซิสเตอร์ทำหน้าที่ช่วยคุณพ่อในเรื่องอาหาร รายได้เข้าวัด ด้วยการเลี้ยงหมู ทำขนม ซึ่งมีเด็กหญิงหลายคนได้ความรู้ทำขนมอร่อยๆ ในปัจจุบัน ป้าประเทือง พันธ์รัตน์ เป็นต้น คุณพ่อเทโอฟานได้สร้างบ้านพักพระสงฆ์ บนบริเวณโรงรถโรงเรียนวันทามารีย์ในปัจจุบัน เป็นบริเวณที่ใครเดินผ่านไปมาก็เห็นหมด ดังนั้น ในช่วงนั้นใครจะไปทำมาหากินหรือไปดูลิเก คุณพ่อก็จะเห็นหมดและคอยเรียก คอยถามไถ่เสมอว่าไปไหนมา จะไปไหน จับปลาได้มากไหม คุณพ่อได้ดูแลปกครองคริสตังจนคุณพ่อป่วยหนัก เป็นมะเร็งที่ท้อง คุณพ่อได้ไปรักษาตัวที่กรุงเทพฯที่โรงพยาบาลเซนต์หลุยส์ แต่ถูกนำตัวไปผ่าตัดที่โรงพยาบาล ศิริราช แต่ไม่สามารถเยียวยาได้จึงได้สิ้นใจที่กรุงเทพฯ วันที่ 22 พฤษภาคม ค.ศ.1958 ศพของคุณพ่อได้ฝังไว้ที่วัด อัสสัมชัญ
คุณพ่อได้เป็นเจ้าอาวาสถึงเดือน มีนาคม ค.ศ.1958 รวมเวลาการเป็นเจ้าอาวาส 13 ปี หลังจากคุณพ่อเทโอฟาน ได้รับการยกจากพระเป็นเจ้าไปแล้ว ในระหว่างที่คุณพ่อไม่อยู่ไปรักษาตัวที่กรุงเทพฯ ได้มีคุณพ่อยอแซฟ ราฟาแอล มารับหน้าที่แทนชั่วคราว 2 เดือน พอกลางเดือนพฤษภาคม ปี ค.ศ.1958 หลังจากที่ทราบแน่นอนแล้วว่า คุณพ่อเทโอฟานคงไม่หายจากการเป็นมะเร็ง พระสังฆราช หลุยส์ โชแรง จึงได้แต่งตั้งให้คุณพ่อกาเบรียล แวร์นิแอร์ เข้ารับตำแหน่งเจ้าอาวาสแทน
คุณพ่อแวร์นิแอร์ เป็นคนไม่พูดมากแต่ใจร้อนและค่อนข้างดุ ในช่วงที่คุณพ่อแวร์นิแอร์เข้ามารับตำแหน่งเจ้าอาวาส คุณพ่อก็มีโครงการที่จะสร้างวัดหลังใหม่ แต่ไม่สำเร็จ แต่คุณพ่อก็ได้ทำการวางท่อประปาจากถนนใหญ่มาในหมู่บ้าน ซึ่งก็ได้ใช้อยู่จนถึงปัจจุบัน และเพราะมาทำท่อน้ำให้ชาวบ้านนี้เองก็เกิดหกล้ม ขาจึงไม่แข็งแรงในเวลาต่อมา สำหรับซิสเตอร์คณะนักบวชของอารามคลองเตยก็ได้กลับคณะ เลิกการทำงานในสมัยคุณพ่อแวร์นิแอร์ ด้วยเหตุผลหลายประการ
ในช่วงระยะเวลาที่คุณพ่อเป็นเจ้าอาวาส ที่วัดนักบุญอันนาก็กลายเป็นศูนย์กลางของมิสซัง ได้มีคุณพ่อหลายองค์ได้เข้ามาเพื่อฝึกงาน เรียนภาษาไทยจำนวนหลายองค์ เช่น คุณพ่อเสวียง ศุรศรางค์ คุณพ่อทัศนัย คมกฤษ คุณพ่อปีแอร์ ลาบอรี่ คุณพ่อโรแบร์ ฮาสอ์ คุณพ่อมิชแชล กุตตัง ซึ่งทำให้วัดดูครึกครื้นดี เพราะมีคุณพ่อมากมายเข้าๆ ออกๆ เหมือนอาราม นักบวช และคุณพ่อต่างๆ ที่มาอยู่ก็ได้ทำหน้าที่ช่วยคุณพ่อแวร์นิแอร์ในด้านการอภิบาลด้วย
ส่วนบ้านพักพระสงฆ์นั้นก็เป็นบ้านหลังปัจจุบันที่มีอยู่ เป็นบ้านที่พระสังฆราชหลุยส์ โชแรง ได้มีการตกลงในเรื่องการแลกเปลี่ยนระหว่างซิสเตอร์คณะเซนต์ปอลเดอชารต์ ทางซิสเตอร์ได้สร้างบ้านพักให้เพื่อแลกเปลี่ยนกับที่ดินโรงเรียนวันทามารีย์บางส่วน โดยรื้อไม้เก่าจากโรงเรียนแห่งหนึ่งที่กรุงเทพฯ
น้ำท่วมจังหวัดนครสวรรค์ ปลายปี ค.ศ.1959
คือบริเวณวัดนักบุญอันนา ปากน้ำโพ
มาสร้างให้ ส่วนที่ดินก่อสร้างโรงเรียนวันทามารีย์ปัจจุบันได้มีการซื้อขาย ระหว่างพระสังฆราชกับทางคณะในสมัยนั้น โดยตัดจากที่ดินประมาณ 40 ไร่ ที่คุณพ่อเทโอฟานได้จัดหาในสมัยของคุณพ่อ
คุณพ่อแวร์ดิแอร์ได้อยู่เป็นเจ้าอาวาสจนถึงต้นปี ค.ศ.1963 คุณพ่อเสวียง ศุระศรางค์ จึงเข้ามารับตำแหน่งแทน คุณพ่อเพิ่งเรียนที่บ้านเณรปีนังจบ จึงเป็นพระสงฆ์หนุ่มที่ร่าเริง ชอบยิงนกตกปลาเป็นชีวิต และชอบไปเยี่ยมเยียนชาวบ้านกินข้าวกินปลากับชาวบ้าน จึงเป็นที่สนิทสนมกับชาวบ้านมากในสมัยนั้น
เดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ.1965 คุณพ่อเสวียงก็พ้นจากตำแหน่งเจ้าอาวาส คุณพ่อเรอเน บริสซอง ก็เข้ามารับตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดนครสวรรค์ ในระยะนี้โครงการที่เคยคิดกันว่าจะสร้างวัดใหม่ ให้เป็นอาสนวิหารประจำมิสซัง คุณพ่อก็ได้เห็นคล้องกัน คุณพ่อบริสซอง ได้สั่งให้สัตบุรุษที่อยู่ในบริเวณที่วัดจะสร้าง ได้ย้ายบ้านออกในเนื้อที่ปลูกวัดปัจจุบัน ทำการปรับเนื้อที่ ได้หาช่างออกแบบวัด และได้ตระเตรียมวัสดุก่อสร้างเพื่อก่อสร้างอย่างเต็มที่ แต่ไม่ทราบด้วยเหตุผลประการใด วันหนึ่งคุณพ่อได้ออกจากวัดแต่เช้ามืดเดือนตุลาคม ปี ค.ศ.1968 และมาประจำที่ มิสซังกรุงเทพฯ และคงอยู่ที่มิสซังกรุงเทพฯ วัดสามเสนจนถึงปัจจุบัน
เดือนพฤศจิกายน ค.ศ.1968 เจ้าวัดใหม่ซึ่งเป็นทั้งพระสังฆราชและเจ้าอาวาส ก็คือ พระสังฆราชมิแชล ลังเยร์ คุณพ่อเกิดที่เขตจังหวัดนอร์มังดี ฝรั่งเศส เข้าสมัครเป็นมิชชันนารีในบ้านเณรของคณะM.E.P. ในปี ค.ศ.1944 บวชเป็นพระสงฆ์ เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม ค.ศ.1946 หลังจากนั้นได้เป็นมิชชันนารีที่เมืองจีน จนมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นคอมมิวนิสต์ คุณพ่อพร้อมกับชาวต่างประเทศทุกคนจึงถูกรัฐบาลจีนบังคับให้ออกนอกประเทศ คุณพ่อได้พักรักษาตัวที่ฮ่องกงอยู่ชั่วระยะหนึ่ง จากนั้นจึงเดินทางมาที่กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน ค.ศ.1951 เนื่องจากคุณพ่อรู้จักมักคุ้นกับคนจีนมากและมีความรู้เกี่ยวกับภาษาจีน ดังนั้นจึงเข้าประจำวัดที่มีคริสตังเป็นชาวจีน เช่น วัดบ้านนา หนองรี กาลหว่าร์ รวมทั้งวัดหลังใหม่ในสมัยนั้นคือวัดเซนต์หลุยส์ด้วย
หลังจากนั้นคุณพ่อได้มาประจำที่วัดนักบุญอันนา นครสวรรค์ และรับตำแหน่งพระสังฆราชองค์แรกของมิสซังนครสวรรค์ เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ ค.ศ.1967 สิ่งที่เป็นอนุสรณ์ที่คริสตังนครสวรรค์ได้รับคือวัดหลังใหญ่ปัจจุบันที่ใช้อยู่นี่เอง ในสมัยท่าน ท่านได้ขยายการแพร่ธรรมไปทั่วสังฆมณฑลกับชาวเขาทางตะวันตกกับชาวอีสานทางเพชรบูรณ์ ส่วนทางใต้ก็ได้ปรับปรุงโรงเรียน การแพร่ธรรมกับคนไทยภาคกลางด้วยการปรับปรุงบ้านพักพระสงฆ์ วัด และโรงเรียนในทุกจังหวัด ท่านได้ย้ายออกจากวัดนักบุญอันนาไปอยู่วัดเพชรบูรณ์ในปี ค.ศ.1977 และเข้าบ้านพระสงฆ์ที่สระบุรีในปีใดไม่มีกล่าวถึง ท่านมรณะเมื่อวันที่ 30 เมษายน ค.ศ.1989 ด้วยโรคหลายโรคในช่องท้อง และร่างของท่านฝังที่สุสานวัดนักบุญอันนา นครสวรรค์ ในสมัยพระสังฆราชลังเยร์ ได้เริ่มมีคริสตชนจากบางพระหลวง จากหัวดง เริ่มอพยพมาเช่าที่ดินของวัดบ้างแล้ว โดยมายึดอาชีพจับปลา หอย และฆ่าไก่ขาย
วันที่ 24 พฤษภาคม ค.ศ.1976 พระสังฆราช บรรจง อารีพรรค ได้รับการแต่งตั้งเป็นสังฆราชประจำสัง ฆมณฑล นครสวรรค์ วันที่ 22 กรกฎาคม ค.ศ.1976 ได้ทำพิธีรับตำแหน่งที่วัดนักบุญอันนา นครสวรรค์ ซึ่งก่อนหน้านั้นท่านเป็นอธิการบ้านเณรใหญ่ สามพราน โดยความเห็นชอบจากคณะสงฆ์และสมเด็จพระสันตะปาปา ปี ค.ศ.1977 คุณพ่อชัยศักดิ์ ศรีทิพย์อาสน์ ได้เข้ารับตำแหน่งเจ้าอาวาส คุณพ่อได้ย้ายมาจากสังฆมณฑลราชบุรี คุณพ่อได้มาถึงวัดพร้อมกับลูกวัดเก่า โดยไม่มีใครรู้มาก่อน พอมาถึงก็โดนมือดีลองภูมิด้วยการหยิบกล้องถ่ายรูปไปโดยไม่บอก หาเท่าไหร่ก็ไม่เจอ นี่เป็นการสูญเสียครั้งแรกของคุณพ่อ ตั้งแต่วันแรกจนถึงวันสุดท้าย ที่มาเป็นเจ้าวัดนักบุญอันนา นครสวรรค์
คุณพ่อชัยศักดิ์ เป็นชาวสังฆมณฑลราชบุรี เข้าบ้านเณรใหญ่ที่ปีนัง มาเลเซีย และบ้านเณรปูนามัลลี ประเทศอินเดีย หลังจากได้รับบวชเป็นพระสงฆ์แล้วได้ประจำอาสนวิหารแม่พระบังเกิด บางนกแขวก สมุทรสงคราม และมาที่สังฆมณฑลนครสวรรค์ ด้วยความสมัครใจ คุณพ่อเป็นคนใจร้อนรนชอบทำงาน โดยเฉพาะงานที่เกี่ยวกับการพัฒนาทางด้านการกินการอยู่ โดยมีความคิดว่าการพัฒนาให้ชาวบ้านมีการกินดีอยู่ดี จะทำให้เขามีเวลาเข้าวัดเข้าวามากขึ้น เป็นคริสตังที่ดีต่อไป และสามารถทำให้ผู้อื่นเห็นความดีของคริสตังได้ ดังนั้นคุณพ่อจึงเริ่มต้นด้วยการเลี้ยงไก่เนื้อขายบริเวณข้างวัด เป็นตัวอย่างให้กับชาวบ้าน และเมื่อชาวบ้านเห็นความสำเร็จจากการเลี้ยงไก่ตัวอย่าง ได้กำไรดีก็เริ่มมีการจัดตั้งกลุ่มผู้เลี้ยงไก่ขึ้นมา โดยความเห็นชอบจากคุณพ่อ จากเลี้ยงเป็นพันก็เปลี่ยนเป็นหมื่นและหลายหมื่น จากโรงเลี้ยงไก่สาธิตกลายเป็นไก่ธุรกิจ กระจายรอบๆ อำเภอเมือง และได้จัดตั้งเป็นสหกรณ์เลี้ยงไก่มิตรสัมพันธ์ขึ้น
นอกจากนี้ยังได้ขยายงานให้ชาวบ้านได้ทำเพื่อให้เกิดงานอาชีพครบวงจร โดยส่งเสริมให้มีการฆ่าไก่ขายที่ตลาด ซึ่งทำเป็นอาชีพเดิมอยู่แล้ว โดยรับไก่จากฟาร์มของวัดและสหกรณ์ไปฆ่าแทนที่จะไปรับไก่จากพ่อค้าคนกลาง ในช่วงนั้นนับว่าประสบผลทันตาเห็น คริสตังจากตำบลเขาดิน ตำบลบางพระหลวง ซึ่งปกติมีอาชีพจากการจับปลา เลี้ยงหมู ทำเกษตรกรรมเล็กๆ น้อยๆ และเล่นการพนัน ขาดความรู้การศึกษาที่ทำมาหากินแบบคนเมือง ก็ได้โยกย้ายเข้ามาทำมาหากินกับไก่ของคุณพ่อชัยศักดิ์ เพราะมีรายได้ดีกว่า จึงทำให้เกิดการโยกย้ายอย่างใหญ่จากตำบลบางพระหลวง มาขอเช่าอยู่ในเขตที่ดินของวัด ทำให้ที่ของวัดที่มีประมาณ 30 ไร่ ใจกลางเมืองแน่นขึ้นอย่างถนัดใจ และทำอาชีพฆ่าไก่ตั้งแต่เวลานั้นจนถึงปัจจุบัน และมีผลกระทบต่อการเป็นอยู่ของคริสตชนอย่างมาก จนถึงปัจจุบัน
แต่อย่างไรก็ตามความสำเร็จมิได้อยู่ยั่งยืนนาน ในปี ค.ศ.1983 เค้าของความวุ่นวายก็เกิดขึ้น ความใหญ่โตของฟาร์มไก่ทำให้ต้องการใช้ทุนมาก บุคลากรมาก ต้องการการควบคุมจัดการอย่างมีระบบ ถึงแม้จะมีการตั้งกลุ่มชาวบ้านให้รวมตัวกันทำงาน แต่ก็ไม่ประสบผลสำเร็จ เพราะความสามารถและอำนาจของชาวบ้านมีไม่มากพอ จึงต้องมาอิงกับคุณพ่อชัยศักดิ์ตลอดเวลา คุณพ่อจึงเป็นศูนย์กลางของทุกสิ่งทุกอย่างของสหกรณ์ฟาร์มไก่ ถึงแม้เป็นแค่ที่ปรึกษา
เมื่อเป็นดังนี้จึงทำให้ไม่สามารถอบรมชาวบ้านในฐานะสงฆ์ได้เต็มที่ และเวลาเดียวกันต้องเป็นผู้จัดการกับการเงินการทอง การบริหารฟาร์ม แบบเบ็ดเสร็จ ซึ่งไม่ใช่หน้าที่สงฆ์ที่ควรทำ แต่เพราะความจำเป็นบังคับซึ่งการบริหารงานฝ่ายโลกก็ไม่สามารถทำได้อย่างเต็มที่ เช่นกัน นอกจากนี้บุคลากรที่เกี่ยวข้องก็มีมาก และบางส่วนขาดคุณภาพ มีการโกงกินกันอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน ตั้งแต่สถานที่เลี้ยงไก่ คนส่งไก่ คนรับไก่ไปฆ่า ไปขาย และพนักงานบัญชีและการเงินที่ไม่สามารถเก็บเงินได้เต็มเม็ดเต็มหน่วย ด้วยสารพัดเหตุผล
ในที่สุดลางร้ายที่ก่อรูปร่างมากก็ชัดเจน ในปี ค.ศ.1984 สหกรณ์ฟาร์มไก่มิตรสัมพันธ์ที่มีฐานอยู่บนชาวบ้านและคุณพ่อชัยศักดิ์ จากความปรารถนาดีของคุณพ่อ ก็ล้มลง ด้วยหนี้สินจำนวนหลายล้าน พร้อมกับความหดหู่ ปวดร้าวในจิตใจ เป็นเรื่องเล่าขานถึงความชั่วร้ายของคนในวัด เป็นตัวอย่างและความสะใจจนถึงเวลานี้ ผลกระทบที่มองเห็นจนถึงปัจจุบันสามารถมองเห็นได้เช่น ความสกปรกที่เกิดจากอาชีพทำไก่ น้ำเสีย ขยะ ขนไก่ และควันไฟ คนมีจิตใจแข็งเพราะอาชีพเป็นนักฆ่าไก่ การพนันที่เป็นอาชีพและงานอดิเรกเก่าในคลอง ซึ่งมีมากขึ้นในเขตวัด ซึ่งบางคราวถึงขั้นตั้งบ่อนลับๆ และชักชวนคนข้างนอกมาเล่น ทำให้ลำบากใจกับคุณพ่อเจ้าวัดและคริสตังที่ไม่เล่นการพนัน นอกจากนี้เสียงรบกวนตลอดคืนจากรถสามล้อแดงและเครื่องยนต์ในการทำไก่ การเสพติดยาม้าเพราะต้องทำงานหนักในตอนกลางคืน และสุดท้ายที่ดินของวัดแน่นด้วยบ้านและคน ก่อให้เกิดการกระทบกระทั่งกันระหว่างบ้านข้างเคียงกันเสมอๆ ในเรื่องการทำความรำคาญในการอยู่อาศัย ถนน ทางระบายน้ำ ขยะ น้ำเสีย เพราะทางวัดในสมัยคุณพ่อไม่ได้มีแผนเตรียมรับกับปัญหาเหล่านี้ กอปรกับทางวัดไม่มีรายได้มากมายที่จะแก้ปัญหาเหล่านี้ได้ เพราะค่าเช่าที่ดินถูกมาก นอกจากทำหนักให้เป็นเบาตามเหตุการณ์ไป
ส่วนผลดีที่คุณพ่อชัยศักดิ์ทิ้งไว้พอมองเห็นได้ ก็คือชาวบ้านที่ยากจนซึ่งส่วนใหญ่มาจากคลองบางพระหลวง และผู้ที่อยู่มาก่อน ได้มีอาชีพใหม่ฆ่าไก่ขายในตลาดสด ทุกวันที่ตลาดนครสวรรค์จนถึงปัจจุบัน และหลายคนได้มีบ้านมีของฟุ่มเฟือยใช้กันเพราะการเงินสะพัดมาก ซึ่งตอนนี้ไม่ใช่อย่างนั้นแล้ว ในที่สุดเมื่อเจ้าหนี้เห็นว่าสหกรณ์ฟาร์มไก่ไปไม่รอดแล้ว จึงมีการดำเนินการทางกฎหมาย คืนวันหนึ่งคุณพ่อก็ได้หายตัวไป ก่อนจากไปในคืนนั้น คุณพ่อได้เทศน์ในมิสซาครั้งสุดท้าย เตือนและตัดพ้อคริสตังในความดื้อดึง ที่ไม่เชื่อฟังคุณพ่อด้วยน้ำตานองหน้า และคุณพ่อได้ทำบันทึกเปิดผนึกให้กับพระสังฆราชและผู้ใหญ่ของวัด ว่ามีชาวบ้านบางคนที่คุณพ่อได้ทุ่มเททั้งใจกายให้นี้ ได้พูดว่า “ทั้งหมดนี้เป็นความผิดของคุณพ่อ” ในช่วงวิกฤตินี้เอง วัดนักบุญอันนา ได้เกิดไฟไหม้ใหญ่ ทำให้ฉากหลังพระแท่นเสียหายหมด แต่ตู้ศีลมหาสนิทกลางวัดไม่ไหม้แม้แต่น้อยนิด ผลของไฟไหม้นี้ทำให้ฝา ฉากหลัง หลังคาบางส่วนเสียหายอย่างหนัก ทำให้เสาค้ำยันหลังคาที่เป็นแท่งปูนใหญ่หลายต้นแตกร้าว โดยยากที่จะแก้ไข (ซึ่งมองเห็นได้จากห้องแต่งตัวพระสงฆ์หลังวัด) และลางร้ายยังไม่จบแค่นั้น ในระหว่างการซ่อมวัด คนงานคนหนึ่งก็ได้ตกลงมาจากหลังคาเสียชีวิต ซึ่งนับเป็นเหตุการณ์ที่น่าประหวั่นพรั่นพรึงยิ่งนัก เป็นเหมือนคำเตือนจากพระมีต่อสัตบุรุษวัดนักบุญอันนาทุกคนที่ควรจดจำ
ตั้งแต่เดือนกันยายน ค.ศ.1984 จนถึงปี ค.ศ.1990 คุณพ่อได้อยู่อย่างเงียบๆ ไม่พบปะกับใครเป็นเวลาถึง 6 ปี แต่ได้ติดต่อเจรจาชดใช้หนี้จนหมดคดีความ หลังจากที่คุณพ่อได้หมดคดีความแล้วด้วยการร่วมมือจากหลายฝ่าย คุณพ่อได้ขอทำหน้าที่พระสงฆ์ดังเดิม โดยขอเข้ามาทำงานที่สังฆมณฑลเชียงใหม่ และได้เป็นเจ้าอาวาสวัดแม่พระบังเกิด อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย เมื่อปี ค.ศ.1990
ในช่วงที่ คุณพ่อชัยศักดิ์ไม่อยู่จำวัดแล้ว วัดถูกทอดทิ้งให้ว่างเปล่าอยู่ประมาณ 3 เดือน (กันยายน-พฤศจิกายน ค.ศ.1984) ไม่มีคุณพ่อเจ้าอาวาส พระสังฆราชบรรจง ซึ่งช่วงนั้นท่านต้องรับผิดชอบอย่างหนัก เพราะผลกระทบมีต่อท่านอย่างมาก แต่อย่างไรก็ตามท่านก็ได้มาถวายบูชามิสซามิได้ขาด ในเดือนธันวาคม ค.ศ.1984 ชาววัดนักบุญอันนาก็มีความรู้สึกอบอุ่นขึ้นอีกครั้งหนึ่ง หลังจากขาดนายชุมพามาหลายเดือน เพราะได้มีคุณพ่อหนุ่มจากปักษ์ใต้ คุณพ่อประเสริฐ สิทธิ ได้ขอสมัครมาทำงานในสังฆมณฑลนครสวรรค์ คุณพ่อประเสริฐ เป็นคนพื้นเพวัดนักบุญฟรังซิสเซเวียร์ สามเสน กรุงเทพฯ ได้สมัครเข้าเป็นสามเณรนักบวชคณะรอยแผลศักดิ์สิทธิ์ ได้รับการศึกษาที่บ้านเณรปีนัง เคยเป็นครูอยู่พักหนึ่งที่โรงเรียนเซนต์คาเบรียล กรุงเทพฯ และสมัครเข้าเรียนเป็นพระสงฆ์ต่อที่บ้านเณรใหญ่แสงธรรม สามพราน และที่สุดได้รับศีลบวชเป็นพระสงฆ์ ในปี ค.ศ.1980
หลังจากได้รับบวชแล้วได้ทำงานในเขตมิสซังสุราษฎร์ธานี ที่วัดแม่พระได้รับเกียรติยกขึ้นสวรรค์ จังหวัดภูเก็ต และได้ขอย้ายการทำงานมาที่มิสซังนครสวรรค์ ด้วยเหตุผลส่วนตัว ซึ่งดูเหมือนเป็นจังหวะที่พระเป็นเจ้าได้จัดเตรียมไว้ ในช่วงนั้นไม่มีพระสงฆ์ประจำที่วัดนครสวรรค์ ดังนั้นคุณพ่อจึงเข้าในช่วงสุดขีดของวิกฤต สิ่งแรกที่คุณพ่อได้รับการต้อนรับคือชาวบ้านมีความดีใจที่มีพระสงฆ์มาประจำวัด และเป็นกำลังใจ แต่เวลาเดียวกันดูเหมือนคุณพ่อก็ต้องการกำลังใจเอามากๆ ด้วย เพราะสภาวัดที่ขาดการเอาใจใส่ดูแลเป็นเวลานาน มีสภาพเหมือนผ้าที่ถูกขยุ้มๆ ไว้อยู่ในมุมบ้านช่องสกปรกทรุดโทรม บริเวณรอบวัดรกรุงรัง มีเจ้าหนี้มาทวงหนี้ทวงสินทุกวัน จิตใจชาวบ้านทรุดโทรมด้วยผลของฟาร์มไก่
ดังนั้นในช่วงแรก คุณพ่อจึงรับภาระหนักที่สุด แต่ด้วยความสามารถเฉพาะตัวในการพูดและมีมนุษย-สัมพันธ์ที่ดี คุณพ่อจึงเริ่มงานบูรณะวัดอย่างใหญ่ ทางด้านจิตใจ คุณพ่อได้ทำการเชิญชวนคนมาวัดมากขึ้น ปรับปรุงบริเวณวัดให้เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ให้น่าดูและเรียบร้อย ทำการถมดินปลูกต้นไม้ จัดทำถ้ำแม่พระ จัดการถมดินที่ป่าช้า ล้อมรั้ว จัดสร้างแฟลตแทนการฝังศพในดิน ทำให้มีระเบียบมากยิ่งขึ้น ส่วนบ้านพักก็ได้มีการดัดแปลง ทาสีให้ดูน่าอยู่ขึ้น คุณพ่อประเสริฐ ได้พยายามทำงานซ่อมแซมพระวิหารของพระเจ้าด้วยความอุตสาหะ และซ่อมแซมสภาพจิตใจของคริสตชนนครสวรรค์ดีขึ้นตามลำดับ โดยไม่ได้แตะงานที่เกี่ยวกับธุรกิจการเงินการทองแต่อย่างใด จนถึงเดือนพฤษภาคม 1988 คุณพ่อได้ย้ายจากวัดไปประจำอยู่วัดนักบุญฟรังซิสเซเวียร์ จังหวัดตาก
ในช่วง ปี ค.ศ.1988 นั้นมีการโยกย้ายอย่างใหญ่ ซึ่งมีสาเหตุจากพระสงฆ์มีไม่เพียงพอ ประมาณปลายเดือนพฤศจิกายน ค.ศ.1987 คุณพ่อยอแซฟ กลอริโอ ได้ประสบอุบัติเหตุเสียชีวิตที่เพชรบูรณ์ ปลายเดือนเมษายน ค.ศ.1988 คุณพ่อวินัย วิเศษเธียรกุล เจ้าอาวาสวัดพิษณุโลก เสียชีวิตในตอนกลางคืนในห้องโดยไม่ทราบสาเหตุชัดเจน แต่เข้าใจว่าเกิดจากโรคตับอักเสบและการทำงานหนัก และเหนื่อยเกินไปจึงทำให้หัวใจล้มเหลว และพระสงฆ์ที่จากไปแต่ยังมีชีวิตอยู่ คือ คุณพ่อมิแชล บรูซ เจ้าอาวาสวัดตาก ซึ่งขอลากลับไปประเทศฝรั่งเศส คุณพ่อสมโภชน์ พูนโภคผล ย้ายกลับไปสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ทำให้มีการขาดแคลนพระสงฆ์ที่มีความสามารถในสังฆมณฑลอย่างมาก
ดังนั้นจึงได้มีการสับเปลี่ยนพระสงฆ์ดังนี้ คุณพ่อประเสริฐ สิทธิ รับผิดชอบที่ตากแทนคุณพ่อมิแชล บรูซ คุณพ่อไพฑูรย์ หอมจินดา ซึ่งกำหนดมาเพื่อวัดนักบุญอันนา นครสวรรค์ มีอันต้องย้ายอย่างกระทันหัน ไปรับผิดชอบวัดพิษณุโลก โดยยังไม่ได้ทำงานแม้แต่นิดเดียว คุณพ่อปรีชา รุจิพงษ์ เข้ารับผิดชอบวัดสันติสุข เพชรบูรณ์ ซึ่งได้มีการโยกย้ายอีกครั้งในเวลาไม่กี่เดือนต่อมา ส่วนวัดนักบุญอันนาซึ่งไม่มีใครรับผิดชอบ ทางผู้ใหญ่จึงเห็นว่าแถบแม่สอดมีพระสงฆ์มาก พอจะเจียดพระสงฆ์มาได้บ้างในช่วงการขาดแคลนพระองค์ จึงได้แต่งตั้งให้คุณพ่อที่ทำงานกับชาวเขาเผ่าอาข่า คือคุณพ่อประจวบโชค ตรีโสภา มาเป็นเจ้าอาวาสนครสวรรค์ ชั่วคราวหนึ่งปี จนกว่าจะได้มีการหาพระสงฆ์ใหม่ได้ในปีหน้า
คุณพ่อประจวบโชค ตรีโสภา ได้เข้ามาจำวัดเมื่อกลางเดือนพฤษภาคม ค.ศ.1988 แทนคุณพ่อไพฑูรย์ หอมจินดา ที่ได้รับการแต่งตั้งแต่ไม่มีโอกาสได้ทำงานแม้แต่น้อยนิด เนื่องจากมรณกรรมของคุณพ่อวินัยเจ้าอาวาสวัดพิษณุโลก จนทำให้รู้สึกว่าคุณพ่อประจวบโชค เป็นคุณพ่อเจ้าอาวาสต่อจากคุณพ่อประเสริฐ สิทธิ เจ้าอาวาสชั่วคราว มีรกรากดั้งเดิมจากวัดบ้านแพนมารีสมภพ อยุธยา แต่พ่อแม่ได้ย้ายรกรากมาทำมาหากินในกรุงเทพฯ ครอบครัวจึงอยู่ใกล้วัดแม่พระฟาติมา เมื่อคุณพ่อเรียนจบชั้นประถมปีที่ 5 ที่โรงเรียนแม่พระฟาติมาแล้ว พ่อแม่จึงได้นำไปหาคุณพ่อมอริส ยอรี เพื่อส่งเข้าบ้านเณรเล็กนักบุญยอแซฟ สามพราน เรียนจนจบหลักสูตรบ้านเณรเล็ก และเณรใหญ่ในปีค.ศ.1980 ได้รับการบวชเป็นพระสงฆ์วันที่ 7 มิถุนายน ค.ศ.1981 พร้อมกับเพื่อนอีก 10 องค์
หลังจากนั้นพระคาร์ดินัล มีชัย กิจบุญชู ได้ส่งมาทำงานที่มิสซังนครสวรรค์ทันที ดังนั้นจึงเป็นพระสงฆ์ที่ไม่เคยทำงานที่สังฆมณฑลกรุงเทพฯอย่างเป็นทางการเลย แต่ยังสังกัดสังฆมณฑลกรุงเทพฯอยู่ คุณพ่อได้รับงานอยู่ อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ทำงานด้านชาวเขาเหมือนกับพระสงฆ์ที่อยู่แม่สอดทุกองค์ ตั้งแต่ปี ค.ศ.1981-1988 จึงได้มาอยู่กับชาววัดนักบุญอันนา เนื่องจากคุณพ่อเข้ารับตำแหน่งขัดตาทัพ ดังนั้นในช่วงนั้นจึงทำหน้าที่แค่รักษาการ มิได้ริเริ่มโครงการอะไรพิเศษ เดือนมิถุนายน ค.ศ.1989 คุณพ่ออุดมศักดิ์ วงศ์วุฒิพงษ์ เจ้าอาวาสเพชรบูรณ์ ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสนครสวรรค์ แทนคุณพ่อประจวบโชค ตรีโสภา ซึ่งกลับไปทำงานที่แม่สอดอย่างเดิม คุณพ่ออุดมศักดิ์ วงศ์วุฒิพงษ์ เป็นเชื้อสายชาวจีน บ้านเกิดอยู่ที่วัดลำลูกกา ปทุมธานี ได้สมัครเข้าอยู่ในสังฆมณฑลนครสวรรค์ในสมัยเป็นเณรใหญ่แสงธรรม หลังจากคุณพ่อได้รับการบวชแล้ว คุณพ่อได้ทำงานแถบหล่มสัก เพชรบูรณ์มาตลอด เมื่อมาอยู่ที่วัดนครสวรรค์งานที่เด่นคือ การหล่อพระรูปพระหฤทัย สำหรับประดิษฐานที่หน้าวัด โดยนางม่วย ราชกิจและบุตรหลาน ได้ให้ทุนทรัพย์เป็นจำนวน 200,000 บาท เป็นค่าใช้จ่าย เพื่อเป็นอนุสรณ์ให้กับเกลเมลเตจรูญ ราชกิจ ผู้ล่วงลับ คุณพ่อยังได้ถมที่ดินที่ว่างเปล่าทั่วไป สร้างรั้วกันบริเวณที่วัด และมีโครงการย้ายบ้านหน้าวัดไปอยู่หลังวัดด้วย เพื่อให้ทางหน้าวัดโล่ง ดูสวยงาม แต่ไม่สำเร็จ
วันที่ 30 เมษายน ค.ศ.1981 คุณพ่อได้ไปเข้าการอบรมพระคัมภีร์ที่กรุงเยรูซาเล็ม และพ้นจากฐานะเจ้าอาวาส โดยสร้างสวนนักบุญอันนาที่ข้างตึกยอแซฟไว้เป็นที่ระลึกด้วยเสียงเห็นด้วยและคัดค้าน นับเป็นยุคที่มีเรื่องสนุกสนานระหว่างคุณพ่อกับคริสตชนที่น่าเรียนรู้ยิ่งนัก ต้นเดือนเมษายน ค.ศ. 1992 คุณพ่อได้กลับมาจากการอบรม ได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดนักบุญยอแซฟกรรมกร อำเภอพบพระ จังหวัดตาก ดูแลคริสตชนชาวเขาเผ่าอาข่า แทนคุณพ่อมนัส ศุภลักษณ์ คุณพ่อประจวบโชค ตรีโสภา ได้มาอยู่รอบสอง เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม ค.ศ.1991 โดยมาเป็นเจ้าอาวาสเต็มตำแหน่ง ไม่เหมือนกับครั้งแรกที่มาชั่วคาว ดังนั้นหลายคนจึงพูดว่าไม่เหมือนเดิม คุณพ่อยึดนโยบายเดิมในการทำงาน คือ ไม่ยุ่งกับปัญหาปากท้องชาวบ้านมากนัก เพราะประสบการณ์ที่ผ่านมา จึงได้เน้นการทำให้ชาวบ้านแก้ปัญหาตนเองด้วยตนเองมากขึ้นในทุกด้าน แทนการที่ทางคุณพ่อหรือวัดจะเข้าแก้ปัญหาให้ แต่สนับสนุนอยู่เบื้องหลัง
นอกจากนี้ได้พยายามที่จะทำให้บริเวณวัดน่าดูน่าเข้า ด้วยการรักษาดูแลสิ่งที่ดีเดิมๆ ให้คงอยู่ และปรับปรุงเท่าที่กำลังทรัพย์ของผู้บริจาคจะมีมา และที่สุดได้ร่วมกับชาวบ้านวัดนักบุญอันนา นครสวรรค์ ร่วมกัน รวบรวมทุนทรัพย์สำหรับการสร้างอนุสรณ์เตือนใจให้ระลึกถึง การเป็นวัดนักบุญอันนาด้วยการสร้างหอระฆัง ซึ่งกำลังค่อยเป็นค่อยไปอยู่ วันที่ 23-24 ตุลาคม ค.ศ.1992 จึงเป็นเวลาที่คริสตชนวัดนักบุญอันนา นครสวรรค์ ได้มีความภาคภูมิใจที่ได้พยายามฉลอง 100 ปี ร่วมกับการฉลองการสถาปนาสังฆมณฑลนครสวรรค์ครบ 25 ปี พร้อมกับการบวชพระสงฆ์ พร้อมกับคริสตชนทุกวัดของสังฆมณฑล มีเรื่องมากมายเกินที่ปัญญามนุษย์จะรู้ได้ทั้งหมด อย่างไรก็ตามวัดนักบุญอันนาเป็นหลักฐานที่แสดงถึงการรวบรวมจิตใจ การเสียสละ ความสำเร็จและล้มเหลว ความเชื่อความศรัทธาที่มีต่อพระศาสนจักรของชีวิตพระสงฆ์ นักบวช และบรรดาคริสตชน ซึ่งเปรียบเสมือนหน้าต่างกระจกสีที่รวมกระจก ขนาดต่างๆ สีต่างๆ แล้วบรรจงเรียงต่อกันเป็นพระพักตร์ของพระเยซูเจ้า ดูสดสวยงดงาม เมื่อยามแสงอาทิตย์สาดส่องผ่านกระจกนี้.
จากหนังสือ หิรัญสมโภชสังฆมณฑลนครสวรรค์
ศตสมโภชอาสนวิหารนักบุญอันนา 22-24 ตุลาคม ค.ศ.1992