ประวัติความเป็นมาหอจดหมายเหตุ

สืบค้นเอกสารหอจดหมายเหตุ

ห้องหนังสือ


วันนี้ในอดีต


21 ธันวาคม พ.ศ.2525 : พิธีสมโภช พระศรีศากยทศพลญาณ ประธานพุทธมณฑลสุทรรศน์
พิธีสมโภช “พระศรีศากยทศพลญาณ ประธานพุทธมณฑลสุทรรศน์” พระประธานพุทธมณฑล ซึ่งคนทั่วไปนิยมเรียกกันว่า “พระใหญ่” เป็นพระพุทธรูปปางลีลา ได้รับอิทธิพลมาจากพระพุทธรูปในสมัยสุโขทัย ออกแบบและสร้างโดย ศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรี ในโอกาสเฉลิมฉลองที่พระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองมาครบ ๒๕ พุทธศตวรรษ เริ่มสร้างเมื่อปี 2523 แล้วเสร็จในปี 2525 สูง 15.875 เมตร น้ำหนัก 17,543 กิโลกรัม หล่อด้วยโลหะสำริด ประดิษฐานเป็นพระประธานพุทธมณฑล อ.พุทธมณฑล จ.นครปฐม โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชทานนาม

21 ธันวาคม พ.ศ.2484 : พิธีลงนามในสัญญาร่วมวงศ์ไพบูลย์ ระหว่าง ไทย กับ ญี่ปุ่น
พิธีลงนามในสัญญาร่วมวงศ์ไพบูลย์ ระหว่างไทยกับญี่ปุ่น ในสงครามมหาเอเชียบูรพา ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดารามหลังจากรัฐบาลไทยยินยอมให้ญี่ปุ่นเดินทัพผ่านประเทศไทยได้เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ 2484 โดย จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี ลงนามในนามรัฐบาลไทย และ นายทสุโย กามิ เอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย ลงนามในนามรัฐบาลญี่ปุ่น

21 ธันวาคม พ.ศ.2443 : รัชกาลที่ 5 เสด็จพระราชดำเนินเปิดทางรถไฟสายแรกในประเทศไทย
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 และ สมเด็จพระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินเปิดการเดินรถไฟจาก พระมหานคร - นครราชสีมา ถือเป็นทางรถไฟสายแรกในประเทศไทย จากนั้นได้เสด็จโดยขบวนรถไฟประพาส จ.นครราชสีมาด้วย

22 ธันวาคม พ.ศ.2532 : ประตูเบรนเดนเบิร์ก ในกรุงเบอร์ลิน ได้เปิดขึ้นอีกครั้งหลังจากปิดมาเป็นเวลานานกว่า 3 ทศวรรษ
ประตูเบรนเดนเบิร์ก (The Brandenburg Gate) ในกรุงเบอร์ลิน ได้เปิดขึ้นอีกครั้งหลังจากปิดมาเป็นเวลานานกว่า 3 ทศวรรษ ประตูนี้กั้นระหว่างเยอรมันตะวันออกและตะวันตก ซึ่งก่อนหน้านี้ได้มีการทำลายกำแพงเบอร์ลินไปแล้วเมื่อเดือนพฤศจิกายน และเปิดขึ้นหลังจากมีการเจรจาเพื่อรวมประเทศเยอรมันทั้งสองในเวลาต่อมา

22 ธันวาคม พ.ศ.2472 : นักบินไทยนำเครื่องบินทิ้งระเบิดแบบ 2 บริพัตร บินออกจากประเทศไทยไปเยือนประเทศอินเดีย
คณะนักบินไทยนำ “เครื่องบินทิ้งระเบิดแบบ 2 บริพัตร” (บ.ท. 2 –Boripatra) จำนวน 3 เครื่องขึ้นบินออกจากประเทศไทยไปเยือนประเทศอินเดีย ไปถึงวันที่ 30 ธันวาคมปีเดียวกัน เครื่องบินรุ่นนี้ออกแบบและสร้างขึ้นโดย น.ท. หลวงเวชยันต์รังสฤษฎ์ ในปี พ.ศ.2470 นับเป็นการสร้างเครื่องบินในราชการเป็นครั้งแรกของคนไทยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานนามว่า “บริพัตร” ซึ่งมาจากพระนามของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมหลวงนครสวรรค์วรพินิต เสนาบดีกระทรางกลาโหม นอกจากนี้เครื่องบินบริพัตร ยังได้บินไปกรุงฮานอย ประเทศเวียดนามเพื่อเจริญสัมพันธไมตรี และนำพวงมาลาไปวางที่อนุสาวรีย์ทหารฝรั่งเศสที่เสียชีวิตในสงครามโลกครั้งที่ 1 ในปี 2473 ด้วย เครื่องบินรุ่นนี้เคยประจำการในกองทัพอากาศในช่วงปี 2470-2483 ปัจจุบันมีเครื่องจำลองขนาดเท่าจริงอยู่หน้าพิพิธภัณฑ์ของกองทัพอากาศ