ข้อดีข้อเสียของการเผยแผ่ศาสนาของคณะสงฆ์มิชชันนารีแห่งกรุงปารีส

  • Print

ข้อดี
1.ตลอดประวัติศาสตร์การเผยแผ่ศาสนาในประเทศไทย บรรดามิชชันนารีได้แสดงออกถึงความกระตือรืนร้นในการเผยแผ่ศาสนาคริสต์และความเอาใจใส่ในการสร้างกลุ่มคริสตชนในประเทศไทย แม้บางช่วงอาจมีการเบียดเบียนศาสนาจากทางการไทย  แต่บรรดามิชชันนารีก็ไม่เคยย่อท้อต่อเหตุการณ์ที่เลวร้าย ตรงกันข้ามกลับท้าท้ายบรรดามิชชันนารีในการที่จะสร้างความมั่นคงของพระศาสนจักรในประเทศไทย และสุดท้ายดังที่เราเห็นในปัจจุบันถึงความมั่นคงของพระศาสนจักรในประเทศไทย


2.ในช่วงแรกๆ ของการเผยแผ่ศาสนาในประเทศไทย บรรดามิชชันนารีไม่ได้ให้ความสำคัญกับภาษาท้องถิ่น ทำให้การเผยแผ่ศาสนาเป็นไปได้ยาก โดยเฉพาะกับชาวไทย แต่ช่วงหลัง ๆ พระสังฆราชและคุณพ่อหลายคนที่พยายามเผยแผ่ศาสนาโดยใช้ภาษาท้องถิ่น  รวมทั้งการแต่งบทสวด การเขียนข้อคำสอนเป็นภาษาท้องถิ่น และการจัดตั้งโรงพิมพ์ที่ใช้ภาษาท้องถิ่น เพื่อจะสามารถให้คนท้องถิ่นสามารถเข้าใจศาสนาคริสต์ได้ดียิ่งขึ้น ทำให้เห็นว่าบรรดามิชชันนารีพยายามทำทุกอย่างที่สามารถทำได้เพื่อประโยชน์ในการเผยแผ่ศาสนา ซึ่งการกระทำเช่นนี้ก็ทำให้มีการเกิดผลอย่างมากในการเผยแผ่ศาสนา

3.การเผยแผ่ศาสนาของบรรดามิชชันนารีนั้น มักมาพร้อมกับกิจเมตตา และกิจการต่างๆ ที่มีประโยชน์ต่อส่วนรวม ทั้งต่อคริสตชนเอง และต่อชาวไทยด้วย เช่น การจัดตั้งโรงเรียน การจัดตั้งโรงพยาบาล การทำงานของบรรดามิชชันนารี มีผลทำให้ผู้คนรอบข้างได้รับผลดี ทั้งด้านความรู้สมัยใหม่ และวิทยาการสมัยใหม่ๆ ที่บรรดามิชชันนารีนำมาเผยแผ่ ดังนั้นอาจกล่าวได้ว่าความเจริญที่เกิดขึ้นในสมัยปัจจุบันนี้ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะวิสัยทัศน์ของบรรดามิชชันนารี

4.แบบอย่างชีวิตของบรรดามิชชันนารีจากรุ่นสู่รุ่น เป็นแบบอย่างได้ดีที่สุดสำหรับคริสตชนชาวไทยที่จะได้เห็นถึงความรักอันยิ่งใหญ่ที่องค์พระผู้เป็นเจ้าทรงมีต่อเรา และต่อมนุษยชาติทุกคน ผ่านการทำงานของบรรดามิชชันนารี การอุทิศชีวิต  การเป็นมรณสักขีของบรรดามิชชันนารี ซึ่งสิ่งเหล่านี้ที่บรรดามิชชันนารีได้พยายามสร้างสรรค์ขึ้นนี้จะได้เป็นประโยชน์ต่อทุกๆ คน และเพื่อให้คริสตชนเองในฐานะผู้ได้รับความรักนี้จะได้มอบความรักนี้แก่ผู้อื่นที่ยังไม่ได้เป็นคริสตชนด้วย

ข้อเสีย
1.บ่อยครั้งที่การเผยแผ่ศาสนาของบรรดามิชชันนารีมีความเคร่งครัดมากเกินไป จนยากที่ชาวท้องถิ่นจะสามารถรับได้ หรือกระทำได้ เช่น การที่มิชชันนารีมีกฎลงโทษคนที่ทำผิดอย่างรุนแรง และกฎบางอย่างก็ขัดกับวีถีชีวิตและวัฒนธรรมของชาวท้องถิ่น ทำให้ตลอดการเผยแผ่ศาสนาในประเทศไทยไม่ค่อยเกิดผลมากนัก ทั้งที่ศาสนาคริสต์ได้เข้ามาในประเทศไทยเป็นระยะเวลา 400 กว่าปีแล้ว แต่จำนวน คริสตชนก็ยังถือว่ามีจำนวนน้อยมาก


2.ทัศนะคติที่ไม่ดีต่อศาสนาพุทธ ซึ่งเป็นศาสนาโดยส่วนใหญ่ของคนไทย การที่บรรดามิชชันนารีมองว่าศาสนาพุทธเป็นศาสนาที่ไม่ดี และไม่สามารถจะให้ความรอดพ้นได้นั้น ทำให้บรรดามิชชันนารีมีท่าทีทีไม่ดีต่อชาวพุทธ ทำให้เกิดการกระทำบางอย่างที่ลบหลู่ต่อความเชื่อความศรัทธาต่อชาวพุทธ เช่น การเผยแผ่ศาสนาด้วยการโต้เถียงกับพระภิกษุชาวพุทธ การจัดพิมพ์หนังสือที่กล่าวร้ายต่อศาสนาพุทธ ซึ่งการกระทำทั้งหมดท่กล่าวมานี้ทำให้เกิดความขัดแย้ง คือทำให้ทางการไทยเกลียดชังบรรดามิชชันนารี รวมถึงคริสตชนทุกคนด้วย จึงไม่แปลกอะไรที่บ่อยครั้งที่ทางการไทยได้พยายามเบียนเบียดศาสนาคริสต์คาทอลิก ในรูปแบบต่าง ๆ นานา จนถึงกับมีการขับไล่บรรดามิชชันนารีออกจากประเทศ

3.การเผยแผ่ศาสนาของบรรดามิชชันนารีที่พยามใช้ประโยชน์จากอิทธิพลทางการเมือง ซึ่งก็เป็นผลดีในตอนแรก แต่กลับส่งผลเสียอย่างมากในตอนท้าย การที่บรรดามิชชันนารีใช้อิทธิพลทางการเมือง  ในการมีความสัมพันธ์กับทางการไทย การมีผลประโยชน์ต่อกัน ทำให้เกิดผลเสียตามมาอย่างที่เราเห็นได้ในตลอดประวัติศาสตร์การเบียดเบียนศาสนา ที่ทางการไทยกระทำต่อศาสนาคริสต์ ทำให้ศาสนาคริสต์คาทอลิกเป็นศาสนาของฝรั่งเศส ที่คอยพยายามจะบุกยึดประเทศไทย  ทำให้คริสตชนถูกมองว่าเป็นพวกฝั่งเศส เป็นพวกขายชาติคริสตชนจึงถูกทางการไทยมองว่าเป็นกลุ่มที่อันตรายต่อชาติ บ้านเมือง และควรแก่การจำกัดทิ้ง ซึ่งในประวัติศาสตร์เราก็ได้เห็นว่ามีการเบียนเบียดพวกคริตชนเป็นระยะ ๆ หรือแม้ในสมัยของเหล่าบุญราศีชาวไทยเองก็ตาม

บรรณานุกรม
-“ความเจริญก้าวหน้าและอุปสรรคของการเผยแพร่ความเชื่อในสมัยกรุงศรีอยุธยา.”[ม.ป.ป.]


-“ประวัติศาสตร์พระศาสนจักรคาทอลิกไทย.”[ม.ป.ป.]. 
- “ประวัติศาสตร์พระศาสนจักรคาทอลิกสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ยุคต้น.” [ม.ป.ป.].    
 -“ภูมิหลังของประวัติศาสตร์มิสซังสยาม.” [ม.ป.ป.].
-โรเบิร์ต  อสเต.   2000ปีแห่งการประกาศพระวรสาร.  พิมพ์ครั้งแรก.   สื่อมวลชนคาทอลิก 
- วิทยาลัยแสงธรรม.   (2533).   ประวัติพระศาสนจักรคาทอลิกไทย
- สุรชัย.  “บทที่ 14สมัยพระสังฆราชบรีโกต์ - พระสังฆราชเลอ บ็องค.ศ. 1764 – 1776 ความพยายามแก้ไข   
ความเสื่อมโทรมของมิสซัง.” ” [ม.ป.ป.].