วัดนักบุญอันนา (วัดท่าจีน)

 
 
วัดนักบุญอันนา  ท่าจีน

เลขที่ 79 หมู่ 4 ตำบลบางหญ้าแพรก 
อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร 74000  
โทร 0-3481-9056
 
 
เพื่อจะได้เข้าใจความเป็นมาโดยละเอียด  และต่อเนื่องกัน  ก่อนอื่นต้องขอเท้าความไปถึงเหตุการณ์ในสมัยนั้นๆ ด้วย  
 
สมัยบุกเบิก
ในปี  ค.ศ.  1835 พระสังฆราชกูร์เวอซี  ได้แต่งตั้งคุณพ่อปัลเลอกัว ให้รับหน้าที่ “อุปสังฆราช”  เพื่อดูแลพระศาสนาในเมืองไทย  และวันที่ 3  มิถุนายน ค.ศ. 1838  แต่งตั้งเป็นพระสังฆราช  แล้วตัวท่านเองออกเดินทางไปสิงคโปร์  มะริด และปีนัง เพื่อเยี่ยมเยียนสัตบุรุษคริสตังที่นั่น  เนื่องจากการปกครองทางพระศาสนจักรสมัยนี้ครอบคลุมไปถึงทางใต้สุดด้วย ที่สิงคโปร์ พระสังฆราชกูร์เวอซี  ได้ทราบว่าคุณพ่ออัลบรังด์  (P.Albrand  M.E.P.)  ได้ทำงานอยู่กับคนจีนได้เป็นอย่างดี  มีคนสมัครเข้าเป็นคริสตชนถึง  200  คน ในเวลาหนึ่งปี  พระสังฆราชจึงให้คุณพ่อมาช่วยดูแลคริสตังชาวจีน  ซึ่งมีอยู่และสอนคำสอนคนจีนที่มีอยู่ในประเทศไทยสมัยนั้นมาก  จึงให้คุณพ่ออัลบรังด์ประจำที่วัดกาลหว่าร์  (ตลาดน้อย  กรุงเทพฯ)  ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นวัดของคนจีน คุณพ่อได้ทำให้มีคนจีนสมัครเป็นคริสตชนเป็นจำนวนมาก  ทั้งที่กรุงเทพฯ  และต่างจังหวัด  ซึ่งคุณพ่อได้ออกไปเยี่ยมเยียนเขาสม่ำเสมอ
 
 
คริสตังหมู่แรกที่บางช้าง  (บางนกแขวก  สมุทรสงคราม) และบริเวณดอนกระเบื้อง แม่กลอง “ท่าจีน”  นครชัยศรี  (วัดนักบุญเปโตร  สามพราน)  วัดปากลัด และวัดปากน้ำ  (สมุทรปราการ)  ปากเพรียว  และแปดริ้ว  ก็ได้เกิดขึ้นเพราะคุณพ่ออัลบรังด์  และสมัยนี้เองมีมิชชันนารีเคลื่อนที่ด้วย
 
สมัยบุกเบิกใหม่
ขณะนี้  ที่ท่าจีน  ร้างพวกคริสตังอยู่  ในปี ค.ศ. 1849  คุณพ่อมาแรง  กลับมาจากประเทศฝรั่งเศสอีกครั้ง  พระสังฆราชปัลเลอกัวจึงแต่งตั้งให้ไปประจำอยู่ที่วัดนครชัยศรี  เริ่มเรียนภาษาจีน  และไปดูแลคริสตังที่บางช้าง  และดอนกระเบื้องด้วย
 
ในปี ค.ศ. 1851  พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  รัชกาลที่  4  เมื่อครั้งผนวชอยู่ที่วัดราชาธิราช  ได้มีสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับพระสังฆราชปัลเลอกัว ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสอยู่ที่วัดคอนเซ็ปชัญ  (วัดแม่พระปฏิสนธินิรมล) ทรงอนุญาตให้มิชชันนารีที่ถูกเนรเทศกลับมาประเทศไทยอีกครั้ง คริสตังที่อพยพไปวัดนครชัยศรีก็ได้กลับมาท่าจีนอีกครั้งหนึ่ง  และเริ่มต้นชีวิตคริสตังใหม่
 
ท่าจีนสมัยบุกเบิกครั้งที่สอง  มีพระสงฆ์มิชชันนารีเคลื่อนที่มาดูแลดังนี้
 
ปี ค.ศ. 1980-1853   คุณพ่อมาแรง  จากวัดนครชัยศรี
ปี ค.ศ. 1851-1856   คุณพ่อดือปอง  จากวัดกาลหว่าร์และวัดนครชัยศรี
ปี ค.ศ. 1857-1862   คุณพ่อยอร์แยล  เป็นมิชชันนารีเคลื่อน
ปี ค.ศ. 1863           คุณพ่อราบาร์แดล  (P. Rabardelle)  จากบางช้าง
ปี ค.ศ. 1868           คุณพ่อแปร์โร  (P.Perreau)
ปี ค.ศ. 1871           คุณพ่อยออากิม  พระสงฆ์ไทย
ปี ค.ศ. 1875           คุณพ่อยอแซฟ  พระสงฆ์ไทย  และคุณพ่อเปอติด  (P.Petit) 
 
 
สมัยมีวัด 
แต่ยังไม่มีเจ้าอาวาสมาประจำ ในปี ค.ศ.  1882  คุณพ่อปีโอ  (P.Piau  M.E.P.)  เพิ่งมาจากประเทศฝรั่งเศส ได้รับแต่งตั้งเป็นพ่อปลัดวัดบางช้าง (บางนกแขวก  สมุทรสงคราม)  คุณพ่อพอพูดภาษาไทยและจีนได้ ก็ไปเยี่ยมคริสตังที่ท่าจีน คุณพ่อได้เห็นว่ามีคริสตังจำนวนพอสมควร  ใจศรัทธา  จึงคิดจะสร้างวัดขึ้น  ได้ซื้อที่ดินแปลงหนึ่งในปี ค.ศ. 1886  และก็เริ่มลงมือสร้างวัดหลังแรกในปี ค.ศ.  1888  สร้างวัดเสร็จ  ตั้งชื่อว่า  “วัดนักบุญอันนา”
 
แม้จะเป็นวัดสร้างด้วยไม้  ไม่ใหญ่โตอะไร แต่ก็นับว่า  พอเหมาะกับคริสตังสมัยนั้น และนับว่าสวยงามทีเดียว วัดหลังนี้อยู่มาจนถึงปี  ค.ศ. 1983  ได้มีการต่อเติมในสมัยคุณพ่อเทโอฟิล ในส่วนด้านหลังของวัด
 
สมัยขึ้นกับวัดซางตาครู้ส
เมื่อสร้างวัดท่าจีนเสร็จแล้ว  พระสังฆราชก็แต่งตั้งให้คุณพ่อปีโอเป็นเจ้าอาวาสวัดซางตาครู้ส  (วัดกุฎีจีน)  ในปี  ค.ศ. 1889  และให้วัดท่าจีนขึ้นกับวัดซางตาครู้ส ให้พระสงฆ์ผู้ดูแลวัดซางตาครู้สได้รับผิดชอบวัดท่าจีนด้วย คือ  คุณพ่อปีโอ  และคุณพ่ออัมโบรซีโอ  ซึ่งเป็นปลัด ผลัดเปลี่ยนกันมาดูแลคริสตังวัดนักบุญอันนาท่าจีน ในปี ค.ศ. 1890 คุณพ่อปีโอได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสวัดนครชัยศรี  วัดนักบุญอันนา จึงย้ายไปสังกัดวัดนครชัยศรีตามคุณพ่อไปด้วย แต่คุณพ่อปีโอก็ยังเป็นเจ้าอาวาสวัดซางตาครู้สด้วยการที่ต้องทำงานอย่างหนัก และการเดินทางยากลำบาก  ทำให้สุขภาพทรุดโทรม ในปี ค.ศ. 1893 ต้องกลับไปพักรักษาตัวที่ประเทศฝรั่งเศสอีกครั้งหนึ่งพระสังฆราชเวย์ได้มอบหมายให้คุณพ่อจากวัดนครชัยศรีและกรุงเทพฯ  มาเยี่ยมเยียนวัดนักบุญอันนาบ้างเป็นบางครั้ง เพราะยังไม่สามารถจัดให้มีคุณพ่อมาประจำได้
 
สมัยขึ้นกับวัดนครชัยศรี
สองปีต่อมา  คือในปี ค.ศ. 1895 มีคุณพ่อเรอเน  แปร์รอส เป็นมิชชันนารีหนุ่มจากวัดนครชัยศรี  มาดูแลและตามเอกสารศีลล้างบาปที่วัดเป็นคุณพ่อแปร์รอส  ได้เริ่มเปิดทะเบียนของวัดนักบุญอันนา เองเป็นครั้งแรก ปีถัดมา คือ ปี ค.ศ. 1896  มีคุณพ่อเลตเซอร์ และคุณพ่อกียู (P.Guillou) และคุณพ่อปีโอกลับมาจากประเทศฝรั่งเศส  และหน้าที่เป็นเจ้าอาวาสวัดนครชัยศรีอีกครั้งหนึ่ง และก็ได้มาวัดนักบุญอันนาเองเป็นส่วนมาก จนถึงปี ค.ศ.1899 กลับล้มป่วยต้องย้ายกลับไปประเทศฝรั่งเศสและมรณภาพในปี ค.ศ.1900 และในระหว่างนี้ มีคุณพ่อเลตเซอร์ คุณพ่อโตแกลร์ และคุณพ่อแกรมฟ์  สับเปลี่ยนกันมาเยี่ยมเยียน สอนคำสอน  ถวายมิสซา  แต่ยังไม่ได้มาอยู่ประจำ
 
สมัยขึ้นกับวัดกาลหว่าร์
ปี  ค.ศ.  1904  ทางรัฐบาลไทยได้เริ่มเปิดรถไฟสายกรุงเทพฯ - มหาชัย ดังนั้นเพื่อความสะดวกในการเดินทาง พระสังฆราชเวย์  จึงให้พระสงฆ์จากวัดกาลหว่าร์ดูแลวัดนักบุญอันนา  และจนถึงปี ค.ศ. 1910  ตลอด  6  ปี  ก็มีคุณพ่อแฟร์เลย์  คุณพ่อดอมินีโก (ไทย)  คุณพ่อเบลลามี  คุณพ่อริชาร์ด  คุณพ่อเอสเตวัง  (ไทย)  และคุณพ่อแปร์รัว  ผลัดเปลี่ยนกันมา
 
สมัยมีพ่อเจ้าอาวาส  แต่........ ล่องหน  
สมัยพระสังฆราชเรอเน  แปร์รอส  ขึ้นปกครองอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ  แทนพระสังฆราชเวย์  ท่านได้บันทึกไว้ว่า  “ตรงปากแม่น้ำ มีวัดท่าจีน  (วัดนักบุญอันนา) ซึ่งต้องลำบากมานานแล้ว เพราะไม่มีมิชชันนารีเพียงพอที่จะไปดูแลสัตบุรุษเป็นประจำ แต่วัดท่าจีนก็เป็นความหวังมาก”  ท่านจึงพยายามให้มีคุณพ่อมาประจำร่วมกับวัดแม่กลอง  สมุทรสงครามด้วย  เพราะการคมนาคมสะดวก  มีรถไฟจากท่าจีน - แม่กลอง  
                             
คุณพ่อริชาร์ด  อยู่ได้  4  เดือน  ก็ต้องย้ายไปอยู่ที่ดอนกระเบื้อง  ราชบุรี  และคุณพ่อชาเนอเลียร์ ซึ่งเรียกว่า คุณพ่อฟิลิป เป็นพ่อเจ้าอาวาสแทนและมีคุณพ่อมาร์แชล เป็นผู้ช่วย แต่อนิจจา ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1911 คุณพ่อต้องย้ายไปดูแลวัดอัครเทวดาราฟาแอล ปากน้ำ ในระหว่างนี้  ค.ศ. 1911-1913  คุณพ่อมาแซล  ซึ่งยังเป็นผู้ช่วยอยู่  ได้มาประจำ  นานๆ คุณพ่อ ฟิลิป ถึงจะขึ้นมาสักครั้งหนึ่ง
 
ในปี  ค.ศ. 1841  พระศาสนจักรได้ปรับปรุงการบริหารงาน  แบ่งเขตการปกครองให้เหมาะสมยิ่งขึ้น คือ ประเทศมลายู เกาะสุมาตรา และภาคใต้ของประเทศพม่า พระสังฆราชกูร์เวอซี ปกครองดูแลส่วนประเทศไทยและประเทศลาวพระสังฆราชปัลเลอกัวปกครอง และได้แต่งตั้งคุณพ่อดือปอง (P.Dupond)  เป็นอุปสังฆราช
 
ฝ่ายคุณพ่ออัลบรังด์ และคุณพ่อดือปองด์  ซึ่งดูแลคริสตังจีนที่วัดกาลหว่าร์  ยังต้องดูแลคริสตังตามวัดต่างๆ อีกด้วย ในฐานะเป็นมิชชันนารีเคลื่อนที่ ในปี ค.ศ.1846 คุณพ่ออัลบรังด์ได้รับแต่งตั้งเป็นพระสังฆราชของกุยเชว ประเทศจีน คุณพ่อดือปองด์รับตำแหน่งเจ้าอาวาสแทน  และมีคุณพ่อมาแรง (P.Marin)  คุณพ่อยอร์แยล  (P.Georgel)  เป็นมิชชันนารีเคลื่อนที่  และมุ่งไปที่บางช้าง  เพราะมีคนจีนสมัครเป็นคริสตังมาก  ต่อมาจึงกลายเป็นศูนย์ของคริสตังจีนอีกแห่งหนึ่ง  คุณพ่อมาแรงสร้างวัดเล็กๆ ที่บางช้าง  และเมื่อเดินทางจากกรุงเทพฯไปบางช้างก็แวะเยี่ยมตามที่ที่มีคริสตังจีนอยู่ด้วย  เช่น ที่วัดนครชัยศรี  ดอนกระเบื้อง  และจากนครชัยศรีก็มีมิชชันนารีเคลื่อนที่มาเยี่ยมคริสตังที่  “ท่าจีน”  เรื่อยมา
 
สมัยโยกย้ายจากท่าจีนไปนครชัยศรี
ตั้งแต่ ปี ค.ศ.  1841 เป็นต้นมา  มีคริสตังทีท่าจีนเพิ่มขึ้น  และมีครอบครัวกำลังเรียนคำสอนอยู่  เป็นที่น่าเสียดายอย่างยิ่งที่ได้เกิดเหตุการณ์ทำให้การกลับใจชะงักลง เหตุการณ์นั้นเรียกว่า  “เรื่องไก่”  เกิดขึ้นในเดือนกรกฎาคม ค.ศ.  1849  ไม่มีพระสงฆ์มาดูแลที่ท่าจีน  พระสังฆราชปัลเลอกัวเป็นห่วงคริสตังที่ท่าจีน ซึ่งเป็นกลุ่มน้อย และเป็นคริสตังใหม่ จะพากันหมดกำลังใจ  จึงจัดย้ายคริสตังที่ท่าจีนไปอยู่นครชัยศรี  (วัดนักบุญเปโตร  สามพราน)  ซึ่งเป็นคริสตังกลุ่มใหญ่กว่า 
 
สมัยขึ้นกับวัดซางตาครู้ส  ครั้งที่  2  (ปี ค.ศ.  1913 -1932)  
ในปี ค.ศ.  1913  พระสังฆราชเรอเน  แปร์รอส  ได้สับเปลี่ยนให้วัดนักบุญอันนา ท่าจีน  ขึ้นกับวัดซางตาครู้ส  และให้วัดอัครเทวดาราฟาแอล  ขึ้นกับวัดกาลหว่าร์อย่างเดิม
 

มีคุณพ่อคูเลียลโม  (กิ๊น)  ดาครู้ส  ซึ่งเป็นพ่อเจ้าอาวาส  (ไม่มีพ่อปลัด)  ได้มาเยี่ยมเยียนวัดนักบุญอันนาเองอย่างสม่ำเสมอ  มาถวายมิสซา  สอนคำสอน แม้นจะต้องลำบากก็ตาม คุณพ่อมาด้วยความรักและเป็นห่วง  ความประทับใจนี้ยังฝังจิตใจสัตบุรุษที่เคยใกล้ชิด  เคยเรียนกับคุณพ่อ  คุณพ่อคูเลียลโม ดาครู้ส  ปี ค.ศ. 1860 - 1956 รวมอายุ  95 ปี  เมื่อคุณพ่อต้องมาดูแลวัดนักบุญอันนา ท่าจีน  นี้ คุณพ่อมีอายุ  53 - 72  ปี  และคุณพ่อได้มอบรูป  14  ภาค (เก่า)  ในวัดซางตาครู้ส  ซึ่งเปลี่ยนเป็นกระจกสีใหม่ให้วัดนักบุญอันนา  ท่าจีน  และได้มีผู้มีจิตศรัทธาซื้อระฆังหนึ่งใบให้แก่วัด
 
สมัยขึ้นกับวัดกาลหว่าร์  ครั้งที่  2  (ปี ค.ศ.  1933 - 1947) 
ปี ค.ศ. 1933  คุณพ่อจากวัดกาลหว่าร์  หมุนเวียนกันมาหลายองค์
ปี ค.ศ. 1933  คุณพ่อบอนิฟาส  คุณพ่อสิรินทร์  คุณพ่ออัลแซลโม  คุณพ่อยออากิม  คุณพ่อเกลแมนเต
ปี ค.ศ. 1934-1935 คุณพ่อสิรินทร์  (ลูกวัดหัวไผ่  มรณภาพวันที่  20  สิงหาคม   ค.ศ.  1942)
ปี ค.ศ.  1936–1940  คุณพ่อบอนิฟาส  คุณพ่อสิรินทร์
ปี ค.ศ.  1940           คุณพ่อจีงวน
ปี ค.ศ.  1941           คุณพ่อเอมิล
ปี ค.ศ.  1942           คุณพ่อสิรินทร์  คุณพ่ออัมโบรซีโอ  คุณพ่อเศียร  
                             คุณพ่อเอมิล
ปี ค.ศ.  1943-1946   คุณพ่อบุญไทย  สิงห์เสน่ห์
ปี ค.ศ.  1946-1947   คุณพ่อกิมฮั้ง        
 
ตอนที่  3
วัดนักบุญอันนาเป็นเอกราชสมบูรณ์เมื่อ  ค.ศ. 1947-1969  ตลอดระยะเวลายาวนานถึง 60  ปี  ตั้งแต่เริ่มสร้างวัดมา  ในที่สุดพระสังฆราชเรอเน  แปร์รอส  ได้แต่งตั้งคุณพ่อเทโอฟิล  (ยวงเซ่งฮง  กิจบุญชู)  มาประจำอยู่ที่วัดท่าจีน และต้องซ่อมแซมอาคารต่างๆ ซึ่งทรุดโทรมเป็นอันมาก  ตั้งแต่ปรับปรุงและขยายต่อเติมอาคารโรงเรียนอันนาลัย  ซึ่งปิดทำการสอนชั่วคราวเสีย สมัยสงครามโลกครั้งที่  2  บ้านพักซิสเตอร์  บ้านพักคุณพ่อหลังแรกซึ่งเก่าและโดนคลื่นเซาะจนอยู่กลางน้ำ  ต้องรื้อและมาสร้างใหม่  หลังที่สองเป็นอาคารไม้สองชั้น  และขยายมุขทั้งสองข้างของวัด  และต่อส่วนที่เป็นบริเวณพระแทนให้ยาวออกไปอีก  เพื่อจะได้จุคนมากขึ้น  กิจการทั้งหมดนี้ต้องค่อยๆไปทีละเล็ก  ทีละน้อย  ทั้งนี้เพราะทางวัดก็ไม่มีทุนพอจะทำอะไรได้เลย  อาศัยความพร้อมเพรียง  และความสามัคคีของสัตบุรุษและกรรมการวัด
 
ในปี ค.ศ.1951 คุณพ่อได้ติดต่อกับคุณแม่มหาการิณีคณะพระหฤทัยแห่งกรุงเทพฯขอซิสเตอร์มาช่วยงานทางวัดและโรงเรียน ซึ่งได้แก่ ซิสเตอร์เซราฟิน และซิสเตอร์ยูลิอานา  เป็นกำลังสำคัญอีกด้านหนึ่งที่ช่วยให้วัดและโรงเรียนเจริญเติบโตขึ้น
 
คุณพ่อเทโอฟิล  ปกครองวัดนักบุญอันนาอยู่  22  ปี  จนถึงวัยชรา  ตลอดเวลาคุณพ่อได้เข้มงวดกวดขัน  เรื่องการเรียนคำสอนอย่างจริงจัง และคุณพ่อเคร่งครัดต่อชีวิตนักบวช และชอบศึกษาอ่านหนังสือเป็นอย่างมาก ชีวิตของคุณพ่อเปรียบเสมือนปูชนียบุคคลสำหรับพระสงฆ์ด้วยกันเอง และสำหรับลูกวัดท่าจีน ซึ่งเรียกติดปากว่า  “พ่อแก่”  และวันที่  24  เมษายน ค.ศ. 1969  ก็ได้ลาพักจากหน้าที่การงาน  ไปอยู่บ้านพักพระสงฆ์ชรา บ้านเณรเล็ก นักบุญยอแซฟ สามพราน และได้สิ้นใจอย่างสงบในศีลในพรของพระ ในวันที่ 16 กันยายน ค.ศ.1973 และบรรจุศพไว้ในสุสานวัดนักบุญเปโตร  (นครชัยศรี) สามพราน  ในวันที่  19  กันยายน ค.ศ. 1973 โดยมีพระอัครสังฆราชไมเกิ้ล  มีชัย  กิจบุญชู  (สมัยนั้น)  เป็นประธานในพิธี ท่ามกลางลูกวัดท่าจีนที่ได้ไปร่วมไว้อาลัยคุณพ่ออย่างทั่วถึง
 
 
 
สมัยขึ้นกับสามเณราลัยนักบุญยอแซฟ สามพราน
ในช่วงสุดท้ายของคุณพ่อเทโอฟิลที่วัดนั้น  เนื่องจากคุณพ่อชรามากแล้ว  พระสังฆราชจึงมอบหมายให้คุณพ่อจากสามเณราลัยนักบุญยอแซฟ สามพราน  มาช่วยดูแลแทน
 
1.  คุณพ่อยอแซฟ จำเนียร  กิจเจริญ  ค.ศ. 1968-1969  เป็นอาจารย์ประจำอยู่ที่สามเณราลัยนักบุญยอแซฟ สามพราน  มีความกระตือรือร้นเป็นอย่างยิ่ง ได้ปรึกษากับคุณพ่อเทโอฟิลและผู้ใหญ่ขอก่อสร้างอาคารเรียนเป็นตึก 3 ชั้น 15 ห้องเรียน ก่อสร้างเขื่อนกั้นดินหน้าวัด จัดตั้งกิจการคาทอลิกขึ้น คือ คณะพลมารี ป.ดาราสมุทร  และคณะกรรมการสภาวัด  25 ธันวาคม  ค.ศ. 1969  แต่ที่สุดก็ได้ไปศึกษาต่อต่างประเทศ
 
2.  คุณพ่อยอแซฟ ประวิทย์  พงษ์วิรัชไชย ค.ศ. 1973-1974  (ประมาณ 10 เดือน)  ได้พยายามปรับปรุงโรงอาหารซึ่งเก่าและคับแคบ  โดยขยายให้ยาวออกไปอีก  เพื่อให้พอกับจำนวนนักเรียน  และได้มาดูแลเฉพาะวันเสาร์และอาทิตย์
 
3.  คุณพ่อยอแซฟ วีรศักดิ์  วนาโรจน์สุวิช ค.ศ. 1974-1975  (เป็นผู้จัดการโรงเรียน)  ได้พยายามส่งเสริมทางด้านการศึกษาอย่างมาก  ได้พยายามมาสอนและอยู่ดูแลประจำในวันเสาร์และอาทิตย์ ปลูกต้นไม้ให้ร่มรื่น และสร้างสนามกีฬา ทั้งนี้คุณพ่อเองซึ่งขณะนั้นก็เป็นผู้บริหารโรงเรียนยอแซฟอุปถัมภ์ด้วย  แต่ในปีนี้ก็ต้องไปศึกษาต่ออีกเช่นกัน
 
4. คุณพ่อชาร์ลส์  ปิยะ  โรจนมารีวงศ์  ค.ศ. 1975-1982  พยายามต่องาน  เติมให้สัมพันธ์กัน  และได้รื้อฟื้นคณะกรรมการสภาวัดขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง  ได้เปิดสอนอนุบาลเพิ่มเติม  และ  ค.ศ. 1979  สะพานสาครบุรีข้ามคลอง  “สุนัขหอน”  ทำให้รถเข้าถึงที่วัดได้สะดวก  ซึ่งแต่ก่อนต้องจอดที่ฝั่งมหาชัย  และข้ามเรือ  ซึ่งไม่ค่อยสะดวกนัก
 
5. คุณพ่อยอห์น ชัยยะ กิจสวัสดิ์ ค.ศ.1980-1981  ก็ได้มาสอนคำสอน  ถวายมิสซาในวันเสาร์และวันอาทิตย์  แม้จะพยายามวางโครงการบางอย่างขึ้น  แต่ก็ยังไม่ได้ทำอะไร  และได้รับเลือกให้ไปศึกษาต่อ
 
6. คุณพ่อวินเซนต์ เอกพงษ์  พงษ์สูงเนิน  ค.ศ. 1981-1982  ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้ช่วยดูแลวัดนักบุญอันนาและได้มาประจำอยู่ที่วัด  ซึ่งกำลังต่อเติมอาคารเรียนสามชั้นต่อให้เสร็จ  และรื้อถอนอาคารเรียนไม้หลังเก่า  บ้านพักพระสงฆ์  ซึ่งเก่าแก่และทรุดโทรม
 
ช่วงนี้คุณพ่อที่มาดูแลวัดท่าจีนสลับกันบ่อย  เพราะมีหน้าที่หลักที่สำคัญเป็นหลักอยู่แล้ว  พระสังฆราชก็มอบหมายให้มาดูแล เสมือน  “ขัดตราทัพ”  ไว้ชั่วคราวก่อน  เพราะยังไม่สามารถที่จะจัดหาพระสงฆ์มาประจำได้  อีกประการหนึ่ง  สัตบุรุษวัดท่าจีน  ก็เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน  และมีความศรัทธาเป็นที่น่าประทับใจ
 
 
 
ตอนที่  4  สมัยฟ้าใหม่และแผ่นดินใหม่  ปี ค.ศ. 1982  
วันที่ 3 พฤษภาคม  ค.ศ. 1982  คุณพ่อแอนโทนี วรยุทธ  กิจบำรุง ได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาส  และอยู่ประจำที่วัดนักบุญอันนา  เพื่อดูแลกิจการของวัดและโรงเรียน  นับเป็นศักราชใหม่ของวัดท่าจีน  ซึ่งทางอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ  โดย พระคาร์ดินัลไมเกิ้ล  มีชัย  กิจบุญชู  ได้อนุมัติโครงการก่อสร้างอย่างต่อเนื่อง  ตั้งแต่แรก  ค.ศ. 1981   ได้ต่ออาคารเรียน  3 ชั้นอีกจนเสร็จ และเปิดใช้ในปีการศึกษา 2525  และได้เสกโดยพระคาร์ดินัล โดยมีศึกษาธิการอำเภอ  นายบรรเทิง  พังงา เป็นผู้เปิดป้าย ในวันที่ 25 กรกฎาคม ค.ศ. 1982  พร้อมกับรื้ออาคารเรียนหลังเก่า  บ้านพักพระสงฆ์หลังที่ 2  และถมที่บริเวณหน้าอาคารเรียน  ซึ่งหล่มและน้ำท่วม  และเริ่มทำเขื่อนทำดินพัง  ริมแม่น้ำท่าจีนแทนเขื่อนเก่าซึ่งสร้างมาได้ประมาณ 10  ปี ได้พังเพราะโดนเรือประมงชน
 
หลังฉลองวัดแล้ว  ก็ได้ย้ายมาใช้อาคารเรียนชั้นล่าง  ส่วนที่ต่อใหม่เป็นวัดน้อยชั่วคราว  ปี ค.ศ. 1983 ได้รื้อวัดเก่าสร้างด้วยไม้ มีอายุมาถึง 95 ปี (ค.ศ. 1888-1983)ซึ่งเก่าและทรุดโทรม ด้วยความรู้สึกอาลัยอาวรณ์เป็นอย่างยิ่งในวันที่นี้  และปรับปรุงถมที่บริเวณวัดเก่า  และสนามกีฬาบาสเกตบอล สร้างเป็นศาลาอเนกประสงค์  และสนามกีฬาใหม่แทน ซึ่งใช้เป็นโรงอาหารของทางโรงเรียนด้วย ได้ทำการเสกเปิดใช้ในโอกาสฉลองวัด  31 กรกฎาคม ค.ศ. 1983  และได้วางศิลาฤกษ์วัดนักบุญอันนาหลังใหม่นี้  โดยพระคาร์ดินัลไมเกิ้ล  มีชัย  กิจบุญชู  เป็นประธาน  และก็ได้ก่อสร้างบ้านพักพระสงฆ์ใหม่ หลังที่  3  บ้านพักซิสเตอร์  หลังที่  3  บ้านพักคนงาน  และใช้เป็นที่เก็บของวัดด้วย  แล้วเสร็จในต้นค.ศ. 1983
 
ปี ค.ศ. 1983  เรื่องการก่อสร้างที่ยังค้างอยู่อีก  ก็คือ การก่อสร้างวัดใหม่  ซึ่งเป็นไปอย่างสม่ำเสมอ  สถาปนิกผู้ออกแบบ คือ บริษัท  F.M.A.โดยนายฟรังซัว  มองโตเกียว และผู้รับเหมาก่อสร้าง คือ ห้างหุ้นส่วน  ชัยธนากิจ  โดยธวัชชัย ชัยมงคลตระกูล  พร้อมกันนี้คณะกรรมการสภาวัดและสัตบุรุษวัดท่าจีน  ก็ได้พร้อมใจกันอย่างเต็มที่ยินดี  “เทกระเป๋า”  ที่จะมีส่วนร่วมในการก่อสร้างวัดใหม่  ซึ่งรอคอยกันมาเป็นเวลานาน
 
 
สร้างหอระฆังวัดใหม่  โดยครอบครัวคุณอุดม และคุณสุดใจ  เล็กประเสริฐ  (บริจาคเงินทั้งหมด)  และในเวลาเดียวกัน  เดือนสิงหาคมก็ได้เริ่มก่อสร้างรั้วใหม่แทนรั้วเก่า ซึ่งเป็นอิฐบล็อกก่อทึบ  มีบางส่วนบิดเบี้ยวและปรับแนวให้ตรงและกลมกลืนกับวัดใหม่  ส่วนการตกแต่งบริเวณทั่วไป  ต้นไม้ใบหญ้า สัตบุรุษบ้านใดก็มาช่วยกันและจัดเพิ่มเติมบ้าง
 
สิ่งสุดท้ายที่จำเป็น ที่จะทำให้วัดนักบุญอันนาสมบูรณ์  คือ ถ้ำแม่พระ  ทุกคนพยายามจนถึงที่สุด  เพื่อไปรบกวนพระคาร์ดินัล  จึงได้พยายามหาทางช่วยกันที่สุด  เหมือนพระดลใจ  ครอบครัวคุณชาติชาย  และคุณภารดี  ได้ยินดีบริจาคสร้าง  “ถ้ำแม่พระ”  เป็นพิเศษ  โครงการสุดท้ายจึงสำเร็จและสวยงาม  เพื่อให้วัดสมเป็น  “พระวิหารของพระเจ้า”
 
ภายใน  2 - 3  ปีนี้  เรียกว่าพลิกแผ่นดินวัดนักบุญอันนา  ท่าจีน  เรียกว่าเป็นยุคใหม่  ศักราชใหม่  เป็นความดีใจ  ภูมิใจของลูกวัดท่าจีนอย่างไม่เคยมีสมัยไหนอีกแล้ว  ตั้งแต่คนแก่สุดพูดเหมือนผู้เฒ่าซีเมออน  “บัดนี้พระองค์จะให้ข้าพเจ้ามรณะก็พร้อมแล้ว”
 
ปี ค.ศ. 2012 มีโครงการป้องกันตลิ่งริมแม่น้ำท่าจีน บริเวณวัดและโรงเรียน ได้งบประมาณจากกรมโยธาฯ ประมาณ 22 ล้านบาท จะดำเนินการก่อสร้างในปีงบประมาณ 2012 เริ่มงานจริงล่าช้านิดหน่อย คาดว่าต้นปี 2013 คงได้เริ่มลงมือก่อสร้าง
 
โครงการช่วยเหลือเด็กต่างด้าวในบริเวณเขตรอบวัดและพื้นที่ใกล้เคียง ดำเนินการโดยศูนย์ทั้ง 3 ศูนย์ กำลังเป็นรูปเป็นร่าง กำลังติดต่อประสานงานกับทางราชการเพื่อรับรองศูนย์ฯ หรือรับรองงานที่ทำเพื่อให้ถูกต้องตามกฎหมาย
 
วันที่ 6 กุมภาพันธุ์ ค.ศ. 2014 เวลา 19.00 น. เรือเหล็กไฮฟง 18 เวียดนาม แล่นชนชนรูปปั้น "นักบุญอันนา" พังลงมาเสียหายยับเยิน  และเดือนมีนาคมได้เริ่มทำเขื่อนกั้นน้ำ
 
วันอังคารที่ 7 กรกฎาคม ค.ศ. 2015 นำโดยคุณพ่อวิทยา ลัดลอย เจ้าอาวาส ได้ย้ายพระรูปท่านนักบุญอันนา ที่พึ่งจะบูรณะเสร็จเพื่อเตรียมการฉลองวัดนักบุญอันนา ในวันที่ 26 กรกฎาคม ค.ศ. 2015
 
วันที่ 6 ธันวาคม ค.ศ. 2017 ได้เกิดน้ำทะเลหนุนอย่างหนัก จนน้ำไหลเข้าท่วมบ้านพักพระสงฆ์ และบ้านพักซิสเตอร์เป็นเวลา 6 ชั่วโมง เนื่องจากบ้านพักอยู่ในระดับต่ำกว่าพื้นที่โดยรอบซึ่งมีการถมดินให้สูงขึ้น แต่น้ำท่วมครั้งนี้ไม่ได้รับความเสียหายมากนัก
 
งานฉลองท่านนักบุญอันนา นับวันจะมีผู้มาร่วมฉลองมากขึ้น จนไม่มีสถานที่สำหรับจอดรถ, ห้องสุขาไม่เพียงพอ เห็นควรต้องสร้างเพิ่มขึ้น
 
โครงการของบประมาณจากภาครัฐ เพื่อสร้างเขื่อนกั้นน้ำท่วม และป้องกันตลิ่งพังซึ่งยังสร้างไม่เสร็จเหลืออีกประมาณ 70 เมตร

ปี ค.ศ. 2018 วันจันทร์ที่ 5 มีนาคม นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร รัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุข ได้มาเยี่ยมศูนย์นักบุญยออากิม (บ้านเอื้ออาทร) เพื่อดูการดำเนินงานของศูนย์ซึ่งอยู่ในความดูแลของวัดนักบุญอันนา

ปัจจุบันมีผู้คนเดินทางมาแสวงบุญที่วัดเป็นจำนวนมาก ท่านยายอันนาเป็นจุดหนึ่งที่มีคนสนใจมาแสวงบุญ สวดภาวนา ขอความช่วยเหลือผ่านทางท่าน สัตบุรุษมาวัดเพิ่มมากขึ้นทั้งที่อยู่ในหมู่บ้านและจากที่อื่นๆ

ปี ค.ศ. 2019  วันจันทร์ที่ 5 สิงหาคม วัดได้รับคำตัดสินจากศาลจังหวัดสมุทรสาคร คดีระหว่างวัดสุทธิวาตวราราม กับกรมที่ดินและวัดนักบุญอันนา ศาลพิจารณายกฟ้อง โดยสอบทนายโจทก์แล้วแถลงว่า ยอมรับว่าสิ่งปลูกสร้างมิสซังโรมันคาทอลิกได้มีการปลูกสร้างและครอบครองตามสภาพที่เป็นอยู่จริง และจะไม่ฟ้องจำเลยทั้งสองเป็นคดีทั้งทางแพ่งและทางอาญาอีก

โครงการสร้างบ้านพักพระสงฆ์หลังใหม่ - ฝนตกน้ำทะเลหนุน น้ำท่วมบ้านทำความเสียหายแก่ทรัพย์สิน

โครงการติดแอร์ในวัด 

โครงการสร้างห้องสุขา เพื่อรองรับสัตบุรุษต่างวัดที่มาแสวงบุญ และมาร่วมงานฉลองวัดในแต่ละปี

ปัจจุบันวัดเป็นสถานที่ทุกคนให้ความสนใจ จะมีผู้แสวงบุญมาแสวงบุญตลอดทั้งปี มีผู้มาติดต่อขอทำเป็นสารคดีสั้นๆ ของจังหวัดสมุทรสาคร

ปี ค.ศ. 2020 ช่วงนี้มีผู้มาแสวงบุญน้อยลงเนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 การฉลองวัดประจำปีจัดแบบปิด รวมทั้งมิสซาวันอาทิตย์มีเปิดให้สัตบุรุษมาร่วมได้เป็นบางส่วน

ปี ค.ศ. 2021 ได้มีการดีดยกบ้านพักพระสงฆ์และบ้านพักซิสเตอร์ให้สูงขึ้นประมาณ 1.70 เมตร (เท่ากับพื้นในวัด) เนื่องจากเวลาน้ำทะเลหนุนน้ำจะท่วมเข้ามาในบ้านทั้ง 2 หลัง ทำความเสียหายแก่ทรัพย์สิน - เอกสาร, เฟอร์นิเจอร์ ทางมิสซังกรุงเทพฯ จึงได้ดีดบ้านทั้ง 2 หลัง ให้สูงขึ้น โดยว่าจ้าง นายช่างพงษ์ศักดิ์ สลิดกุล เป็นผู้ดำเนินการ แล้วเสร็จในเดือนกรกฎาคม  จากนั้นได้มีการปรับปรุงห้องประชุม ห้องพักผ่อนชั้นบนริมทะเล 

โครงการติดแอร์ในวัด โครงการนี้กำลังดำเนินการออกแบบและระบบในการติดตั้ง

โครงการสร้างห้องสุขา เพื่อให้บริการแก่ผู้มาแสวงบุญและมาร่วมฉลองวัด

โครงการสร้างหลุมฝังศพในสุสานเพิ่ม 

ปี ค.ศ. 2022

- ฉลองวัดวันที่ 31 กรกฎาคม โดยพระสังฆราชวีระ อาภรณ์รัตน์

- ฉลอง 100 ปี โรงเรียนอันนาลัย

ปี ค.ศ. 2023

- จัดแสวงบุญให้กับสัตบุรุษ ณ อัครสังฆมณฑลท่าแร่ - หนองแสง (2 - 4 กุมภาพันธ์) ก่อสร้างหลุมฝังศพเพิ่มเติมในสุสานอีก 28 หลุม ปรับปรุงซ่อมแซมห้องน้ำใหม่และติดตั้งเครื่องปรับอากาศภายในวัดเสร็จสิ้นเดือนกรกฎาคม 2023

- ฉลองวัดประจำปี วันที่ 30 กรกฎาคม โดย พระคาร์ดินัลไมเกิ้ลมีชัย กิจบุญชู เป็นประธานในพิธีและเลือกตั้งคณะกรรมการสภาภิบาลวัดชุดใหม่

- เป็นเจ้าภาพในการจัดกิจกรรมกีฬาเยาวชนคาทอลิก เกมส์ 2023 ร่วมกับคณะกรรมการเยาวชน เขต 5 และแผนกเยาวชนอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

 
 
 
 
ลำดับความเป็นมาและเหตุการณ์ต่างๆ ของวัดนักบุญอันนา ท่าจีน
 

พระสงฆ์ประจำวัด

 

ค.ศ. ระยะเวลา

เหตุการณ์ต่างๆ

คุณพ่อปีโอ  (MEP)

เป็นปลัดอยู่วัดบางนแขวก

ขึ้นกับวัดซางตาครู้ส

1886

1888

- หาซื้้อที่สร้างวัด

- เริ่งสร้างวัด (สร้างวัดทำด้วยไม้)

คุณพ่อปีโอ (MEP)

ขึ้นกับวัดซางตาครู้ส

1889

 

คุณพ่อปีโอ (MEP)

 

1890

- ย้ายไปเป็นเจ้าอาวาส

คุณพ่อปีโอ (MEP)

ขึ้นกับวัดนครชัยศรี

1891

- วัดนครชัยศรี

คุณพ่อเรอเน แปรอร์ส

 

1895

เปิดทะเบียนของวัดนักบุญอันนาเป็นครั้งแรก

คุณพ่อเรอเน แปรอร์ส

 

1904

- มีรถไฟเปิดใช้สายมหาชัย

คุณพ่อริชาร์ด (อยู่ 4 เดือน)

คุณพ่อชาเนอเลียร์

ขึ้นกับวัดกาลหว่าร์

1910

1911

 

คุณพ่อกิ๊น ดาครู้ส(คูเลี่ยมโม)

ขึ้นกับวัดซางตาครู้ส

1913

คุณพ่อมอบรูป 14 ภาค และซื้อระฆังให้วัด ค.ศ.1926

คุณพ่อบอนิฟาส

ขึ้นกับวัดซางตาครู้ส

1933

 

คุณพ่อสุรินทร์

ขึ้นกับวัดซางตาครู้ส

 

 

คุณพ่อเอมิล

ขึ้นกับวัดซางตาครู้ส

1941

 

คุณพ่ออัมโบร์ซีโอ(เตี้ย)

ขึ้นกับวัดกาลหว่าร์

1942

 

คุณพ่อบุญไทย สิงห์เสน่ห์

ขึ้นกับวัดซางตาครู้ส

1943

 

คุณพ่อกิ้มฮั้ง แซ่เล้า

 

1946

 

คุณพ่อเทโอฟิล

มีเจ้าอาวาส

1947-1948

1951

- ซิสเตอร์คณะพระหฤทัยมาช่วยวัด

- แม่พระฟาติมา เสด็จมา ครั้งที่ 1

คุณพ่อจำเนียร  กิจเจริญ

ขึ้นกับบ้านเณร ยอแซฟ (มาเสาร์-อาทิตย์)

1969

 

1971

- สร้างเขื่อนกั้นดินหน้าวัด, จัดตั้งกิจการคาทอลิก

  คณะพลมารี

- แม่พระฟาติมา เสด็จมา ครั้งที่ 2

คุณพ่อประวิทย์ พงษ์วิรัชไชย

 

1973

 

คุณพ่อวีรศักดิ์  วนาโรจน์สุวิช

 

1974

- ปรับปรุงสนามกีฬา

คุณพ่อปิยะ โรจนมารีวงศ์

ขึ้นกับบ้านเณร ยอแซฟ (มาเสาร์-อาทิตย์)

1975

1978

 

คุณพ่อชัยยะ  กิจสวัสดิ์

 

1980

- แม่พระฟาติมา เสด็จมา ครั้งที่ 3

คุณพ่อเอกพงษ์  พงษ์สูงเนิน

 

1981

- อยู่ประจำวัด

คุณพ่อวรยุทธ กิจบำรุง

มีเจ้าอาวาสประจำเป็นอิสระอีกครั้ง

1982

- ฉลองวัด วันที่ 25 กรกฎาคม ใช้วัดหลังเก่า

   ครั้งสุดท้าย

- สร้างเขื่อนริมน้ำและศาลา นักบุญอันนา

 

 

1983

- รื้อวัดเก่าอายุ 95 ปี และหอระฆังเก่า,

- ปรับที่ก่อสร้างใหม่,

- สร้างร้านอาหารศาลาอเนกประสงค์,

- บ้านพักซิสเตอร์และบ้านพักพระสงฆ์,

- วางศิลาฤกษ์วัดใหม่ ต้อนรับพระคาร์ดินัล

   องค์แรกแห่งประเทศไทย,

- ฉลองปีศักดิ์สิทธิ์และเริ่มก่อสร้างวัดใหม่

 

 

1984

- วันที่ 10-11 พฤษภาคม ค.ศ.1984

   สมเด็จพระสันตะปาปา ยอห์น ปอล ที่ 2 เสด็จ

   ประเทศไทย ทรงอภิเษกศิลาที่ระลึกวัดนักบุญ

   อันนาหลังใหม่,

- รื้อรั้วเก่าและสร้างรั้ววัด โรงเรียน

   สร้างถ้ำแม่พระและหอระฆัง,

- 11พฤศจิกายน เสกวัดใหม่

 

คุณพ่อพจนารถ นิรมลทินวงศ์

 

1986-1989

 

คุณพ่อสมโภชน์ พูลโภคผล

 

1989-1993

 

คุณพ่อประยุทธ  ชลหาญ

 

1993-1999

 

คุณพ่อบุญเสริม เนื่องพลี

 

1999-2004

 

คุณพ่อธีรพล  กอบวิทยากุล

 

2004-2013

 

คุณพ่อวิทยา ลัดลอย

 

2013-2017

6 กุมภาพันธุ์ 2014 เวลา 19.00น. เรือเหล็กไฮฟง18 เวียดนาม แล่นชนชนรูปปั้น "นักบุญอันนา" พังลงมาเสียหายยับเยิน และ วันอังคารที่ 7 กรกฎาคม 2015 นำโดยคุณพ่อวิทยา ลัดลอย เจ้าอาวาส ได้ย้ายพระรูปท่านนักบุญอันนา ที่พึ่งจะบูรณะเสร็จเพื่อเตรียมการ ฉลองวัดนักบุญอันนา ในวันที่ 26 กรกฎาคม 2015

คุณพ่อธนันชัย กิจสมัคร

 

2017-2022

 

คุณพ่อสราวุธ อมรดิษฐ์

 

2022-2024

 

คุณพ่อชนภัทร ศุขะเนตร

 

2022-2023

ผู้ช่วยเจ้าอาวาส

คุณพ่อสมศักดิ์ ตู้สำราญ

 

2023-2024

ผู้ช่วยเจ้าอาวาส

คุณพ่อประสาร คูรัตนสุวรรณ

 

2023-ปัจจุบัน

ช่วยงานอภิบาล

คุณพ่อพงศ์เทพ ประมวลพร้อม

 

2024-ปัจจุบัน

 

คุณพ่อวรพจน์ วิสิฐนนทชัย

 

2024-ปัจจุบัน

ผู้ช่วยเจ้าอาวาส
 
 
 
 
 
แผนที่การเดินทาง